จีนบล็อก Wikipedia ทุกภาษา ใกล้ครบรอบ 30 ปี "เหตุการณ์สังหารหมู่"
อย่างที่รู้กันดีว่า
รัฐบาลจีน 🇨🇳 ค่อนข้างจะเข้มงวดเรื่องการควบคุมสื่อโซเชียลมีเดีย
มีการใช้ระบบเซ็นเซอร์สื่อออนไลน์
ภายใต้มาตรการที่เรียกว่า “The Great Firewall”
ซึ่งทำให้รัฐบาลจีนสามารถป้องกันการลุกฮือของประชาชน
อันอาจนำไปสู่การปฏิวัติอย่าง Arab Spring ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง
.
ระบบเซ็นเซอร์ที่รัฐบาลจีนใช้นั้น
สามารถคัดกรอง คำ/วลี/รูปภาพ ที่เป็นประเด็นต้องห้าม
มีความหมายล่อเหลมทางการเมือง
หรือมีเนื้อหาหมิ่นเหม่ต่อความมั่นคงของรัฐ
อย่างเช่น
🔹 คำว่า “บ้าอำนาจ” “ลงจากบังลังก์” “ผู้นำที่ไม่ได้เรื่อง”
🔹 หลังจาก ‘หมีพูห์’ ถูกชาวโซเชียลนำมาล้อเลียนว่า
มีลักษณะท่าทางเหมือนประธานาธิบดีสี
ภาพและวิดีโอทั้งหมดเกี่ยวกับ Winnie the Pooh ก็ถูกลบทิ้งไปหมดเลย
(คงเพราะหมีพูห์มันดูมุ้งมิ้ง
ขัดกับภาพลักษณ์พญามังกรอย่างท่านสีล่ะมั้ง)
🔹 มีช่วงหนึ่งที่มีการเสิร์ชคำว่า “การย้ายถิ่นฐาน” เยอะมาก ๆ
แต่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น มันก็หายไปจากคำค้น 😲
.
สื่อสำคัญทางโลกอินเตอร์เน็ตอย่าง Facebook, Twitter, IG,
YouTube, Google, New York Times, Pornhub 🤭
ล้วนถูกแบนในประเทศจีน
.
แม้กระทั่ง China Xinhua News
ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำนักข่าวชื่อดังที่ใหญ่ที่สุดของจีน
ก็ถูกจำกัดอย่างเข้มงวด ✋✋
เห็นได้ชัดเลยว่ารัฐบาลมีสิทธิ์ในการควบคุมอย่างเต็มรูปแบบ
.
เวลาที่จะพูดถึงประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง
ชาวโซเชียลจีนจึงเลือกใช้วิธีเลี่ยงบาลี
หรือใช้พวก slangs เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจจับ
.
ล่าสุด รัฐบาลจีนเพิ่งบล็อกเว็บไซต์ Wikipedia ทุกภาษา
จากเดิมที่บล็อกเฉพาะภาษาจีน
หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า
อาจเป็นเพราะเดือนหน้าจะตรงกับวันครบรอบ 30 ปี
“เหตุการณ์ประท้วง ณ จัตุรัสเทียนอานเหมิน (6/4)”
ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1989
กลุ่มนักศึกษาและประชาชน 1.2 ล้านคน
รวมตัวกันชุมนุมกัน ณ กรุงปักกิ่ง
เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพ
แต่กลับถูกพรรคคอมมิวนิสต์จีนนำรถถังออกมาปราบปราม
คาดว่าผู้เสียชีวีตนับพัน-หมื่นราย
(ทางการจีนไม่เคยเปิดเผยยอดผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ)
และตั้งแต่เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งนั้นจนถึงปัจจุบัน
ทางจีนก็ไม่เคยออกมายอมรับหรือสร้างความตระหนักรู้
ถึงความโหดร้ายของรัฐบาลในขณะนั้น
.. ไม่เคยมีแม้แต่คำขอโทษ
[ ทำเหมือนว่าการสังหารหมู่เป็นเรื่องที่ลืมง่ายมากอย่างงั้นล่ะ
ภาพชายที่ยืนประจันหน้ารถถัง
ถือเป็นหนึ่งในภาพที่ทรงพลังมากเลยทีเดียว ]
.
ที่น่าเจ็บปวดมากกว่าก็คือ
ตำราเรียนหรือสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ปราบปรามผู้ประท้วงครั้งนั้น
ก็ถูกสั่งแบนจนหมด
[ คล้าย ๆ ที่ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ 6 ตุลา, 14 ตุลา
ถูกเอ่ยถึงแค่เพียง 1 หน้ากระดาษในหนังสือเรียน ]
แถมยังเรียกผู้ประท้วงว่าเป็น 'กบฏต่อต้านการปฏิรูป' อีกด้วยแน่ะ
การลบบุคคลที่เสียชีวิตออกจากหน้าประวัติศาสตร์
มันต่างอะไรกับการฆ่าเขาซ้ำอีกรอบล่ะ?
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/BigUpInstitute