รายงานการพบเจอ "งูพิษ" อีกชนิดอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
รายงานการพบเจองู อีกชนิดอย่างเป็นทางการในประเทศไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Protobothrops mucrosquamatus
ชื่อสามัญ : Brown Spotted Pitviper
ชื่อไทย : ยังไม่มีชื่อเรียก (เนื่องจากในประเทศไทยไม่เคยพบงูสกุลนี้เลย)
แต่เพื่อให้มีชื่อเรียกแทนตัวชั่วคราว เพื่อความเข้าใจในการสื่อสารกัน ทางเพจขอเรียกงูชนิดว่า "งูกะปะดอย" เป็นชื่อแทนชั่วคราว ก่อนที่จะมีการตั้งชื่อที่เป็นทางการอีกทีครับ
การค้นพบเกิดขึ้น เมื่อมีผู้ป่วยถูกงูพิษไม่ทราบชนิดกัดที่จังหวัดน่าน ผู้ป่วยได้นำงูที่กัดมาด้วย แต่ทางแพทย์ไม่สามารถจำแนกชนิดงูที่กัดด้วย จึงส่งภาพไปถามทางศูนย์พิษรามา ก่อนที่ภาพจะถูกส่งมาให้กับสวนงูสถานเสาวภา สภากาชาดไทยทำการจำแนกชนิดอีกที
ปรากฎว่าจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นทราบว่า งูตัวดังกล่าว เป็นงูที่มีความคล้ายคลึงกับงูในสกุล Protobothop ซึ่งไม่เคยมีรายงานการพบอย่างเป็นทางการมาก่อนในประเทศไทย จึงได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดโดยการพิสูจน์DNA และในที่สุดข้อมูลโดยรวมและผลการตรวจสอบDNA ตรงกับงูที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Protobothop mucrosqumatas ซึ่งเป็นงูที่ยังไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยนั่นเอง เราจึงขออนุญาติเรียกงูชนิดนี้ด้วยชื่อชั่วคราวว่า "งูกะปะดอย" ก่อนที่จะมีชื่อทางการในภายหลัง
งูกะปะดอย เป็นงูพิษที่มีผลทางระบบเลือด จัดอยู่ในกลุ่มพิษระบบเดียวกับงูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ แต่หากถูกกัดและได้เข้ารับการรักษาจากแพทย์ ไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
แหล่งที่อยู่อาศัย จากข้อมูลที่มีเบื้องต้นพบว่า มีการพบตัวอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย อาศัยในพื้นที่ป่าเขา หรือบนดอย โอกาสพบเจอได้น้อย และยังอยู่ในพื้นที่จำกัด จึงขอให้แฟนเพจไม่ต้องตื่นตะหนกกับงูชนิดนี้ ก่อนหน้านี้มีข้อมูลการกระจายพันธุ์ในประเทศเพื่อนบ้านเรามาก่อนแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะพบในประเทศไทย แต่ยังขาดหลักฐานการพบเจอ และเพิ่งได้พบตัวอย่างแรกที่กัดคนแล้วเข้ารับการรักษาพยาบาลที่จังหวัดน่าน และทางโรงพยาบาลได้ส่งตัวอย่างงูมาให้ สวนงู สถานเสาวภา ช่วยในการจำแนกชนิด
ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : สวนงู สถานเสาวภา สภากาชาดไทย
Credit : งูพิษชิดใกล้