"อสม. ย่อมาจาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"
มาว่ากันถึงคำย่อ "อสม." คือ?
"อสม. ย่อมาจาก อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน"
อสม. หมายถึง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นกลุ่มบุคคลภายในชุมชนที่ได้รับการอบรมให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขด้วยความเสียสละต่อประชาชนในหมู่บ้าน โดยมีบทบาทหน้าที่ในการดูแล ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขอนามัยเพื่อสุขภาพของตนเอง ตลอดจนให้การช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่ อสม. ได้นั้นนอกจากจะมีคุณสมบัติตามที่กำหนดแล้ว จะต้องผ่านการคัดเลือกอีกด้วย
ซึ่งปัจจุบันได้มี อสม. เกือบ 7แสนคน อยู่ทั่วประเทศทั้งในเขตเมือง ชนบท ที่ทำการถ่ายทอดความรู้ กระตุ้นเตือน และส่งเสริมชักชวนให้ชาวบ้านในพื้นที่ มีความสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้ชาวบ้านมีสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ส่วนตัวผมเองนับถือน้ำใจคนที่เป็น อสม.(เน้นที่ทำงานจริงๆ) เพราะต้องมีความสมัครใจ เสียสละ พร้อมทำงานเพื่อสังคมโดยส่วนรวม ทั้งด้านการพัฒนาสุขภาพ คอยแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของชาวบ้าน ส่วนใหญ่คนที่เป็น อสม. ก็ไม่ได้จำกัดอายุ จำกัดเพศ สามารถอ่านออกเขียนได้ อยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีอาชีพแน่นอน ที่สำคัญไม่ควรเป็นข้าราชการ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หรือหมอประจำตำบล แต่บางพื้นที่ก็ไม่สนก็"ฉันจะเป็นนี่?" ส่วนค่าตอบแทนแค่ 600 บาทต่อเดือนเอง แต่ยังดีที่ได้สวัดิการรักษาพยาบาลโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสารณสุข
ทุกปีในวันที่ 20 มีนาคม ถือเป็น"วันอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งชาติ" โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2536 (23 ปีที่แล้ว) เพื่อเป็นการสร้างขวัญและ กำลังใจให้แก่ชาว "อสม."
คำขวัญ อสม. "แจ้งข่าวร้าย กระจายข่าวดี"
จะว่าไปแล้ว อสม.ก็เหมือนคนส่งสาร(Messenger)นะ เพราะจะนำข่าวสารเรื่องสาธารณสุขมาบอกต่อชุมชน ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสุขภาพ เรื่องอนามัยอาหารและที่อยู่ เรื่องอนามัยแม่และเด็ก อนามัยฟัน นำชาวบ้านร่วมกิจกรรมสาธารณสุข เป็นต้น รวมๆ ก็ทุกอย่างที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย พอชาวบ้านเป็นโรคอะไรมาก็จะเข้าไปดูแลตรวจดูอาการเบื้องต้น พร้อมลงบันทึก แล้วนำ(ขี่รถ)เอกสารกลับไปส่งจนท.สาธารณสุข(ส่วนใหญ่ชาวบ้านเรียก”หมอ”) ก็วินิจฉัยแล้วสั่งยา แล้วอสม.(ซิ่งรถ)กลับมาให้หรือชาวบ้านมารับเองก็ได้ ส่วนค่ายาก็แล้วแต่ว่าคนไข้อยู่ในสังกัดของ รพ.สต.(โรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล) ซึ่งได้รับการบริการและยาฟรี ยกเว้นยาเฉพาะหรือคนไข้ไม่ได้อยู่ในพื้นที่
แต่วันๆ ไม่ใช่จะมีแต่ อสม.ที่ออกไปพบชาวบ้านเท่านั้น ยังมีอสม.ที่ประจำอยู่ ศสมช.(ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน) โดยกรอบการทำงานยึดตาม “องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐานดังกล่าวประกอบด้วยการบริการแบบผสมผสาน 4 ด้าน” คือ 1.การป้องกันโรค 2.การส่งเสริมสุขภาพอนามัย 3.การรักษาพยาบาล 4.การฟื้นฟูสภาพ เป็นงานที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมด้วยตนเอง แบ่งออกเป็นงานต่าง ๆ เรียกว่า “องค์ประกอบของงานสาธารณสุขมูลฐาน จำนวน 14 องค์ประกอบ”คือ
1. งานโภชนาการ
2. งานสุขศึกษา
3. การรักษาพยาบาล
4. การจัดหายาที่จำเป็น
5. การสุขภิบาลและจัดหาน้ำสะอาด
6. อนามัยแม่และเด็กและการวางแผนครอบครัว
7. งานควบคุมป้องกันโรคติดต่อในท้องถิ่น
8. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
9. การส่งเสริมสุขภาพฟัน อสม.
10. การส่งเสริมสุขภาพจิต
11. อนามัยสิ่งแวดล้อม อสม.
12. คุ้มครองผู้บริโภค
13. การป้องกันควบคุมอุบัติเหตุ อุบัติภัย และโรคไม่ติดต่อ
14. เอดส์
ทั้งนี้องค์ประกอบทั้งหมดไม่ต้องทำพร้อมกันในครั้งเดียวก็ได้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของส่วนรวมมากกว่า
ที่มา : https://www.facebook.com/dek.panda/posts/1081255725295503
https://www.facebook.com/dek.panda/posts/1081286791959063
https://www.facebook.com/dek.panda/posts/1082065405214535