จะกี่ครั้งก็ยังรู้สึกน้ำตาไหลตลอด เรื่องเก่าเล่าใหม่กับรู้สึกโชคดีมีโอกาสได้ไปกราบ สมเด็จพระศรีสุริโยทัยอย่างน้อยก็สักครั้งในขีวิต
เมื่อไม่นานเท่าไหร่ทางผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางมา ณ ดินแดนเมืองเก่าของไทย รู้สึกโชคดีมากๆ เพราะครั้งนี้ได้แวะไปกราบ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ด้วย เพราะครั้งก่อนๆที่ไป ไม่เคยเลยสักครั้งงที่จะได้แวะไป ความรู้สึกเมื่อครั้งได้เห็น พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย และมีการจำลอง เป็นงานปั้นอยู่ด้านหลัง ในลักษณะท่าทาที่ต่างกันออกไป บอกเลยว่าเห็นแล้วทำให้น้ำตาไหลออกมา ในใจก็คิดว่านี้คงจะเป็นการจำลองเหตุการ บอกให้เห็นถึงงความโศกเศร้าเมื่อครั้งที่ชาวบ้านได้รับรู้ถึงข่าวการสิ้นพระชน ของนักรบยอดยิ่งหญิงไทย ผู้กล้า สละพระองค์เพื่อชาติ วีรสตรีไทยในสมัยอยุธยา ที่มีพระนามว่า สมเด็จพระสุริโยทัย อีกพระองค์ที่มิอาจลืมได้เลย
"ใครเคยไปแล้ว มีความรู้สึกอย่าไร มาเล่าสู่ให้ฟังกันบ้างนะ เผื่อใครที่ยังไม่เคยได้ไป ก็ลองหาเวลาไปดูนะคะ แล้วที่อื่นๆ มีที่ไหนอีกบ้าง ที่ท่านไปมาแล้ว แชร์ประสบการณ์กันบ้างนะ ขอบขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ"
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>><<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<>>>>>>>>>>>>>>><<<<>>>>>>>>
ขอยกเอาพระราชประวัติของพระองค์มาให้ได้อ่านกัน โดยยกมาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (wikipedia)
พระราชประวัติ : สมเด็จพระสุริโยทัย เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในขณะที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ขึ้นครองราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนวรวงศาธิราชได้เพียง 7 เดือน เมื่อ พ.ศ. 2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้และมหาอุปราชาบุเรงนองยกกองทัพพม่าเข้ามาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก โดยผ่านมาทางด้านด่านพระเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีและตั้งค่ายล้อมพระนคร การศึกครั้งนั้นเป็นที่เลื่องลือถึงวีรกรรมของ สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ซึ่งไสช้างพระที่นั่งเข้าขวางพระเจ้าแปรด้วยเกรงว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชสวามี จะเป็นอันตราย จนถูกพระแสงของ้าวฟันพระอังสาขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง เพื่อปกป้องพระราชสวามีไว้ เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีจุลศักราช 910 ตรงกับวันเดือนปีทางสุริยคติ คือ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 เมื่อสงครามยุติลง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ทรงปลงพระศพของพระนางและสถาปนาสถานที่ปลงพระศพขึ้นเป็นวัด ขนานนามว่า วัดสบสวรรค์ หรือวัดสวนหลวงสบสวรรค์
พระวีรกรรมในหลักฐานไทย : เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2092 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงตัดสินพระทัยยกทัพออกนอกพระนครเพื่อเป็นการบำรุงขวัญทหารและทอดพระเนตรจำนวนข้าศึกพระสุริโยทัยพร้อมกับพระราชโอรส-พระราชธิดารวม 4 พระองค์ได้เสด็จติดตามไปด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่างมหาอุปราช ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด พระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้ พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระสุริโยทัย เนื่องจากพระสุริโยทัยอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันพระสุริโยทัยจากพระพาหาขาดถึงกลางพระองค์ พระองค์เสด็จสวรรคตเช่นเดียวกับพระราชธิดา คือ พระบรมดิลก บนช้างทรงเชือกเดียวกัน
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลย และข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงกู เซชัส (Domingo Seixas)
บทความนี้กล่าวถึงพระอัครมเหสีของพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา สำหรับภาพยนตร์ ดูที่ สุริโยทัย : สมเด็จพระสุริโยทัย หรือ พระสุริโยทัย เป็นพระอัครมเหสีใน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 15 ของอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ พระสุริโยทัยตามพงศาวดารหลวงประเสริฐฯ กล่าวเพียงแค่เป็นอัครมเหสีผู้เสียสละพระชนม์ชีพเพื่อปกป้องพระราชสวามีใน สงคราม พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ในปี พ.ศ. 2091 พงศาวดารบางฉบับ กล่าวว่า พระสุริโยทัย เป็นเจ้านายเชื้อสายราชวงศ์พระร่วง เจ้ากรุงสุโขทัย โดยมิได้กล่าวรายละเอียดใดมากกว่านี้ ไทยยกย่องว่าเป็นวีรสตรีจากวีรกรรมยุทธหัตถี กับพระเจ้าแปร ในสงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้
((หากเขียนอะไรที่ผิดไป ต้องขอกราบอภัยไว้ก่อน และ ขอกราบขอบพระคุณทุกๆท่านที่ติดตาม))