คุณแพ้ถุงยางอนามัยหรือเปล่า ? มาหาคำตอบกันเถอะ
โพสท์โดย nineemayy18
คุณแพ้ถุงยางอนามัยหรือเปล่า ?
“ถุงยางอนามัย” ที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป เกิน 80% ผลิตจากยางพารา ซึ่งโดยทั่วไปคนประมาณ 1-6% จะมีอาการแพ้ยางพาราเป็นทุนเดิม จึงอาจแพ้ถุงยางอนามัยชนิดนี้ด้วย หากแบ่งจากวัสดุที่ใช้ผลิต เราสามารถแบ่งถุงยางอนามัยออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา ข้อดี คือ ราคาถูก หาซื้อง่าย นอกจากคุมกำเนิดได้ดี และมีประสิทธิภาพแล้ว ยังป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย ข้อเสีย คือ ต้องใช้ร่วมกันกับสารหล่อลื่นชนิดน้ำเท่านั้น ห้ามใช้ร่วมกับน้ำมัน เช่น เบบี้ออยล์ โคลด์ครีม โลชั่น ปิโตรเลียมเจล น้ำมันพืชทุกชนิด ฯลฯ เพราะจะทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อม เกิดการฉีกขาดได้ขณะใช้งาน
- ถุงยางอนามัยที่ทำจากเยื่อธรรมชาติ ถุงยางอนามัยชนิดนี้ มีจำหน่ายอยู่ในตลาดไม่ถึง 5% โดยผลิตจากลำไส้ของแกะ มีข้อดีต่างจากถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพาราตรงที่สามารถใช้ได้กับสารหล่อลื่นทุกชนิด โดยไม่ทำให้ถุงยางอนามัยเสื่อมคุณภาพ ข้อเสียคือ หาซื้อได้ยาก ไม่ค่อยมีขายทั่วไป อีกทั้งลำไส้สัตว์ที่นำมาใช้ผลิต ยังมีรูพรุนเล็กๆ ที่มองไม่เห็น ซึ่งเชื้อไวรัสต่างๆ อาจจะผ่านเข้าไปได้ การคุมกำเนิดและป้องกันโรคจึงไม่ได้ผลดีเท่ากับถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา
- ถุงยางอนามัยที่ทำจากสารสังเคราะห์ เช่น Polyurethane, Nitrile มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดประมาณ 15% ส่วนใหญ่จะเป็นถุงยางอนามัยของผู้หญิงที่จะทำจากสารประเภทนี้ ข้อดีคือ ไม่ทำแพ้และระคายเคืองง่าย สามารถใช้กับสารหล่อลื่นทุกชนิดได้เช่นกันกับถุงยางอนามัยที่ทำจากเยื่อธรรมชาติ แต่มีอายุการใช้งานที่นานกว่า นอกจากช่วยคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังป้องกันเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ดี คล้ายถุงยางอนามัยที่ทำจากยางพารา ข้อเสียคือ เวลาเสียดสีมักมีเสียงดัง
ส่วนอาการแพ้ถุงยางอนามัยเกิดได้จากสองสาเหตุหลักๆ คือ
- อาการแพ้สารเคลือบถุงยางอนามัย เช่น สารหล่อลื่นต่างๆ หากแพ้สารเคลือบ การเปลี่ยนยี่ห้อถุงยางอนามัยก็อาจจะทำให้อาการแพ้หายไปได้
- อาการแพ้ยางพารา ในแรกเริ่มมักจะมีอาการคัน เจ็บ แสบ เป็นผื่นคล้ายลมพิษ หรือผื่นแดงหนาบริเวณผิวที่สัมผัสถุงยางอนามัย หากเป็นรุนแรง (ซึ่งพบได้น้อยมาก) ในบางคนจะมีอาการหายใจไม่ออก หลอดลมหดเกร็ง จนถึงขั้นเป็นลม หน้ามืด หรือชักได้
หากสงสัยว่าคุณเกิดอาการแพ้ถุงยางอนามัย ถ้าเป็นไม่มาก ให้รับประทานยาแก้แพ้ หรือทายาแต่หากนานวันไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์ทางด้านผิวหนังหรือแพทย์เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะส่วนใหญ่ของคนที่มีอาการแสบๆ คันๆ ที่อวัยวะเพศหลังจากใช้ถุงยางอนามัยอาจไม่ใช่อาการแพ้ถุงยางอนามัย แต่คือการติดเชื้อรา เชื้อเริม หรือติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ที่กำเริบ หรืออาการรุนแรงขึ้น หลังจากโดนเสียดสีได้
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ช่างประปาในเวียนนาพบสมบัติที่มีมูลค่า 2 ล้านปอนด์ถูกซ่อนอยู่ในคอนกรีตกระบะชนเด็กชายวัย 5 ขวบ วิ่งข้ามถนนดับอนาถนับถือ!! หนุ่มฝรั่งกระโดดน้ำในคลองแสนแสบเล่น ยูรู้จักเชื้ออีโลไลมั้ย ?😂ครูสงสัยทำไม นร.ชายใส่กระโปรง..รู้เหตุผลแล้วบอกเลย ใจนายแมนมากรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่เป็นวันศุกร์แล้ว พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันหยุดของหลายๆคนแล้วน๊า สู้ๆ"แช่หรือไม่แช่? อ.เจษฎ์ชี้ชัด ซีอิ๊ว-ซอสหอยนางรม หลายบ้านทำผิด!""ไม่เก็บที่นอนเป็นบาปไหม?" อ.เบียร์ คนตื่นธรรม ตอบชัด จนกลายเป็นไวรัล 4 ล้านวิว!กรี๊สสสส!! พี่จี๋ สุทธิรักษ์ กับการเป็นพระเอกซีรีส์ญี่ปุ่นครั้งแรก กำหนดฉายมกราคมปีหน้า😊ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ทักษิณ-เพื่อไทย คดีล้มล้างการปกครอง"จากเช้าจรดค่ำ! ตารางชีวิต"เศรษฐีน้อย" 4 งานต่อวัน เก็บ"ครึ่งล้าน"ในปีเดียว"พอรู้ที่มาของน้ำตกในภูสอยดาว..เล่นเอาแทบลมจับเลยทันทีสิงคโปร์llขวนคอ ผู้ค้ายาเสwติด 3 ราย ใน 1 สัปดาห์Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
นับถือ!! หนุ่มฝรั่งกระโดดน้ำในคลองแสนแสบเล่น ยูรู้จักเชื้ออีโลไลมั้ย ?😂"พาลี" สอน "สุครีพ" ว่าอย่างไร และ "พาลี" ตายด้วยสาเหตุใด"ไม่เก็บที่นอนเป็นบาปไหม?" อ.เบียร์ คนตื่นธรรม ตอบชัด จนกลายเป็นไวรัล 4 ล้านวิว!ด่วน! ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง ทักษิณ-เพื่อไทย คดีล้มล้างการปกครองกระบะชนเด็กชายวัย 5 ขวบ วิ่งข้ามถนนดับอนาถ(วันวาน) นิ้ง กุลสตรี @ นิตยสาร กุลสตรี ปีที่ 26 ฉบับที่ 607 ปักษ์หลัง เมษายน 2539Sun Yingsha @ Harper's BAZAAR China October 2024Okinawa Tarzan:Kidzyร้อนซ่อนเงื่อน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
"พาลี" สอน "สุครีพ" ว่าอย่างไร และ "พาลี" ตายด้วยสาเหตุใดบทเรียนจากอดีตของบริษัทผลิตบุหรี่ : เมื่อความต้องการ "ปกป้องผู้บริโภค" กลายเป็นภัยร้ายที่ซ่อนอยู่...สรุปไอ้สิ่งที่ทำให้ "อันตราย" กว่าเดิมไปอี๊กกก พ่อเอ๊ยย....Berghia coerulescens" ทากทะเลสีสันสดใส แห่งโลกใต้สมุทร"ปลางวงช้าง" ปลาผู้ฉลาดล้ำแห่งทวีปแอฟริกา