วิจัยชี้อาหารไทยทำคนไทยติดเค็ม !!! 😓😓
ในฐานะของคนที่ติดกินเค็มเหมือนกัน เมื่อได้ไปกินอาหารบางร้านแอดมิน แทบจะไม่เคยกเติมเกลือหรือน้ำปลาเลย เพราะรู้สึกว่าเค็มพออยู่แล้ว แต่ก็ไม่นึกว่าอาหารที่กินอยู่ทุกวัน จะมีโซเดียมสูงขนาดนี้
ดร.เนตรนภิส วัฒนสุชาติ นักวิจัยเชี่ยวชาญ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยว่า ทางสถาบันฯ ได้มีการเช็คโภชนาการของอาหารไทยด้านโซเดียมหรือความเค็มของอาหาร ซึ่งอาจเป็นภัยร้ายต่อสุขภาพได้ โดยทางสถาบันได้มีการตั้งระดับปริมาณโซเดียมไว้ 5 ระดับ ได้แก่
1.ความเสี่ยงสูงมาก หรือมีปริมาณโซเดียมเกินกว่า 2,000 มิลลิกรัม
2.ความเสี่ยงสูงมีโซเดียมระหว่าง 1,500-2,000 มิลลิกรัม
3.ความเสี่ยงปานกลาง มีโซเดียมระหว่าง 1,000-1,500 มิลลิกรัม
4.ความเสี่ยงน้อย โซเดียมระหว่าง 600-1,000 มิลลิกรัม
5.ไม่มีความเสี่ยง โซเดียมน้อยกว่า 600 มิลลิกรัม
ซึ่งจากการรวบรวมข้อมูลจากอาหาร 221 ตัวอย่าง 76 ชนิด แบ่งเป็นกับข้าว 27 ชนิด อาหารจานเดียว 29 ชนิด และอาหารว่างหรือขนม 20 ชนิด โดยอาหารแต่ละอย่างก็มาจากหลายสถานที่ทั้ง แหล่งชุมชน สถานที่ทำงาน ร้านอาหาร และรถเข็นตอนกลางคืน พบว่าอาหารที่คนไทยนิยมกินมีโซเดียมที่สูงมากๆ โดยอาหารที่เสี่ยงมีโซเดียมมากที่สุด เช่น
อาหารกับข้าว💓💓💓💓อาหารที่มีโซเดียมสูงระดับ 1 ทั้งหมด 16 ชนิด คิดเป็น 59% ของอาหารกับข้าวที่มีการตรวจสอบ
--------------แกงเขียวหวาน แกงเทโพ ต้มยำหรือต้มโคล้ง แกงไตปลา น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาร้า ผัดกระเพราหมูหรือไก่------
อาหารจานเดียว💓💓💓💓กลุ่มอหาารที่อยู่ ระดับ 1 มีอยู่ 10 ชนิด คิดเป็น 35% ของอาหารจานเดียวที่ตรวจสอบ
----------------ต้มเลือดหมู ส้มตำปูปลาร้า ส้มตำไทย ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ บะหมี่หมูต้มยำ สุกี้น้ำรวมมิตร---------------
อาหารทานเล่น 💓💓💓💓มีโซเดียมระดับ 2 มีอยู่ 8 ชนิด คิดเป็น 40% ของอาหารหวานที่ตรวจสอบ
----------------ไส้กรอกทอด คอหมูย่าง ทอดมันปลากราย ขนมกุยช่าย ปอเปี๊ยะทอด ไก่ทอด ก๋วยเตี๋ยวลุยสวน และลูกชิ้นปิ้ง----
ง่ายๆ เลยคือเมนูอาหารของไทยที่เราชอบกินกันจำนวนไม่น้อย มีโซเดียมระดับเกินกว่า 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งย่อมไม่ดีต่อร่างกายแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามโซเดียมก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นการกินแต่พอดีจะเป็นการดีที่สุด อย่างทางแอดก็ได้พยายามลดการปรุงรสชาติเพิ่มเติม อาทิ สั่งก๋วยเตี๋ยวก็จะสั่งต้มยำและไม่ปรุงเพิ่ม สั่งหมูกระเพราก็จะไม่เติมพริกน้ำปลา เป็นต้น ซึ่งเพียงแค่นี้ก็พอจะลดโซเดียมลงได้บ้าง ที่สำคัญคือลดกินอาหารรสจัดลงและหันมากินรสกลางๆ ถึงอ่อน จะทำให้เครื่องปรุงในอาหารรสลงและย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน 😁😁
--------------------เกร็ดน่ารู้--------------------------------------
พิษจากโซเดียม = โซเดียมส่วนใหญ่อยู่ใน เกลือ ผงชูรสหรือเบกกิ้งโซดา หากเรากินอาหารที่มีโซเดียมอาจทำให้เราไตวายได้
อ่านบทความ Magazine ออนไลน์ของ Bansorn ได้ที่
https://bansornmagazine.blogspot.com/2017/10/secret-column-expense-of-research-is-0.html
ถ้าอยากตามข่าววิจัยและสถิติอื่นๆ ไปกดไลค์กดติดตามได้ที่