"โขน" มรดกประจำชาติ ที่น้อยคนจะมีความรู้ ความเข้าใจ
(กระทู้เน้นความรู้-สาระ เรื่องโขน งดดราม่า)
การแสดงโขน ที่บัดฮอมบูร์ก ประเทศเยอรมนี
การแสดงโขน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โขน คือ รูปแบบหนึ่งของศิลปะการร่ายรำของประเทศไทย ธรรมเนียมดั้งเดิมโขนถูกแสดงโดยนักแสดงชายในราชสำนักเท่านั้น ซึ่งสวมหัวโขนประกอบกับการเล่าเรื่องและเครื่องดนตรีวงปี่พาทย์ทั้งหมด (เครื่องดนตรีประเภทตี เป่า และเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธีและพิธีต่างๆ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย) ต่อมาความหลากหลายของการแสดงนี้มีนักแสดงหญิงเข้ามาเรียกว่าโขนผู้หญิง
เรื่องราวของโขนประกอบด้วยตัวละครจำนวนมาก ตัวละครที่มีชื่อเสียงคือ นักรบวานร ได้แก่ หนุมาน ซึ่งเป็นทหารของพระราม กษัตริย์ที่ต่อสู้กับยักษ์เพื่อจะได้นางสีดากลับคืนมา
โขนสมัยใหม่มีหลายองค์ประกอบจาก "ละครใน" (ละครที่เกิดขึ้นในพระราชฐานจึงเป็นละครที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพ ละครในมีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ รักษาศิลปะของการรำอันสวยงาม รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเคร่งครัด รักษาความสุภาพทั้งบทร้องและเจรจา) ในปัจจุบันมีการรวมตัวละครหญิงเข้ามาซึ่งแต่เดิมแสดงโดยผู้ชาย ครูสอนโขนอนุญาตให้ผู้หญิงแสดงเป็นตัวละครลิงและยักษ์ได้ ในขณะที่ตัวละครยักษ์และลิงยังคงสวมหัวโขน และตัวละครมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่สวมปิดบังใบหน้า
การฝึกโขน
ในอดีตโขนจะได้รับการฝึกในหมู่พระราชวงศ์เท่านั้น ซึ่งพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์จะแสดงเป็นตัวละครลิงหรือยักษ์ โขนมีเรื่องราวจากมหากาพย์รามเกียรติ์ หลายประเทศในแถบเอเชียมีการฝึกฝนการแสดงโขน เช่น พม่า อินเดีย กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย โขนไทยมีการเน้นการร่ายรำสมจริงเป็นพิเศษโดยเฉพาะตัวละครลิง ซึ่งมีท่วงท่าความงามและการแสดงออกคล้ายลิง โขนควรถูกฝึกสอนตั้งแต่อายุน้อย เพื่อให้นักแสดงสามารถยืดหยุ่นร่างกายได้ดีพอ โดยเฉพาะตัวละครลิง
ประวัติ
โขนคือศิลปะการร่ายรำดั้งเดิมของไทย ซึ่งประกอบด้วยศิลปะหลายรูปแบบ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีมาแต่ยุคสมัยไหน แต่มีการกล่าวถึงในวรรณคดีไทยเรื่อง "ลิลิตพระลอ" ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยบ่งชี้ว่ามีการแสดงที่เรียกว่า "โขน" ในยุคนั้น คำว่า "โขน" ไม่มีที่มาแน่ชัด มีทั้งมาจากภาษาเบงกาลี "โขละ" หรือ "โขล" ที่เป็นชื่อของเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง คำว่า "ษูรัต ควาน" ในภาษาอิหร่านหมายถึง ตุ๊กตาหรือหุ่น มีความคล้ายคลึงกับผู้พากย์และผู้เจรจาของการแสดงโขนในปัจจุบัน คำว่าโขนในภาษาเขมร ซึ่งหมายความถึงละคร แต่เขียนแทนว่าละโขน ที่หมายความถึงการแสดงมหรสพอย่างหนึ่ง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ระบุความหมายของโขนเอาไว้ว่า "โขนหมายถึงการเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรำ แต่เล่นเฉพาะในเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดงสวมหัวจำลองต่าง ๆ ที่เรียกว่าหัวโขน"
ตัวละครหลัก
1. ตัวพระ แสดงบทบาทโดยผู้ชาย ซึ่งคัดเลือกจากผู้ที่มีร่างกายสมส่วน โครงหน้างดงาม เพื่อให้มีการจัดวาง การแสดงท่าทาง และบุคลิกภาพที่ดี
2. ตัวนาง แสดงบทบาทโดยผู้หญิง โดยคัดเลือกผู้ที่มีร่างกายสง่างาม สมส่วน หน้าตางดงาม ซึ่งตัวละครมีความสวยและความอ่อนช้อยของการแสดงท่าทาง
3. ยักษ์ ผู้แสดงในบทบาทตัวร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ฝ่ายไม่ดีในการแสดง นักแสดงมีความแข็งแข็ง กล้าหาญ และรุนแรง โดยเลือกนักแสดงมีที่ร่างกายคล้ายกับตัวพระ แต่มีร่างกายที่ใหญ่และสูงกว่า มีการแสดงท่าทางที่แข็งแรง
4. ลิง ผู้แสดงในบทบาทลิง ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดในการแสดงโขนและเป็นอัตลักษณ์ของการแสดง แม้ว่าการแสดงท่าทางจะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่ยังคงการแสดงที่สวยงามและอ่อนช้อย ซึ่งเป็นหนึ่งในการแสดงที่ซับซ้อนและประณีตที่สุดในประเทศไทย โดยคัดเลือกผู้แสดงที่มีลักษณะว่องไว
ประเพณีไหว้ครู
โขนเป็นนาฏศิลปชั้นสูง ที่มีธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อในการปฏิบัติหลายอย่าง สืบต่อกันมาแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน บางอย่างมีการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและความเหมาะสม บางอย่างคงใช้อยู่ตามรูปแบบเดิม บางอย่างสูญหายไปตามกาลเวลา โดยเฉพาะหัวโขนซึ่งจัดเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างมากในการแสดงโขน
(พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอบศีรษะพระพิราพพระราชทานแก่นายมนตรี ตราโมท เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ณ ศาลาดุสิตดาลัย)
เนื่องจากเป็นตัวชี้บ่งถึงบุคลิกและลักษณะนิสัยของตัวละครนั้น ๆ ช่างทำหัวโขนที่จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่ ต้องผ่านการไหว้ครูและครอบครูเช่นเดียวกับนาฏศิลป์ประเภทอื่นๆ มีความเคารพครูอาจารย์ตั้งแต่เริ่มฝึกหัด ก่อนเริ่มการออกโรงแสดงในแต่ละครั้ง ต้องมีการตั้งเครื่องเซ่นไหว้บายศรีให้ครบถ้วน ในการประกอบพิธีจะต้องมีหัวโขนตั้งประดิษฐานเป็นเครื่องสักการะต่อครูบาอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว
ในพิธีไหว้ครูจะมีการนำหัวโขนหรือศีรษะครู ที่เป็นเสมือนตัวแทนของครูแต่ละองค์มาตั้งประกอบในพิธี การจัดตั้งหัวโขนต่าง ๆ มีหลายรูปแบบเช่น การตั้งแบบรวมกับพระพุทธรูป แบ่งเป็นแบบ 12 หน้า 10 หน้า 8 หน้า 6 หน้า 4 หน้าและ 2 หน้า มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนของหัวโขนตามแต่รูปแบบในการตั้ง นอกจากการตั้งแบบรวมกับพระพุทธรูปแล้ว ยังมีการตั้งหัวโขนแบบพระพุทธรูปแยกระหว่างหัวโขนต่างหาก นิยมจัดให้หัวโขนมีความลดหลั่นเป็นชั้น โดยที่ชั้นบนสุดเป็นชั้นของมหาเทพได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม ชั้นสองเป็นชั้นของเทพที่มีความสำคัญต่อโลกมนุษย์และนาฏศิลป์เช่น พระอินทร์ พระวิษณุกรรม พระพิราพ
ชั้นที่สามเป็นชั้นของหัวโขนหน้ามนุษย์ หน้าลิง และมีศัสตราวุธและเครื่องประดับศีรษะที่ใช้ในการแสดงวางอยู่ตรงกลาง และชั้นสุดท้ายเป็นชั้นของหัวโขนหน้ายักษ์ ผู้แสดงทุกคนก่อนแต่งตัวตามตัวละครก็ต้องมีการไหว้ครู ภายหลังจากแต่งกายเสร็จแล้ว ก่อนจะทำการสวมหัวโขนหน้ายักษ์ หน้าลิง มงกุฎหรือชฎา ก็จะต้องมีการทำพิธีครอบหัวโขนและไหว้ครูเพื่อแสดงความเคารพ ซึ่งนอกจากประเพณีไหว้ครูแล้ว ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับหัวโขนสืบทอดต่อกันมาอีกหลายอย่างเช่น การเจาะรูสำหรับมองเห็น ผู้ที่สามารถเจาะได้คือช่างทำหัวโขนเท่านั้น
ในสมัยโบราณมีความเชื่อกันว่า หัวโขนที่ใช้ในการแสดงที่ผ่านพิธีเบิกเนตรเรียบร้อย ก่อนนำไปใช้ในการแสดง ช่างทำหัวโขนจะวัดขนาดความห่างของดวงตาผู้แสดง และเจาะรูให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ห้ามผู้แสดงเจาะรูดวงตาเองเด็ดขาด เพราะเชื่อว่าจะทำให้พิการตาบอด แต่ความเชื่อดังกล่าวเป็นเพียงกุศโลบายเท่านั้น ความเป็นจริงคือในการตกแต่งดวงตาของหัวโขน จะใช้เปลือกหอยมุกมาประดับตกแต่ง ซึ่งถ้าผู้เจาะรูไม่ใช่ช่างทำหัวโขนที่มีความชำนาญ อาจทำให้หัวโขนเกิดความผิดพลาดและเสียหายได้ง่าย