ฉงเจินฮ่องเต้ ผู้เป็นลมหายใจสุดท้ายของราชวงศ์หมิง (ฉบับย่อ)
ฉงเจินฮ่องเต้ ผู้เป็นลมหายใจสุดท้ายของราชวงศ์หมิง (ฉบับย่อ)
ฉงเจินฮ่องเต้ (崇祯)
ปัญหาหลัก
ปัญหาการฉ่อราช ระบบข้าราชการที่เสื่อมโทรม ภัยพิบัติ อาหารขาดแขลน โรคระบาด ภาษีกดขี่ ฯลฯ
**พี่ชายของฉงเจิน ซีจง(熹宗) ฮ่องเต้องค์ก่อน ชอบงานไม้ ไม่สนใจงานเมือง อำนาจตกอยู่ในมือขันที
**ฉงเจิน(崇祯) ขึ้นครองราชตอนอายุ 17 ปี
ข้อดี :สนใจในราชกิจ (นอนวันล่ะ 4 ชั่วโมง) ทรงประหยัด (ฉลองพระองค์ปะแล้วปะอีก เสวยอาหารน้อย) ไม่มักมากในเรื่องผู้หญิง ฯลฯ
ข้อเสีย: พระองค์ทรงมีความหวาดระแวงสูง ไม่รู้จักใช้คน ไม่กล้ารับผิดชอบ (ชอบโยนความผิดให้ขุนนาง) ประหารขุนนางโดยไม่ชอบธรรม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เหล่าขุนนางเสื่อมศรัทธาและไม่จงรักภักดี
ขอ อธิบายความร้ายแรง
ภาษี บันทึกไว้ว่า "ในผืนนาขนาด 1 ไร่ จะพลิตพืชผลได้คิดเป็นราคาประมาณ 6~7 ตำลึง แต่ประชาชนต้องจ่ายภาษีหลายอย่างคิดรวมมากถึง 10 ตำลึง"
โรคระบาด บันทึกไว้ว่า "หมู่บ้านหนึ่งมีหลายร้อยครัวเรือน ไม่มีหลังไหนไม่ติดโรค บางหลังมีหลายสิบคน ไม่มีสักคนที่เหลือรอด"
หลี่จื่อเฉิง(李自成)
เหตุการณ์ปลายสมัยราชวงศ์หมิง
หลังจากหลี่จื่อเฉิง(李自成) รวบรวมกองทัพชาวนาก่อการปฏิวัติสำเร็จ ได้สถาปนาราชวงศ์เรียกว่าต้าซุ่น(大顺) เปลี่ยนศักราชเป็นหยงชาง(永昌) ใช้ซีอัน(西安) เป็นเมืองหลวง จากนั้นตระเตรียมไพร่พลเดินทางขึ้นเหนือเพื่อยึดปักกิ่ง กองทัพส่วนมากเป็นชาวนาและพวกกรรมกร ไม่ได้มีการวางแผนเรื่องการปกครองอะไรมากนัก รบได้ก็ดี รบไม่ได้ก็ถอย
**หลี่จื่อเฉิง เกิดในตระกูลคนเลี้ยงม้า ภายหลังเป็นหมอรักษาม้า
ทัพหมิง มีทัพหลักอยู่ 3 ทัพ ได้แก่
1.) ทัพของ จั่วเหลียงยู่ (左良玉) ยันทัพอยู่ที่หูเป่ย ทางใต้ของปักกิ่ง
2.) ทัพของ ซุนฉวนทิง (孙传庭) ยันทัพอยู่ส่านซี ทางใต้ของปักกิ่ง
3.) ทัพของ อู๋ซานกุ๋ย (吴三桂) ยันทัพอยู่หนิงหยวน ซานไฮ่กวน ทางเหนือของปักกิ่ง (คอยป้องกันการรุกรานของพวกแมนจู)
ปลายปี 1643 ทัพของหลี่จื่อเฉิงบุกขึ้นเหนือ ทัพหมิงทางใต้ ถูกตีแตกทั้งหมด พร้อมทั้งการยอมจำนนจากเมืองอื่นๆ (หนทางสู่เมืองหลวงจึงถูกโรยด้วยดอกเก็กฮวย) ตอนนี้ทัพหมิงเหลือเพียงทัพทางเหนือของอู๋ซานกุ๋ยเท่านั้น
**ขอพูดถึง ทัพของซุนฉวนทิง ซุนฉวนทิงเป็นขุนนางฝ่ายทหารที่มีความหนักแน่น มีความเด็ดขาด แต่ก่อนหน้าทั้งทัพดันถูกโรคระบาดเล่นงาน ทำให้สูญเสียไพร่พลไปมากพอสมควร พอรบกับทัพหลี่จื่อเฉิงจึงเสียเปรียบและซุนฉวยทิงเองก็สละชีวิตในสนามรบ มีคำกล่าวว่า "ซุนฉวนทิงสิ้น ราชวงศ์หมิงก็สิ้นเช่นกัน"
ซุนฉวนทิง (孙传庭)
ค.ศ.1644 เดือน 3 เนื่องจากทัพหลี่จื่อเฉิงบีบเข้ามาไกล้ทุกที ฉงเจินฮ่องเต้จึงประชุมขุนนางหาทางออก ได้ข้อเสนอรวม 3 ข้อ
1.) เสนาบดีเฉินเหยียน (陈演) เสนอ "อยู่ปกป้องเมืองหลวง"
2.) ขุนนางหลี่หมิงเร่ย (李明睿) เสนอ "ย้ายเมืองหลวงไปหนานจิง"
3.) ขุนนางหลี่ปังหวา (李邦华) เสนอ"ส่งรัชทายาทลี้ภัยลงใต้ ฮ่องเต้อยู่ปกป้องปักกิ่ง"
** ฉงเจินทรงเลือกข้อ 2 แต่พระองค์ทรงลังเล เพราะการย้ายราชธานี นั้นหมายถึงการละทิ้งซึ้งเกียรติของบรรชน และอาจถูกคนรุ่นหลังตราหน้า
**ทำไหมถึงต้องเป็นหนานจิง? เพราะหนานจิงเคยเป็นราชธานีเก่า มีความเพียบพร้อมในทุกๆด้าน
วันที่ 18 เดือน 3 ค.ศ.1644 ฉงเจินเรียกอู๋เซียง (บิดาของอู๋ซานกุ๋ย) มาปรึกษาเรื่องการถอนทัพจากด่านซานไฮ่กวน เพื่อลงมาปกป้องเมืองหลวง อู๋เซียง กล่าว: "ในการถอนทัพต้องใช้เงินถึง 1 ล้านตำลึง" ตอนนั้นท้องพระคลังร่อยหรอ ฉงเจินฮ่องเต้จึงเรี่ยไรเงินจากบรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนาง ได้เงินรวมเพียง 2 แสนตำลึง แผนนี้จึงถูกยกเลิกไป (ตอนหลี่จื่อเฉิงเข้ากรุงปักกิ่ง ได้วางบทบังคับให้เหล่าขุนนางต้องจ่ายเงิน ตำแหน่งสูงจ่ายมาก จ่ายไม่ครบไม่ปล่อยตัว ได้เงินทั้งหมดถึง 70 ล้านตำลึง)
วันที่ 23 เดือน 4 ค.ศ. 1644 ทัพของหลี่จื่อเฉิง (ราชวงศ์ต้าซุ่น) เข้าล้อมกรุงปักกิ่งทั้งเก้าประตูเมือง
วันที่ 24 เดือน 4 ค.ศ. 1644 กองทัพต้าซุ่นเข้าโจมตีเมืองปักกิ่งอย่างดุเดือด
วันที่ 25 เดือน 4 ค.ศ. 1644 ประตูเมืองถูกขันทีเปิดออก กองทัพต้าซุ่นเดินทางเข้าเมืองหลวง ระฆังจากวังหลวงถูกตีขึ้น (เป็นเสียงระฆังครั้งสุดท้ายของราชวงศ์หมิง) เพื่อเรียกเหล่าขุนนางเข้าเฝ้า แต่ก็ไร้วีแววของเหล่าขุนนาง ฉงเจินฮ่องเต้คุมสติไม่อยู่ เลยใช้กระบี่สังหารฮองเฮาพร้อมทั้งพระธิดา ทันใดนอกวังมีเสียงอึกทึก ขันทีจึงพาฉงเจินฮ่องเต่หนีขึ้นไปยังอุทยานหลวง
ขันทีกล่าว "พระองค์ทรงมีอะไร จะรับสั่งหรือไม่" ฉงเจิน: "ไม่มีแล้ว ถึงเวลาไปแล้ว ฮองเฮารออยู่" แล้วพระองค์ก็ทรงทำการแขวนคอตนเอง
**อู๋ซานกุ่ย แบ่งทัพลงมาหมายกู้กรุง เหลือเพียงไม่กี่ร้อยลี้ก็จะถึงเมืองหลวงก็ได้ข่าวเมืองหลวงเสียแก่ข้าศึก อู๋ซานกุ่ยจึงเลิกทัพกลับ
*เรื่องระยะเวลาผู้แปลเที่ยบเป็นเวลาปัจจุบัน เพราะฉะนั้นวันทีอาจมีการเคลื่อนเล็กน้อย
**อ่านจบแล้ว ถ้าชอบ กดโหวตให้ด้วยนะ ครับ**