บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ ใน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.๒๓๕๒ -๒๓๖๗)
บทละครเรื่องรามเกียรติ์
พระราชนิพนธ์ ใน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(พ.ศ.๒๓๕๒ -๒๓๖๗)
ในฐานะขุนศึกนำทัพปราบศึกมะลายู เมื่อขึ้นครองราชย์ต้องเผชิญกับการไม่ยอมรับจากกลุ่มขุนศึกจากทุกฝ่าย เมื่อใช้กำลังปราบปรามก็ต้องพร่าชีวิตสังหารขุนทหารผู้เคยร่วมกู้ชาติด้วยกันมา เครียดมากถึงขั้นต้องไปนั่งแกะสลักบานประตูพระอุโบสถวัดสุทัศน์ร่วม 2 ปี ก็คิดวิธีการเตรียมพร้อมเพื่อเตือนให้กลุ่มที่ไม่ยอมรับพระราชอำนาจ รู้ว่าพระองค์ทรงรู้เท่าทันตลอดทุกการเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้เกิดการนองเลือดฆ่าฟันกันเองอีก....
บทละครโขนเรื่องรามเกียรติคือบันทึกประสบการณ์รบทั้งหมดของพระองค์ท่านที่แสดงด้วยทหารเป็นกองพันเพื่อให้ทุกฝ่ายรู้ว่าพระองค์ท่าน....เตรียมพร้อมรับมือเสมอกับการคิดก่อการทุกรูปแบบ
ฉากรบหลายๆตอนในพระราชนิพนธ์ จึงทรงมีสำนวนกราดเกรี้ยวดุเดือด และท่าแสดงโขนโดยเหล่าขุนศึกพิทักษ์พระราชอำนาจ...ตลอดจนพิธีกรรมในสงครามจึงมีการทบทวนอยู่ตลอดเวลาในบทละคร....
มวยไทยพิชัยสงคราม เป็นงานที่เกิดจากการวิจัยประสบการณ์รบของขุนทหารที่เล่นละครโขนในราชสำนัก จากบทพระราชนิพนธ์นี้บนฐานของมวยไทยพิชัยสงครามดั้งเดิม ที่พร้อมเคลื่อนไหวเพื่อยุติการเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายหรือหลายฝ่ายอย่างฉับพลันทันที