จากกรณีแชร์ "แม่มณี" หรือจะเลียนแบบ "แชร์แม่ชม้อย" โมเดล ติดคุกจริงแค่ 7 ปีกว่า
เพจ บรรเจิดเริ่ดสะแมนแตน โพสต์เรื่องราว ก่อนแชร์ "แม่มณี" เรามีคดีแบบเดียวกันมาก่อนแล้ว เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว
-------------------
"แชร์แม่ชม้อย" ข่าวดังในอดีต (พ.ศ.2526-2528) ต้นกำเหนิดแชร์ลูกโซ่ในปัจจุบัน โดยแชร์แม่ชม้อย เรียกว่า แชร์น้ำมัน หน่วยลงทุนเป็นคัน (คันรถน้ำมัน) ราคาอยู่ที่คันละ 160,000 บาท จะได้เงินคืนเดือนละ 10,400 บาท แต่ถ้าใครไม่มีทุนก็เลือกลงทุนในขนาดย่อยลงมาคือ เป็น ล้อ ล้อละ 40,000 (หนึ่งคันมีสี่ล้อ) จะได้เงินคืนเดือนละ 2,600 บาท ด้วยดอกเบี้ยที่งดงามและจ่ายตรงเวลาตลอดทำให้แชร์แม่ชม้อยเป็นที่ร่ำลือแบบปากต่อปาก และเติบโตเร็วมากตลอดระยะเวลา 3 ปี
มีเงินหมุนเวียนแปดพันล้าน เมื่อความยิ่งใหญ่ของแชร์น้ำมัน ระบือลือลั่นและขยายขอบข่ายไปในหมู่ผู้คนหลายวงการ หนังสือพิมพ์เริ่มคุ้ยขุดที่มาที่ไป รัฐมนตรีถึงต้องเรียกไปคุย แต่ก็เอาผิดแม่ชม้อยไม่ได้ (ยุคนั้นยังไม่มีกฏหมายเกี่ยวกับการเล่นแชร์) จนย่างเข้าวันที่ 30 สิงหาคม 2527 นสพ.ไทยรัฐพาดหัวข่าว "คลังแถลงการณ์ด่วนจะออกกฎหมายคุมแชร์" ขีดเส้นชม้อยอยู่ได้อีก 5 เดือน ให้คนเล่นถอนตัว พังไปไม่รับผิดชอบ และกำชับข้าราชการ พนักงานขององค์กรรัฐ ให้ใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษในการนำเงินไปลงทุน ยิ่งข่าวตีเท่าไหร่ แชร์ก็ยิ่งดังเท่านั้น จนรัฐบาลต้องงัดเอาแผนสอง ออกมาดำเนินการโดยประกาศว่า จะนำพระราชกำหนดเกี่ยวกับแชร์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 11 กันยายน 2527 ซึ่งเมื่อพระราชกำหนดดังกล่าวออกมาเมื่อใด วงแชร์ทั้งหลายจะต้องยุติลง
หากฝ่าฝืนเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์จับกุมได้ทันที และในวันที่ 10 กันยายน ทีวี ช่อง 9 ได้ออกข่าวนางชม้อย เข้าพบ รมช.คลัง ยอมเลิกกิจการวงแชร์ และจะนำเงินมาคืนให้กับผู้ลงทุน เช้ามืดวันที่ 11 ถนนทุกสายก็มุ่งหน้าสู้บ้านแม่ชม้อย หนังสือพิมพ์ทุกฉบับพากันไปทำข่าวอย่างมากเป็นประวัติศาสตร์ ท่ามกลางเสียงสาปแช่งจากลูกแชร์ที่ติเตียนหนังสือพิมพ์ ทีวี ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดความวุ่นวายและด่าทอธนาคารที่ไม่สามารถจ่ายเงินดอกเบี้ยเหมือนแม่ชม้อยแล้วยังมาหาทางบีบสารพัด โดยระหว่างการให้สัมภาษณ์ครั้งหนึ่งของแม่ชม้อย ลูกแชร์ตะโกนว่า "พวกเรามาให้กำลังใจ ไม่ได้มาถอน" จนกระทั่งวันที่ 11 พฤศจิกายน 2527 รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงเงิน และให้กรมสรรพากรเข้าตรวจสอบยอดเงินฝากแม่ชม้อย หลังจากนั้นได้ประเมินว่า นางชม้อยจะต้องชำระภาษีเป็นเงิน 41.6 ล้านบาท โดยขีดเส้นตายให้ชำระภายในวันที่ 5 เมษายน 2528 และอายัดเงินฝาก แม่ชม้อย ทุกบัญชี และด้วยเหตุนี้เอง
ทำให้แม่ชม้อยไม่สามารถนำเงินมาจ่ายเงินให้ลูกแชร์ได้ ความวุ่นวายก็เกิดขึ้น ลูกแชร์ระส่ำระสาย และแม่ชม้อยก็หายตัวไป 2 เดือน ก่อนวันที่ 7 มิถุนายน 2528 แม่ชม้อยนัดลูกแชร์เพื่อชี้แจงการจ่ายเงิน แม่ชม้อยกล่าวสรุปความว่า "นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปขอประกาศให้ทราบทั่วกันว่าขอเลิกการเล่นแชร์อย่างเด็ดขาดสำหรับผลประโยชน์ไม่มีจ่ายให้แต่จะพยายามจ่ายเงินต้นคืนให้ครบทุกคน ซึ่งจะได้ติดประกาศไว้ที่หน้าประตูบ้านเรียงตามลำดับหมายเลขที่จะให้มารับเงินคืน" แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีการจ่ายเงินคืน จนกระทั่งวันที่ 26 มิถุนายน 2528 อธิดีกรมตำรวจได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลให้ดำเนินการกวาดล้างบรรดาเจ้ามือแชร์ซึ่งมีพฤติกรรมฉ้อโกง เป้าหมายแรกคือ แม่ชม้อย หลังจากจับแม่ชม้อยได้ ปฏิบัติการค้นหาทรัพย์สินก็เกิดขึ้น โดยแม่ชม้อยกล่าวว่า "ม้อยไม่มีม้อยหมดตัวแล้ว ม้อยถูกเขาโกงหมด
" หลังจากตรวจค้นบ้านแม่ชม้อยหลายครั้งแต่ไม่พบทรัพย์สินใดใด จนกระทั่งวันที่ 23 กรกฏาคม 2528 ก็พบห้องลับที่ดัดแปลงตบตาตำรวจขนาด 80 เซนติเมตร ลึก 2 เมตร มีวอลเปอร์อำพรางและมีตู้กระจกใส่เสื้อผ้าบังหน้าประตูไว้ โดยข้างในมีทรัพย์สินเงิน / ทองคำแท่ง / เพชร รวม 35,912,495 บาท และในวันที่ 29 กรกฏาคม 2528 ขุมทรัพย์ที่ถูกฝังดินไว้ในพื้นที่ลพบุรี ก็ถูกขุดขึ้นมาอีก 19 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดใส่กระเป๋าและถุงปุ๋ยฝังดินอยู่ รวมทรัพย์สินที่ตามคืนได้ประมาณ 60 ล้านบาท โดยคดีนี้มีผู้เสียหายมาแจ้งดำเนินคดีถึง 18,281 ราย ในวงเงินความเสียหาย สี่พันแปดร้อยล้านบาท (4,800,000,000 )ถือเป็นคดีดังในยุคนั้นเลย สมัยนั้นไม่มีใครไม่รู้จักแม่ชม้อย
ตามพระราชกำหนดการกูยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4, 5, 12 กระทงละ 10 ปี รวม 3,641 กระทง จำคุกคนละ 36,410 ปี รวมจำคุกคนละ 154,005 ปี
----------
แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงคงจำคุกทั้งสิ้นคนละ 20 ปี เพราะประมวลกฎหมายอาญาให้จำคุกไม่เกิน 20 ปี และให้นางชม้อย กับพวกร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงด้วย นางชม้อย จำคุกอยู่ในเรือนจำเพียง 7 ปี 11 เดือน 5 วัน เพราะได้รับการลดลงโทษ 2 ครั้ง และพ้นโทษเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2536
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/bungerd2518/posts/2428630213925509 ,
https://th.wikipedia.org/wiki/คดีแชร์ชม้อย