ไคมีรารู้จักกันดีในฐานะสัตว์ในตำนานเทพนิยายกรีก ที่รวมตัวกันของสัตว์หลายชนิดทั้ง สิงโต งูและแพะ เช่นเดียวกันกับไวรัสโควิด-19 ที่อาจมีลักษณะคล้ายกับไคมีร่าที่อาจมาจากเซลล์จากสัตว์หลากหลายชนิดมารวมกัน
>
>
>
จากบทความในเว็บไซต์วิชาการ The Conversation เขียนโดย ดร. อเล็กซองดร์ ฮัซซานิน นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ ได้พูดถึงในเรื่องประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (MNHN) ของฝรั่งเศส ได้บอกว่าจากผลวิเคราะห์ทางพันธุกรรมที่เชื่อว่า เชื้อไวรัสโรคโควิด-19 อาจเป็น "ไคมีร่า" (Chimera) ได้ เพราะผลเปรียบเทียบพันธุกรรมในหมู่ไวรัสโคโรนาที่ใกล้เคียงกับ โคโรน่าพันธุ์ SARS-CoV-2 ก็คือ RaTG13 ที่พบได้ในค้างคาว
>
>
>
โดยมีความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมถึง 96% แม้ค้างคาวจะไม่แสดงอาการของโรคออกมา อาจเป็นเป็นข้อยืนยันได้ว่าสัตว์ชนิดนี้เป็น "แหล่งกักเก็บ" (Reservoir) ขนาดใหญ่ของเชื้อโรคโควิด-19 ได้ รวมทั้งตัวนิ่มมาเลเซีย ที่ความคล้ายคลึงทางพันธุกรรมน้อยกว่า 90% ทว่า ไวรัสในตัวนิ่มมีพันธุกรรมของส่วนหนามใกล้เคียงกับ SARS-CoV-2 มากถึง 99% ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการเป็นเชื้อโรคระบาดได้มากกว่า
>
>
จากการวิเคราะห์ครั้งนี้ยังได้อ้างอิงถึงงานวิจัยของทีมนักวิจัยจีน ที่เผยแพร่ในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ด้านชีววิทยา bioRxiv.org ที่ผลไปในทางเดียวกันว่า ว่าเชื้อโรคโควิด-19 อาจเกิดจากการรวมตัวระหว่างไวรัสโคโรนาที่มีพันธุกรรมใกล้ชิดกับสายพันธุ์ RaTG13 ซึ่งพบในค้างคาวมงกุฎเทาแดง (Rhinolophus affinis) กับไวรัสโคโรนาที่มีพันธุกรรมคล้ายคลึงกับชนิดที่พบในตัวนิ่ม
>
>
>
พูดง่าย ๆ ไวรัสโควิด-19 อาจเกิดจากการผสมผสานจากไวรัสของ เซลล์จากสัตว์สองชนิดนี้ก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ทางวิชาการยังไม่ได้ฟันธงแต่อย่างใด คงต้องวิจัยกันต่อไป
#COVID2019 #นักวิจัย #วิจัย
อ่านงานวิจัยเพิ่มเติมได้ที่
https://bansornmagazine.blogspot.com/2019/04/blog-post.html
https://twitter.com/tonygooogking/status/969579360171696128
https://www.facebook.com/barnsorn/photos/a.868203936527445/3278429882171493/?type=3&theater