ทุบวัง...สร้างสนามกีฬา !! เปิดประวัติของ "สนามศุภชลาศัย" ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน
วังวินด์เซอร์ หรือรู้จักในชื่อ วังประทุมวัน, วังกลางทุ่ง หรือวังใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระประสงค์ที่จะพระราชทานวังแห่งนี้ไว้ให้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ชาวต่างประเทศ ที่พบเห็นพระตำหนักแห่งนี้ ต่างพากันเรียกว่า "วังวินด์เซอร์" เนื่องจากมีสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับพระราชวังวินด์เซอร์ ณ สหราชอาณาจักร
ภายหลังจากปี พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎรยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามประเทศ (เป็นชื่อของประเทศไทยในสมัยนั้น) จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยได้สำเร็จ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 พระราชวงศ์อยู่ในช่วงถูกลดพระราชอำนาจลงอย่างมาก หลวงศุภชลาศัย อธิบดีกรมพลศึกษา ในรัฐบาลของจอมพล ป พิบูลสงคราม มีแนวคิดที่จะก่อสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติ และได้พิจารณาว่า ที่ดินทำเลบริเวณวังประทุมวัน เหมาะแก่การสร้างมากที่สุด โดยตั้งใจทุบทำลายวังกลางทุ่งทิ้ง เพื่อต้องการสร้างสนามกีฬาที่มีชื่อหลวงศุภชลาศัย ผู้ก่อการฝ่ายทหารเรือ ทั้งที่ห่างออกไปอีกไม่มากเป็นทุ่งนาแต่ไม่เอา โดยการเกณฑ์คนนับร้อยชีวิตมาถอนรื้อพระตำหนัก รวมถึงสิ่งอื่นๆโดยรอบจนหมดสิ้น
จงใจจะเอาวังนี้ให้ได้ สร้างความโทมนัส แก่สมเด็จพระพันวัสสา ฯ ยิ่งนัก ด้วยวังนี้ถือเป็นตัวแทนของพระราชโอรส ของพระองค์ที่สวรรคตขณะยังทรงพระเยาว์ พระองค์ได้ยินเสียงทุบวังทุกวัน ทุบวังก็เหมือนทุบตี รังแกหัวใจของพระองค์
แต่เมื่อรัฐยืนยันจะทำเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงทำได้เพียงประทับอยู่ที่เฉลียงวังสระปทุม ฟังเสียงคนทุบวังลูกอยู่ทุกวัน ด้วยหัวอกคนเป็นแม่ พระองค์ถึงกับทรงตรัสกับนางข้าหลวงผู้ใกล้ชิดว่า "ได้ยินเสียงเขาทุบวังลูกฉันทีไร มันเหมือนกับกำลังทุบใจฉันอย่างนั้น" น้ำเสียงของพระองค์สั่นน้ำพระเนตรคลอด้วยความอัดอั้นตันใจ
ทั้งนี้หลวงศุภชลาศัย ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร ครั้งหนึ่งได้เดินไปยังพระราชวังไกลกังวล เพื่อทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 กลับคืนพระนคร โดยนำเรือหลวงสุโขทัย ไปรับ แต่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิเสธ ด้วยทรงให้เหตผุลว่า เรือหลวงสุโขทัยนั้น คับแคบเกินไป ไม่สมกับพระเกียรติยศ ท้ายสุด ทรงเสด็จนิวัติ โดยรถไฟพระที่นั่ง ถึงสถานนีหลวงจิตรลดา เวลา 00.35น.วันที่ 26 มิถุนายน 2475 และวันที่ 27 มิถุนายน ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่างพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราว
หลวงศุภชลาศัย มีบทบาท ก่อนทำการยึดอำนาจ 1 วัน โดยเข้าพบกับ หลวงวิจักรกลยุทธ ซึ่งเป็นนายทหารบก คณะราษฎรเช่นเดียวกัน เพื่อขอให้ปลอมแปลงลายเซ็นของ หลวงมนูญศาสตร์สาทร นายทหารเรือผู้ลงชื่อรับรองคำสั่ง ของผู้รั้งแม่ทัพเรือ เพื่อขออนุมัติคำสั่งให้นำ เรือลงลาดตระเวณในลำน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งสิ้น 11 ฉบับ อันเป็นส่วนการปฏิบัติการของฝ่ายทหารเรือ