การบำบัดด้วยวิธีทางธรรมชาติ
ในปัจจุบัน นอกจากการรักษาทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพแล้วนั้น ยังมีวิธีการรักษาอีกอย่างหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสูงและเป็นที่นิยมใช้ในการบำบัดรักษามาก และทางการแพทย์เองยังได้นำวิธีการรักษาในรูปแบบนี้เข้ารักษาผู้ป่วยร่วมกับการรักษาสมัยใหม่ด้วย นั่นก็คือ “วิธีการธรรมชาติบำบัด” ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการธรรมชาติ จะมีหลากหลายวิธีมาก ขึ้นอยู่กับเราหรือแพทย์จะเลือกใช้แบบไหนให้เหมาะสมแหละเห็นผลได้ดีที่สุดค่ะ และวันนี้เราจะยกตัวอย่างการรักษาด้วยธรรมชาติ นั่นก็คือ “สุคนธบำบัด”
สุคนธบำบัด คือศิลปะและวิทยาศาสตร์ของการใช้น้ำมันหอมละเหยเพื่อสร้างเสริมและปรับสมดุลร่างกาย จิตใจ อารมณ์ จิตวิญญาณและความผาสุก มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษ คือ Aroma Therapy (อะโรมาเทอราพี) ซึ่งเป็นการผสมของศัพท์ 2 คำ คือ Aroma ซึ่งหมายถึง กลิ่นหอม และ Therapy ซึ่งมายถึง การบำบัด คำว่ากลิ่นหอมในที่นี้หมายถึงกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากพืช มีศัพท์ที่ใช้ตามข้อกำหนดของราชบัณฑิตสถาน คือ คันธบำบัด และมีคำที่นิยมใช้ เช่น สุวคนธบำบัด
วิธีการรักษาด้วยกลิ่น มักจะพบมากในแถบยุโรป ซึ่งการรักษาในรูปแบบนี้มีมาตั้งแต่อดีตกาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน มักจะเป็นการใช้น้ำมันหอมระเหย เพื่อส่งเสริมหรือรักษาความสมดุลทางเคมีและฟิสิกส์ของเหลวในร่างกายเพื่อบำบัดอาการของโรคและในปัจจุบันมีการใช้เพื่อเสริมสร้างความงามอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น สกัดจากดอกลาเวนเดอร์ สกัดจากดอกกุหลาบ จากดอกมะลิ ดอกคามูมาย สกัดจากยูคาลิปตัส โหระพา เป็นต้น
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า การรักษาด้วยกลิ่นจะใช้น้ำมันหอมละเหยเป็นตัวไปกระตุ้นระบบประสาท เนื่องจากน้ำมันหอมละเหยจะมีโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถกระตุ้นการรับกลิ่นขอจมูกและสมองได้ จึงทำให้ระบบภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดการสมดุลในร่างกาย สุดท้ายก็จะส่งผลให้ร่างกายเยียวยารักษาตัวเองไปและยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาอีกด้วย
ประโยชน์ของการใช้ “สุคนธบำบัด”
ประโยชน์ของการใช้ “สุคนธบำบัด” นั้นมีมากมาย แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีผลดีแล้ว ก็ต้องมีผลเสียตามมาด้วย นั้นก็คือ “สุคนธบำบัด” เป็นวิธีการบำบัดที่ต้องใช้น้ำมันหอมระเหยช่วยในการกระตุ้น ซึ่งน้ำมันหอมระเหยจะต้องสกัดจากพืชเพียงเท่านั้น ทำให้สกัดได้น้อย ปัจจุบันจึงทำให้มีการสังเคราะห์ขึ้นมาซึ่งจะมีสารเคมีและเมื่อใช้ไม่ถูกวิธีทำให้ได้รับสารเคมีมากไปเป็นอันตรายกับร่างกายมนุษย์เราได้
เรียบเรียงโดย HealthyClub
รูปภาพโดย Google
อ้างอิงจาก: หมอชาวบ้าน, pharmacy.mahidol