หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ฝุ่นพิษจิ๋ว PM2.5 ภัยที่มองไม่เห็น

โพสท์โดย greenpeaceth

บทความ โดย นันทิชา โอเจริญชัย

ทุกเช้า ฉันต้องเดินไปสถานีรถไฟใต้ดินเพื่อไปเรียน และทุกๆวัน จะมีรถเมล์สาย 54 วิ่งผ่านโดยทิ้งควันดำตามหลังมาไว้ให้ฉันสูด และทุกๆครั้ง มันทำให้ฉันสงสัยว่า “ในแต่ละวัน เราหายใจอะไรเข้าไปบ้าง”

ฉันได้เรียนรู้ว่าหนึ่งในมลสารที่อันตรายที่สุดที่อยู่ในอากาศของเราคือฝุ่นพิษจิ๋ว PM2.5 ซึ่งเป็นมลพิษทางอากาศที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือคิดง่ายๆ มันมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมคนเราราวๆ 25 เท่า ลองคิดดูสิ ว่าสิ่งที่เล็กเกินกว่าตาเปล่าจะมองเห็น ถ้าเข้าไปในจมูกลงสู่ปอดของเรา จะเกิดอะไรขึ้น แค่เพราะเรามองมันไม่เห็น ไม่ได้แปลว่ามันจะไม่ทำร้ายเรา ไม่ได้แปลว่าจะไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนลงและระบบทางเดินหายใจเสียหาย จนอาจทำให้ไอ ติดคอ ออกซิเจนไม่ไหลเวียน เป็นโรคปอด หรือแม้กระทั่งเป็นโรคมะเร็ง 

ทั้งเดินเล่น ขับรถ นั่งเฉยๆ ก่อนกินข้าวเช้า ตอนเรียนหนังสือ หรือหลังเสร็จงาน ถ้าจะเจออะไรทุกที่ทุกเวลา มันก็คืออากาศนั่นแหละ แล้วอากาศที่เราหายใจ นับวันก็ยิ่งไม่มีอากาศดีหลงเหลืออยู่เลย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่ซึ่งหลายคนคงลืมไปแล้ว ว่าอากาศสะอาดเป็นอย่างไร

ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนคนหนึ่ง ฉันได้ออกเดินทางเพื่อหาคำตอบว่าในแต่ละวัน คนกรุงเทพฯสูดอะไรลงปอดบ้าง โดยใช้เครื่องวัดฝุ่นละออง PM 2.5 (Smart Air Quality Monitor) วัดอากาศในหลายๆ จุดในเมืองที่น่าจะอยู่ในกิจวัตรประจำวันของคนหลายคน  ตัวเลขที่แสดงบนเครื่องจะเป็นค่าที่ใช้เพื่อรายงานคุณภาพอากาศรายวัน ทำให้เรารู้ว่าอากาศสะอาด หรือสกปรกเพียงใดและอาจจะเกิดผลกระทบสุขภาพต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง โดยผลกระทบต่อสุขภาพของเราอาจเกิดขึ้นภายในสองสามชั่วโมงหรือหลายวันหลังจากที่หายใจเอาอากาศที่มีมลพิษเข้าไป ตัวเลขนี้เรียกว่า “ดัชนีคุณภาพอากาศ(Air Quality Index)”

เครื่องวัดที่ฉันใช้ทดลองจะแสดงค่า AQI ขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา(USEPA) และขององค์กรปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน(China State Environmental Protection Administration)หรือ SEPA เครื่องวัดนี้ยังไม่แสดงค่า AQI ของไทยเพราะว่ากรมควบคุมมลพิษของไทยยังไม่ได้ใช้ค่า PM 2.5 ในการคำนวณ AQI อย่างไรก็ตาม ได้มีการสอบเทียบ(Calibration)เครื่องมือวัดนี้ให้เข้ากับคุณภาพอากาศทั่วไปของประเทศไทยแล้ว 

AQI ตามเกณฑ์ของUSEPA ระบุว่าค่า 0-50 แปลว่าคุณภาพดี 51-100 ปานกลาง 101-150 มีผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มอ่อนไหว 151-200 มีผลกระทบต่อสุขภาพ 201-300 มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก และ 301-500 อันตราย ส่วนเกณฑ์ของ SEPAกำหนดไว้ว่าค่า 0-50 หมายความว่าคุณภาพดีมาก 51-100 ดี 101-150 ปนเปื้อนน้อยมาก 151-200 ปนเปื้อนน้อย 201-300 ปนเปื้อนปานกลาง และมากกว่า 300 แปลว่าปนเปื้อนมาก

สิ่งที่เราค้นพบไม่เป็นข่าวดีเลยสำหรับใครเลย แม้ว่าคุณภาพอากาศในพื่นที่สีเขียวอย่างสวนลุมพินีจะเป็นไปอย่างที่คาดคิด ซึ่งวัดออกมาได้ USEPA AQI= 25/SEPA AQI = 6 อากาศในจุดอื่นที่เราไปหลังจากนั้นต่างไปโดยสิ้นเชิง ทั้งที่อากาศในรถไฟฟ้า BTS จะอยู่ประมาณ USEPA AQI= 50/SEPA AQI=12 อากาศในห้างเทอร์มินอล 21 กลับแย่กว่าโดยวัดได้ USEPA 63/SEPA 27 แม้แต่ติดระบบปรับอากาศก็ยังคุณภาพพอๆกับซอยกลางแจ้งในสยามสแควร์ ซึ่งอยู่ที่ USEPA AQI =  73/SEPA AQI = 35 แม้กระทั่งที่อยู่สูงถึงชั้น 14 ของตึกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็วัดได้ USEPA AQI =  63/SEPA AQI = 22 สุดท้ายแล้วก็ค้นพบว่าการอยู่ในที่แห่งใดเหล่านี้ก็อาจแย่พอๆกับการยืนข้ามทางม้าลายที่แยกอโศก ที่ดัชนีคุณภาพอากาศแสดงเป็น USEPA AQI = 63/SEPA AQI = 24

“อากาศที่ประตูน้ำแย่กว่าที่นี่ด้วยซ้ำ [จนทำให้]แสบจมูก” นายขจรศักดิ์ สืบสุข ผู้ขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เล่าให้เราฟัง ถึงแม้ว่าเราจะเตรียมตัวทำใจกับค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่จะสูงขึ้นในพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองหนาแน่น แต่เราไม่ได้เตรียมรับมือกับข้อมูลที่เจอที่ท่าเรือสะพานหัวช้าง ตอนที่ยังไม่มีเรือแล่นผ่านท่า เครื่องวัดแสดงค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ USEPA AQI = 185/SEPA AQI = 85 และ PM2.5 ราว 70 μg/m3 แต่ภายแค่นาทีที่เรือด่วนแล่นผ่าน พร้อมควันขโมงที่ตามมา ตัวเลขก็พุ่งกระฉูดทันทีโดยดัชนีคุณภาพอากาศเพิ่มไปถึง USEPA AQI = 449/SEPA AQI = 500 และ PM2.5 ราว 420 μg/m3

“ถ้าให้เลือก เดินตรงคลองดีกว่า เพราะลมดีกว่าเยอะ ถนนข้างบนมันรู้สึกแออัด ทั้งกลิ่น เสียง และสายตา” นายอดุลย์ ก้อนจันทร์ บอก ทั้งๆที่จะได้กลิ่นและเห็นควันไอเสียอย่างชัดเจน คิดดูแล้ว ก็น่ากังวลที่คนกรุงเทพนับไม่ถ้วนเดินทางโดยเรือและคลองนี้โดยที่รู้และไม่รู้เรื่องภัยที่กำลังเผชิญ

มาถึงสิ่งที่น่าตกใจที่สุดที่เราเจอ ซึ่งก็คือศาลพระพรหมที่แยกราชประสงค์ ที่แออัดไปด้วยคนไทยและชาวต่างชาติ ในพื้นที่นั้น ดัชนีคุณภาพอากาศบนเครื่องวัดฝุ่นละอองของเราถึงกับขึ้นสุดขีดจำกัดที่ USEPA/SEPA AQI = 500 จากควันธูปเทียนที่ขโมงทั่วไปหมดจนทำให้หายใจลำบาก ในขณะเดียวกัน ค่า PM 2.5 ก็วัดได้ 674 μg/m3 แล้วก็สูงถึง 900 อยู่ช่วงหนึ่ง ทีนี้ สิ่งค้นพบเหล่านี้น่ากลัวพอหรือยัง

ทุกตัวเลขที่ได้อ้างเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีคุณภาพอากาศที่ขึ้นลงในแต่ละจุดที่วัด โดยตรวจวัดในระหว่างช่วงเช้าสายๆและช่วงบ่ายของหนึ่งวัน หลังจากที่ฝนตกหนักในข้ามคืนที่ผ่านมา อันที่จริงแล้ว การที่จะตรวจสอบคุณภาพอากาศได้อย่างแม่นยำเพื่อแสดงให้เห็นถึงดัชนีคุณภาพอากาศโดยรวมที่แท้จริงนั้น จำเป็นที่จะต้องพิจารณาไม่ใช่แค่ระดับมลพิษทางอากาศต่างๆ แต่หลายปัจจัยและสถานการณ์อื่นๆเช่นกัน อย่างเช่น ช่วงและระยะเวลา ความถี่ อุณหภูมิ สภาพอุตุนิยมวิทยา ความเร็วและทิศทางลม ความลำเอียงและข้อผิดพลาดมนุษย์ และการสอบเทียบอุปกรณ์ ด้วยเหตุนี้ การฝึกอบรมให้ความรู้และการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสมจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของสุขภาพที่ดีของคนไทย

“สิ่งที่รัฐบาลทำได้คือเพิ่มความเข้มงวดเรื่องนโยบายและกฏหมายด้านการใช้ทรัพยากร เพื่อลดมลพิษที่ก่อ บางทีโครงการรณรงค์ก็ไม่พอ เพราะคนไทยชอบแหกกฏ” นายอดิรุจ ปันจา ผู้ใช้รถไฟฟ้าคนหนึ่งที่รู้สึกว่า “ปัญหามลพิษทางอากาศของกรุงเทพฯส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิต” กล่าว

ทั้งที่ไทยมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ 61 แห่งทั่วประเทศ ใน 29 จังหวัด มีแค่ 19 สถานีเหล่านั้นใน 14 จังหวัดที่ติดตั้งเครื่องวัด PM 2.5 ในจำนวนนี้ ก็มีแปดสถานีแล้วที่แสดงค่าเกินกำหนดของไทย ซึ่งก็คือ 25 μg/m3 หรือสูงกว่ากำหนดของ WHO 2.5 เท่า

PM2.5 แบ่งได้เป็นฝุ่นที่เกิดจากแหล่งกำเนิดโดยตรงเช่น การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล อุตสาหกรรมการผลิตและการเผาในที่โล่ง และฝุ่นที่เกิดจากการรวมตัวของก๊าซและมลพิษอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจน PM2.5 ยังเป็นมลพิษข้ามพรมแดนและปนเปื้อนอยู่ในบรรยากาศได้นาน เป็นฝุ่นอันตรายไม่ว่าจะมีองค์ประกอบทางเคมีใดๆ ก็ตาม เช่น ปรอท แคดเมียม สารหนู และโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) เป็นต้น ในปี พ.ศ.2556 องค์การอนามัยโลก(WHO) จึงกำหนดอย่างเป็นทางการให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง

สารก่อมะเร็งเหล่านี้ยังถูกสร้างโดยปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างก๊าซในบรรยากาศต่างๆอีกด้วย โดยอาจก่อในพื้นที่ที่ไกลจากแหล่งพอสมควร ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า อะไรที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ อาจไม่อยู่ในกรุงเทพฯเสมอไป

การที่ฝุ่นจิ๋วนี้เป็นส่วนหนึ่งของมลพิษทางอากาศที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 6.5 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละปี ทำให้มันเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อสุขภาพมนุษย์ และควรเป็นเหตุผลพอที่จะผลักดันให้กรมควบคุมมลพิษติดตั้งสถานีตรวจวัด PM2.5 ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และยกระดับดัชนีคุณภาพอากาศโดยนำเอา PM2.5 มาคำนวณด้วยซึ่งจะทำให้ประชาชนไทยได้รับรู้ข้อมูลเรื่องคุณภาพอากาศและการปกป้องตัวเองจากมลพิษอากาศ

ถึงแม้ว่าตอนนี้เราจะมีวิธีตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยตนเองตามความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีที่เราสามารถซื้อหามาใช้ได้ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะเอื้ออำนวยข้อมูลสภาพความเป็นอยู่ของประเทศให้ประชาชนทราบ สุดท้ายแล้ว เราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ว่าเราหายใจอะไรเข้าไป และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น เรามีสิทธิ์ที่จะหายใจอากาศที่สะอาดและปลอดมลพิษ

โดย นันทิชา โอเจริญชัย อาสาสมัครกรีนพีซ

ที่มา : www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/pm25/blog/59763


ติดตามกรีนพีซเพิ่มเติมที่

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
greenpeaceth's profile


โพสท์โดย: greenpeaceth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
4 VOTES (4/5 จาก 1 คน)
VOTED: ซาอิ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทัวร์ลงหนัก! ชาวเน็ตวิจารณ์ 'แม่หยัว' วางยาสลบแมวรัสเซล โครว์แวะไปหา เจ๊ไฝ ไข่เจียวปู เพื่อนเก่าลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 รอบใหม่ มีประกันสังคม มาตรา 40 สมัครได้ไหม?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ทัวร์ลงหนัก! ชาวเน็ตวิจารณ์ 'แม่หยัว' วางยาสลบแมวไม่หลาบจำ!! พระแกล้งพิการเดินขอเงิน จับแล้ว จับอีก ก็ยังเหมือนเดิมประโยชน์จาก "น้ำส้มสายชู" รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
กะเหรี่ยงคอยาว: ความเชื่อกับความจริงเกี่ยวกับ “คอยาว” ที่แท้จริง?ชาวเวียดนามติดละครไทยงอมแงม แม่หญิงในจอเมืองไทยปีนี้มาแรงบิ๊กโปรเจ็กต์คลองฟูนันของกัมพูชา งานนี้ชาวบ้านเดือด ไม่ยอมย้ายออกกลยุทธ์ที่ Pepsi ใช้ไล่ตาม Coca-Cola
ตั้งกระทู้ใหม่