อาวุธ เคมี-ชีวะ ในสงครามโลกครั้งที่ 1
อาวุธ เคมี-ชีวะ นั้นจัดเป็นหนึ่งในอาวุธทำลายล้างสูง สามารถสร้างความเสียหายได้เป็นวงกว้าง โดยเรียกได้ว่าเทียบเท่าอาวุธนิวเคลียร์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่จะใช้ โดยความแตกต่างของระบบอาวุธ เคมี-ชีวะ กับระเบิดแรงสูงทั่วไปนั้นแตกต่างกันที่ อำนาจการทำลายต่ออาคาร พื้นที่ เช่น แรงอัด แรงกระแทก นั้นเอง โดยอำนาจการทำลายของ อาวุธ เคมี-ชีวะ มุ่งเน้นสังหารผู้คน ไม่ว่าจะทหาร หรือ พลเรือน โดยการสัมผัส หายใจเข้าไป ในจำนวนมากๆในการใช้ครั้งเดียวเรียกได้ว่าเป็น มินินิวเคลียร์ หรือ นิวเคลียร์คนจน ทำให้ คณะมนตรีความมั่นคงของ สหประชาชาติ มุ่งเน้น ควบคุมหรือทำลายในการมีไว้ครอบครองของประเทศมหาอำนาจต่างๆจนถึงเฝ้าระวังการมีไว้ของผู้ก่อการร้าย
ความแตกต่างหลายๆอย่างที่ทำให้น่ากลัวกว่า อาวุธนิวเคลียร์คือ ขนาดที่เล็กกว่า ตรวจพบได้ยากและสามารถผลิตได้ง่าย สามารถพัฒนาได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง แต่นำไปใช้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพสูงมาก มีการตกคา้งของเคมีที่นานและรักษาได้ยากแพร่กระจ่ายจากคนถึงคนได้ง่าย(ติดเชื้อ) สามารถปล่อยตามลม ตามน้ำได้
ทหารแคนาดาที่ถูกรมด้วยแก๊สมัสตาร์ดในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
เดิมทีนั้นอาวุธ เคมี-ชีวะ ถูกนำมาใช้แรกๆในสงครามโลกครั้งที่1 โดยฝ่ายเยอรมัน ในการมุ่งเน้นสังหารทหารฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ตามสนามเพลาะ โดยการใช้ก๊าซคลอรีน ที่เมือง อีพร์ ประเทศ เบลเยี่ยม เมื่อ พ.ศ.2458 ใช้ คลอรีนไปประมาณ6000 หลอด วันแรกการรุกที่ตั้งทหารฝรั่งเศส วันที่สองการรุกที่ตั้งทหารแคนาดา สองวันที่ใช้นั้นทหารฝ่ายตรงข้ามตายไป 5000 คน บาดเจ็บไปอีกราวๆ 1 หมื่น หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2459 ฝรั่งเศสเองก็พัฒนาอาวุธเคมี ขึ้นมาใช้บ้าง แต่หลักๆแล้วพัฒนาระบบส่งอาวุธเคมีถึงแนวหลัง โดยใช้กระสุนปืนใหญ่ แต่ก็นับว่ามีผลน้อยเนื่องจาก กระสุนปืนใหญ่พาสารเคมีไปได้น้อย แต่ก็นับว่าดีเพราะไม่ต้องพึ่งพา สภาพอากาศ
กลางเดือนตุลาคม พ.ศ.2561 อังกฤษโจมตีที่ตั้งทหารเยอรมันใน หมู่บ้านเวอร์ริค ในเบลเยี่ยมทำให้ทหารเยอรมันได้รับบาดเจ็บ รวมถึงทหารเยอรมันที่ชื่อ สิบโทอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ด้วย ทำให้เขามีการอาการบาดเจ็บคือแสบตา ตามัวมองไม่เห็น แผลไหม้ ซึ่ีงตรงนี้อาจจะเป็นไปได้ว่า ฮิตเลอร์ รู้จักความน่ากลัวถึงอาวุธเคมี-ชีวะ และขีดความสามารถในการทำสงครามอาวุธ เคมี ของ พันธมิตร ดีเขาจึงไม่กล้านำมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หลังจากนั้นก็ยังมีใช้ในอิรัก สงครามเวียดนาม อีก
ทหารอังกฤษโดนอาวุธเคมีครั้งสงครามโลกครั้้งที่ 1
ประเภทสารเคมีหลักๆที่ใช้ในทางทหาร
1.สารสำลัก กล่าวโดยรวมๆเป็นสารเคมีทางการเกษตร เป็นของเหลวสีข้น แต่มักไม่มีความคงทนในระยะเวลานาน ระเหยง่าย สารกลุ่มที่สำคัญ คลอรีน ฟอสจีน ไดฟอสจี คลอโรพิครีน และ เอธิลไดคลอโรอาซีน จัดเป็นสารเคมี แรกรเิ่มที่นำมาใช้ในสงครามโลกครั้งแีรก โดยยังเป็นที่นิยมของผู้ก่อการร้าย ในการใช้ทำลาย สังหารผู้คน ส่งผลอย่างมากได้รับบาดเจ็บสาหัส อาจจะถึงตายหากไม่ได้ีรับการรักษา โดยขึ้นอยู่กับการผสมเคมี ซึ่งหาได้ง่ายเพราะเป็นเคมีอุตสาหกรรม
ผลที่เกิดจากการรับได้รับ สารสำลัก
มีอาการไอ ปวดหัว อาเจียน เกิดอาการเจ็บหน้าอก ไอรุนแรง สำลักและตายในที่สุดในระยะ 2-6 ช.ม.
2.สารโลหิต เรียกได้อีกอย่างว่า ไซยาไนต์ มีพิษร้ายแรงมาก โดยมีการใช้ในจำนวนมากในโลหะกรรม ชุบเคลือบ หากเป็นสารที่ใช้ในการทหารจะมีลักษณะเป็นของเหลวระเหยง่าย ไอเบากว่าอากาศ หากสูดดมเข้าร่างกายจะแพร่ได้รวดเร็ว ร่างกายไม่สามารถรับอ๊อกซิเจนได้จนร่างการขาดอากาศจนตาย โดยสารที่นำมาใช้เป็นอาวุธเคมี เรียกว่า ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ( เอซี) ไซยาโนเจนคลอไรด์ ( ซีเค)เป็นของเหลว ซึ่งมีข้อเสียคือระเหยเร็ว ทางทหารจึงไม่นิยมใช้ในการสังหารเป้าหมายจำนวนมาก เน้นเป้าหมายบุคคล
ผลที่ได้รับ สารโลหิต
มีความรู้สึกร้อนไปทั่วตัว ไม่มีแรง คลื่นไส้ ปวดหัวมึนงง หายใจติดขัด หมดสติและชัก จนตายในที่สุด ซึ่งมาจากการขาดอ๊อกซิเจน
และนี่คือตัวอย่างของการใช้อาวุธเคมี-ชีวภาพ ในการทำลายร้างสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ปัจจุบันถึงแม้จะมีสนธิสัญญาการห้ามใช้อาวุธเคมีก็จริง แต่ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา รัสเซีย เกาหลีเหนือ และอีกหลายประเทศ ต่างก็รู้กันดีว่ามีอาวุธเคมีมหาศาลสะสมอยู่ ก็ไม่รู้ว่ามันจะกลับมาอีกในอนาคตอันใกล้นี้หรือเปล่า ก็นำมาฝากให้ได้คิดกันครับ...mata