8 เทคนิค ดูพระสมเด็จที่ไม่ให้พลาด!
ถ้าหากจะเอ่ยถึงพระสมเด็จ วัดระฆัง เชื่อได้เลยว่าไม่มีเซียนพระคนไหนที่จะไม่รู้จัก เพราะมีความเชื่อที่ว่าผู้ที่ครอบครองจะมี 'พุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดภัยภิบัติ คงกระพัน โชคลาภ' จึงทำให้ตลอดหลายช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนมากมายต่างที่อยากจะถือครอบครอง ทว่าจากความจากพลังศรัทธาที่เหลือล้น ทำให้มีผู้ที่ไม่หวังผลิตพระปลอมแล้วนำมาหลอกเช่าต่อผู้ที่ไม่รู้มากมาย วันนี้ทางทีมงานจึงมี 8 เทคนิคการดูพระสมเด็จแบบง่ายๆมาให้ศึกษากันครับ
1.สังเกตพระที่มีผิวแห้ง หรือเป็นขุยยุ่ย เมื่อมองไกลๆ วรรณะเหลืองปนน้ำตาล (ของน้ำมันตังอิ๊ว)
โดยการกวาดสายตาดูตามแผงพระทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งพิมพ์ทรง ทั้งสี ขนาด รูปร่าง ความหนา-บางโดยรวม ที่จะสามารถสังเกตพระสมเด็จแท้ๆ แยกออกจากพระโรงงานได้โดยง่าย แต่ก็จะมีพระโรงงานทำสี แช่สารเคมี พลาสติกอัด โปะหรือพอกสารเคมีสารพัดชนิดเพื่อเลียนแบบน้ำมันตังอิ๊วปะปนมาบ้างพอสมควร การฝึกสายตาบ่อยๆ จะสามารถแยกสีของพระสมเด็จออกจากสีพระโรงงานทอดน้ำมันได้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่างน้อยที่สุดจะแยกพระโรงงานออกได้ไม่น้อยกว่า 90% ของพระที่มีในตลาด
2.สังเกตพระที่มีเนื้อปูดสีขาวมัน หลากอายุ ถึงขาวปนเหลืองอ่อน ตามผิวองค์พระ และตามซุ้ม และตามพื้นองค์พระ
มีลักษณะเป็นเนื้อหินอ่อน หรือเนื้อเกินจากผิวเดิม ปูด หรือพอกหนา คล้ายการเคลือบกระเบื้อง แต่ผิวจะดูเป็นลูกคลื่นแบบฉ่ำๆ หลากอายุมวลสารที่ปูดจะดูมีอายุน้อย แบ่งเป็นวงอายุ เป็นชั้นๆ มีสีขาวถึงขาวปนเหลืองอ่อนที่ปลายยอด และเข้มขึ้นเมื่อลงหาฐาน
3.สังเกตพระที่ผิวมีสีนวลแบบผงแป้งฉาบบางๆ ไม่มีร่องรอยการโปะ
ที่อาจเป็นผิวคล้ายของเดิม หรือเป็นหลุมโพรงปลายเข็ม ของรูน้ำตา ปากกว้างมน กระจัดกระจายทั่วไป ผิวในหลุมทั้งหมด จะมีลักษณะเหมือนผงแป้งโรยถึงขั้นนี้จะแยกพระโรงงานออกไปได้ไม่น้อยกว่า 99% ทำให้โอกาสพลาดน้อยลง เหลือเพียงไม่เกิน 10%
4.ขอส่องดูเนื้อพระ
เมื่อมองไกลจะต้องดูแห้ง หนึกนุ่ม เมื่อมองใกล้จะต้องดูฉ่ำ ชุ่มเป็นจุดๆ แบบวงฟองเต้าหู้ มีมวลสารหลากชนิดตามหลักในตำราพื้นฐานทั่วไป จะต้องมีจุดฉ่ำให้เห็นชัดเจน จำนวนยิ่งมากยิ่งดี ที่ถือว่าเป็นพระแท้ดูง่าย เมื่อมองผ่านเลนส์ จุดฉ่ำทุกจุดต้องเป็นวงแบบไล่ระดับความแห้ง
มองหาจุดฉ่ำทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง มองหารูน้ำตา ที่มีทางไหลของคราบน้ำตา (แบบรูแย้ หรือรูจิ้งหรีด ที่มีทางไหลจากปากรู มีคราบฟองเต้าหู้เป็นวงๆละเอียด) และเนื้อปูดเป็นวงแบบหัวสิว หรือหัวหนอง ที่หัวใส ฐานด้านๆ ดูการยุบยุ่ยของมาลสารที่อ่อนตัวในหลุุมตามผิวขององค์พระ ถ้ามีครบอย่างที่ว่า ก็น่าจะวางใจได้กว่าครึ่ง
5.ดูพิมพ์พระ
ดูความคมชัดของพิมพ์ มีความงามของศิลปะแบบฝีมือช่างสิบหมู่ ไม่แอ่น ไม่บิด ไม่งอ
6.ดูการแตกของผิวขอบองค์พระแบบ “ริ้วเล็กๆ” ขอบมน ไม่มีความคม
จากการมีคราบน้ำมันตังอิ๊ว ฟองเต้าหู้ หรือเนื้อปูดมางอกโปะอยู่โดยธรรมชาติทั้งหน้าและหลังเป็นเนื้อแบบเดียวกัน ด้านข้างอาจมีรอยแยกให้เห็น แต่มักมีฟองเต้าหู้คลุม ดูเป็นลูกคลื่น
7.ดูตำหนิที่สำคัญของแต่ละพิมพ์
ในเบื้องต้นนี้ ยังไม่ค่อยจำเป็นนัก เพราะเมื่อดูเนื้อผ่านได้แล้ว โอกาสพลาดสูงสุดไม่เกิน 50% ฝึกดูไปเรื่อยๆ ประกอบทั้งศิลปะ พิมพ์ และตำหนิที่อาจมี จึงน่าเหลือโอกาสพลาดจะน้อยลงตามลำดับ จนน่าจะเหลือน้อยกว่า ๕๐% เมื่อดูครบดังที่กล่าวมา และทบทวนจนแน่ใจแล้ว จึงเริ่มถามและต่อรองราคา
8.อย่ากังวลกับการพลาดไป “ตีเก๊พระสมเด็จแท้ๆ”
อย่าเสียเวลา “ลุ้น” โอกาสหน้ายังมีอีกมาก แต่จงกังวลกับการ “พลาดไปหยิบพระโรงงาน” ที่พลาดแล้ว “ถอยยาก”
ข้อควรระวัง
อย่าไปสนใจคำพูดใดๆของ “เซียนวิชามาร” ทั้งโดยคำพูดและโดยตำรา ที่เขาทำมาเพื่อการทำมาหากินของเขา อย่างมากก็เพียงนำมาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา อย่านำมาเป็นความรู้เป็นอันขาด เพราะวัตถุประสงค์ของเขานั้น เขาสนใจเชิงผลประโยชน์ของเขา มากกว่าที่จะพยายามหรือตั้งใจให้คนอื่นจะมีความรู้เท่าเขา จึงอย่าเชื่อนิทานใดๆ ไม่ว่าคนเล่านิทานคนนั้นจะเป็นใคร ทุกอย่างที่อยากรู้ ให้อ่านและดูจากเนื้อพระเพียงอย่างเดียว
ขอขอบคุณบทความจากท่าน ดร. แสวง รวยสูงเนิน