เข้าใจง่ายๆ กับการป้องกัน PM 2.5
จากกรณีฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทย ที่ประชาชนตื่นตัวอย่างมากกับมลพิษทางอากาศ มีสภาพขุ่นมัวเกิดสภาวะคล้ายหมอกหนาทึบในยามเช้า ฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หากดูจากการพยากรณ์ 7 วัน ในกรุงเทพมหานครฯ และเขตปริมณฑล จาก AirVisual พบว่า
- วันที่ 21 - 22 ม.ค. 63 มีปริมาณฝุ่นหน่าแนน อันตรายต่อสุขภาพควรป้องกัน ประมาณ 151 - 200 ไมครอน
- วันที่ 23 - 25 ม.ค. 63 มีผลเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประมาณ 101 - 150 ไมครอน
- วันที่ 26 ม.ค. 63 อยู่ในระดับปานกลาง มีผลกระทบต่อคนกลุ่มเสี่ยง ประมาณ 21 - 100 ไมโครอน
หากทำความเข้าใจสั้นๆ คือ ฝุ่นมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน เกิดจากการเผาไหม้ยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอด ทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ภาวะปอดทำงานเสื่อมประสิทธิภาพลง หลอดลมอักเสบและอาการหอบหืด (ข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศ กรมควบคุมมลพิษ, 2563)
ดังนั้น เราหันมาสนใส่ใจสุขภาพและวิธีการสังเกตอาการเบื้องต้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว ดังนี้
- ลักษณะอาการ โดยมีลักษณะอาการเล็กน้อย เช่น แสบตา น้ำมูกไหน คันจมูก น้ำมูกไหน ระคายเคืองผิวหนัง และถึงขั้นอาการรุนแรง เช่น เหนื่อยง่าย หายใจเร็ว หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น **หากมีอาการที่รุนแรงให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว**
- วิธีการป้องกัน คือ ให้ทุกคนประเมินความเสี่ยงของตนเองก่อน ว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ และอยู่ในพื้นที่ที่มีผลการตรวจวัดฝุ่นเกินค่ามาตรฐานระดับใด (App: AirVisual ติดตามคุณภาพอากาศได้) โดยมีวิธีการป้องกัน ดังนี้
- พื้นที่กิจกรรมกลางแจ้ง (3-4 ชั่วโมง) ควรใช้หน้ากากที่มีเครื่องหมาย NIOSH ทั้งประเภท N95 หรือ P100 (หน้ากากตั้งแต่มาตรฐาน N95 ขึ้นไป) ที่มีร่างกายปกติ
- พื้นที่พักอาศัยและออกนอกบ้านแต่ไม่ได้อยู่กลางแจ้งนาน คือ การทำกิจกรรมภายในบ้านพื้นที่ปิดสนิทไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากชนิด N95 แต่สามารถใช้หน้ากากอนามัยแบบธรรมดาได้
- คนกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงมีครรภ์ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ไวต่อระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และหลอดเลือด
ทั้งนี้ จะต้องแผนระยะยาวเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง รวมทั้งการส่งเสริมและแนะนำให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อป้องกันการเกิดโรคมากกว่าการจ่ายยา
ในเชิงการบังคับใช้ระดับประเทศต้องอาศัยตัวบทกฏหมายเป็นตัวขับเคลื่อน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้ตามกฏหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งหัวหน้ารัฐบาลจะต้องมีนโยบาย (ยุทธศาสตร์ 20 ปี) อย่างจริงจัง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นการทำลาทรัพยากรธรรมชาติและก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในระยะยาว โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายฉบับ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย,2560) เช่น
1. พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, พ.ร.บ.การขนส่งทางบก, พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, พ.ร.บ.การจราจรทางบก, พ.ร.บ.ทางหลวง, พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย, พ.ร.บ.วัตถุอันตราย, พ.ร.บ.โรงงาน, พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง, พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
2. พ.ร.บ. การสาธารณสุข 2535 กรมควบคุมมลพิษควบคุมดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลาด การเก็บรักษา การเก็บขนและสถานที่กำจัดมูลฝอย การปล่อยน้ำทิ้งและอากาศเสีย ที่เกิดจากกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สารอันตราย ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ขี้เถ้าพิษ ที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และกรมควบคุมมลพิษ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐานในการควบคุมการดำเนินกิจการของโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะมาตรฐานและวิธีการควบคุมการกำจัดของเสียมลพิษหรือสารปนเปื้อนซึ่งเกิดจากกิจการของโรงงานที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้พระราชบัญญัติโรงงานกระทรวงอุตสาหกรรม
ปล.ชอบกินข้าวผัดกุ้ง + เป็ปซี่