หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประเทศไทยยังไม่พ้นวิกฤตมลพิษทางอากาศ PM2.5 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2560

โพสท์โดย greenpeaceth

หากในพื้นที่ใดมีมลพิษทางอากาศ ประชาชนผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นก็ยากที่จะหลีกเลี่ยง นอกเสียจากจะย้ายถิ่นฐาน มลพิษทางอากาศจึงเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องเผชิญร่วมกันอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 หลายเมืองในประเทศไทยยังคงเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งถือเป็นความล้มเหลวที่จะบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หากประเทศไทยยังคงละเลยการแก้ไขมลพิษทางอากาศที่กำลังเป็นปัญหาเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เปิดเผยข้อมูลจากการประมวลค่าเฉลี่ยของความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ 19 จุดใน 14 เมืองทั่วประเทศไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2560 ในงาน “Unmask Our Cities: อัพเดทสถานการณ์มลพิษ PM2.5” โดยระบุว่า ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ PM 2.5 ทั้ง 14 เมืองเกินค่าความปลอดภัยตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก และมี 10 เมืองจากทั้งหมด 14 เมือง ที่มีความเข้มข้นเฉลี่ยของ PM2.5 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2560 สูงกว่าระดับความปลอดภัยที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปของประเทศไทย ซึ่งตั้งไว้ว่าไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อปี

ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายนปีนี้ พบว่า 2 พื้นที่เมืองที่มีค่าเฉลี่ยของความเข้มข้น PM2.5 สูงสุด ได้แก่ขอนแก่น (44 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) และสระบุรี (40 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ซึ่งสูงกว่าระดับที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ถึง 4 เท่า และมีอีก 8 พื้นที่เมืองที่ยังต้องเผชิญกับปัญหา ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ(พระประแดง) ปราจีนบุรี(ท่าตูม) ราชบุรี(เมือง) สมุทรสาคร(เมือง) ลำปาง(แม่เมาะ) เชียงใหม่(เมือง) และตาก(แม่สอด) โดยมีค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่อยู่ในระดับที่สูงตั้งแต่ 26 ถึง 39 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพใหญ่

มลพิษทางอากาศเป็นประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อมประการหนึ่งที่รัฐบาลไทยยังล้มเหลวที่จะแก้ไขปัญหา โดยที่ฝุ่นละอองPM 2.5 ยังเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน แนวคิดที่ว่า “ได้อย่างย่อมเสียอย่าง” ไม่ควรเป็นหลักการที่ควบคู่กับการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจ โดยที่ยอมแลกด้วยสุขภาพของประชาชนที่สูญเสียไปเนื่องจากสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย

ในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างแท้จริง จำเป็นจะต้องแก้จากแหล่งกำเนิดมลพิษ และทำความเข้าใจกับปัญหา ซึ่งแนวทางต่อกรกับวิกฤตมลพิษทางอากาศที่กรมควบคุมลพิษควรเร่งดำเนินการเพื่อปกป้องสุขภาพของคนไทย คือ ปรับปรุงดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยโดยนำค่าเฉลี่ยของ PM2.5 มาใช้ในการคำนวณ (PM2.5 AQI)

มลพิษทางอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ภายในงานเสวนาเรื่อง “ฝุ่นละออง PM2.5 แผนการจัดการมลพิษทางอากาศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย” ได้ถกถึงมาตรฐานการค่ามลพิษของไทยที่ยังขาดการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งนอกจาก PM2.5 แล้ว ยังรวมถึงสารพิษต่าง ๆ อาทิ พีเอเอช (โพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน) สารหนู แคดเมียม และปรอท ซึ่งเป็นสารพิษองค์ประกอบหลักของ PM2.5

“ฝุ่นพิษ PM2.5 ร้ายกว่าปรอท หรือตะกั่วซึ่งมีสารพิษเพียงตัวเดียว PM2.5 เป็นสหสารพิษ และมีสารอิททรีย์ระเหยง่ายที่เป็นสารก่อมะเร็ง ปัญหาสำคัญคือประเทศไทยไม่มีการรวบรวมข้อมูลด้านมลพิษ ตั้งแต่ประเทศไทยให้สัตยาบันในอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบันนี้เรายังคงไม่รู้ว่ามีแหล่งปล่อยมลพิษในประเทศอยู่กี่แห่ง แล้วเราจะควบคุมได้อย่างไร” คุณเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าว

ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการ ป้องกันและจัดการภัยพิบัติ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวเสริมว่า “ไทยยังไม่มีการกำหนดว่าสารพีเอเอชเป็นสารอันตราย ทั้งที่ประเทศอื่นกำหนดหมดแล้ว จากที่ได้ทำการวิจัยพบว่า สารพีเอเอชในมลพิษทางอากาศที่เชียงใหม่เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ 906 มวน และในการตรวจสอบการกระจายตัวของพีเอเอชที่กรุงเทพฯพบว่ามีการกระจายตัวสูงสุดที่ดินแดง รองลงมาที่โชคชัยสี่ ตัวอนุภาค PM2.5 ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง แต่สามารถนำพาสารก่อมะเร็งได้ อุปมาคือฝุ่นคือรถยนต์ สารก่อมะเร็งเป็นผู้ก่อการร้าย ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร ยิ่งนำพาสารก่อมะเร็งไปได้ไกล”

นอกจากนี้ ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงการวิจัยในระหว่างช่วงหมอกควันพิษทางภาคเหนือตอนบนว่า ในช่วงที่กำลังเกิดการเผาไหม้กับช่วงที่มีแต่ควัน ผลที่ได้คือค่ามลพิษไม่ต่างกัน “สิ่งที่มีผลเสียอย่างต่อเนื่องคือไอเสียจากยานพาหนะ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของสารก่อมะเร็ง ถ้าอยากลดสารก่อมะเร็งใน PM2.5 ของภาคเหนือตอนบน คือต้องลดยานพาหนะ” ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ กล่าว

ในงานนี้ คุณเสกสรร แสงดาว ผู้อํานวยการส่วนแผนงาน กรมควบคุมมลพิษ ได้อัพเดทความคืบหน้าของการดำเนินงานของกรมควบคุมมลพิษว่า มีการขยายสถานีตรวจวัด PM2.5 และกำลังประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรวม PM2.5 เข้าไปในดัชนีคุณภาพอากาศ ตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นทดลอง

“ประเทศไทยต้องยอมรับว่า ค่า PM2.5 เป็นสารก่อมะเร็งตามประกาศของ WHO จึงต้องควบคุมที่แหล่งกำเนิดให้ปล่อยฝุ่นละอองออกมาไม่เกินมาตรฐาน โดยกำหนดให้มีการจัดทำบัญชีการปล่อย PM2.5 จากทุกแหล่งกำเนิดก่อน รวมถึงปรับปรุงค่ามาตรฐานในบรรยากาศและแหล่งกำเนิดให้สอดคล้องกับประเทศใกล้เคียง เช่น จีน สิงคโปร์ ยุโรป เป็นต้น” คุณสนธิ คชวัฒน์ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย เสนอแนะ

ความเข้มข้นของ PM2.5 ในเขตเมืองเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แม้ว่าประเทศไทยได้รับรองเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนแต่ยังต้องมีความพยายามอีกมากในการทำให้บรรลุเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันในประชาคมโลก รวมถึงเป้าหมายข้อที่ 3 ว่าด้วยการ สร้างหลักประกันให้คนมีชีวิตที่มีคุณภาพและส่งเสริมสุขภาวะที่ดีของคนทุกเพศทุกวัย และเป้าหมายข้อที่ 11 ว่าด้วยการทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ความต้านทานและความหยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างครอบคลุมและยั่งยืน

“ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศ เรายังพูดว่าไม่เกินมาตรฐาน แต่ไม่ใช่มาตรฐานองค์การอนามัยโลก เป็นมาตรฐานของตน แผนทุกแผนของรัฐบาลหลังจากนี้ ไม่มีพูดถึงมลพิษทางอากาศเลย ประชาชนไม่ทราบว่าถ้าโครงการใดเกิดขึ้นจะเกิดผลกระทบและมลพิษมากเพียงใด เรามักพูดว่า เรามีทางเลือก แต่เรามีแต่เรื่องต้องเสีย ทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประเทศจะเกิดมลพิษน้อยที่สุดหรือหายนะมากที่สุดหากเรากำหนดแผนพัฒนา มลพิษทางอากาศเป็นเรื่องปลายจมูก แต่มีความสำคัญมาก ทั้งที่ทุกวินาทีคนไทยกำลังเผชิญกับมลพิษทางอากาศ ทั้งในประเทศและข้ามพรมแดน การพัฒนามีทางเลือกของมัน ไม่ใช่ไม่มีทางเลือก เราสามารถผันตัวเองสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ขึ้นอยู่กับว่าให้ความสำคัญมากน้อยแค่ไหน” จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวทิ้งท้าย

เขียนโดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/pm25-2560/blog/60005/


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
greenpeaceth's profile


โพสท์โดย: greenpeaceth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: ซาอิ, taotong, ผมชื่อ ไอ้โง่
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"แช่หรือไม่แช่? อ.เจษฎ์ชี้ชัด ซีอิ๊ว-ซอสหอยนางรม หลายบ้านทำผิด!"6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์อ่านคำพิพากษาเต็ม ศาลมีคำตัดสินประหๅรชีวิต แอม ไซยาไนด์"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้าน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าหมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เกาหลีใต้ส่ายหน้า การท่องเที่ยวขาดดุลหนัก แม้ K-Culture จะปังไปทั่วโลกไทยแลนด์ปังสุด คว้าอันดับ 1 ประเทศน่าเที่ยวแห่งปี 2024 พร้อมเหตุผลที่ฝรั่งหลงรักวิชาลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์
ตั้งกระทู้ใหม่