หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ผู้ก่อตั้ง มหาลัยศิลปากร ตอน๔

เนื้อหาโดย มอญหงอย

คุณูปการต่อศิลปะไทย

    ศาสตราจารย์ศิลป์นั้นมีอุดมการณ์ที่จะต้องการพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก และในยุคที่ศิลปะตะวันตกกำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย สิ่งที่ท่านเล็งเห็นก็คือการทำอย่างไรให้คนไทยสามารถสร้างผลงานรูปแบบตะวันตกได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องว่าจ้างช่างตะวันตก และมีงานศิลปะที่เป็นตัวของตัวเองไม่ลอกเลียนแบบตะวันตกไปเสียหมด ด้วยแนวคิดนี้จึงเกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นเพื่อเพาะพันธุ์เมล็ดศิลปินที่จะเติบโตไปเป็นช่างแห่งกรุงสยามในภายภาคหน้า อีกสาเหตุหนึ่งที่ท่านตัดสินใจตั้งโรงเรียนขึ้นก็เพราะท่านมองว่าการเปิดโรงเรียนสอนเพื่อผลิตศิลปินนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวงการศิลปะมากกว่าการสร้างสรรค์งานแต่ตัวท่านเพียงลำพัง นอกจากนี้ศาสตราจารย์ศิลป์ยังได้มีส่วนช่วยในการจัดหาทุนทรัพย์และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาศิลปะชาวไทยเพื่อรักษาให้ชาติยังคงมีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นต่อไป เนื่องจากในยุคข้าวยากหมากแพงนั้นผู้ปกครองแทบทุกคนไม่สนับสนุนให้ลูกของตนเรียนวิชาศิลปะ ศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้พยายามอย่างสุดความสามารถให้ไทยสามารถมีช่างที่มีฝีมือได้ต่อไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

    จากความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกที่ท่านได้พร่ำสอนให้แก่ลูกศิษย์นี้เองทำให้วงการศิลปะไทยเกิดศิลปินหน้าใหม่ที่มีฝีมือและรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ออกมาได้ ศาสตราจารย์ศิลป์ได้รับมอบหมายให้สร้างพระบรมราชนุเสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของไทยมากมายหลายแห่ง ซึ่งท่านได้ใช้ความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกสร้างงานแต่ก็ยังมิได้ละทิ้งความงามของศิลปะไทยหรือที่เรียกกันว่า ศิลปะแบบไทยประเพณีไป ทั้งนี้เพราะท่านได้เล็งเห็นว่าศิลปะไทยก็มีความงามและเอกลักษณ์เป็นของตน อีกทั้งช่างไทยยังได้มีการสืบทอดความรู้วิชาในด้านศิลปะไทยมายอย่างยาวนาน การที่จะทำให้วงการศิลปะไทยก้าวหน้าก็ต้องไม่ลืมรากเหง้าเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่านจึงได้ทำการศึกษาศิลปะไทยอย่างละเอียดโดยเฉพาะการศึกษาพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยที่ท่านได้ยกย่องไว้ว่ามีความงดงามเป็นที่สุด ได้มีการศึกษารูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปและมีบทความวิชาการตีพิมพ์ออกมามากมาย ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการออกแบบพระพุทธรูปพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของความงามของศิลปะไทย มีการนำความรู้ใหม่คือศิลปะตะวันตกในลัทธิสัจนิยมที่เชื่อในเรื่องของความสมจริงมาผนวกใช้กับความงามแบบดั้งเดิมของศิลปะสุโขทัย ที่สร้างแบบศิลปะไทยประเพณีจนก่อให้เกิดความงามรูปแบบใหม่ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจากศาสตราจารย์ศิลป์ได้เป็นผู้วางรากฐานให้อย่างมั่นคง จึงส่งผลให้ศิลปินรุ่นหลังสามารถสืบทอดงานศิลปะไทยออกไปได้อย่างเต็มที่

    นอกไปจากนั้นแล้วศาสตราจารย์ศิลป์ยังได้เป็นกำลังหลักในการผลักดันให้เกิดการประกวดวาดเส้น จิตรกรรมและประติมากรรม จนเกิดเป็นงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติเกิดขึ้น มีจุดประสงค์ให้ศิลปินไทยเกิดการแข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกสู่สาธารณชนและช่วยให้ศิลปะไทยมีความก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่มีหยุด และเล็งเห็นต่องานช่างและงานศิลปะไทยในสาขาอื่นๆจึงได้ส่งเสริมให้มีการก่อตั้งคณะในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มคือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ ด้วยคุณูประการนานัประการนี้ศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของศิลปะไทยสมัยใหม่ที่ได้พลิกโฉมรูปแบบศิลปะไทยแบบเดิมให้มีความก้าวหน้าไปอย่างสูงทัดเทียมสากล เกิดศิลปินและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่สามารถสืบทอดงานศิลปะไทยต่อไปได้นานเท่านาน ไม่เพียงแต่งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรมแต่ยังรวมไปถึงงานด้านสถาปัตยกรรม โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ รวมไปถึงมัณฑนศิลป์อีกด้วย

 

พระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญ

 

(อนุสาวรีย์ผู้กล้าในสงครามโลกครั้งที่ 1 เกาะเอลบา ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2465) 

(ศาสตราจารย์ศิลป์ได้รับรางวัลชนะเลิศมอบโดยรัฐบาลอิตาลีจากอนุสาวรีย์นี้)

(พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2472)

(ศาสตรจารย์ศิลป์ได้ปั้นแบบและควบคุมการหล่อด้วยตัวเองที่ประเทศอิตาลี)

(อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี นครราชสีมา พ.ศ. 2477)

(เป็นอนุสาวรีย์ของวีรสตรีไทยที่มีความงดงามและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวโคราช)

(อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2482)

(ศาสตราจารย์ศิลป์ปั้นแบบประติมากรรมและควบคุมงานก่อนสร้างทั้งหมด)

(พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2484)

(มีขนาด 3 เท่าขององค์จริง แรกเริ่มศาสตราจารย์ศิลป์ออกแบบให้ทรงถือพระมาลา ก่อนจะเปลี่ยนให้สวมพระมาลาในภายหลัง)

(อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2485)

(ศาสตรจารย์ศิลป์ปั้นและควบคุมการหล่อประติมากรรมบุคคลทั้งห้าและควบคุมการสร้างอนุสาวรีย์)

(พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2493)

(มีความโดดเด่นด้วยลักษณะประติมากรรมที่งดงาม มีเอกลักษณ์และสมจริงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะประติมากรรมม้าที่อยู่ในท่ายืนพร้อมวิ่งและถูกสัดส่วนกายวิภาค)

(พระบรมราชานุสาสวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ. 2497)

(พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2498)

(สร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในเนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พระพุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบรอบ 2,500 ปี เป็นผลสำเร็จของการศึกษาศิลปะสุโขทัยอย่างลึกซึ้งของศาสตรจารย์ศิลป์ เกิดการสร้างพระพุทธรูปรูปแบบใหม่ที่ถือเป็นผสมผสานลัทธิสัจจนิยมของตะวันตกเข้ากับศิลปะไทยประเพณีแบบดั้งเดิม ถือเป็นการคงเอกลักษณ์เก่าไปพร้อมกับการสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะสมัยใหม่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง)

ผลงานประติมากรรม

    ตลอดชีวิตการทำงานของศาสตราจารย์ศิลป์ ท่านได้สร้างผลงานประติมากรรมไว้มากมาย โดยผลงานที่ยังมีอยู่มาจนถึงปัจจุบันก็อาทิเช่น

    สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (เฉพาะพระเศียร) - ทำจากสำริด ถือเป็นผลงานชิ้นแรกที่ทำให้ศาสตราจาย์ศิลป์เป็นที่รู้จัก
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (เฉพาะพระเศียร) - พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอย่างมากหลังได้เห็นพระบรมรูปของพระองค์
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครึ่งพระองค์) - ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 2 องค์ - ทำปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์
    พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า - เป็นประติมากรรมนูนต่ำด้วยปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ
    สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ครึ่งพระองค์) - ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส (ครึ่งองค์) - ปัจจุบันอยู่ในกรมศิลปากร
    พระญาณนายก (ปลื้ม จันโทภาโส มณีนาค) วัดอุดมธานี จังหวัดนครนายก - เป็นประติมากรรมนูนสูง ทำจากปูนพลาสเตอร์
    หลวงวิจิตรวาทการ (ครึ่งตัว) - ทำจากปูนปลาสเตอร์ ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร
    ม.ร.ว.สาทิศ กฤดากร (เฉพาะศีรษะ) - ทำจากบรอนซ์ เจ้าของคือม.จ.รัสสาทิศ กฤดากร
    นางมาลินี พีระศรี (เฉพาะศีรษะ) - ปัจจุบันตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์กรุงเทพมหานคร
    โรมาโน (ลูกชาย ภาพร่างไม่เสร็จ) - ปัจจุบันอยู่ที่กรมศิลปากร
    นางมีเซียม ยิบอินซอย (รูปเหมือนครึ่งตัว) - ทำจากบรอนซ์ ปัจจุบันอยู่ที่หอศิลปแห่งชาติ
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (เฉพาะพระเศียร)
    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช - ครึ่งพระองค์ ปั้นไม่เสร็จ เพราะศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน

เนื้อหาโดย: มอญหงอย
วิกิพีเดีย
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
มอญหงอย's profile


โพสท์โดย: มอญหงอย
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: Thorsten
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปลาทู คุณค่าทางโภชนาการสูง คุณประโยชน์ดี ๆ ไม่แพ้ปลาทะเลอื่น ๆอกหักต้องทำอย่างไร ? วิธีรับมือสบาย ๆ เมื่อเราอกหักโรคกลัวการถูกสัมผัส Aphenphosmphobiaตำแหน่งที่ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้ บ่งบอกว่ากำลังเป็นอะไรอยู่10 อาหารลดบวมน้ำ ตัวช่วยจากผักและผลไม้ ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายปรับไลฟ์สไตล์ เปลี่ยนสุขภาพร่างกาย จิตใจ ให้แข็งแรง7 เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลน้องชายให้สะอาด มั่นใจ กลิ่นดี จนใครๆ ก็อยากอยู่ใกล้!อุโมงแห่งที่3ในโคราช แยกสีคิ้วเริ่มสร้างปีหน้า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เเตเเต มิสแกรนด์พม่า แต่งหน้าไม่สวยเหมือนตอนอยู่ไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
ฉะเชิงเทราฉะเชิงเทรากาญจนบุรีท่านใดสนใจกระทู้ประวัติศาสตร์ช่วยโหวตหน่อยครับ
ตั้งกระทู้ใหม่