หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

คนกลับจากต่างประเทศ เจอปั๊บ WOW เลย..ไม่แปลกใจทำไมคนไทยติดเชื้อน้อย

ผมได้ดูข่าว หนุ่มคนหนึ่งกลับจาก มาเล หลังจากโดนกักตัว อยู่ที่นั่น นาน 3 เดือน กลับไทย ไม่ได้ เพราะสนามบินงดบริการ

จนได้กลับไทย ระหว่างกลับ เจอเรื่องราวดีๆ มาเล่าให้ทุกคนอ่าน ...ว่าทำไมคนไทยติดเชื้อน้อย เพราะ...

บันทึก ปสก ครั้งหนึ่ง ครั้งแรก และขอให้เป็นครั้งเดียว ! 14 วันกักตัว 15 มีนา 2020 คือวันแรกของ MCO และเริ่มวงจรอุบาศก์ของชีวิตที่ติดอยู่ห้องที่มาเล ....ตื่นนอน อาบน้ำ ทำงาน ประชุม กินข้าว สั่งแกร๊บ นอน...วนอยู่แบบนี้มาตลอดเกือบ 3 เดือน แรกๆก็ลำบาก แต่พอเริ่มปรับตัวได้ก็พยายามหากิจกรรมทำ ออกกำลังกาย เล่นเกมส์ เรียนภาษาญี่ปุ่นผ่าน youtube ...โคตรเป็นชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ได้ลำบาก แต่ก็แอบทรมาน .....อยากกินอาหารอร่อยยยย....ได้แต่มองรูปและสไลด์หน้า FB ผ่านไป ก็มาเลมันไม่มีนี่นา .....อยากกลับเมืองไทยยย.....กลับไม่ได้ ไม่มีไฟลท์ ที่จองการบินไทยไปแคนเซิลหมด แถมหากกลับได้ยังต้องมีเอกสาร ใบรับรองอีกมากมาย เอาน่ะ เทียบกับคนอื่นเราก็ไม่ได้ลำบากมาก ยังหาข้าวกินได้ มีที่พักปลอดภัย มีงานทำ เลยคิดว่าจะรอจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้น แต่ๆๆๆๆ มันไม่ดีเลย พอปลด MCO คนมาเลบางคนเดินข้างนอกไม่ใส่หน้ากากแล้วทั้งๆที่แต่ละวันมีคนติด 50 เคสอัพ!! ถ้าเกิด superspreader ไม่ต้องสืบเลย MCO รอบสองมาแน่นอน แล้วจะให้มาติดเกาะแบบนี้อีก 3 เดือน No Moreeee .....ตัดสินใจได้ สรุป หาทางกลับดีกว่า!!! มาเจอสถานกงสุลที่ช่วยเหลือคนไทย ให้ลงทะเบียนว่ามีใครประสงค์จะกลับบ้านบ้าง กว่าจะกลับได้ก็ทุลักทุเลพอสมควร และเกือบไม่ได้กลับเพราะลงทะเบียนไม่ทัน แต่สุดท้าย yeah! here I am! ตัดมาที่เมืองไทยเลยละกัน ก้าวแรกที่ลงเครื่อง ตกใจมาก เจ้าหน้าที่ทุกคนมาเป็น full armor suit เหมือนในเกมใส่ตั้งแต่หัวยันเท้า ในขณะที่มาเล ในสนามบินเราไม่เห็นเจ้าหน้าที่คนไหนใส่เลย ระบบการจัดการเมืองไทยใส่ใจกว่ามาก เป็นระเบียบ เป็นขั้นตอน ไม่แปลกใจที่จำนวนคนติดเชื้อน้อย หลังจากลงจากเครื่อง เจ้าหน้าที่ก็ต้อนทุกคนไปยังจุดนั่งรอ มีเก้าอี้เซ็ทเป็นแถวเรียงกันห่างๆ ระหว่างนั่งรอเจ้าหน้าที่ก็อธิบายขั้นตอนให้ฟังและเตรียมเอกสาร เค้าจะเรียกไปทีละหน้ากระดานเข้าไปพบกับเจ้าหน้าที่ทาง สธ ที่คอยยืนสกรีน สอบถามประวัติ ตรวจอุณหภูมิ และลงบันทึกข้อมูลเพื่อติดตามภายหลัง ผ่านออกมาก็จะเจอแถวให้นั่งรออีก แถวละ 10 คน 2 แถว พอครบก็ให้เดินเป็นขบวนห่างๆ ไปยังจุดตรวจต่อไป มีเจ้าหน้าที่เช็คเอกสารและค่อยๆปล่อยให้เข้าไปจุดตรวจ ตม แต่แค่ทีละ 2-3 คน ตรงจุด ตม ก็ตรวจตามปกติแต่ทุกเคาน์เตอร์จะมีเจ้าหน้าที่คอยทำความสะอาดเคาน์เตอร์ พ่นน้ำยาเช็ดทุกครั้งหลังมีคนผ่านออกไป และไม่ต้องแสกนนิ้วมือแล้ว! สะอาดเวอร์! พอผ่าน ตม ออกมาตรงจุดรับกระเป๋า ก็จะมีพี่ตำรวจ หรือทหารนี่แหละคอยช่วยส่งกระเป๋าให้แล้วก็ค่อยๆเดินเรียงแถวออกจากสนามบิน เจ้าหน้าที่จะให้บัตรหมายเลขและมีจุดแจกน้ำ ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายก่อนผ่าน custom พอออกมาด้านนอกเกทสนามบิน เราจะเห็นรถบัสมาจอดรอรับเพื่อพาไปยังสถานที่กักตัว แต่ๆๆ ยังขึ้นรถไม่ได้นะ จะมีทหารรอดักอยู่เป็นกลุ่มๆ ที่หน้าประตู พอเดินออกมา เค้าจะให้เราเอากระเป๋าไปวางในช่องที่ขีดไว้สีแดงๆแล้วให้สั่งเราถอยไปจากนั้นก็พ่นฆ่าเชื้อรอบกระเป๋าทุกใบ เราคืนหมายเลขให้เจ้าหน้าที่ แล้วเจ้าหน้าที่ก็ลากขึ้นรถให้เองเลย ส่วนไอ้เราก็ขึ้นรถไปนั่งรอเป็นอันจบ ในที่สุดก็ผ่านออกมาได้ (เฮ้ออ) บนรถแต่ละคนนั่งแยกกัน จนมาถึงที่กักตัวซึ่งสถานที่กักตัวก็คือโรงแรมนึงในพัทยา เรานั่งรอบนรถนานมาก มารู้ทีหลังว่าเค้าทยอยให้ลงทีละคันรถ เพื่อไม่ให้คนมาออกันข้างล่าง เจ้าหน้าที่ขนกระเป๋าลงมารวมไว้ตรงกลาง แล้วให้ลงมาทีละ 5 คนหยิบกระเป๋าแล้วผ่านจุดตรวจอุณหภูมิอีกรอบก่อนเข้าโรงแรม เข้าไปจุดเช็คอิน เค้าให้ถือบัตรประชาชนกับคีย์การ์ดแล้วถ่ายรูป ผ่านเข้าไปจะมีจุดมาร์คที่พื้น ให้ต่อแถวขึ้นลิฟท์ห่างๆทีละคน ซึ่งขั้นตอนทั้งหมด ไม่มีการเข้าใกล้ ไม่มีการสัมผัสทั้งสิ้น ขึ้นมาบนห้องพัก บนโต๊ะจะมี instruction ให้ว่าเราต้องทำอะไรบ้าง มีกลุ่ม LINE เพื่ออัพเดทกัน ทั้งของโรงแรมและหมอ ทุกคนจะต้องวัดไข้รายงานทุกวันเช้าเย็น ทุกอย่างละเอียด และหลังวันที่5 และ 10 ที่กักตัวจะต้องโดน swop ไปตรวจเชื้อ....เหอๆๆๆ อาหารมื้อแรกเป็นข้าวผัดธรรมดานี่แหละ แต่อร่อยมากกก จากร้านครัวร่มไม้ เจ้าหน้าที่ทุกคนตั้งใจและใส่ใจ ทุกคนทำงานกันหนักและตั้งใจจริงๆ ประทับใจและภูมิใจในประเทศไทยมาก จริงๆอยากถ่ายรูปมาให้ดู แต่หลายๆขั้นตอนก็ไม่ได้สะดวกถ่ายจริงๆ มีเท่าที่เห็นนี่แหละนะ โพสนี้น่าจะเป็นโพสที่ยาวที่สุดที่เคยเขียน แค่อยากเขียนเก็บไว้ และแชร์ ปสก เผื่อเป็นประโยชน์ครับ edit ชี้แจงเพิ่มเติม: มีคนดราม่าว่าไปทำไม กลับมาแล้วสร้างความวุ่นวาย แต่ละคนก็มีภาระหน้าที่และสถานการณ์ต่างกันนะ กรณีผมคือบริษัทส่งตัวไปทำงานที่ต่างประเทศครับ เงินภาษีทุกบาททุกสตางค์ก็ยังจ่ายให้กับประเทศไทยครับ จุดประสงค์ของการโพส ไม่ได้อยากให้ดราม่ากันนะ ถ้าไม่ถูกใจท่านไหนก็เลื่อนผ่านไปได้เลยครับ

ขอบคุณเรื่องราวจาก เฟสบุ๊ค Korrapat Than

   เมื่อผมอ่านจบ รู้สึกภูมิใจกับความเป็นคนไทย และ การที่ทุกคนใส่หน้ากาก ป้องกัน ทำตามกฎสังคม .... ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก ถ้าคิดที่จะทำนะครับ

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: เฟสบุ๊ค Korrapat Than
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: LOVE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
55 VOTES (5/5 จาก 11 คน)
VOTED: กอกระดุม, รักสันติ, กั๋วซิง, phakri, ♥.เจ้าชายกบ.♥ , จิซัง, Endymion, ชื่อเเละนามสกุล, zerotype, มีร่า, น้องขนุนเป็นสาวแล้ว
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวเจนี่ทำพาสปอร์ตที่ไหน..ทำไมใส่ต่างหูได้ด้วยฟ้อง"สามี"ชนะคดีหลังให้"เมีย"ทำงานบ้านคนเดียวนาน 26ปีพบฝักไข่ลักษณะคล้ายกับสมองขนาดใหญ่ ของสิ่งมีชีวิตที่แปลกประหลาดมันคืออะไร??เกาหลีใต้ชี้ "ลูกสาวคิมจองอึน อาจสืบอำนาจต่อ อย่างชัดเจน!!"ยานยนต์ไร้คนขับ: อนาคตแห่งการเดินทางบนท้องถนน3 อันดับ"มหาลัยเอกชน"ที่ดีที่สุดในประเทศไทยรวมภาพน่ารักต่างๆของชาวเขมร อย่างวันนี้ก็แสดงให้เห็นว่าคนเขมรรักมวยไทยขนาดไหนเป็นต้น(ฮา)Fail มีฮา จากทั่วโลก Vol. 796 (19/03/2024)เตือนภัย! บิลค่าไฟปลอมระบาด มิจฉาชีพเอามาเสียบหน้าบ้าน หวั่นสแกนจ่ายอาจสูญเงินหมดบช.
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ยานยนต์ไร้คนขับ: อนาคตแห่งการเดินทางบนท้องถนน"เฉลิมชัย ศรีอ่อน" เผย "โทนี่" ยังตัดขาดการเมืองไม่ขาด ได้รับคำพิพากษา ก็คือนักโทษคนหนึ่ง ชี้ ระบบยุติธรรมเสื่อม5 สุดยอดอาหารช่วยให้นอนหลับฟ้อง"สามี"ชนะคดีหลังให้"เมีย"ทำงานบ้านคนเดียวนาน 26ปียิ้มอ่อนรายวัน😁! เปิดภาพขั้นตอนขบวนการทำขนมปังของชาวเขมร ที่ผลิตใส่ใจในทุกขั้นตอน รับประกันความอร่อย สะอาดถูกหลักอนามัย!?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ถามตอบ พูดคุย
10 สิ่งที่ต่างชาติชื่นชมในเมืองไทยตุ๊ดชมฟรี!หอแต๋วแตกแหกสัปหยดร้านของชำยอมแพ้ลูกค้าทั้งหมู่บ้านโรงเรียนรัฐvsโรงเรียนเอกชนต่างกันอย่างไร
ตั้งกระทู้ใหม่