หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ยอดพระกัณฑ์แก้ไขตามปู่ใหญ่ต้นฉบับ

โพสท์โดย ยักเล็ก

การป้องกันภัยพิบัติด้วยการสวดมนต์ยอดพระกัณฑ์ของหลวงปู่ใหญ่

ช่วงปรับความรู้พื้นฐานก่อนที่จะสวดมนต์ (หน้า ๑ – ๑๘ )

            ห้ามท่านเชื่อในบทความนี้ เพราะเป็นความคิดเห็นของศิษย์ไม่ใช่ตัวปู่เอง  และระดับการรับรู้ได้ของคนไม่เท่ากันที่เรียกว่า “ปัจจัตตัง” ผู้เขียนต้องการให้ท่านอ่าน และเอาส่วนนี้ไปพิจารณาทบทวนกับความรู้เดิมในตัวท่าน      ในเรื่องราวของโลกทิพย์นั้นคนที่ไม่ใช่นักปฏิบัติธรรมเขาจะไม่มีความรู้ เขามักจะโต้แย้งโดยใช้พระไตรปิฎกมาเป็นตัวตัดสิน  ซึ่งก็ยอมรับว่าพระไตรปิฎกมีเค้าโครงที่ถูกต้อง    แต่อาจมีความผิดพลาด เช่น การใช้ภาษาหนังสือไปเขียนอธิบายภาษาจิต  การบันทึกเรื่องราวทั้งหมดไว้ไม่ครบ  การไม่ได้ลงรายละเอียดเชิงลึก  หรือปัญหาเกิดจากการคัดลอก  ฯลฯ ดังนั้นจึงศึกษาเฉพาะในพระไตรปิฎกอย่างเดียวไม่ได้   เพราะ เรื่องในโลกวิญญาณในระดับต่างๆที่มนุษย์ธรรมดามองไม่เห็นนั้นเร้นลับและมีรายละเอียดมาก ส่วนใหญ่นักปฏิบัติธรรม หรือคนที่มีความสามารถพิเศษจะเป็นผู้ศึกษาค้นคว้ามาให้เรา  เรื่องอย่างนี้คนธรรมดาเขาจะไม่ค่อยเชื่อ   อุปมาได้เหมือนเต่านำเรื่องราวบนบกไปเล่าให้ปลาฟัง ปลาก็ไม่เชื่อ   และนี่คืองานของเอกสารฉบับนี้ที่มีเป้าหมายให้ท่านได้เข้าใจรับรู้เรื่องโลกวิญญาณ  มีความเข้าใจในข้อธรรมทั้งหลายทั้งปวงในแนววิทยาศาสตร์ รู้ที่ไปที่มาของบุญอย่างมีเหตุผลและเทคนิคในการสวดมนต์ที่มีประสิทธิภาพ

 

เรื่องราวของยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ซึ่งก่อนหน้าก็มีพิมพ์ออกมาหลายฉบับและว่าของตนเป็นฉบับเก่า และว่าสวดแล้วได้บุญอย่างนั้น ๆ ผู้เขียนอยากถามท่านก่อนว่าบุญคืออะไร หลายท่านอาจยังไม่รู้ “บุญคือจิตนิ่ง บาปคือจิตส่าย”  ตัวกำหนดที่จะนำให้ไปเกิดยังโลกต่างๆในวัฏฏะสงสารนั้นอยู่ที่ระดับการส่ายตัวของจิต  ท่านลองเทียบพระอรหันต์กับสัตว์นรกดู  พระอรหันต์จิตท่านนิ่ง ท่านจะเสกอะไร จะทำอะไร มันเป็นจริงไปหมดผู้เขียนดูมาเยอะ  แต่สัตว์นรกมันกลัวจิตมันไม่รวม      และอีกเรื่องหนึ่งที่อยากถามท่านผู้อ่านว่าบุญเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่เชื่อแบบไม่ใช่นักปราชญ์  เหตุดังนี้เองถึงต้องมีช่วงปรับความรู้พื้นฐาน             ยอดพระกัณฑ์ของปู่ฉบับนี้ยาวกว่าของชาวบ้านเขา   พวกตำราของไทยตอนเสียกรุง เชลยต้องแบกไปให้พม่าเยอะ แต่เคราะห์ดีฉบับนี้ยังเหลืออยู่ที่ สิบสองปันนา ภูเขาสุพรรณพนมทอง คงเก็บไว้ในถ้ำ  ไม่รู้ว่าปู่ใหญ่ท่านรู้ได้อย่างไรท่านจึงให้ศิษย์ของท่านชื่อ   อ.มโนธรรม มนธม.โม พระพีระ ปั้นมณี   ภิกษุที่มีญาณมีฌาน วัดท่านอยู่แถว อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์  ให้ เดินทางไปคัดลอก ฉบับนี้มีเนื้อหายาวกว่าที่ฉบับสวดกันโดยทั่วไปก่อนหน้านี้เกือบเป็น ๒ เท่า ยังไม่รู้ว่าฉบับไหนถูกต้องสมบูรณ์ที่สุดนะ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของตำราที่เก่าแก่คัดลอกกันไปมาที่จะมีการตกหล่น  เห็นได้ชัดแม้ในปัจจุบันแต่ละฉบับก็ไม่เหมือนกันเลย ทั้งขาดหายบางช่วงและผิดตัวอักษรหลายแห่ง   ผู้เขียนฟังเทพเจ้าท่านบอกว่ามนุษย์ผู้คัดลอกเขาตัดออกหลายช่วงเวลาจึงสั้นลงเรื่อยๆ

 

เรื่องยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกนั้นเนื้อหาคงต้อง เกี่ยวพันเชื่อมโยงคู่กันกับพระไตรปิฎกที่เป็นฉบับของพระสงฆ์ เพราะทั้งสองฉบับอธิบายในเรื่องเดียวกัน  แต่ยอดพระกัณฑ์ทำเป็นแนวฉบับย่อเพื่อใช้สำหรับการสวด    ส่วนพระไตรปิฎกฉบับใหญ่ใช้ในการศึกษารายละเอียดและเป็นเหมือนกฎหมายของพระสงฆ์  มีรายละเอียดครบบันทึกเรื่องราวในสมัยพุทธกาล และเรื่องศาสนาพุทธทั้งหมด ปัจจุบันเห็นว่ามีตั้ง ๔๕ เล่ม ที่ผ่านมาฉบับใหญ่นี้มีการสังคายนากันมาหลายครั้งกว่าจะถึงยุคของเรา ถ้าเปรียบเป็นเรือพระอรหันต์คือผู้คัดท้ายศาสนาความเป็นพิเศษอยู่ตรงนี้ในพระพุทธศาสนาของเราไม่ใช่มีเฉพาะตำราที่เป็นกระดาษอย่างเดียว เรายังมีตำราพระไตรปิฎก version ใหม่ จะว่าเป็น digital ก็ไม่ได้ต้องว่าเป็น เป็นพระไตรปิฎกทิพย์แบบมีชีวิต โดยผู้วิเศษ เช่นหลวงปู่ใหญ่ หรือเณรสามองค์ ที่ชื่อท่านพุทธรักขิต ธรรมรักขิต สังฆรักขิต หรือยังมีองค์อื่นๆอีก เช่น พระอุปคุต  ซึ่งทั้งหมดผู้เขียนไม่ทราบว่ามีทั้งหมดกี่องค์ที่พระพุทธเจ้าท่านสั่งให้มาดูแลพระพุทธศาสนาของท่านให้อยู่ครบ ๕๐๐๐ ปี    พระไตรปิฎกทิพย์ฉบับนี้ทำงานได้โดยอัตโนมัติอยู่ในระบบของคลื่นพลังจิต ตรงนี้ก็ยังผิดอยู่นะเพราะท่านอยู่ในฝั่งไม่มีคลื่น

 

 ผู้เขียนขออธิบายเรื่องฝั่งมีคลื่นและฝั่งไม่มีคลื่นสักหน่อย  ฝั่งมีคลื่นหมายถึงฝั่งวัฏฏะสงสารคือคิดตั้งแต่โลกของพระพรหมลงมาถึงโลกนรกโลกันต์   ในฝั่งมีคลื่นนี้ยังมีระบบถ่วงสมดุลธรรมชาติโดยแบ่งออกเป็น ๒ ฝั่งอีก ที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าฝั่งสสาร (matter)และฝั่งปฏิสสาร (anti matter  ) ผู้เขียนเรียกฝั่งมวลสารบวก และฝั่งมวลสารลบ  ตรงนี้ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านเรียกอย่างไร  ผู้เขียนได้โทรถามคนตาทิพย์ ได้รับคำตอบว่าท่านแบ่งเอาไว้แล้ว พวก รูปาวะจะระ กับพวก อะรูปาวะจะระ  (ให้ดูในบทสวดของหลวงปู่ใหญ่จะเห็นคำสวดตรงส่วนนี้พิมพ์ไว้อย่างชัดเจน )      เขาว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าของเรายังไปดูตัวท่านมาเลย     ถ้าอย่างนั้นก็ตรงกับเรื่องพระโมคคัลลาหลงทวีป    ที่ไปกราบพระพุทธเจ้าฝั่งโน้นมาแล้ว       เกี่ยวกับเรื่องนี้สาวกได้เรียนถามพระองค์ท่านว่าโลกที่พระโมคคัลลาหลงไปนั้นอยู่ที่ไหนพระเจ้าข้า  พระพุทธเจ้าทรงตอบว่าอยู่หลังพระอาทิตย์     อันนี้หมายความว่าโลกที่พระโมคคัลลาไปมานั้นอยู่ฝั่งตรงข้ามกับมวลสารของโลกเรา หมายถึงฝั่งมวลสารลบ หรือ ปฏิสสาร

        

พวกคลื่นหรืออนุภาคหรือประจุไฟฟ้าเหล่านี้ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านเข้าใจคือ สมมุติว่าเป็นทองคำเป็นของแข็งเอามาหลอมจะกลายเป็นของเหลว เพิ่มความร้อนขึ้นอีกจะกลายเป็นไอ เพิ่มอีกให้ร้อนมากขึ้นจะกลายเป็น plasma เป็นอนุภาค ในระดับอนุภาคนี้จะเรียกว่า”คลื่น”  เช่น คลื่นความร้อน คลื่นวิทยุ คลื่นมือถือ คลื่นแสง คลื่นพายุสุริยะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น   คลื่นเหล่านี้เป็นตัวสร้างโลกพระพรหม ลงมาถึงนรก   ระดับพลังงานจะแตกต่างกันแบ่งลดหลั่นเป็นชั้นๆตามธรรมชาติ เปรียบเสมือนสีรุ้งมี  ๗ สีเรียงระดับกันอย่างมีระเบียบก็เหมือนชั้นของโลกต่างๆนั่นเอง  เพียงแต่มีมากกว่าสีรุ้ง ทีนี้จะมากเท่าไหร่อย่างแท้จริงนั้นยากที่จะรู้ได้เฉพาะคลื่นที่มีระดับพลังงานเดียวกันกับโลกมนุษย์ ยังมีถึง ๔ ทวีปและแต่ละทวีปมีบริวารอย่างละ ๕๐๐  (ตรงนี้ต้องดูในหนังสือ ” ไตรภูมิพระร่วง”และต้องวิเคราะห์ด้วยว่าจริงหรือไม่เพราะเล่มนี้เขียนแนวเพ้อฝันเหมือนนิยายต้องอ่านอย่างนักปราชญ์ถึงจะรู้ความจริง เพียงดูเค้าโครง) และยังมีระดับพลังงานที่สูงกว่าโลกมนุษย์ ตั้งแต่ชั้น จาตุม จนถึงชั้นพรหม  ส่วนระดับที่ต่ำกว่าโลก จนถึงนรกโลกันต์   และเห็นเขาว่ายังมีส่วนที่แยกพิเศษไปอีกทั้งโลกส่วนบนและโลกส่วนล่างจริงหรือเปล่าก็ยังไม่รู้  เป็นแบบนี้คงจะยากขึ้นไปอีกที่จะรู้ว่าระดับพลังงานที่สร้างโลกทั้งหมดมีกี่ระดับและมีกี่โลกแน่ๆ  และยังจะต้องคิดโลกที่อยู่ในฝั่งมวลสารลบ (anti matter )อีกด้วยว่ามีอีกเท่าไร รวมเข้ามายิ่งไปกันใหญ่ เราถือว่าเราอยู่ฝั่งมวลสารบวก  เรื่องว่าโลกทั้งหมดมีเท่าไหร่นี่ต้องถามพระอรหันต์เท่านั้น เรื่องนี้ยังไม่เคยถามซักที คงถูกด่าแน่ๆเพราะเรื่องแบบนี้เขาว่าเป็นอจิณไตย  และเรื่องที่พระอรหันต์จะตอบนั้นมันต้องเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องความรู้ที่ไกลเกินตัวมนุษย์

สำหรับคนที่ยังตามไม่ทันเรื่องคลื่นไปสร้างเนื้อของโลกต่างๆได้อย่างไร อธิบายให้เห็นภาพอย่างนี้คือสมมุติเรามีแม่เหล็กกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ นิ้ว คู่หนึ่ง และเรามีเหล็กกลมธรรมดาขนาดเท่ากันอีกคู่หนึ่ง เราเอาแม่เหล็กขั้วเหมือนกันมาจ่อให้ผลักกัน เราจะเห็นแรงผลักระหว่างขั้วทั้งสอง แรงผลักนี้เป็นตัวค้ำเนื้อของโลกธาตุแต่ซ่อนรูปอยู่ในการทำงานของอะตอมและโมเลกุลของโลกนั้นๆ ซึ่งความจริงแล้วมันไม่มีเนื้อจริงๆเลย  มันว่างเปล่าที่พระพุทธเจ้าบอกว่ามันเป็น”อนัตตา”  มันมีเฉพาะแรงผลักมันค้ำตัวกันเองเอาไว้เท่านั้น  ผู้เขียนเคยไปท่องเที่ยวมาโลกของเขาก็มีธาตุ ๔ ดินน้ำลมไฟ เหมือนบ้านเรา แต่โต๊ะเก้าอี้ บ้านเขาเราจะนั่งไม่ได้มันทะลุ     และระหว่างเหล็กธรรมดาเอามาจ่อกันแล้วไม่ผลักนั้นเปรียบเทียบเป็นฝั่งไม่มีโลกธาตุหรือฝั่งไม่มีคลื่นหรือฝั่งนิพพาน

 

ด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาอนุภาคที่เล็กกว่า   neutron     ถึง 1000 เท่า ให้ดูใน  Scientific American   ที่สนใจ  elementary particles of matter  หรือที่ห้องทดลองของ  CERN ทำการวิจัย  magnetic vortex  ล้วนเป็นวิชาการทางด้านคลื่น ด้านอนุภาค  เกือบทั้งสิ้น ซึ่งงานวิจัยของ CERN มีความเสี่ยงต่อการเปิดประตูมิติ ที่จะไปวุ่นวายกับโลกในมิติอื่นๆโดยที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างพอเพียงอาจทำให้สัตว์โลกอื่นหลุดเข้ามาได้ สูญเสียการเป็นหลักแหล่งตามธรรมชาติของเขา  หรืออาจไปสร้างโลกอื่นซ้อนเพิ่มขึ้นมาโดยไม่เป็นธรรมชาติโดยไม่รู้เท่าถึงการและไม่รู้ว่าเป็นโลกระดับไหน เป็นระดับพระพรหมหรือระดับนรก  และไม่รู้ทั้งจำนวนที่ตนเองสร้างออกไปเปรียบเหมือนเด็กเล่นปืนกล การวิจัยอย่างนี้เป็นอันตรายทุกย่างก้าว

 

 แต่ถึงอย่างไรก็ตามโลกทั้งหมดก็ยังสร้างขึ้นจากคลื่นหรือ ประจุไฟฟ้า และอยู่ภายใต้กฎ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”   ซึ่งเป็นกฎใหญ่ของทุกสรรพสิ่งในฝั่งวัฏฏะสงสาร เป็นวิชาการที่พระพุทธเจ้าเราได้ทรงค้นพบ      คำว่า”อนัตตา”ของท่านหมายถึงเป็นแค่ประจุไฟฟ้า ไม่ใช่ของจริง    มันมีการเปลี่ยนแปรไปตามกาลเวลาจากอดีตสู่ปัจจุบันและสู่อนาคตไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด     ในระหว่างนั้น มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และการดับไปอยู่ตลอดเวลา ความหมายตรงนี้คือ “อนิจจัง”  ที่เรียกว่าไม่เที่ยง และอีกอย่างหนึ่งที่เหล่าสัตว์ที่อยู่อาศัยในโลกรับรู้ได้คือความรู้สึกทั้งกายและจิต      ความเจ็บปวดทางกายที่เรียกว่าบาดแผล ฟกช้ำ ถูกทุบตี ถูกฆ่า  และทรมานจากความไม่เป็นธรรมและการเอารัดเอาเปรียบกันเองระหว่างผู้ที่เป็นนักโทษของวัฏฏะจักรด้วยกัน  การบังคับเอาไปฆ่ากันในสนามรบของผู้มีอำนาจที่เรียกว่าสงครามอันนี้ก็เป็นภัยสำคัญ ที่ตายครั้งละมากๆ     ในปัจจุบันเห็นว่าใกล้เวลาจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๓ แล้ว ให้ผู้อ่านค้นคว้าเอาเอง    นั่นเฉพาะที่พบในแดนมนุษย์ แต่ถ้าเป็นแดนนรกนั่นเป็นแดนทรมานแดนฆ่ามืออาชีพที่เรียกว่าจัดหนักจัดเต็มในทุกรูปแบบ   ส่วนความเจ็บปวดทางใจหรือความเสียใจนั้น เช่น การสูญเสียพลัดพรากจากของรักของชอบใจ การไม่สมหวังในความรักในเพศตรงข้าม หรือความปรารถนาที่ไม่รู้จบของจิตผู้ที่อยู่อาศัยเอง ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของบรรดาสัตว์ทุกตัวตนในวัฏฏะสงสาร เหล่านี้  เรียกว่า “ทุกข์” หมายถึงไม่ได้สมใจก็โหยหา เปรียบเทียบก็เหมือนเป็นคนป่วยทางจิตรักษาไม่หาย         ต้องร้องไห้จากปัญหาความรักที่เกาะกินจิตกินใจของบรรดาสัตว์     บางคนยอมเกิดเป็นสัตว์ตั้ง ๕๐๐ ชาติเพื่อที่จะได้อยู่กับคนที่ตนรัก   ความรักนี่มันอานุภาพมาก   ความรักทำให้ไม่กินข้าวกินปลา บางคนหนักไปหน่อยฆ่าตัวตายเลย          ความรักอันนี้มันไม่สิ้นสุดไม่ว่าจะมีอายุมากเท่าไหร่  มันเข้ากันได้กับ เพลงของวงคาราบาว ที่ว่า      “ความรักเอย งดงามอย่างนี้ จบชั่วชีวี  โหยหาความรักไม่รู้จักพอ”

 

ตราบใดที่เรายังทำตัวเป็นนักท่องเที่ยวทางกาลเวลาหรือนักท่องเที่ยววัฏฏะสงสาร จะหนีไม่พ้นปัญหาเหล่านี้         เพราะในวัฏฏะสงสารนี้ ตัวกาลเวลาจะเดินหน้ากลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างให้ผ่านไปอยู่ทางเดียว  มีแต่ปัจจุบันและอนาคตเท่านั้นที่เราสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ ช่วงเวลานี้เท่านั้นที่เขาเว้นวรรคให้เหล่าสรรพสัตว์แก้ตัว เราจะขึ้นสวรรค์หรือลงนรกก็ได้ถ้าเราใช้ประโยชน์จากเวลาไม่เป็น        เราต้องรู้ว่าในทุกสรรพสิ่งที่ตาเราเห็นในทุกสิ่งที่กายเราสัมผัส ถึงแม้นว่าจะเป็นเทพบุตร เทพธิดา นางฟ้า นางสวรรค์ มีความสวยความงามมากแค่ไหนก็ตาม ทุกตัวคน ล้วนเป็นผู้ต้องขังหรือนักโทษด้วยกันกับเรา   เขาถูกขังมาตั้งแต่อดีตแบบไม่รู้จุดเริ่มต้นว่าเมื่อใด   แล้วถ้าท่านยังจะไปใช้ประโยชน์เบียดเบียนเขา อาศัยร่างเขาเสพกามและเมื่อเสพแล้วเขาก็เป็นเหมือนคนติดยาเสพติดจะต้องวนเกิดวนตายอย่างไม่สิ้นสุดท่านไม่สงสารเขาหรือ         ในวัฏฏะสงสารนี้ถ้าใครไปหลงติดหลงยึดถือในสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินหรือเพศตรงข้าม   ยิ่งติดอยู่นานเท่าใดโอกาสหนีรอดออกไปจากวัฏฏะสงสารจะมีน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น     เพราะอะไร เพราะเหตุว่าธรรมชาติของวัฏฏะสงสารมีสภาพเหมือนน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำเสมอ    คือจากสภาพมีบุญมากอยู่ในสรวงสวรรค์ชั้นสูงก็จะค่อยๆหมดบุญตกลงสู่ที่ต่ำคือนรกโลกันต์เป็นที่สุด     หรือเป็นผลมาจากธรรมชาติของการกระทำหรือความปรารถนาด้วยความไม่อิ่มไม่พอและไม่มีความรู้จริงของบรรดาสัตว์หรือที่เรียกว่ามี อวิชา   ที่แปลว่าไม่รู้ไม่เข้าใจกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างแท้จริงแล้วไปเบียดเบียนผู้ต้องขังอื่นด้วยการผิดศีลต่างๆ เช่น ขโมยภรรยาเขา ลักทรัพย์เขา     เอาตัวเขามาเป็นอาหารอันนี้หมายถึงสัตว์   ปัจจุบันถึงยุคตั้งฟาร์มมนุษย์เพื่อเอามาเป็นอาหารและเปลี่ยนอวัยวะ  หรือทำเป็นยาให้อายุยืน    หรืองานวิจัยทางการแพทย์ให้ไปค้นคว้าดู         รวมทั้งการพัฒนาอาวุธสงครามชนิดใหม่ๆที่สามารถฆ่าคนทีเดียวหลายร้อยล้านคน      และโครงการ  New World Order   ที่มีแผนฆ่าคน  6,000  ล้านคน   เห็นว่าเริ่มบางส่วนไปแล้ว ( ให้ไปหาดูข้อมูลเอาเองนะ)  เป็นต้น     ความทันสมัยอย่างนี้เองที่ทำให้การสร้างกรรมชั่วเป็นแบบทวีคูณและทำได้มากกว่าในอดีต          จึงทำให้เป็นการยากมากขึ้นที่จะหลบหนีไปจาก ”คุกสวนดอกไม้” (พูดแบบแนวอยู่บนสวรรค์ให้สวยหรูไว้ก่อนท่านจะได้สบายใจ ) ต้องกลายเป็นนักโทษตายคาวัฏฏะสงสาร               ถึงแม้ว่ามนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรมจะร้ายกาจอย่างนี้แต่มุมมองของนักปราชญ์ยังต้องให้อภัย คืออาจารย์ตามถ้ำหรือต่างมิติที่ภูแซ แถบภูเขาควาย ประเทศลาวที่ออกข้อสอบถามลูกศิษย์ที่เป็นพระนักปฏิบัติที่ธุดงค์เข้ามาร่ำเรียนวิชาว่า “ถ้าถึงเวลาที่ต้องทำลายโลกทั้งหมดลงแล้ว  จะทำอย่างไรกับบรรดาสัตว์ที่ยังติดอยู่ในนรกที่ยังใช้กรรมไม่หมด”   คำตอบตรงนี้ถ้าเรียนจบแล้วจะตอบว่า “นิรโทษกรรมให้ทั้งหมด” ทำไมท่านถึงตอบอย่างนั้น ที่ท่านตอบอย่างนั้นอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจว่าบรรดาสัตว์นรกทั้งหมดเป็นสิ่งเดียวกับตัวเรา เป็นสิ่งเดียวกับโลกธาตุทั้งหมดทั้งสองฝั่งคือทั้งฝั่งมีคลื่นที่เป็นวัฏฏะสงสารและฝั่งไม่มีคลื่นที่เป็นฝั่งนิพพานที่พระพุทธเจ้า และพระอรหันต์เจ้าอยู่    

            

ถ้าเข้าใจแล้วจะรู้ว่าทั้งหมดนั้นเป็นสิ่งเดียวกันเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือเป็นแค่คนๆเดียวกัน ดังนั้นจะไปถือโทษโกรธเคืองกันอยู่ได้อย่างไร     เปรียบเหมือนลิ้นกับฟัน เวลาที่ฟันไปกัดลิ้นเราจะไปลงโทษฟันไปเลาะฟันออกก็จะไม่มีฟันเคี้ยวข้าวเลยต้องให้อภัยฟัน  เหมือนอย่างที่เขาว่าทำบุญที่ได้บุญมากคืออภัยทานหรือเรียกว่าอโหสิกรรม อันเป็นเทคนิคที่นักปฏิบัติใช้ในการตัด การละ การวาง ทุกสรรพสิ่ง ไม่กังวลในการตัดใจลาจากคนที่เรารัก เพราะเรากับคนรักเป็นคนคนเดียวกัน เพราะอย่างนั้นการที่ตัวเราไปนิพพานก็เท่ากับเราไม่ได้จากคนรักของเรา เพราะเขาก็อยู่ในตัวเราอยู่แล้ว  การคิดอย่างนี้ถึงตัดใจได้ และในสภาวะทิพย์นั้นเพียงแค่คิดให้ญาติพี่น้องพ่อแม่พ้นทุกข์เท่านั้นพวกเขาพ้นหมด

 

หลวงพ่อสงฆ์ท่านพูดกับหลวงปู่บุดดาว่า” ไม่เห็นมีคนมีสัตว์เลย “ หลวงปู่บุดดาตอบว่า”เขาไม่มีมาตั้งแต่นานแล้ว “  คำสนทนาตรงนี้ เป็นการสนทนาในตอนเช้า ภายหลังจากหลวงพ่อสงฆ์ได้บรรลุธรรมแล้ว โดยพิจารณาเห็นว่า บรรดาสัตว์หรือบุคคลคนทุกคน ทั้งหมดนั้นเป็นเพียงธาตุของพระพุทธเจ้า   ดังนั้นจึงไม่หวัง ไม่ห่วง   ไม่ยึด ไม่ติดในสิ่งใดๆ ในทุกสรรพสิ่งของฝั่งวัฏฏะสงสาร       และเรื่องที่เป็นความรู้สำคัญที่สุดที่คนจะไปนิพพานต้องรู้คือสภาวะนิพพานนั้นเป็นสภาวะไม่สูญแต่เวลาเป็นสูญหรือเวลาไม่เดินหรือหยุดนิ่งอยู่ชั่วนิรันดร  เรื่อง”ไม่มีเวลา” หรือ ”เวลาเป็นสูญ” ตรงนี้ในบทสวด”ธรรมคุณ”ของพระพุทธเจ้าก็บอกไว้แล้วตรงคำว่า”อกาลิโก” ผู้เขียนโกรธคนที่ไปแปลว่า  ”ไม่จำกัดกาล” ไม่รู้เป็นใคร ยังแค้นใจไม่หาย มันทำให้ความหมายในธรรมะของพระพุทธเจ้าเราเสียไปเลย   ปัจจุบันพระไตรปิฎกก็ว่าตามนั้นไปกันใหญ่ คนรุ่นหลังเลยไม่เข้าใจ    วิชาการของพระพุทธเจ้าเวลานั่งสมาธิแล้วตัวเวลาจะหายไปให้ไปดูใน กูเกิล  Ram Bahadur Bomjan – The Meditating Buddha – boy from Nepal ที่เขานั่งเป็นเดือนเป็นปีไม่ต้องกินข้าวกินน้ำ เพราะเวลาในเขตร่างกายเขามันไม่เดิน ฝรั่งมาถ่าย VDO เฝ้าไว้ตลอดเวลา นี่คือวิชาการของพระพุทธเจ้า แต่น่าเสียใจที่ว่าในปัจจุบันถึงยุคที่จะต้องสูญหายจากแผ่นดินไทยแล้วเรื่องนี้ท่านรู้หรือไม่  

 

 สภาวะนิพพานนั้นเป็นสภาวะเหนือโลกเหนือเหตุผลที่มนุษย์จะไปเข้าใจ เราไม่สามารถประเมินท่านได้ ท่านสามารถกลับเข้ามาเกิดใหม่ในวัฏฏะสงสารได้  แต่การมาเกิดเป็นเรื่องเสียสละ ยากลำบากแสนสาหัสและต้องใช้ความอดทนสูง   ผู้เขียนไปถามนางฟ้าน้อยได้รับคำตอบว่าบุญของการเป็นพระพุทธเจ้าต้องเป็นพระพุทธเจ้า ไม่สามารถจะเปลี่ยนระดับของบุคคลได้ง่ายๆ  อันนี้หมายถึงพระพุทธเจ้าก็ย่อมมาเป็นพระพุทธเจ้าใหม่อีก  ส่วนที่เขียนไว้ในพระไตรปิฎกว่าเริ่มต้นมาจากคนที่ปรารถนาบำเพ็ญเพียรสะสมบุญบารมีมาแล้วค่อยมาเป็น ถามพระโพธิสัตว์ที่อยู่แถวบางพลี ท่านว่าเป็นพระพุทธเจ้าไปแล้วจะไม่มาเป็นใหม่(ท่านอาจใช้หลักการเนรมิตหรือแบ่งมาก็ได้เรายังไม่รู้)  ผู้เขียนถามเทวดาผ่านผู้ปฏิบัติธรรมชั้นสูงอยู่แถวดินแดง ท่านว่าสภาวะนิพพานสามารถจะกลับมาเกิดใหม่ได้นั้นต้องใช้คำว่า “อนันต์” ยกกำลัง ๕   เป็นความเห็นของเทพเจ้าไม่รู้ว่าท่านอยู่ชั้นไหน   ผู้เขียนถามเจ้าหน้าที่คนสำคัญที่อยู่ในโลกทิพย์ท่านบอกว่าตัวท่านกลับออกมาจากนิพพานเป็น ร้อยๆหนแล้ว    เราจะเห็นว่านิพพานนั้นสามารถกลับคืนเข้ามาเกิดใหม่ได้

 

คำว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งมวลเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นคนคนเดียวกันนั้นดูอย่างไร      ในเมื่อท่านไม่มีญาณหยั่งรู้พิเศษ   ท่านผู้อ่านจะต้องพิจารณาอย่างนี้ ท่านผู้อ่านจำได้ไหมว่าตอนพระพุทธเจ้าจบเป็นพระอรหันต์ก็ดี      ตอนที่ท่านมาเทศน์โปรดเบญจวัคคีย์ที่เป็นปฐมเทศนาครั้งแรกที่มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เข้าใจที่พระพุทธเจ้าเทศน์วันนั้นเป็นวันที่เกิดพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ครบองค์ ๓ หลังจากพระพุทธเจ้าเทศน์จบก็ดี    และเรื่องของพระแต่ละองค์ๆที่จบเป็นอรหันต์ที่บันทึกไว้นั้นก็ดี         ท่านจะพูดตรงกันถึงเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวสะเทือนเลื่อนลั่นทั้งนั้น        หรือที่เขาเขียนเอาไว้ชัดเจนในบทสวดธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ที่เทพเจ้าแต่ละชั้นที่ยังเสียงให้บันลือลั่นเป็นทอดๆกันไปตั้งแต่ชั้นจา  ตุมมะหาราชาจนถึงชั้นสุทธาวาส  และช่วงท้ายของบทจะแปลได้ความว่า “ ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวสะท้านสะเทือนเสียงดังสนั่นลั่นไป ทั้งแสงสว่าง อันประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เหนือกว่าอานุภาพของเหล่าพรหม”    แต่ความจริงแล้วเป็นการส่งเสียงและมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทั้งหมื่นโลกธาตุเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันโดยไม่มีการลดหลั่นเวลา     นั่นก็แสดงอยู่แล้วว่าเป็นเหมือนคนคนเดียวกันเพราะมันต่อเชื่อมเนื่องกันหมดทั้งวัฏฏะสงสาร        หรือพิจารณาได้จากกฎเกณฑ์การเกิดพระพุทธเจ้าจะเกิดมีซ้อนกันไม่ได้มีได้เพียงคราวละหนึ่งพระองค์เท่านั้นในช่วงเวลาหนึ่งๆ  พระปัจเจกพุทธเจ้าก็เหมือนกันจะไม่ซ้อนกับพุทธเจ้าและมีเป็นชุดใหญ่ เหล่านี้เป็นต้น  มันเป็นการบอกอยู่แล้วว่าหมื่นโลกธาตุแสนโกศจักรวาลหรือวัฏฏะสงสารทั้งหมดเป็นเหมือนคนๆเดียวกัน    เหมือน เวลาเราขนลุกเสียวสะท้านหรือหวั่นไหวอะไรก็จะสะเทือนทั่วไปทั้งร่างในเวลาเดียวกันนั่นเอง

ขอแสดงให้ผู้อ่านเห็นอีกสักเรื่อง   ผู้เขียนเคยไปดูหมอที่ รพ.หญิง ตรงข้าม รพ.พระมงกุฎ วันนั้นมีคนมุงดูอยู่ ๕- ๖ คน ข้าพเจ้าก็เงยหน้าและถามว่า   คุณมีปัญหาเรื่องขามากขาของคุณเป็นอะไรหรือเปล่าครับ   ท่านผู้นั้นตอบว่าไม่มีค่ะ มีแต่ขาของคนไข้วันละ ๕๐ ขา ดิฉันเป็นหมอกระดูกอยู่ รพ.พระมงกุฎค่ะ        ตรงนี้ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าตัวคนไข้กับตัวคุณหมอเป็นคนคนเดียวกัน คนไข้สามารถรับกรรมแทนคุณหมอได้     เหตุผลนี้จึงชัดเจนว่าความเมตตาสงสารหรือช่วยเหลือผู้อื่นก็เท่ากับเราขยายขอบเขตตัวเราไปครอบคลุมตัวผู้ป่วยที่ป่วยอยู่แล้ว   ยังผลให้ตัวจริงของเราไม่ป่วย เป็นวิธีการป้องกันตัวเองอย่างหนึ่งของนักปราชญ์         เหตุทำนองเดียวกันกับเรื่องนี้ที่พระพรหมท่านมีความ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา   ต่อสัตว์โลก ตัวจริงของท่านก็เลยปลอดภัยโดยอาศัยหลักเดียวกันนั่นเอง

ดังนั้นเราจึงต้องไม่คิดร้ายต่อคนอื่นทุกคนเพราะเขาเป็นตัวเรา    พระพุทธเจ้าไม่ได้อธิบายอย่างนี้หรือข้อมูลของท่านสูญหายไป แต่ท่านก็กำหนดเป็นศีล ๕  ออกมาป้องกันเราไปทำร้ายผู้อื่นไว้แล้ว  ซึ่งก็ต้องมาจากหลักการเดียวกัน   ตรงนี้ในตำราหล่อพระของวัดสุทัศน์ที่หลวงพ่อ จรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี  เอามาเผยแพร่ทาง internet เรียกว่าบทมหาเมตตาใหญ่เป็นบทสวดมนต์สำคัญที่ผู้สวดจะได้บุญมากนั้นกล่าวว่าเวลาจะทำบุญใหญ่อะไร เราจะต้องเคลียร์เรื่องเวรกรรมกับเจ้ากรรมนายเวรทั้งหมดของเรา โดยให้ภาวนาพระคาถาบทนี้ก่อน  เมื่อผู้ภาวนาคิดตามคำภาวนาแสดงเจตนาขออภัยออกไปทั่วทุกทิศแล้ว  เจ้ากรรมนายเวรเขารับรู้ก็จะให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคืองเรา คือเราไม่มีชนักติดหลัง   หรือเขาไม่มาขัดขวางเราในขณะกำลังทำบุญ เราเลยได้บุญมาก งานบุญใหญ่นั้นสำเร็จ      พระคาถานี้อาศัยพื้นฐานก็มาจากหลักที่ว่าทุกตัวคนเป็นคนเดียวกันจึงยอมให้อภัยกันได้เรียกว่าอภัยทานไม่เอาโทษกับเหยื่อ     โลกก็ว่างจากการอาฆาตพยาบาทจองเวรทุกชีวิตก็มีความสุข    ผู้เขียนมีประสบการณ์เวลาจะปั้นพระ ปั้นไม่ได้ถ้าใจยังไม่ให้อภัยคนที่เราแค้นเคืองอยู่ มันไม่น่าเชื่อว่ากรรมเวร หรือความยุติธรรมของธรรมชาติหรือพลังการรักษาสมดุลของการกระทำของมนุษย์ จะมีพลังยิ่งใหญ่ขนาดนี้

 

ท่านเคยเห็นเทคนิคการจับลิงป่าทางภาคใต้ไหม? ที่เขาใช้ลูกมะพร้าวอ่อนเจาะรูขนาดให้พอดีกับมือของลิงสามารถสอดเข้าได้แต่ถ้างกำมือแล้วจะเอามือออกจากรูไม่ได้  วิธีการดักจับลิงเขาจะเอาปูแสมใส่ไว้ และคอยแอบดูเวลาลิงมาล้วงจับปูในลูกมะพร้าว  จะส่งเสียงดังให้ลิงตกใจ ลิงจะหนีแต่ไม่สามารถเอามือออกได้เพราะมือกำปูไม่ยอมปล่อยเนื่องจากระดับมันสมองของสัตว์อยู่ระดับต่ำ    ครั้นจะวิ่งหนีทั้งลูกมะพร้าวก็ไม่ไหวเพราะหนัก เลยถูกจับ  คนเราในวัฏฏะสงสารนี้ก็เหมือนกัน ถ้ายังยึดสิ่งใดไม่ปล่อยไม่วางก็หนีออกไปไม่ได้

 

    เรื่องการสร้างโลกนั้นผู้เขียนได้ชมการสร้างของเทวดามาแล้วจากเส้นตรงเส้นเดียวขยายออกด้านข้างไปอย่างเร็วเป็นพื้นที่สุดสายตา      ผู้เขียนได้ยินพระโพธิสัตว์อยู่แถวหนองคายว่าเขาสร้างโลกบางโลกเอาไว้เพื่อทดลองอาวุธว่าของใครจะดีกว่ากัน ท่านว่าโลกนั้นมีสภาพพังทลาย ภูเขาพังหมด      ส่วนใหญ่ฤาษีที่มีวิชาเวลาสร้างเสร็จจะให้ลูกศิษย์เอาไปสู้กันกับอาวุธของสำนักอื่น     ตัวเองก็จะตามไปดูด้วยคงเป็นเหมือนเวทีมวยราชดำเนินของไทย    เรื่องการสร้างในมุมมองของท่านเหล่านั้นมันใช้แต่เพียงความคิด มันเป็นสิ่งสมมุติเท่านั้นโลกของเราด้วยนะอย่าลืม       ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่านรกใครเป็นคนสร้างเขาบอกว่าสัตว์นรกสร้างเองให้ไปศึกษาเอาเองนะ

อาจารย์รัตน์ รัตนญาโณ อ.แม่ริม  จ.เชียงใหม่ ท่านสอนหลักการนั่งสมาธิไปนิพพาน  ท่านบอกว่ามันมีช่วงตัวโยกตัวคลอน หลังจากนั้นจะนิ่งและว่างเปล่า   นั่นหมายถึงอะไร ผู้เขียนจะอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจคือหลักการหรือเทคนิคที่จะหนีออกจากฝั่งมีคลื่นหรือวัฏฏะสงสารไปสู่ฝั่งไม่มีคลื่นหรือฝั่งนิพพานนั้น คือการที่จิตของเราที่เป็นกลุ่มของประจุไฟฟ้า เวลานั่งสมาธินานๆนิ่งเข้าๆมันจะเหลือประจุเดียวตรงนี้ไม่รู้ว่าเป็น atom หรืออะไรก็ไม่ทราบ  เพราะท่านไม่ได้บอกไว้เอาความเข้าใจว่าไม่เล็กไปกว่านี้แล้วกัน        ในที่นี้เราจะสมมุติว่าเป็น   atom   ก็แล้วกัน ขณะที่เราออกจากขอบของ  atom เข้าสู่ศูนย์กลางของ atom คือ nucleus  ในขณะอยู่ตรงระหว่างกลางทางนั้นจะถูกแรงดึงดูดของขอบและศูนย์กลางทำให้ตัวโยก และเมื่อผ่านช่วงตัวโยกไปแล้วนั่นหมายถึงเข้าสู่ศูนย์กลางได้สำเร็จตรงจุดนี้จากกฎฟิสิกส์บอกว่าสิ่งใดที่เล็กเป็นจุดแล้วมันจะเกิดการหมุนด้วยความเร็วสูงจนมวลหายไป      ถ้าพิจารณาด้านร่างกายของผู้นั่งก็จะพบว่าหยุดหายใจ จิตนิ่งว่างเปล่า  ตรงสภาวะความนิ่งตรงนี้  มันเป็นภาวะไม่มีมวลสาร ในภาวะไม่มีมวลสารก็ไม่มีแรงดึงดูดของมวลสารที่จะเหนี่ยวนำให้เกิดเวลา เป็นสภาวะไม่มีเวลาหรือเวลาไม่เดิน  ในสภาวะนั้นเรียกว่าอยู่ในฝั่งไม่มีคลื่นหรือฝั่งนิพพาน  ท่าน Ram Bahadur Bomjan ไม่ต้องกินข้าวกินน้ำเป็นปีๆ ยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นปรกติ

จากทฤษฎีของไอสไตน์

E   =  MC^2      เมื่อ E เป็นพลังงาน ;   M เป็น มวล ;    C   เป็นความเร็วแสง   3*10^8   m./sec                                                                                                                                                                        

  เมื่อ M เป็น สูญ สมการนี้จึงเป็นสูญ หมายถึงอยู่ฝั่งไม่มีคลื่น   ในความว่างเปล่านี้ไม่มีการเหนี่ยวนำหรือแรงดึงดูดของมวลสารที่จะทำให้เกิดเวลา   หมายถึงไม่มีเวลาหรือเวลาหยุดเดิน อันหมายถึงสภาวะนิพพาน

 

ท่านอย่าสงสัยนะว่าทำไมจิตดวงนิดเดียวถึงควบคุมร่างทั้งหมดของมนุษย์ได้ ทำให้ตัวโยกตัวคลอนได้ อันนี้มันเป็นเรื่องแปลกมาตั้งแต่ปฏิสนธิวันแรกแล้ว หลังจากมีการรวมธาตุพื้นฐานตั้งต้นของการเกิดเป็นร่างกายมนุษย์มี ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ และธาตุรู้  ธาตุทั้งหมดนั้นถือว่าเป็นสิ่งเดียวกันหรือเป็นตัวเดียวกัน ณ เวลาที่รวมนั้น มันจะไม่แยกจากกัน จะแยกจากกันก็เมื่อถึงวันตายที่เรียกว่าธาตุแตก ในคัมภีร์แพทย์แผนไทยบรรยายไว้  มันน่าแปลกประหลาด สังเกตดูเวลานั่งสมาธิเมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งแล้วลมหายใจหยุดลงจะเห็นว่าธาตุรู้ตัวเดียวมันคุมร่างกายได้หมดทั้งๆที่ตัวคนใหญ่  หลักการนี้เองที่คนนั่งสมาธิตัวลอยได้    หรือคนสามารถมีอายุยืนเป็นหมื่นๆปีได้ หรือชาวเกาะ แถบฟิลิปปินส์ สามารถอยู่ใต้น้ำได้นานๆโดยไม่ต้องหายใจ  หรือชาวเล ทางใต้ของไทยก็ใช้หลักการเดียวกัน       ดร.อาจอง ชุมสาย นั่งสมาธิแล้วตัวลอยได้ให้เพื่อนที่มาจาก NASA ได้ชมกัน    อันนี้เพราะจิตตัวเดียวมันมัดธาตุอื่นอยู่กับมันหมดเหมือนมีแค่ธาตุเดียวเมื่อจิตนิ่งธาตุอื่นก็พลอยนิ่งไปกับเขาด้วยมันน่าแปลกนะ     มันแผ่ความนิ่งซ่านเรารับรู้ได้ว่ามันคุมทั้งร่างกายไม่หิวข้าวไม่ต้องหายใจอยู่ได้   หลวงปู่บุดดา ถาวโร   วัดกลางชูศรีเจริญสุข  ท่านว่าคนเรานี่มันเป็นอิตถีภาวะ ภาวะผสม  หมายถึงภาวะผู้หญิง อธิบาย ลูกกับเขารวมเป็นสิ่งเดียวกัน  ธรรมชาติให้เขาทำหน้าที่เลี้ยง ลูกเขาจะได้ไม่ทอดทิ้งลูก    ภาวะผสมอันนี้ด้านธรรมะแปลว่า ธาตุต่างๆ ประชุมกันจำนวน ๕ ธาตุมารวมกันเป็นตัวคน

ขออธิบายให้เข้าใจว่าคนเราตัวเบาและลอยได้ได้อย่างไร  อันนี้ต้องใช้สูตรแรงโน้มถ่วง

F   = ( G*M1*M2)/R^2        เมื่อ F  เป็นค่าแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุใดๆ

                                    G         แทนค่าความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก มีค่า 9.81 เมตร ต่อวินาที

                                    M1      แทนค่ามวลของโลก หน่วยเป็นกิโลกรัม

                                    M2     แทนค่ามวลผู้นั่งสมาธิ หน่วยเป็นกิโลกรัม

                                    R       แทนค่าระยะห่างระหว่างมวล                     

จากสมการจะเห็นว่าถ้ามวล M2 เป็นสูญ จะทำให้สมการนี้เป็นสูญไปด้วย ตัวจึงไม่มีน้ำหนักและลอยได้

ดูใน  internet   ก็ได้ที่โยคี อินเดีย แสดงให้ดู ส่วนพระอรหันต์ของไทยแสดงได้ทั้งนั้นแต่จะมาแสดงอย่างนั้นไม่ได้มันผิดศีล  ต้องเฉพาะให้ลูกศิษย์ดูเพื่อให้ขยันปฏิบัติธรรมเท่านั้น  ใครอยากรู้วิชาเรื่องจิตให้ทดลองทำดูใครทำสำเร็จจะได้รับปริญญาเอกจากพระพุทธเจ้า    วิชาการที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วมาสอนพวกเรานี่น่าประหลาดนัก

 

ฝั่งนรกประจุมีความหนาแน่นมากเหนี่ยวนำให้เวลาเดินเร็วมาก ให้ไปดูผังแสดงเวลาการตกนรกว่ายาวนานมากน้อยแค่ไหนเอาเองนะผู้เขียนไม่อธิบาย        สำหรับฝั่งพระพรหมประจุมีความหนาแน่นน้อยเวลาจะเดินช้ามาก พันเอกเสนาะ บอกว่านั่งสมาธิบนโลกมนุษย์  ๒  ชั่วโมง ไปเที่ยวบนสวรรค์ได้ไม่ถึง  ๕  นาที ไม่รู้เป็นสวรรค์ชั้นไหนนะไม่ได้บอกไว้    ผู้เขียนเคยได้ยินหลวงพ่อแสวง วัดถ้ำเขาตะพาบ ต.วังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ท่านบ่นว่าปฏิบัติธรรมอยู่ดีๆเอากายทิพย์ไปเที่ยวสวรรค์ชั้นไหนก็ไม่รู้ เผลอไปนิดเดียวเวลาโลกเราเป็นตี ๕  เลยต้องออกจากสมาธิ    ปู่โหรศิษย์เอกของหลวงพ่อแสวง ท่านทำหน้าทีเป็น guide  tour สวรรค์ โดยให้ผู้ท่องเที่ยวเกาะผ้าสไบเฉียงของท่าน แล้วท่านจะพานั่งสมาธิ ผู้เขียนเห็นเมียของเขารอ จำไม่ค่อยได้ว่า ๓ วันหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ แกมาตามผัวๆยังนั่งนิ่งอยู่กับปู่ ไม่ออกจากสมาธิ เหตุเพราะลูกต้องกลับกรุงเทพไปเรียนหนังสือ    ตอนหลังได้ทราบว่าเวลาที่อยู่บนสวรรค์นั้นสั้นมาก แกถูกนางฟ้าทดลองใจเข้ามากอดและบอกว่า “นี่ผัวหนู” พอแกไปกอดตอบเขา เขาผลักอกและบอกว่า”ปู่พาคนอย่างนี้ขึ้นมาได้อย่างไร “ บทละครสั้นๆแค่นี้เวลาโลกมนุษย์  ๓ วัน  นักท่องเที่ยวคนนี้ทำเสียหายปู่เลยยกเลิกโครงการ  

 

ในการปฏิบัติธรรมผู้ปฏิบัติไม่ต้องมีความรู้อะไรมากขอเพียงให้เป็นผู้ปฏิบัติจริงเท่านั้นครูบาอาจารย์ในโลกฝั่งไม่มีคลื่นจะคอยช่วยเหลือเอง    แม้ศิษย์จะอยู่ที่ห่างไกลกลางป่ากลางเขา อยู่ลำพังคนเดียวหรืออยู่ในถ้ำลึก ถ้ามีการสงสัยข้อธรรมข้อใด ติดขัดธรรมะข้อไหนตรงไหนเข้าใจผิดเรื่องอะไร แม้กระทั่งความเข้าใจผิดที่ตกค้างอยู่ในส่วนหนึ่งส่วนใดของสมองศิษย์     ท่านจะตามไปช่วยเหลือสั่งสอนแนะนำแก้ไขความเข้าใจผิดนั้นๆทุกข้อไม่ให้นักปฏิบัติหลงทาง        โดยเสด็จมาด้วยตัวท่านเองหรือสาวกแล้วแต่ความเหมาะสม    หรือศิษย์กำลังคิดจะออกนอกลู่นอกทางท่านก็ไปตักเตือนกำราบ    รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัยหรือการเจ็บป่วย หรืออาหารการกินหรือกำลังจะประสบภัยหรืออยู่ท่ามกลางอันตรายใดๆท่านจะเสด็จมาช่วยเหลือคุ้มครองดั่งเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มภัย        หรือมาตักเตือนป้องกันก่อนการเกิดเหตุ   แม้เราเกิดหลังพระพุทธเจ้า ท่านก็ยังมาสั่งสอนเราได้  มันเหลือเชื่อจริงๆ ไม่น่าเป็นไปได้ น่าอัศจรรย์นักในพุทธศาสนาของเรานี้ แม้ในปัจจุบันขณะนี้ระบบนี้ ยังทำงานอยู่อย่างเข้มแข็งไม่มีวันหยุดตลอด ๒๔ ชั่วโมง  ด้วยความเมตตาห่วงใยอย่างไม่มีประมาณ ปานประดุจมารดาเฝ้าดูแลห่วงใยบุตรน้อยของนางอยู่มิห่างกายทั้งวันทั้งคืน  บุญคุณอันนี้ยิ่งใหญ่นัก   คล้ายกับเราปฏิบัติธรรมหรือเดินธุดงค์อยู่ในความคุ้มครองของบริษัทประกันภัย 

 

เหตุอย่างนี้เองที่เราต้องฟังท่านและนำยอดพระกัณฑ์ของท่านมาสวด  อันนี้แทบไม่ต้องคิดเลยมันต้องดีแน่เราต้องให้เครดิตแก่ท่านและคิดว่าน่าจะมีเหตุผลบางอย่างอีกที่ท่านให้ไปคัดลอกมา เช่นอาจจะใช้คุ้มครองช่วงภัยพิบัติใหญ่  ดังนั้นเราก็ควรจะถ่ายเอกสารเอามาบูชาเป็นสมบัติของเราบ้างถือเป็นสมบัติด้านธรรมะ       ผู้เขียนขำบางท่านอ้างว่าเป็นธรรมะจากปากของพระพุทธเจ้า  ยึดพระไตรปิฎกแบบที่เป็นกระดาษ เป็นหลัก ท่านไม่เข้าใจเรื่องความผิดพลาดจากการคัดลอก ประสิทธิภาพของภาษาเขียนไม่สามารถครอบคลุมภาษาจิต  และประสิทธิภาพของการแปลภาษาในการสื่อความหมาย จากบาลีเป็นภาษาไทย   ผู้เขียนอยากถามว่าท่านเคยเจอหรือสอบถามกับพระพุทธเจ้ามาด้วยตัวเองหรือไม่     ถ้าเคยพบพระพุทธเจ้ามาแล้วก็น่าเชื่อถือ   ถ้าไม่ ท่านอ้างข้อมูลที่เสี่ยงเพราะคัดลอกสืบต่อกันมา

 

ในปัจจุบันพระพุทธเจ้ายังคงทรงพระชนม์ชีพอยู่ แต่อยู่ในรูปของพลังงานสามารถจะเนรมิตกายมาเป็นกายเนื้อหรือกายทิพย์ได้ทั้งนั้นแล้วแต่ท่าน และท่านยังสามารถพูดสั่งสอนธรรมได้เป็นปรกติ เสียงของท่านจะเป็นเสียงเงียบ ตรงนี้ผู้เขียนขอรับรอง พระอรหันต์ทุกองค์ต้องไปกราบลาท่านก่อนเข้านิพพานทั้งนั้น   และอรหันต์แต่ละองค์ก็เหมือนกันกับท่านไม่ตายเหมือนกัน    นี่เองที่เป็นข้อดีสำคัญที่สุดของพุทธศาสนา   ใครไม่อยากตายมาเรียนเป็นพระอรหันต์ อยากจะอยู่สัก ๒๐๐๐ ปีก็ได้ทั้งนั้นแต่เขาจะไม่ให้เกินพุทธันดร เพราะเป็นจังหวะโลกว่าง โลกว่างต่างจากโลกธาตุว่างเพราะว่างเฉพาะโลก โลกอื่นยังเปิดดำเนินการอยู่  ให้ไปหาข้อมูลเอาเองนะ          เรื่องเหล่านี้คนเขาจะไม่ค่อยกล้าพูดกัน ไม่เห็นใครที่ไหนเขียนเผยแพร่  อย่างนี้เองที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ศาสนาเราเสื่อมลงเพราะคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อ หาว่ามันเป็นไปไม่ได้    ทั้งๆที่ความจริงมันเป็นวิทยาศาสตร์ ที่สูงกว่าในปัจจุบัน  ให้ศึกษาบ้างว่านักฟิสิกส์ที่สูงๆในปัจจุบันหันมานับถือศาสนาพุทธ  ให้ไปหาดูคำปาฐกถาของไอส์ไตน์  พูดไว้อย่างชัดเจนที่ อเมริกา ว่าหลักการความเชื่อในศาสนาพุทธตรงกับการค้นคว้าวิจัยของเขา      ถ้าผู้ใดอยากพบพระพุทธเจ้าท่านต้องถือศีล ๕  ทำความต่อเนื่องของตัวรู้ให้ได้นานๆและพยายามทำบ่อยๆทุกเวลาที่เราคิดขึ้นมาได้ ระลึกเรื่องนี้ได้เมื่อไหร่ทำเลย งานอย่างนี้ มันเป็นเพียงงานของความคิด พระพุทธเจ้าท่านค้นคว้ามาให้เราแล้ว เราอยู่ในฐานะผู้ใช้ความรู้ของท่าน เราได้ไปนิพพาน

 

ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าการบอกเล่า การสั่งสอน หรือการเขียนข้อมูลให้มนุษย์อ่านเป็นเรื่องเสี่ยงต่อกรรมเวรมากถ้าเรื่องนั้นเป็นเรื่องเท็จ      จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนเห็นมา    ผู้เขียนเคยพบนักสอนพระไตรปิฎกอันยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งอยู่กระทรวงตรงข้าม โรงพยาบาลรามา ท่านสอนของท่านอยู่ดีๆเสียงท่านหายไปเป็นเสียงแหบไม่มีเสียง   ต่อมาคอท่านเป็นมะเร็ง ต่อมาตาท่านเริ่มมองไม่เห็น   ผลงานวีรกรรมของท่านคือท่านเป็นผู้สรุปคำสอนของพระที่นิมนต์มาจากในป่า    หลังจากส่งพระกลับแล้วท่านจะมาวิจารณ์ว่าเนื้อหาตรงไหนถูกตรงไหนผิดโดยใช้วิจารณญาณของตัวท่านเองอธิบายแก่กลุ่มศิษย์ใกล้ชิด VIP ที่ชะเง้อคอคอยฟังบุคคลที่เขานับถือว่าเป็นปราชญ์ ประเด็นนี้     เราควรจำเขาเป็นตัวอย่าง      ด้วยเหตุผลอย่างนี้ จะเห็นว่าการเขียนหนังสือก็ดี หรือลงคอมพิวเตอร์เผยแพร่ออกไปก็ดี  ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ให้มนุษย์รับรู้นั้น ถ้าเป็นข้อมูลเท็จหรือไม่ถูกต้องเป็นบาปมากที่สุด        แม้แต่การเขียนนิยายทำให้ผู้อ่านมีความคิดเพ้อฝันมีจินตนาการไปตามเรื่องที่เขียน   ชาติต่อไปคนเขียนจะเป็นโรคจิต       การร้องเพลงที่ทำให้คนฟังเพ้อฝันลุ่มหลงในความรัก      เครื่องชั่งธรรมชาติจะจัดการเก็บอวัยวะที่ใช้สร้างบาปนั้น เช่นนักร้องใช้เสียงหรือเขาจะทำให้ไม่มีเสียง หรือเสียงแหบ  หรือให้เป็นมะเร็ง เจ็บคอ และในชาติต่อไปธรรมชาติจะจัดการต่ออีกเช่นให้เป็นใบ้       ในปัจจุบันเห็นนักร้องหลายคนเสียงแหบ หลายคนเป็นมะเร็งก่อนที่จะตายเสียอีก             การเป็นนักแสดงเสี่ยงเป็นภูมิแพ้ ในชาติหน้าต่อไปจะเป็นโรคเรื้อน มีผิวน่าเกลียด   เรื่องมีรูปร่างสวยแล้วมาแก้ผ้าอวดกัน ผู้ช่วยยมบาลอาจส่งตัวเข้าประกวดเวทีนางงามในนรก  ชาติต่อไปจะมีความสวยติดลบ บางคนชอบเสริมสวยแม้แต่การทาแป้งมีคนบอกท่านหรือเปล่าว่าเป็นบาป  ถ้ามันไม่มีบาปพระพุทธเจ้าคงไม่กำหนดเป็นศีล ๘ ไว้    เรื่องทาแป้งจะปูพื้นฐานให้ท่านเข้าใจไว้คือคนเราในแต่ละชาติความสวยจะมีความจำกัดและจำนวนคนที่มามองด้วย    เช่นสมมุติว่าแต่ละชาติของการเกิดเรามีคนมามองชาติละ ๕ คน     แต่เราเสริมความสวยขึ้นก็เท่ากับไปยืมคนมองในอนาคตมาใช้ในชาตินี้  เมื่อใช้หมดขอถามว่าชาติหน้าจะเหลือคนมองไหม  เกิดมาคงหน้าตาอัปลักษณ์เรียกว่าความสวยติดลบท่านจะเอาอย่างนั้นหรือ   ท่านพิจารณาดูซิว่านางฟ้าเขาทาแป้งกันหรือไม่ เขาไม่ทาเขาสวยจากบุญของเขาเอง    เจ้าของร้านเสริมสวยนั่นแหละบาปหนักกว่าเขา    ผู้เขียนเคยไปสัมภาษณ์มาเขาบอกว่าเงินแบบนี้มันเก็บไม่ได้มันเป็นอะไรไม่รู้

ท่านเคยเห็นนักร้องเพลงพื้นเมืองของทางเหนือไหม ส่วนใหญ่นักร้องชายเป็นคนพิการ   พวกทางอีสานคนตาบอดเก่งร้องหมอรำและเป่าแคนพากันเดินขอทาน     ผู้เขียนเคยสัมภาษณ์เขาเขาบอกว่ามันแปลกนะมันเก่งเองพวกเพลงนี่  อันนี้เป็นกรรมของนักแสดงและนักร้องที่ต้องตาบอดและยากจน   เครื่องชั่งธรรมชาติจะตัดดวงตาออกเพื่อลดการอวดรูปร่างลง  ลดการเจ้าชู้ลง     ท่านเคยเห็นทอมที่หน้าตาเหมือนผู้ชายมากไหมพวกนี้จีบผู้หญิงเก่งมากรู้ใจผู้หญิงทุกอย่างเพราะอะไรเพราะเขาเป็นผู้ชายเจ้าชู้มาก่อน  ชาตินี้เครื่องชั่งธรรมชาติตัดอวัยวะเพศชายออกเหลือแต่เพียงรูปร่างที่ยังเปลี่ยนเป็นหญิงไม่หมดยังเหลือเค้าผู้ชายอยู่ แต่เขาก็ยังไม่หยุดเจ้าชู้นะ        ฯลฯ   เรื่อง เหล่านี้ล้วนเป็นความบาปเหมือนกันหมดทั้งสิ้น  เรื่องการบาปการกรรมนั่นมีหลายท่านยังไม่รู้ว่าข้อต่างๆที่อยู่ในมงคล ๓๘ ประการนั้นแต่ละข้อเหมือนเป็นศีลอย่างอ่อนๆ ไม่หนักเท่าศีล ๕ แต่มันก็บาปเหมือนกันเรื่องนี้ผู้เขียนไปฟังเทวดามาท่านรู้หรือไม่ว่าสงครามโลกครั้งหน้านี้จากสาเหตุผิดศีลพวกนี้ด้วยนะ   เราสามารถใช้หลักเกณฑ์ง่ายๆในการพิจารณาว่าบาปหรือไม่นั้นดูได้จากการทำให้สัตว์โลกออกจากวัฏฏะสงสารได้เป็นตัวตัดสิน   อะไรที่ขัดขวางการออกเป็นบาป

 

ในสมัยพระพุทธเจ้ายังอยู่ท่านสั่งพระบวชใหม่ว่าฉันอาหารเสร็จแล้ว โน่นโคนต้นไม้โน่นไปนั่งสมาธิ     ผิดกับพระปัจจุบันฉันเสร็จออกไปเทศน์ หรือหาช่องทางสั่งสอนผู้คน    บางองค์จะเอาใจเด็กรุ่นใหม่ให้หันมาทางธรรมะออกทาง internet     พระใหญ่ทางใต้บางองค์เขียนหนังสือธรรมะของพระพุทธเจ้าแล้วแทรกความคิดเห็นส่วนตัวลงไปอันนี้บาปมากเพราะตัวเองตายไปแล้วแต่บทความยังอยู่คนเกิดทีหลังแย่เลยเข้าใจผิดไป    อันนี้หนักกว่านั้นมีการนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเลยแย่ไปด้วยอุตส่าห์จะหันมานับถือศาสนาพุทธซะหน่อยหลงทางไปเลย  ไม่อยากบอกว่าเป็นองค์ไหนเดี๋ยวลูกศิษย์ของเขาจะมาเล่นงานเอา          พระบางท่านเผยแพร่มันซะทั่วโลกเลยไม่รู้วิชาการที่ตัวเองจับอยู่นั่นมันถูกหรือผิดอย่างไร        หลวงพ่อละมัย ฐิตมโน แห่งสวนสมุนไพร  จ.เพชรบูรณ์ ท่านว่าจะไปว่าเขาผิดทั้งหมดก็ไม่ได้นะ เพราะอย่างน้อยเขาก็เอาคนมาถือศีล ๕              แต่ผู้เขียนเห็นว่า พระเหล่านี้เสี่ยงบาปมากยังไม่จบอรหันต์แล้วมาสอนคน  พระอรหันต์เทศน์มันจะมีแบบฟอร์มคำพูดแต่ละคำพร้อมเหตุผลจะอยู่ในความพอดีสวยงามเพราะสภาวะนั้นเหมือนมีคอมพิวเตอร์ของโลกนิพพานส่งข้อมูลที่สมบูรณ์และถูกต้องมา ที่เราเรียกว่า งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลางและงามในเบื้องปลาย คนที่เป็นนักปราชญ์ฟังออกว่านี่เป็นระดับพระอรหันต์เทศน์  มันปลอมกันไม่ได้

พระพุทธเจ้าท่านว่าคนที่ทำให้ศาสนาของท่านเสื่อมก็คือคนที่อยู่ในศาสนาของท่านเองนั่นแหละ        เกี่ยวกับเรื่องนี้ หลวงพ่อสมศรี สิริปัญโญ ท่านกำชับลูกศิษย์เสมอบอกว่าเวลาขึ้นเทศน์ให้เทศน์ตามใบลาน หรือตามหนังสือหรือคำพูดของพระที่เขาจบอรหันต์แล้วเท่านั้นเขากลั่นกรองแล้วนำมาเทศน์ได้     ถ้าจะออกจากตัวผู้เทศน์ก็เทศน์เฉพาะที่เรานั่งสมาธิได้มาเท่านั้นส่วนที่เรายังไม่รู้หรือยังรู้ไม่ถึงห้ามพูด

 

ช่วงนี้ผู้เขียนขอนำเอาคำสอนเรื่องการเดินทางไปนิพพาน      

หลวงพ่อชม อนงคโน วัดเขานันทาพาสุภาพ  หรือวัดทุ่งยาว

การปฏิบัติจิตใจตนให้เข้าสู่พระนิพพาน คือ “นิโรธ” นั้นมีอยู่ ๕ ข้อ  ละเว้น   ปล่อยวาง  ให้ส่งคืน  อย่าอาลัยในสิ่งเหล่านั้น    ให้ทำจิตใจให้ว่างวางเฉยเสีย    ห้าข้อนี้เมื่อทำได้แล้วจะต้องทำจิตเข้าสู่วิมุตติ หรือวิมุตติญาณโดย     จากนั้นมาพิจารณาอีก ๓ ข้อคือ      ๑.  ทำจิตใจเข้าสู่ความว่างวางเฉย

                                         ๒.ทำตาเห็นเราก็รู้ ทำหูได้ยินเราก็รู้ ให้วางเฉยเสีย  เมื่อปราศจากอารมณ์ทั้งปวง

                                         ๓.ทำการยกจิตเข้าสู่สิ่งไม่มีให้ได้ โดยเด็ดขาด

 จากนั้นสร้างความมั่นคงในการที่จะไปอยู่อาศัยในภาวะนิพพาน ด้วยการละจาก ไม่ยึดติดใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  หรือที่เรียกว่าเบญจขันข์    ละสัญญาอุปาทานที่อยู่ในรูปและเสียง ให้จิตใจให้ขาดจากสัญญาความผูกพันให้สิ้นไป ทำใจให้เบิกบาน ให้สว่างแจ่มแจ้ง  ยึดเอาคุณพระรัตนตรัยมาเป็นที่พึ่งและเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย   ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ บอกตัวเองว่าเราจะไม่อยู่ในโลกใบนี้แล้วแม้เพียงวินาทีเดียวแล้ว ตัดสินใจให้แน่นอน   เด็ดขาดให้บอกลากับทุกสิ่ง อันนี้เรียกว่าดับทั้งธาตุและขันข์

 

            หลวงปู่บุดดา ถาวโร

สำหรับธรรมะจากหลวงปู่นั้นท่านให้ธรรมะที่ง่ายที่สุดและวิธีการของท่านหลงทางไม่เป็น ท่านว่าการปฏิบัติธรรมของท่านทำเพียงมีสติอยู่ที่ตัวรู้ตลอดเวลา มีตัวรู้ของเราต่อเนื่องตลอดในจิตทุกวินาที  สติระลึกรู้ต่อเนื่องอยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน ตัวรู้ของเราความจริงมันอยู่ตรงเวลาปัจจุบัน มันไม่ใช่อดีต มันไม่ใช่อนาคต    ตรงตัวรู้นั้นมันคือจุดที่เวลาไม่เดินหรืออยู่ในสภาวะนิพพาน เท่ากับเราเอาขาข้างหนึ่งของเราไปยืนอยู่ในโลกนิพพาน  ท่านว่าโลกนิพพานมันไม่มีแผนที่ มันไม่มีที่ไป มันไปของมันเอง ช่วงที่จะข้ามไปเราต้องไม่เอาทั้งกรรมดำและกรรมขาว อันนี้หมายถึงไม่เอาทั้งบุญและไม่เอาทั้งบาป  เราไปด้วยความเข้าใจบนพื้นฐานความรู้ที่ท่วมท้น มีความเข้าใจเลยไม่ได้ตัดอะไร ไม่ได้ละอะไร ไม่ได้วางอะไร และไม่ได้หวังอะไร เพราะไม่มีอะไรมาข้องหรือมาค้างอยู่ และความเข้าใจนี้เองต่างหากที่รู้เทคนิคในการข้าม

 

หลวงปู่ดุลย์ อตุโล เรื่องอริยสัจจ์แห่งจิต

จิตที่ส่งออกนอกเป็นสมุทัย   ผลอันเกิดจากจิตอยู่นอกเป็นทุกข์  จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นนิโรธ

อนึ่ง ตามสภาพแท้จริงของจิตย่อมส่งออกนอกเพื่อรับอารมณ์นั้นๆโดยธรรมชาติของมันเองก็แต่ว่า ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้ว จิตเกิดหวั่นไหวหรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้น เป็นสมุทัย    ผลอันเกิดจากจิตหวั่นไหว หรือกระเพื่อมไปตามอารมณ์นั้นๆ เป็นทุกข์   ถ้าจิตส่งออกนอกได้รับอารมณ์แล้วแต่ไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมไปตามอารมณ์ มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นมรรค  ผลอันเกิดจากจิตไม่หวั่นไหว หรือไม่กระเพื่อมเพราะมีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ    พระอริยะเจ้าทั้งหลายมีจิตไม่ส่งออกจิตไม่หวั่นไหวจิตไม่กระเพื่อมเป็นวิหารธรรม(จบอริยสัจจ์ ๔)                                                                                                                                        

ทางสายเอกไปพระนิพพาน   มหาสติปัฎฐาน ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย...ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียวเพื่อความบริสุทธิ์หมดจด วิเศษยิ่ง ของสัตว์ทั้งหลายเพื่อที่ก้าวล่วงพ้นไปจากความโศก ความร่ำไรเพื่อความดับทุกข์และโทมนัส คับแค้นใจ น้อยใจเพื่อที่จะบรรลุธรรม อันจะนำพาสัตว์ทั้งหลายให้หลุดพ้นออกไปจากวัฏฏะสงสารเพื่อที่จะกระทำพระนิพพานให้แจ้งด้วยการใช้

มหาสติปัฏฐาน ๔ ดังนี้ ๑. เอาสติของเรามาพิจารณาให้เห็น กายในกาย อยู่เนืองๆ ๒. เอาสติของเรามาพิจารณาให้เห็น เวทนาในเวทนา อยู่เนืองๆ ๓. เอาสติของเรามาพิจารณาให้เห็น จิตในจิต อยู่เนืองๆ ๔. เอาสติของเรามาพิจารณาให้เห็น ธรรมในธรรม อยู่เนืองๆมีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดความยินดียินร้ายในโลกให้พินาศ

อานิสงส์ของการเจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ผู้เจริญมหาสติปัฏฐาน ๔ ตลอด ๗ วัน... ๗ เดือน... ๗ ปี ย่อมหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง คือ บรรลุพระอรหันต์ หรือ บรรลุเป็นพระอนาคามี ในปัจจุบันชาติ ถ้ายังมีความยึดมั่นเหลืออยู่

กายนอก     คือ มหาภูติรูปทั้ง ๔ ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นรูปหยาบ

กายใน       คือ ขันธ์ ๕ เกิด-ดับ เป็นรูปละเอียด ซ้อนอยู่ในกายอีกที ขณะเคลื่อนไหวร่างกาย หงายมือจะมีความรู้สึก วับๆ อุ่นๆ ร้อนๆ เป็นสภาวธรรมเกิด-ดับ อยู่ภายใน

เวทนานอก เกิดจากการกระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อรับรู้ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทางกาย และความคิดนึก จะเกิดความรู้สึกพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เฉยๆบ้าง

เวทนาใน   คือ เห็นขันธ์ ๕ เกิด-ดับ ในความรู้สึกนั้นขณะกระทบ

จิตนอก     คือ จิตที่ประกอบด้วยอารมณ์ราคะ โทสะ โมหะ หรืออื่นๆ

จิตใน        คือ วิญญาณ เกิด-ดับ รับรู้อารมณ์อยู่ทุกขณะ

ธรรมนอก  คือ ธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ หรือแม้แต่ความคิดที่พิจารณาธรรม เป็นธรรมสมมุติ

ธรรมใน     คือ สภาวธรรมที่เกิดจากการที่เราดูจิต 

สืบเนืองจากข้อเขียนนี้ที่ผู้เขียนไปหยิบมา ”ทางสายเอกในการไปนิพพาน   มหาสติปัฏฐาน ๔ “  นั้นผู้เขียนขอเสริมเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้กระจ่างยิ่งขึ้น  ว่าวิธีการปฏิบัติธรรมแบบนี้ที่ว่าดีมันดีอย่างไร     ดังนี้คือ สืบเนื่องจากจิตหรือธาตุรู้ไปรวมตัวกับธาตุ ๔  ดิน ไฟ ลม น้ำ จนครบธาตุเป็นตัวคนนั้น        ผู้เขียนได้เรียนมาจากอาจารย์ในโลกทิพย์ว่า ธาตุทั้งหมดในวัฏฏะสงสารเป็นธาตุของพระพุทธเจ้า อย่างที่ฝรั่งเขาวิจัย เรียกว่า “อนุภาคพระเจ้า”  เป็นแค่คลื่น มันเป็น”อนัตตา” ไม่มีตัวตน มันเป็น สูญ  อย่างที่เขาเรียกว่า สูญญตา  อันนั้นมันเป็นความจริง  อย่างโลกที่พระพุทธเจ้าเราอยู่นั้นมันไม่มีคลื่น มันเป็น “สูญ” ไม่มีอะไรเลย ไม่มีทั้งมวล ไม่มีทั้งเวลา ไม่มีทั้งสถานที่     เด็กผู้หญิงตาทิพย์ ชื่อ pink ลูกสาวคุณ พี  ใช้ตาทิพย์มองโลกของพระพุทธเจ้าแล้วบอกผู้เขียนว่า”มันไม่ใหญ่”   

   

วิธีเดินทางเพื่อไปนิพพานนั้นง่ายเพียงแต่แยกธาตุ ๕ ให้ออกจากกันทุกอย่างก็จะจบ เราโชคดีมีธาตุรู้อยู่ที่จิตของมนุษย์ จิตนี้ประจำอยู่กับกายเราตลอดเวลา ยกเว้นตอนเราหลับไปอยู่ในโลกวิญญาณ   เราสามารถสั่งการจิต หรือควบคุมให้นึกให้คิดได้อยู่ตลอดเวลา   ถ้าแยกธาตุรู้ออกตัวเดียว ธาตุอื่นก็จะตั้งอยู่ไม่ได้  เราจะเข้าสู่สภาวะไม่มีธาตุ หรืออยู่ฝั่งไม่มีคลื่นหรือฝั่งนิพพาน  ด้วยเทคนิคการทำให้จิตเรามีประจุเดียว  ตัวขัดขวางคือประจุไฟฟ้าที่มีจำนวนมากที่มาเกาะอยู่กับจิต ที่สร้างขึ้นมาจากความคิดความปรุงแต่งหรือมีอารมณ์  เกี่ยวกับ  รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ   หลวงพ่อละมัย ฐิติมโน แห่งสวนสมุนไพร จ.เพชรบูรณ์  ท่านว่า ”อยากรู้วิชาให้ฆ่าอาจารย์” มันจะมีตัวนำรู้นำคิดตัวนี้โบราณเขาเรียกว่า ”อาจารย์” อันนี้หมายถึงหยุดการปรุงแต่งฟุ้งซ่านที่จะทำให้จิตเราไปกระเพื่อมเหมือนคลื่นบนผิวน้ำ เราต้องทำให้จิตเรานิ่งๆอย่าปรุงไปตามอารมณ์ ห้ามไปดีใจไปเสียใจกับสิ่งที่ประดังเข้ามาหาเรา เพราะความคิดพวกนี้มันสร้างประจุไฟฟ้าเวลาเราคิดประจุจะเกิดมาก เราจะเข้าสู่การมีประจุเดียวไม่ได้ เราก็นั่งสมาธิไม่ได้    

เราไม่เอาเราไม่หวังเราไม่ปรารถนา ตัวธาตุรู้หรือจิตนักสร้างก็ไม่รู้จะไปสร้างอะไร ก็นิ่งลงสู่สภาวะนิพพานโดยธรรม

ท่านดูคนที่จะเป็นพระอรหันต์ มีจิตไม่ส่งออก มีจิตไม่หวั่นไหว มีจิตไม่กระเพื่อม มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ เป็นนิโรธ

 

ท่านทราบหรือไม่ว่าที่พระอรหันต์ท่านสอน มีจิตไม่ส่งออก มีจิตไม่หวั่นไหว มีจิตไม่กระเพื่อม มีสติอยู่อย่างสมบูรณ์ ละวาง  รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  ไม่เอาทั้งบุญและบาป  ไม่ปรารถนาสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในวัฏฏะสงสาร ฯลฯ  เพื่อหนีไปนิพพานหรือหนีออกจากความทุกข์ทั้งหลายนั้น          ที่ท่านสอนไว้นั้น มันเหมือนมีข้อมูลสำคัญหายไปครึ่งหนึ่ง    ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นมาก่อนถึงจะมาฟังคำสอนตรงนี้ของท่าน    ผู้เขียนขออธิบายถึงเหตุผลที่ไปที่มาให้กระจ่าง  ว่ามันสามารถป้องกันความทุกข์ได้อย่างไร   หรือ ตัดใจไปนิพพานได้อย่างไร ด้วยอาศัยหลักคิดหรือปัญญาการรู้เห็นอย่างไร        ที่ท่านจะต้องนำไปใช้ตอบตัวเองขณะตัดสินใจเดินทางไปนิพพาน    

                         

เทคนิคในการหนีความทุกข์ หรือการละวางทุกสรรพสิ่งในวัฏฏะนั้น ผู้ที่จะหนีปัญหาทั้งหมดต้องมีปัญญาเป็นพื้นฐาน     เพื่อความเข้าใจของผู้อ่านเราจะสมมุติว่าวัฏฏะสงสารนั้นเป็นเหมือนเครื่องจักรตัวหนึ่งมีกลไกเหมือนฟันเฟืองที่ขบต่อเนื่องกันเชื่อมต่อกันทั้งระบบทั้งหมด  ฟันเฟืองทั้งหมดมันมีการหมุนไปพร้อมกัน สัมพันธ์กัน    โดยมีระบบรักษาความสมดุลด้านการกระทำของเหล่านักโทษ หรือกฎแห่งกรรมหรือวงจรกรรมที่ทำงานอย่างเที่ยงตรง อันเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง  เสมือนดวงดาวที่มีวงโคจรไม่ชนกันทั้งเอกภพ         ในระบบที่สมดุลนี้มีทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งดีใจทั้งเสียใจ การเอารัดเอาเปรียบ การข่มเหงรังแก  การฆ่าการแกง  การจองล้างจองผลาญ การจองกรรมจองเวร   หรือเบียดเบียนซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา    ตลอดจนทั้งการมีพระพุทธเจ้ามาตรัสสั่งสอนรื้อขนเหล่าสรรพสัตว์นี้ออกจากวัฏฏะสงสารตามกาลเวลาต่างๆต่อเนื่องตลอดเวลาจวบจนถึงเวลาโลกธาตุว่างระบบนี้จึงหยุด    เมื่อเวลาของโลกธาตุว่างหมดลงระบบของวัฏฏะสงสารก็จะเริ่มใหม่หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ชั่วนิรันดร       เพราะโลกธาตุว่างกับโลกธาตุวัฏฏะสงสารต่างอยู่ภายใต้กฎแห่งความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนกัน        เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกวัฏฏะสงสาร ตั้งแต่โลกพระพรหมจนถึงนรกโลกันต์ เป็นระบบวงจรกรรมของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหมด นั้นมันมีการหมุนเวียนเบียดเบียนกันเป็นปรกติอันเป็นธรรมชาติ และมันดำเนินอยู่ตลอดเวลาเหมือนน้ำในแม่น้ำที่ไหลต่อเนื่อง   

เมื่อท่านไม่อยากมีทุกข์หรืออยากออกจากระบบวงจรกรรมนี้เพื่อไปฝั่งนิพพาน   ท่านต้องไม่มาดีใจเสียใจอะไรกับพวกเขา หรือมีบางอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวท่านเอง ท่านก็ต้องวางเฉยเพราะมันเป็นธรรมชาติของมันสืบเนื่องจากผลกรรมเก่าในอดีตเกือบทั้งสิ้นความจริงตรงนี้วิชาการหมอดูพิสูจน์ได้      ตรงนี้พระอรหันต์ท่านถึงสอนว่า อะไรรู้ก็สักแต่ว่ารู้ อะไรเห็นก็สักแต่ว่าเห็น ไม่ให้เอามาปรุงแต่ง หรือห้ามท่านไปมีอารมณ์ที่จะเป็นเวรเป็นกรรมงอกเงยออกไปอีก อย่างที่พระท่านบอกให้มี “อุเบกขา” หรือวางเฉยเสีย ถ้าท่านไปมีอารมณ์ จิตของท่านจะสร้างประจุหรือไปสร้างกรรมที่เรียกว่า”มโนกรรม” อันเป็นเวรกรรมที่สร้างออกจากจิตต่อไปอีก  และจิตท่านก็จะไม่อยู่ในสภาวะประจุเดียว ท่านจะนั่งสมาธินิ่งไม่ได้ ท่านก็จะเดินทางไปนิพพานไม่ได้  หรือการที่จิตหวังสิ่งหนึ่งสิ่งใดในวัฏฏะสงสารหรือแม้แต่หวังในตัวนิพพานเอง  ตัวความคิดหวังของท่านนั้นมันก็เป็นประจุ อย่างนี้ก็ไปนิพพานไม่ได้   ท่านต้องมีสติตัวรู้อยู่เต็มเปี่ยมและไม่ปรุงแต่ง และไม่หวังเอาอะไรอีก อย่างนี้อย่างเดียวเท่านั้นที่จิตจะไม่สร้างประจุ ท่านถึงจะไปได้ หลวงปู่บุดดาถึงบอกว่านิพพานมันไม่มีแผนที่ไป มันไปของมันเอง ไปเพราะไม่ต้องการในสิ่งใดๆ ไม่หวังในสิ่งใดๆในวัฏฏะสงสารนี้อีก  

ถ้าเปรียบวัฏฏะสงสารเป็นโรงละครโรงใหญ่ ตัวละครแต่ละตัว  เขาเล่นตามบทของเขา บางคนเป็นผู้ร้ายบางคนเป็นพระเอก เขาจะฆ่าจะแกงกัน เขาก็ต้องชดใช้ โดยเปลี่ยนบทกันเล่น อยู่อย่างนั้นตลอดไป    ท่านคิดดูก่อนท่านมาเกิดเขาก็เล่นของเขาอยู่ และหลังจากที่ท่านออกจากวัฏฏะแล้วเขาก็ยังเล่นกันต่อไป ไม่มีใครเขาจะมาจดจำตัวเรายามที่เราจากไป  ไม่นานเขาก็ลืม ไม่ว่าท่านจะอยู่หรือไม่อยู่มันเท่ากัน    ตัวท่านไม่มีความหมายต่อเขา  หลักคิดตรงนี้    เพื่อให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่าน้อยจะได้สามารถละวางตัวตนลงได้            ส่วนหลักคิดเพื่อใช้ในเรื่อง การตัด การละ การวาง การลาจาก  การไม่ห่วงคนที่อยู่เบื้องหลัง นั้นสามารถคิดได้ว่า เจ้าของโรงละครนี้เขาเป็นถึงพระพุทธเจ้าแล้วเราจะมาห่วงอะไรกับคนของพระพุทธเจ้า และอีกอย่างสภาวะนิพพานสามารถกลับเข้ามาเกิดใหม่ได้ถ้าต้องการ หรือเหตุผลที่ว่าทุกสรรพสิ่งเป็นสิ่งเดียวกัน ตัวเราอยู่ในฝั่งนิพพานก็เหมือนเราอยู่ในฝั่งวัฏฏะสงสารด้วย การคิดอย่างนี้ทำให้ท่านตัดใจไปนิพพานได้ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานความจริง    ผู้เขียนหลอกให้ผู้อ่านคิดให้วุ่นวายเท่านั้นเพราะการไปนิพพานหมายถึงตัวท่านไปยังจุดเริ่มต้นของทุกสรรพสิ่งที่เป็นสูญ ณ จุดนั้นเท่ากับท่านไม่ได้จากฝั่งวัฏฏะสงสารไปไหน เปรียบเหมือนการย้ายบ้านจากบ้านเก่าที่ไม่มั่นคงสู่บ้านใหม่ที่แข็งแรง สามารถอยู่อาศัยได้เป็นนิรันดรเท่านั้น

      

ส่วนผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่ยังไม่ได้พูดถึงเลยคือผลบุญมหาศาลถ้าท่านสามารถไปนิพพานได้สำเร็จ        ที่ทิ้งไว้ในโลกวัฏฏะสงสาร หรือเปรียบเหมือนเป็นมรดก ให้แก่บุคคล ๕ ประเภทคือ

 ๑. เหล่าญาติ  คือ ญาติทางสายเลือดมี ปู่ยาตายายพ่อแม่ ลูกหลาน   

 ๒. เหล่าผู้มีพระคุณ คือ บุคคลที่เคยมาช่วยเหลือเจือจานท่านมาในอดีต เช่น บุคคลที่เคยใส่บาตรท่าน ให้ข้าวให้น้ำท่าน ป้อนยาท่านขณะท่านป่วยไข้อันได้แก่ บิดา มารดา ภรรยา และบุตรของท่านในอดีตทั้งหมด     ครูบาอาจารย์ที่เคยสั่งสอน  ผู้มีคุณ  ฯลฯ บุคคลเหล่านี้ทั้งหมดที่จะได้รับอานิสงส์จากท่าน

๓. บุคคลที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่าน

๔. บุคคลที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบที่ท่านปรารถนา อธิษฐานส่งบุญให้เขา

๕. เจ้าหน้าที่ของวัฏฏะสงสาร เช่น แม่ธาตุทั้ง ๔  พวกเทพเจ้าต่างๆ  อินทร์ พรหม ยักษ์ เทพประจำดวงดาว ฯลฯ

และการไปนิพพานนี้ยังเป็นมงคลสูงสุดเป็นข้อธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านกำหนดไว้เป็นข้อสุดท้ายใน มงคล ๓๘ ประการ

จากประสบการณ์ผู้เขียนคนที่หวังจะได้บุญจากผู้เขียน เหมือนมายืนถ่ายรูปหมู่ ตั้งแถวยาวและแต่ละแถวซ้อนๆกันหลายชั้น จำนวนคนมากมาย มีทั้ง พ่อ แม่ ภรรยา ผู้มีพระคุณต่างๆ และยังได้ยินคำสั่งเสียที่ฝากไว้ในอดีตก่อนที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะตายจากกันว่า ”ไปนิพพานได้เมื่อไรอย่าลืมเขานะ” จากบุคคลที่เป็นภรรยา

 ท่านจะได้เข้าใจเรื่องเวลาที่แตกต่างกันของแต่ละโลก โดย เปรียบเป็นแผ่นเสียง เวลาเราเปิดเพลงจะเห็นว่าตรงจุดศูนย์กลางของแผ่นจะนิ่งตรงขอบแผ่นจะเคลื่อนที่       ขอบแผ่นจะเคลื่อนที่เร็วมากที่สุด แล้วลดหลั่นกันลงมาสู่จุดศูนย์ อันนี้หมายถึงเวลาที่แตกต่างกัน จาก นรก มนุษย์ เทวดา พรหม และโลกนิพพาน  (ท่านต้องค้นคว้าเวลาของโลกต่างๆเอาเอง)   ในความเป็นจริงของโลกธาตุแล้วเวลาลดหลั่นกันจากโลกหนึ่งสู่โลกหนึ่งด้วยสมการยกกำลังสอง

 ท่านผู้อ่านจำบทสนทนาระหว่างหลวงพ่อสงฆ์กับหลวงปู่บุดดาได้หรือเปล่าที่ว่า “ไม่เห็นมี่คนมีสัตว์เลย”   ความรู้ตรงนี้มันเป็นความรู้สุดท้ายและสูงสุดของนักปฏิบัติ ที่ต้องรู้ว่าทุกสรรพสิ่ง หรือทุกชีวิต ในวัฏฏะสงสารนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงธาตุของพระพุทธเจ้า          เมื่อรู้อย่างนี้จึงวางโลกธาตุลงได้โดยไม่ห่วงคนข้างหลังและยังรู้ว่าสภาวะนิพพานนั้นสามารถจะกลับเข้ามาเกิดใหม่ในโลกวัฏฏะสงสารได้อีก อย่างนี้เป็นต้น         การสอนกันผิดๆว่าไปนิพพานไปแล้วไปลับกลับมาอีกไม่ได้ ซึ่งไม่เป็นความจริงแบบนั้นทำให้คนกลัว       คิดว่านักปฏิบัติร้อยละ ๙๕ กลัวกันมากเรื่องไปนิพพานเห็นขอเพียงแค่ไปสวรรค์ก็พอแล้วเพราะห่วงลูกห่วงผัว   หรือคิดว่าถ้าจิตหรือตัวรู้ของเขาดับสูญไปจะทำอย่างไร น่าเสียดายเหลือเกิน คิดกันอย่างนี้ทั้งนั้นเพราะการไม่รู้จริง           ดังนั้นจะเห็นว่าการตัดสินใจไปนิพพานตั้งอยู่บนพื้นฐานของปัญญาอย่างเดียว และมันเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และเป็นงานสำคัญของชีวิตสัตว์โลก  เลยก็ว่าได้ ให้ดูในมงคล ๓๘  ประการ     อย่างที่เขาเรียงเป็นขั้นตอนในการไปนิพพานว่าต้องมี “พละ ๕ “ ที่เริ่มต้นจาก  ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา     จะเห็นว่าตัวปัญญาอยู่ท้ายสุดหรือจะพูดว่าทำทั้งหมดมานั้นเพื่อปัญญาตัวเดียว   ดังนั้นท่านอย่าได้ประมาทข้อเขียนตรงนี้และอ่านให้เข้าใจเพื่อการที่จะได้ไม่ต้องไปฝึกมาก หรือโชคร้ายไปฝึกแนวหลงทางอย่างวัดดังๆที่สอนแนวดวงแก้วใส  ขณะนี้มันเป็นช่วงกาลียุค คำสอนผิดต่างๆจะประดังกันออกมาเพื่อแย่งเอาคนไปนรก

 

ตัวธาตุรู้ตัวเดียวนั้นยิ่งใหญ่ที่สุดมีประจำตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม เป็นเหมือนเชือกที่ต่อเอาไว้กับพระพุทธเจ้าอยู่แล้วแต่ตัวเองไม่รู้  ร่างกายก็เป็นธาตุ ๔ เป็นของทิพย์  บางคนเอาไปใช้ฆ่าผู้อื่น บางคนยิงตัวตาย บางคนผูกคอตาย ด้วยคิดว่าเป็นเจ้าของร่างมีสิทธิจะทำอะไรกับร่างนี้ก็ได้ ถึงได้บาปหนักมากเพราะว่าร่างเขาเป็นธาตุของพระพุทธเจ้า  ในสมัยโบราณเขากลัวกันนักเรื่องการฆ่าคน เพชฌฆาตต้องได้ฤกษ์ฆ่าถึงจะฆ่าได้   ก่อนฆ่าต้องขอขมาขออนุญาตฟันคอนักโทษกับแม่ธาตุทั้ง ๔ ที่อยู่ในตัวนักโทษด้วย  อันนี้อาจจะทำให้คนฆ่าเขาบาปน้อยลง   มันมีปัญหาอย่างหนึ่งที่ว่าคนทุกคนเปรียบเหมือนคนคนเดียวกันนั้น  ดังนั้นเวลาสร้างกรรมชั่วกับคนอื่นเวรกรรมควรตอบสนองเลยในแบบเดียวกันเหมือนเราหยิกเขาเราก็เจ็บเลย      ตรงนี้มันไม่เป็นอย่างนั้นเพราะว่ามีความหน่วงด้านเวลาของวงจรกรรม   และในแต่ละคนไม่เท่ากันอีก  คนที่บาปน้อยหรือคนบุญจะได้รับผลกรรมไวเพราะบาปนั้นไม่ต้องต่อแถวนานเหมือนคนชั่ว   ผลของกรรมอาจจะตอบสนองภายใน ๓ วัน ๗ วันเลย      ถ้าเป็นคนบาป กรรมใหม่ของเขาต้องไปต่อแถวนาน ดังนั้นจึงทำให้เขากำเริบไม่เชื่อเรื่องการตอบสนอง เพราะไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นกับเขาเลย  เมื่อคิดดังนั้นจึงสร้างกรรมเพิ่มมากขึ้นอีก ผู้เขียนเคยไปสัมภาษณ์นักฆ่าควาย เขาบอกว่ามันแปลกนะมันอยากฆ่าอีกอยากฆ่าทุกวัน มันติดใจ กลางคืนยังนอนฝันเลยละ  อีกรายต่อว่าผู้เขียนอย่างเหยียดหยามว่า”ไม่เห็นบาปเลย”  เขาพูดด้วยความแค้นใจที่เคยมาหลงเชื่อผู้เขียน       และอีกอย่างหนึ่งกรรมมันมีการขยายได้ มันเหมือนสายพิณ ไปทางซ้ายแล้วต้องไปทางขวาอีกลดลงเรื่อยๆจนกว่าจะหมดแรงอันนี้เรียกว่าคาบจะเห็นว่า ๗ ชาติบ้าง ๕๐๐ ชาติบ้าง อย่างนี้เป็นต้น       และกรรมจะต้องคูณด้วยแรงศรัทธา ตัวอย่างเหมือนคนใช้เศรษฐีที่ใส่บาตรพระพุทธเจ้าด้วยมะเขือขื่น ที่เป็นของมูลค่าน้อยแต่ได้บุญมากเพราะแรงศรัทธาขยายได้อันนี้ไม่ว่ากรรมดำหรือกรรมขาว เป็นเหมือนกันหมด    และเกิดกรรมมากน้อยยังต้องขึ้นกับระดับของการถือศีลหรือความตั้งใจหรือมีเจตนาละเว้นไม่ล่วงในศีลของตัวผู้กระทำกรรมด้วย

 ธาตุรู้ตัวนี้เองเหล่าเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ท่านใช้ “สร้างสวรรค์วิมาน”   เหมือนกับที่คนโบราณเขาว่ากระทบกันนั้นมันเป็นความจริง อยากสร้างอะไรๆก็ได้  ผู้เขียนเคยขึ้นไปสร้างนางอัปสรแบบไม่มีใบหน้ามาแล้วพอสร้างเสร็จเจ้าหน้าที่พาตัวกลับ     ความสามารถอันนี้ถ้าลงมาชั้นมนุษย์จะไม่มี  หรือมีน้อย  ยกเว้นพวกพระนักปฏิบัติที่ระดับจิตของท่านเป็นระดับเทพเจ้าหรือเหนือกว่า แต่มันก็ยังเหลืออยู่อย่างอ่อนๆ เช่น แรงปรารถนาหรือแรงอธิษฐาน ถ้าทำมากๆตั้งใจมากๆมันจะเป็นจริง  เหมือนกับคาถาเรียกผู้หญิงของหลวงพ่ออะไรนะ จำชื่อท่านไม่ได้ ท่านบอกว่าต้องคิดถึงใบหน้าของผู้หญิงนั้นให้ได้ก่อนแล้วถึงจึงว่าคาถาออกไปหลายๆครั้ง เขาจะคิดถึงเรา จะรักเราและเวลาหลับก็ฝันถึงเราได้อย่างนี้เป็นต้น           คุณสมพงษ์ สังข..... อะไรนี่จำนามสกุลท่านไม่ได้ ท่านทำงานที่กระทรวงอุตสาหกรรม ท่านบอกว่า”สั่งให้ทำอะไรใส่บาตรยังทำได้เลย”    ตรงนี้เขาก็ใช้หลักเรื่องพลังจิตของมนุษย์   

ปัญหาตัวรู้หรือธาตุรู้ของมนุษย์อย่างนี้แหละที่เป็นปัญหาถึงแม้จะสร้างอะไรกับเขาไม่ค่อยได้หรือไม่สำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน มันก็พยายามสร้างหรือเพ้อฝันลมๆแล้งๆไปเรื่อย จนหมดความความเชื่อมั่นขาดความเป็นทิพย์ลงในที่สุดเพราะเพ้อฝันไปมากมายแล้วไม่สำเร็จ          จิตใจจึงอ่อนแอลงทำไม่ได้เหมือนตอนที่ตัวเองอยู่บนสวรรค์       การจับตัวสติให้ต่อเนื่องไม่ได้จึงหมดความสามารถไม่มีตาทิพย์หูทิพย์ หรือไม่สามารถรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า กลายเป็นคนสามัญไป   เห็นเขาว่ามันเป็นมาเป็นตั้งแต่หมุนตัวคลอดแล้วจิตเลยไม่นิ่งและลืมทุกอย่าง  จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือผล

ของการผ่านเขตแดนแห่งการลืม อย่างที่พ่อของผู้เขียนที่เสียชีวิตไปแล้วกลับมาเล่าให้ผู้เขียนฟัง ก็ยังไม่แน่ใจ

 

 ปัญหาตรงนี้เองที่พระพุทธเจ้าท่านออกแบบให้มนุษย์มีสติหรือมีความคิดวนกลับที่เดิมทุกวินาที  เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เขียนโปรแกรมผิดเกิดการวนลูปอยู่ หาทางออกไม่ได้อย่างนั้น      หรือทำตัวเป็นยามเฝ้าเวลาโดยการเฝ้าทุกวินาทีเวลาผ่านไปรู้ตัวตลอดเมื่อมากเข้าก็จะเคยชินเข้าก็จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธาตุรู้เดิมของเราที่มีสภาพต่อเนื่องเป็นแผ่นเดียวตัวรู้ไม่ขาดไม่ว่าจะลืมตาหลับตาโยกตัวซ้ายขวาหรือจะเดินจะนั่ง     สังเกตลมหายใจจะเบาลงเรื่อยๆจนหยุด  นิ่งเบาโปร่งสบาย  มองเห็นความคิดตนเองเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป วนอยู่อย่างนี้ต่อเนื่องตลอดเวลาในโลกแห่งความคิด     ด้วยวิธีการอย่างนี้ที่ทำให้ธาตุรู้ของมนุษย์มีสติระลึกรู้ต่อเนื่องได้คืนกลับมา      หรือกลับคืนสู่สภาพธาตุรู้ตัวเดิมของพระพุทธเจ้า       ที่มีคุณสมบัติรู้ธรรมะทุกข้อ รู้เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้าของเรา  ร่างกายเราเมื่ออยู่ในสภาวะธาตุรู้นี้ไม่เกี่ยวข้องกับเวลา สภาวะนั้นเราจึงไม่หายใจก็อยู่ได้        หรือหายใจน้อยกว่าคนปรกติที่ไม่ปฏิบัติธรรม      ซึ่งเป็นคุณสมบัติของธาตุรู้ก่อนที่จะเข้ามาผสมกับธาตุ ๔ เป็นร่างกายมนุษย์ในวันปฏิสนธิ         เมื่อเป็นอย่างนั้นจิตเราจึงมีความสามารถพิเศษเหมือนเทพเจ้าที่ใช้เสกนางอัปสรสวรรค์        ยกตัวอย่างนักปฏิบัติธรรมที่ใช้ระดับจิตนิ่งในการเสกหรือทำฤทธิ์ต่างๆได้ ท่านชื่อหลวงพ่อเทพ ถาวโร  ท่านอยู่วัดแคนอก  ถึงรูปพระนารายณ์แล้วเลี้ยวขวาไปประมาณ  ๓  กม. เลี้ยวซ้ายเข้าไป ๑ กม. จะผ่านวัดท่าน     ท่านตักน้ำมันเดือดๆจากกระทะด้วยชามตราไก่ ในขณะที่มีไฟลุกโชน เปลวไฟก็แปลกไม่ยอมไหม้จีวรท่าน   ท่านบอกว่าต้องทดลองอมดูก่อน ถ้าอมไม่ได้จะพ่นเขาไม่หาย จากนั้นเมื่ออมเต็มปากแล้วท่านก็เดินมาพ่นคนป่วยทีละคน โดยพ่นทีเดียวลุกขึ้นเดินได้ วันนั้นคนเป็นอัมพาตนอนเรียงรอกันอยู่ประมาณ ๓๐ คน   น้ำมันหมดท่านต้องเดินมาตักเอง งานนี้ลูกศิษย์ช่วยท่านไม่ได้      ท่านสามารถเสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย   เสกธนบัตรใบละ ๕๐๐ ให้กลายเป็นนกบินหายไปในอากาศ  คุยกันไปตั้งนานลูกศิษย์คิดในใจว่าหลวงพ่อเอาผมแล้ว  ๕๐๐     พอคิดเท่านั้นแหละหลวงพ่อหันมายิ้มท่านรู้วาระจิต        และยกมือขึ้นนกบินกลับมาเกาะมือท่านและกลายเป็นธนบัตรเหมือนเดิมคืนเจ้าของไป         ส่วนการเสกเปลี่ยนโลหะธาตุ ท่านแสดงการเปลี่ยนแหวนเงินให้เป็นทองคำได้โดยเปลี่ยนเฉพาะตรงหัวแหวนท่านบอกว่าถ้าเปลี่ยนหมดกลัวมันจะเอาไปขาย  หญิงสาวคนนี้ชื่อ อภิญญภรณ์ ไม่รู้นามสกุล เป็นชาวภูเก็ต  เธอโทรมาบอกผู้เขียนหลังจากออกมาจากวัด

ส่วนใหญ่นักปฏิบัติจะเบื่อเส้นทางที่ไม่พ้นการวนเกิดวนตาย จึงไม่ติดพวกอภิญญา   มักจะเลือกเส้นทางเป็นพระอรหันต์เดินทางไปนิพพานมากกว่า      เมื่อได้ธาตุรู้แล้วธาตุรู้ตัวนี้มันรู้ธรรมทุกอย่างข้อไหนๆมันรู้หมด  หรืออยากเหาะเหินเดินอากาศ มันก็ทำได้ทั้งนั้น   อย่างนี้เองที่เป็นความดีของสติปัฏฐาน๔        ที่สอนสั้นๆแต่ตรงประเด็นอย่างนี้มีโอกาสหลงทางน้อยกว่าแบบอื่น เช่น บางที่สอนแนวสร้างสมมุติมาซ้อนสมมุติ   เช่นเอาจิตไปคิดสร้างดวงแก้วใส อย่างนี้มันจบยาก เพราะตัวคนนั่งสมาธิเองมันก็เป็นสมมุติตัวที่ ๑ อยู่แล้ว   ยังเอาร่างนี้ไปสมมุติดวงแก้วที่เป็นสมมุติตัวที่ ๒ ขึ้นมาอีก            จิตจึงมีโอกาสไปสร้างอะไรต่อมิอะไรไปเรื่อย  เพ้อฝัน หลงทางในการปฏิบัติธรรมไปกันใหญ่    โดยเฉพาะไปหลงไปเชื่อถือในสิ่งที่ตนคิดสร้างขึ้นมาว่าเป็นจริงเป็นจังอย่างนั้นๆ   ก็จะเสียคนไม่สามารถอยู่บนถนนของนักปฏิบัติธรรมได้    เพราะผู้ฝึกแนวนี้จิตมีความสามารถพิเศษในการสร้างมวลสารแล้วเขาไม่รู้ตัวว่าเขามีพลังนี้ ดังนั้นเวลาคิดสิ่งใดในโลกแห่งความคิดพลังในการสร้างมวลสารจะทำงานก่อสร้างขึ้น ดูเหมือนเป็นของจริง ผู้ปฏิบัติจึงเข้าใจผิดเนื่องจากประเด็นนี้    แนวนี้เขาเรียกว่าแนว กสิณ ต้องเป็นผู้มีบารมีมากๆถึงจะผ่านไปได้โดยไม่หลง   หรือว่าต้องมีอาจารย์คอยคัดท้ายถ้าหลงก็จะดึงกลับ    เห็นท่านว่าแบบนี้มันเป็นของเล่นของนักปฏิบัติ    เช่นเอาน้ำมาเพ่ง เป็นกสิณน้ำ เอาเทียนมาเพ่งเป็นกสิณไฟ ส่วนใหญ่เขาทำเพื่อใช้ประโยชน์   เช่นเดินบนผิวน้ำ หรือเหาะไปในอากาศ

 

            อานิสงส์เรื่องการสวดมนต์

จากข้อมูลที่สมเด็จโตท่านเทศน์ที่บ้านของเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี ท่านว่าอย่าประมาทที่ว่าสวดมนต์ไม่มีประโยชน์ท่านว่าเรื่องนี้มีในพระธรรมคำสอนที่ว่าโอกาสบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์นั้นมี ๕ โอกาสคือ ๑.เมื่อฟังธรรม ๒.เมื่อแสดงธรรม ๓.เมื่อสวดมนต์ ๔.เมื่อตรึกตรองธรรม ๕.เมื่อนั่งสมาธิเจริญวิปัสสนา  ดังนั้นเราจึงไม่ควรประมาทเรื่องการสวดมนต์          ผู้เขียนสงสารคนที่เอายอดพระกัณฑ์ไปแปล มันไม่ใช่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านพูดเรื่องวัฏฏะสงสาร อย่างสังเขปว่าพระพุทธเจ้าท่านรู้และเข้าใจอะไรบ้างเรียกว่า”เครือข่ายพระญาณ” เช่น มีธาตุอะไรบ้าง  สวรรค์มีกี่ชั้น ทำจิตอย่างไรถึงจะได้ไปเกิดชั้นนั้นๆ  โลกมีกี่โลก ระดับของฌานและการรับรู้ได้ของจิต  การปฏิบัติตนของประชากรในโลกต่างๆของวัฏฏะสงสาร เป็นต้น ท่านแสดงเพื่อให้เรามีความรู้และเข้าใจบ้างเหมือนเอาไฟฉายไปส่องในที่มืดให้เราดูอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างเป็นระเบียบ เป็นเรื่องราวของวัฏฏะสงสารเหมือน  text book มาตรฐานเล่มหนึ่งอย่างย่อๆเพื่อสื่อความเข้าใจพื้นฐานเรื่องราวของวัฏฏะสงสารแก่บรรดาสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้เข้าใจบ้าง   ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ควรจะเรียกชื่อใหม่ว่า “ทฤษฎีโลกธาตุ” เพราะเป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่ของวัฏฏะสงสาร  ชีวิตของท่าน ท่านจะทำให้มีค่าหรือไม่มีค่าก็ได้  ตัวเราทุกคนมีกำหนดเวลาที่หนอนจะมากินร่างกายของเรา    วันแห่งความตายของเราใกล้เข้ามาทุกวันคืน ถึงเวลาที่เขาตอกตะปูโลงศพใส่หน้าเรา เราหมดโอกาส   เริ่มต้นปฏิบัติธรรมเถิดไม่ต้องรอแล้ว  ผู้เขียนขอรับรองว่า บุคคลใดท่องยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกได้แล้ว เมื่อตายไปจะได้ไปเกิดในโลกที่มีตู้พระไตรปิฎกเป็นทองคำ หนังสือพระไตรปิฎกเป็นทองคำ เป็นทองคำจริงๆ  ขอให้ทุกคนพยายามท่องปากเปล่าให้ได้  เพราะตอนเราตายเราเอาหนังสือไปไม่ได้     ผู้เขียนขอยืนยันว่าเป็นความจริงเพราะมีเจ้าหน้าที่โลกธาตุพาผู้เขียนไปดูมาแล้ว

 

การสวดมนต์ที่จะให้ได้บุญมากนั้นผู้สวดต้องไม่ใจลอย ทำตัวรู้หรือวาระจิตหรือสติให้ต่อเนื่องเป็นเหมือนพรมผืนเดียวกันไม่ขาดไม่ว่าจะส่ายหัว หรือโยกตัวซ้ายขวา ตัวรู้ในจิตยังไม่ขาดตอน (พระอรหันต์ทำอย่างนี้ตลอดเวลา) จะได้บุญมาก เทพเจ้าท่านลงมาบอกด้วยตัวท่านเองเลยว่าฟังได้ยินเฉพาะตอนที่จิตมนุษย์นิ่ง ส่วนกุศลผลบุญของผู้สวดที่จะได้รับนั้นได้จากเทพเทวาที่เสด็จลงมาฟังหรืออนุโมทนาบุญส่วนหนึ่ง        และอีกส่วนได้จากร่างกายผู้สวดที่ซึมซับความเป็นทิพย์เก็บเข้าไว้ในระดับเซลล์หรือเนื้อเยื่อต่างๆทำให้เกิด ความรู้ความเข้าใจในธรรมทั้งหลายทั้งปวงได้เองโดยอัตโนมัติ     และยังมีพลังในการตัด การละ การวาง ทุกสรรพสิ่งของวัฏฏะสงสารเข้าสู่สภาวะนิพพานได้สำเร็จ

คำยืนยันอานิสงส์ตามฉบับหลวงปู่ใหญ่ 

กล่าวว่าถ้าสวดทุกเช้า-ค่ำ ได้ชื่อว่ากล่าวบูชาพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ตกอบายภูมิ ยิ่งได้สมาธิขณะภาวนาผู้นั้นย่อมได้อุบัติถึงพรหมโลกเลยทีเดียว   แม้ภาวนาคาถาอื่นหมื่นแสนอานิสงส์ก็ไม่เท่าภาวนาพระพุทธมนต์บทนี้ครั้งเดียว    ผู้ใดพบพระพุทธมนต์บทนี้ ถ้าเป็นคนรักษาศีล ๕ ได้บริสุทธิ์  เป็นคนเข้าใจบุญคุณบิดามารดา   เป็นคน เข้าใจบุญคุณของครูบาอาจารย์ที่ได้สั่งสอน  เรามีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ต่อจากครูเพราะถ้าเราจะค้นคว้าเองทั้งหมดแล้วเป็นไปไม่ได้เพราะอายุของเราสั้น  เมื่อตระหนักครบ ๓ ข้อนี้แล้วค่อยมาท่องคาถานี้แม้อ่านไม่ออกเพียงแต่ฟังก็ยังได้บุญหรือเพียงเก็บไว้เฉยๆบนหิ้งบูชาอานิสงส์ก็ยังรับไม่ไหว สามารถป้องกันอันตรายได้สารพัด  หรือเพียงยกมือไหว้ตำราอย่างเดียวก็จะได้พบเห็นผู้มีบุญใหญ่ ยิ่งได้พิมพ์แจกหรือคัดลอกแจกจ่ายหรือแนะนำผู้อื่นให้สวดอันนี้ไม่รู้ว่าจะกล่าวอย่างไรถึงจะสม   ซึ่งทั้งหมดนั้นตั้งอยู่ฐานของคำว่า”ผู้ให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง”  

 

ผู้เขียนขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมกันคัดลอกจัดพิมพ์แจกจ่ายเพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ที่ยังจมปรักอยู่ในวัฏฏะสงสาร เพื่อที่จะได้ใช้สวดเพื่อให้เกิดบุญที่จะได้รอดพ้นจากภัยพิบัติของโลกที่เป็นภัยใหญ่เรื่องราวทั้งหมดนั้นมีอยู่แล้วในหนังสือพุทธทำนาย    อยากให้ท่านผู้อ่านหาเอกสารฉบับนั้นเองซึ่งเป็นภาษาเก่าเขียนตามความเข้าใจของคนโบราณที่คัดลอกสืบต่อกันมา   อาจจะคลาดเคลื่อนบ้างในแง่ของการใช้ภาษาอธิบายชนิดของภัยแต่ยังคงเหลือเค้าโครงที่ถูกต้อง เมื่อเทียบได้กับภัยที่จะเกิดขึ้นจริงในยุคปัจจุบัน ต้องยอมรับความสามารถของท่านที่ล่วงรู้อนาคตมาถึงยุคสมัยของเราได้   ภัยต่างๆที่พวกเราอาจจะพบและต้องใช้บุญที่ได้จากการสวดบทนี้ ป้องกันไว้ คงจะเป็นไปตามความต้องการของปู่ใหญ่ท่าน เช่น  ภัยจากระเบิดนิวเคลียร์ ระเบิดไฮโดรเจน ระเบิดสนามแม่เหล็ก  อาวุธชีวภาพ อาวุธเคมี อุกกาบาต แผ่นดินไหว  ภูเขาไฟระเบิด  คลื่นพายุสุริยะ  คลื่นยักษ์ระดับท่วมทวีป  และคลื่นเสียงบางอย่างที่ดัง ที่ท่าน Ram Bahadur Bomjan มาเตือนและสั่งให้ช่วยกันถือศีล ๕ ให้เข้มแข็ง และไม่อยากให้กินเนื้อสัตว์      ข่าวทางด้านพญานาคที่รับหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์เป็นรายบุคคลนั้นท่านส่งข่าวมาว่าใครที่อยากจะรอดตายจากภัยพิบัติใหญ่ในครั้งนี้ขอให้ช่วยถือศีล ๘ เดือนละ ๒ ครั้งให้เขาหน่อยและอย่าลืมกรวดน้ำให้ด้วย   ส่วนพระแม่อุมาเทวีท่านเป็นห่วงลูกหลานชาวโลก ท่านมีสภาพเหมือนแม่รักลูกห่วงลูกน้ำตาไหลเรื่องเหตุการณ์ในครั้งนี้มันเป็นการจัดเก็บคนที่ไม่มีศีล ท่านกำชับให้ลูกของท่านถือศีล ๕ ติดตัวไว้ทุกคนและประโยคสุดท้ายที่แม่สั่ง   “ขณะนี้ใกล้จะถึงกาลแล้ว”  

ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกฉบับหลวงปู่ใหญ่

 

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง                                                                                    วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ                                                                          วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน                                                              วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต                                                                                     วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู                                                                                    วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร                                                                                วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ                                                                     วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง                                                              วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ                                                                                       วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวา                                                                                    วัฏฏะโส ภะคะวา          

อะระหันตัง                                สะระณัง คัจฉามิ อะระหันตัง                               สิระสา นะมามิ

สัมมาสัมพุทธัง                           สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง                                     สิระสา นะมามิ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง               สะระณัง คัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง             สิระสา นะมามิ

สุคะตัง                                      สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง                                    สิระสา นะมามิ

โลกะวิทัง                                   สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง                                  สิระสา นะมามิ

อะนุตตะรัง                                สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง                               สิระสา นะมามิ

ปุริสะทัมมะสาระถิ                      สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ                     สิระสา นะมามิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง               สะระณัง คัจฉามิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง              สิระสา นะมามิ

พุทธัง                                        สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง                                      สิระสา นะมามิ

ภะคะวันตัง                                สะระณัง คัจฉามิ ภะคะวันตัง                              สิระสา นะมามิ

 

อิติปิโส ภะคะวา รูปักขันโธ          อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา เวทะนากขันโธ   อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา สัญญากขันโธ   อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา สังขารักขันโธ    อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณักขันโธอะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวี                                                                                      ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เตโช                                                                                          ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วาโย                                                                                         ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อาโป                                                                                         ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากาสา                                                                                     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะ                                                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา จักกะวาฬะ                                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา                                                                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวี             จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เตโช                  จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วาโย                 จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อาโป                 จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากาสา จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะ         จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา ธาตุ                  จักกะวาฬะ  จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา                         จักกะวาฬะ  จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             จาตุมมะหาราชิกา                                                          ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ตาวะติงสา                                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ยามา                                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ดุสิตา                                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             นิมมานะระตี                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             กามาวะจะระ                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             พ์รัห์มะปาริสัชชา                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             พ์รัห์มะปะโรหิตา                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             มะหาพ์รัห์มา                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปะริตตาภา                                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อัปปะมาณาภา                                                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อาภัสสะรา                                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปะริตตะสุภา                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อัปปะมาณะสุภา                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สุภกิณณะหะกา                                                             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             เวหัปผะลา                                                                     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะสัญญะสัตตา                                                             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะวิหา                                                                          ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะตัปปา                                                                        ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สุทัสสา                                                                         ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สุทัสสี                                                                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะกะนิฎฐะกา                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             รูปาวะจะระ                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อากาสานัญจา                                                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             วิญญาณัญจา                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อากิญจัญญา                                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             เนวะสัญญานาสัญญา                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะรูปาวะจะระ                                                              ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             โลกุตตะระ                                                                     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             ปะฐะมะฌานะ                                                              ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ทุติยะฌานะ                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ตะติยะฌานะ                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             จะตุตถะฌานะ                                                              ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปัญจะมะฌานะ                                                             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             อากาสานัญจายะตะนะ               รูปาวะจะระ                   ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             วิญญาณัญจายะตะนะ               รูปาวะจะระ                   ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อากิญจัญญายะตะนะ                รูปาวะจะระ                   ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ    รูปาวะจะระ                   ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ        รูปาวะจะระ  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ         รูปาวะจะระ  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ                       รูปาวะจะระ     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวาเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ รูปาวะจะระ           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             อากาสานัญจายะตะนะ               อะรูปาวะจะระ               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             วิญญาณัญจายะตะนะ               อะรูปาวะจะระ               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อากิญจัญญายะตะนะ                อะรูปาวะจะระ               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ    อะรูปาวะจะระ               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ    อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ     อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ  เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ     อะรูปาวะจะระ ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวาเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             โสตาปะฏิ                                  มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา            สะกิทาคามิ                                มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะนาคามิ                                  มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะระหัตตะ                                มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             โสตาปะฏิ                                  ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สะกิทาคามิ                                ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะนาคามิ                                  ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะระหัตตะ                                ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา

กุสะลาธัมมา               อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา                                   ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ชมพูทิปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ

นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง

อาปามะ จุปะ ทีฆะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ

อุปะสะ ชะสุ เหปาสา ยะโส โสสะสะ อะอะ อะอะ

นิเตชะสุเนมะ ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ

อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิฯ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา   ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

สาโพธิปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลาธัมมา อิติ          วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ  ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะ     สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ  ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ยามา อิสสะโรกุสะลาธัมมาพรหมาสัททะปัญจะสัตตะสัตตาปาระมีอะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

                                                                                                           

ดุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ    ปุริสะทัมมะสาระถิ                           ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา     ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา

สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจังอะนัตตา รูปะขันโธ     พุทธะ   ปะผะ                    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

พ์รห์มา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะภะคะวะตา           ยาวะนิพพานัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

 

นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภ กะลา กะระ กะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ อิติ อิติ อิติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

สาวัง คุณัญจะ วิชชัญจะ พะลัญจะ  เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง  โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัญจะ  ปัญญาจะ นิกขะมะ ปุญญัง ภาคะยัง ตะปัง ยะสัง สุขัง สิริ รูปัง   จะตุวีสะติ เทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ

 

อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง พรหมมะสาวัง มะหาพรหมมะสาวัง จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง อิสีสาวัง มะหาอิสีสาวัง มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง สัปปุริสะสาวัง มะหาสัปปุริสะสาวัง พุทธะสาวัง    ปัจเจกะพุทธะสาวัง อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสาวัง สัพพะโลกา อะริยานังสาวัง  เอเตนะ สาเวนะ   เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ                                                                                                       นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะคุณัง มะหาอินทะคุณัง พรหมมะคุณัง มะหาพรหมมะคุณัง จักกะวัตติคุณัง มะหาจักกะวัตติคุณัง  เทวาคุณัง   มะหาเทวาคุณัง อิสีคุณัง มะหาอิสีคุณัง มุนีคุณัง มะหามุนีคุณัง สัปปุริสะคุณัง มะหาสัปปุริสะคุณัง พุทธะคุณัง       ปัจเจกะพุทธะคุณัง อะระหัตตะคุณัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังคุณัง สัพพะโลกาอะริยานังคุณัง  เอเตนะ คุเณนะ      เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ       นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะวิชชัง มะหาอินทะวิชชัง พรัหมมะวิชชัง มะหาพรหมมะวิชชัง จักกะวัตติวิชชัง มะหาจักกะวัตติวิชชัง เทวาวิชชัง มะหาเทวาวิชชัง อิสีวิชชัง มะหาอิสีวิชชัง มุนีวิชชัง มะหามุนีวิชชัง สัปปุริสะวิชชัง มะหาสัปปุริสะวิชชัง พุทธะวิชชัง   ปัจเจกะพุทธะวิชชัง อะระหัตตะวิชชัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังวิชชัง สัพพะโลกา อะริยานังวิชชัง  เอเตนะ วิเชนะ เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ         นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะพะลัง มะหาอินทะพะลัง พรหมมะพะลัง มะหาพรหมมะพะลัง จักกะวัตติพะลัง มะหาจักกะวัตติพะลัง เทวาพะลัง มะหาเทวาพะลัง อิสีพะลัง มะหาอิสีพะลัง มุนีพะลัง มะหามุนีพะลัง สัปปุริสะพะลัง มะหาสัปปุริสะพะลัง พุทธะพะลัง ปัจเจกะพุทธะพะลัง อะระหัตตะพะลัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังพะลัง  สัพพะโลกา อะริยานังพะลัง  เอเตนะ พะเลนะ เอเตนะ  สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ        นะโมพุทธัสสะ    นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะเตชัง มะหาอินทะเตชัง พรหมมะเตชัง มะหาพรหมมะเตชัง จักกะวัตติเตชัง มะหาจักกะวัตติเตชัง เทวาเตชัง    มะหาเทวาเตชัง อิสีเตชัง มะหาอิสีเตชัง มุนีเตชัง มะหามุนีเตชัง สัปปุริสะเตชัง มะหาสัปปุริสะเตชัง พุทธะเตชัง        ปัจเจกะพุทธะเตชัง อะระหัตตะเตชัง สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังเตชัง สัพพะโลกา อะริยานังเตชัง  เอเตนะ เตเชนะ        เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ      นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะวิริยัง   มะหาอินทะวิริยัง   พรหมมะวิริยัง   มะหาพรหมมะวิริยัง   จักกะวัตติวิริยัง        มะหาจักกะวัตติวิริยัง    เทวาวิริยัง  มะหาเทวาวิริยัง  อิสีวิริยัง  มะหาอิสีวิริยัง   มุนีวิริยัง  มะหามุนีวิริยัง   สัปปุริสะวิริยัง   มะหาสัปปุริสะวิริยัง         พุทธะวิริยัง   ปัจเจกะพุทธะวิริยัง      อะระหัตตะวิริยัง        สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังวิริยัง   สัพพะโลกาอะริยานังวิริยัง        เอเตนะ วิริเยนะ   เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ      นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะสิทธิ มะหาอินทะสิทธิ   พรหมมะสิทธิ มะหาพรหมมะสิทธิ   จักกะวัตติสิทธิ มะหาจักกะวัตติสิทธิ    เทวาสิทธิ    มะหาเทวาสิทธิ   อิสีสิทธิมะหาอิสีสิทธิ    มุนีสิทธิมะหามุนีสิทธิ    สัปปุริสะสิทธิ   มะหาสัปปุริสะสิทธิ    พุทธะสิทธิ       ปัจเจกะพุทธะสิทธิ      อะระหัตตะสิทธิ        สัพพะวิชชาธาระณังสิทธิ        สัพพะโลกาอะริยานังสิทธิ เอเตนะ สิทธิยา  เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ      นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะกัมมัง มะหาอินทะกัมมัง  พรหมมะกัมมัง มะหาพรหมมะกัมมัง  จักกะวัตติกัมมัง      มะหาจักกะวัตติกัมมัง    เทวากัมมัง    มะหาเทวากัมมัง   อิสีกัมมัง  มะหาอิสีกัมมัง   มุนีกัมมัง   มะหามุนีกัมมัง                สัปปุริสะกัมมัง    มะหาสัปปุริสะกัมมัง   พุทธะกัมมัง    ปัจเจกะพุทธะกัมมัง   อะระหัตตะกัมมัง  สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังกัมมัง    สัพพะโลกาอะริยานังกัมมัง    เอเตนะ กัมเมนะ    เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ         นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะธัมมัง   มะหาอินทะธัมมัง   พรหมมะธัมมัง    มะหาพรหมมะธัมมัง    จักกะวัตติธัมมัง  มะหาจักกะวัตติธัมมัง    เทวาธัมมัง    มะหาเทวาธัมมัง   อิสีธัมมัง    มะหาอิสีธัมมัง   มุนีธัมมัง   มะหามุนีธัมมัง               สัปปุริสะธัมมัง     มะหาสัปปุริสะธัมมัง     พุทธะธัมมัง  ปัจเจกะพุทธะธัมมัง      อะระหัตตะธัมมัง    สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังธัมมัง      สัพพะโลกาอะริยานังธัมมัง   เอเตนะ ธัมเมนะ   เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ           นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะสัจจัง    มะหาอินทะสัจจัง   พรหมมะสัจจัง   มะหาพรหมมะสัจจัง   จักกะวัตติสัจจัง   มะหาจักกะวัตติสัจจัง    เทวาสัจจัง    มะหาเทวาสัจจัง   อิสีสัจจัง   มะหาอิสีสัจจัง   มุนีสัจจัง   มะหามุนีสัจจัง  สัปปุริสะสัจจัง    มะหาสัปปุริสะสัจจัง  พุทธะสัจจัง     ปัจเจกะพุทธะสัจจัง      อะระหัตตะสัจจัง   สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสัจจัง    สัพพะโลกาอะริยานังสัจจัง        เอเตนะ  สัจเจนะ    เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ                                        นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะนิพพานัง   มะหาอินทะนิพพานัง     พรหมมะนิพพานัง    มะหาพรหมมะนิพพานัง       จักกะวัตตินิพพานัง       มะหาจักกะวัตตินิพพานัง    เทวานิพพานัง    มะหาเทวานิพพานัง   อิสีนิพพานัง   มะหาอิสีนิพพานัง  มุนีนิพพานัง

มะหามุนีนิพพานัง   สัปปุริสะนิพพานัง  มะหาสัปปุริสะนิพพานัง   พุทธะนิพพานัง   ปัจเจกะพุทธะนิพพานัง   อะระหัตตะนิพพานัง    สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังนิพพานัง    สัพพะโลกาอะริยานังนิพพานัง        เอเตนะ นิพพาเนนะ     เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ      นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะโมกขัง   มะหาอินทะโมกขัง   พรหมมะโมกขัง   มะหาพรหมมะโมกขัง  จักกะวัตติโมกขัง  มะหาจักกะวัตติโมกขัง  เทวาโมกขัง   มะหาเทวาโมกขัง   อิสีโมกขัง    มะหาอิสีโมกขัง   มุนีโมกขัง    มะหามุนีโมกขัง      สัปปุริสะโมกขัง        มะหาสัปปุริสะโมกขัง   พุทธะโมกขัง    ปัจเจกะพุทธะโมกขัง   อะระหัตตะโมกขัง        สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังโมกขัง          สัพพะโลกาอะริยานังโมกขัง    เอเตนะ   โมกเขนะ     เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ               นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะคุยหะกัง   มะหาอินทะคุยหะกัง    พรหมมะคุยหะกัง   มะหาพรหมมะคุยหะกัง   จักกะวัตติคุยหะกัง       มะหาจักกะวัตติคุยหะกัง    เทวาคุยหะกัง    มะหาเทวาคุยหะกัง  อิสีคุยหะกัง   มะหาอิสีคุยหะกัง  มุนีคุยหะกัง     มะหามุนี           คุยหะกัง   สัปปุริสะคุยหะกัง    มะหาสัปปุริสะคุยหะกัง   พุทธะคุยหะกัง    ปัจเจกะพุทธะคุยหะกัง      อะระหัตตะคุยหะกัง        สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังคุยหะกัง    สัพพะโลกาอะริยานังคุยหะกัง        เอเตนะ คุยหะเกนะ       เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ      นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะทานัง   มะหาอินทะทานัง     พรหมมะทานัง   มะหาพรหมมะทานัง   จักกะวัตติทานัง   มะหาจักกะวัตติทานัง

เทวาทานัง    มะหาเทวาทานัง   อิสีทานัง   มะหาอิสีทานัง  มุนีทานัง  มะหามุนีทานัง   สัปปุริสะทานัง  มะหาสัปปุริสะทานัง   พุทธะทานัง   ปัจเจกะพุทธะทานัง  อะระหัตตะทานัง   สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังทานัง     สัพพะโลกาอะริยานังทานัง   เอเตนะ  ทาเนนะ   เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ        นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะสีลัง  มะหาอินทะสีลัง    พรหมมะสีลัง   มะหาพรหมมะสีลัง  จักกะวัตติสีลัง    มะหาจักกะวัตติสีลัง    เทวาสีลัง    มะหาเทวาสีลัง   อิสีสีลัง  มะหาอิสีสีลัง    มุนีสีลัง     มะหามุนีสีลัง    สัปปุริสะสีลัง     มะหาสัปปุริสะสีลัง    พุทธะสีลัง        ปัจเจกะพุทธะสีลัง      อะระหัตตะสีลัง    สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสีลัง    สัพพะโลกาอะริยานังสีลัง    เอเตนะ   สีเลนะ เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ     นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะปัญญัง   มะหาอินทะปัญญัง   พรหมมะปัญญัง    มะหาพรหมมะปัญญัง   จักกะวัตติปัญญัง     มะหาจักกะวัตติปัญญัง    เทวาปัญญัง    มะหาเทวาปัญญัง        อิสีปัญญัง  มะหาอิสีปัญญัง   มุนีปัญญัง  มะหามุนีปัญญัง           สัปปุริสะปัญญัง   มะหาสัปปุริสะปัญญัง    พุทธะปัญญัง        ปัจเจกะพุทธะปัญญัง      อะระหัตตะปัญญัง        สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังปัญญัง     สัพพะโลกาอะริยานังปัญญัง   เอเตนะ  ปัญญายะ     เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะเนกขะมะณัง     มะหาอินทะเนกขะมะณัง         พรหมมะเนกขะมะณัง   มะหาพรหมมะเนกขะมะณัง             จักกะวัตติเนกขะมะณัง   มะหาจักกะวัตติเนกขะมะณัง.    เทวาเนกขะมะณัง    มะหาเทวาเนกขะมะณัง                 อิสีเนกขะมะณัง        มะหาอิสีเนกขะมะณัง       มุนีเนกขะมะณัง   มะหามุนีเนกขะมะณัง    สัปปุริสะเนกขะมะณัง        มะหาสัปปุริสะเนกขะมะณัง         พุทธะเนกขะมะณัง        ปัจเจกะพุทธะเนกขะมะณัง      อะระหัตตะเนกขะมะณัง        สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังเนกขะมะณัง    สัพพะโลกาอะริยานังเนกขะมะณัง   เอเตนะ  เนกขะมะเณนะ   เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ     นะโมพุทธัสสะ    นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะปุญญัง    มะหาอินทะปุญญัง     พรหมมะปุญญัง   มะหาพรหมมะปุญญัง  จักกะวัตติปุญญัง   มะหาจักกะวัตติปุญญัง    เทวาปุญญัง    มะหาเทวาปุญญัง    อิสีปุญญัง   มะหาอิสีปุญญัง  มุนีปุญญัง    มะหามุนีปุญญัง    สัปปุริสะปุญญัง    มะหาสัปปุริสะปุญญัง    พุทธะปุญญัง    ปัจเจกะพุทธะปุญญัง  อะระหัตตะปุญญัง   สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังปุญญัง    สัพพะโลกาอะริยานังปุญญัง    เอเตนะ  ปุญ...นะ    เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะภาคะยัง    มะหาอินทะภาคะยัง  พรหมมะภาคะยัง   มะหาพรหมมะภาคะยัง       จักกะวัตติภาคะยัง             มะหาจักกะวัตติภาคะยัง    เทวาภาคะยัง    มะหาเทวาภาคะยัง        อิสีภาคะยัง    มะหาอิสีภาคะยัง    มุนีภาคะยัง         มะหามุนีภาคะยัง     สัปปุริสะภาคะยัง    มะหาสัปปุริสะภาคะยัง   พุทธะภาคะยัง    ปัจเจกะพุทธะภาคะยัง            อะระหัตตะภาคะยัง     สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังภาคะยัง     สัพพะโลกาอะริยานังภาคะยัง    เอเตนะ ภาคะเยนะ             เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ  นะโมพุทธัสสะ  นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะตะปัง  มะหาอินทะตะปัง   พรหมมะตะปัง    มะหาพรหมมะตะปัง  จักกะวัตติตะปัง  มะหาจักกะวัตติตะปัง     เทวาตะปัง    มะหาเทวาตะปัง   อิสีตะปัง     มะหาอิสีตะปัง  มุนีตะปัง   มะหามุนีตะปัง    สัปปุริสะตะปัง   มะหาสัปปุริสะตะปัง   พุทธะตะปัง  ปัจเจกะพุทธะตะปัง    อะระหัตตะตะปัง    สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังตะปัง    สัพพะโลกาอะริยานังตะปัง   เอเตนะ ตะเปนะ      เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ        นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะยะสัง     มะหาอินทะยะสัง    พรหมมะยะสัง     มะหาพรหมมะยะสัง  จักกะวัตติยะสัง     มะหาจักกะวัตติยะสัง    เทวายะสัง    มะหาเทวายะสัง        อิสียะสัง        มะหาอิสียะสัง       มุนียะสัง     มะหามุนียะสัง   สัปปุริสะยะสัง        มะหาสัปปุริสะยะสัง    พุทธะยะสัง    ปัจเจกะพุทธะยะสัง      อะระหัตตะยะสัง    สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังยะสัง          สัพพะโลกาอะริยานังยะสัง        เอเตนะ  ยะเสนะ    เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ             นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะสุขัง   มะหาอินทะสุขัง   พรหมมะสุขัง    มะหาพรหมมะสุขัง   จักกะวัตติสุขัง   มะหาจักกะวัตติสุขัง    เทวาสุขัง    มะหาเทวาสุขัง   อิสีสุขัง  มะหาอิสีสุขัง   มุนีสุขัง    มะหามุนีสุขัง   สัปปุริสะสุขัง   มะหาสัปปุริสะสุขัง   พุทธะสุขัง        ปัจเจกะพุทธะสุขัง    อะระหัตตะสุขัง   สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสุขัง   สัพพะโลกาอะริยานังสุขัง   เอเตนะ สุเขนะ             เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ    นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะสิริ   มะหาอินทะสิริ   พรหมมะสิริ    มะหาพรหมมะสิริ   จักกะวัตติสิริ   มะหาจักกะวัตติสิริ    เทวาสิริ    มะหาเทวาสิริ   อิสีสิริ  มะหาอิสีสิริ   มุนีสิริ    มะหามุนีสิริ   สัปปุริสะสิริ   มะหาสัปปุริสะสิริ   พุทธะสิริ        ปัจเจกะพุทธะสิริ    อะระหัตตะสิริ   สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังสิริ   สัพพะโลกาอะริยานังสิริ   เอเตนะ สิริยา      เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

อินทะรูปัง   มะหาอินทะรูปัง   พรหมมะรูปัง    มะหาพรหมมะรูปัง   จักกะวัตติรูปัง   มะหาจักกะวัตติรูปัง    เทวารูปัง    มะหาเทวารูปัง   อิสีรูปัง  มะหาอิสีรูปัง   มุนีรูปัง    มะหามุนีรูปัง   สัปปุริสะรูปัง   มะหาสัปปุริสะรูปัง   พุทธะรูปัง        ปัจเจกะพุทธะรูปัง    อะระหัตตะรูปัง   สัพพะสิทธิวิชชาธาระณังรูปัง   สัพพะโลกาอะริยานังรูปัง   เอเตนะ รูเปนะ             เอเตนะ สัจจะวะจะเนนะ วา มัยหัง สุวัตถิ โหนตุ สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

สาวัง คุณัง วิชชัง พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง  ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญัง เนกขะมะณัง   ปุญญัง ภาคะยัง ตะปัง ยะสัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

นะโมพุทธัสสะ   ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวาฯ

นะโมพุทธัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโมฯ

นะโมธัมมัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโมฯ

นะโมธัมมัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆฯ

นะโมสังฆัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆฯ

นะโมสังฆัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม  สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตังฯ

นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ        อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

อุอะมะอะ วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง           มะอะอุ  ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ

วิปัสสิต  สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา  วินาสสันตุ

 

บทสวดมนต์ยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎกอย่างย่อนี้ใช้เพื่อสวดให้สามารถท่องจำได้

 

อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง                                                                                    วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ                                                                          วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน                                                              วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา สุคะโต                                                                                     วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา โลกะวิทู                                                                                    วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา อะนุตตะโร                                                                                วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา ปุริสะทัมมะสาระถิ                                                                     วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง                                                              วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา พุทโธ                                                                                       วัฎฏะโส ภะคะวา

อิติปิโส ภะคะวา ภะคะวา                                                                                    วัฏฏะโส ภะคะวา          

อะระหันตัง                                สะระณัง คัจฉามิ อะระหันตัง                               สิระสา นะมามิ

สัมมาสัมพุทธัง                           สะระณัง คัจฉามิ สัมมาสัมพุทธัง                                     สิระสา นะมามิ

วิชชาจะระณะสัมปันนัง               สะระณัง คัจฉามิ วิชชาจะระณะสัมปันนัง             สิระสา นะมามิ

สุคะตัง                                      สะระณัง คัจฉามิ สุคะตัง                                    สิระสา นะมามิ

โลกะวิทัง                                   สะระณัง คัจฉามิ โลกะวิทัง                                  สิระสา นะมามิ

อะนุตตะรัง                                สะระณัง คัจฉามิ อะนุตตะรัง                               สิระสา นะมามิ

ปุริสะทัมมะสาระถิ                      สะระณัง คัจฉามิ ปุริสะทัมมะสาระถิ                     สิระสา นะมามิ

สัตถา เทวะมะนุสสานัง               สะระณัง คัจฉามิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง              สิระสา นะมามิ

พุทธัง                                        สะระณัง คัจฉามิ พุทธัง                                      สิระสา นะมามิ

ภะคะวันตัง                                สะระณัง คัจฉามิ ภะคะวันตัง                              สิระสา นะมามิ

 

อิติปิโส ภะคะวา รูปักขันโธ          อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา เวทะนากขันโธ   อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา สัญญากขันโธ   อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา สังขารักขันโธ    อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณักขันโธอะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน อิติปิโส ภะคะวาฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวี                                                                                      ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เตโช                                                                                          ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วาโย                                                                                         ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อาโป                                                                                         ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากาสา                                                                                     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะ                                                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา จักกะวาฬะ                                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา                                                                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา ปะฐะวี             จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เตโช                  จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วาโย                 จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อาโป                 จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากาสา จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณะ         จักกะวาฬะ จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา ธาตุ                  จักกะวาฬะ  จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา                         จักกะวาฬะ  จาตุมมะหาราชิกา ตาวะติงสา            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             จาตุมมะหาราชิกา                                                          ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ตาวะติงสา                                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ยามา                                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ดุสิตา                                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             นิมมานะระตี                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             กามาวะจะระ                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             พ์รัห์มะปาริสัชชา                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             พ์รัห์มะปะโรหิตา                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             มะหาพ์รัห์มา                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปะริตตาภา                                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อัปปะมาณาภา                                                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อาภัสสะรา                                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปะริตตะสุภา                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อัปปะมาณะสุภา                                                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สุภกิณณะหะกา                                                             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             เวหัปผะลา                                                                     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะสัญญะสัตตา                                                             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะวิหา                                                                          ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะตัปปา                                                                        ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สุทัสสา                                                                         ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สุทัสสี                                                                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะกะนิฎฐะกา                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             รูปาวะจะระ                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อากาสานัญจา                                                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             วิญญาณัญจา                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อากิญจัญญา                                                                 ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             เนวะสัญญานาสัญญา                                                    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะรูปาวะจะระ                                                              ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             โลกุตตะระ                                                                     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             ปะฐะมะฌานะ                                                              ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ทุติยะฌานะ                                                                  ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ตะติยะฌานะ                                                                ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             จะตุตถะฌานะ                                                              ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             ปัญจะมะฌานะ                                                             ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ               รูปาวะจะระ                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ               รูปาวะจะระ                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ                รูปาวะจะระ                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ    รูปาวะจะระ                               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ                     รูปาวะจะระ    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ                      รูปาวะจะระ    ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ                       รูปาวะจะระ     ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวาเนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ รูปาวะจะระ           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ               อะรูปาวะจะระ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ               อะรูปาวะจะระ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ                อะรูปาวะจะระ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ    อะรูปาวะจะระ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ      อะรูปาวะจะระ           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ       อะรูปาวะจะระ           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ        อะรูปาวะจะระ               ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ เนวะสัญญานาสัญญายะตะนะ อะรูปาวะจะระธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

 

อิติปิโส ภะคะวา             โสตาปะฏิ                                  มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา            สะกิทาคามิ                                มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะนาคามิ                                  มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะระหัตตะ                                มัคคะ                           ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             โสตาปะฏิ                                  ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             สะกิทาคามิ                                ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะนาคามิ                                  ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา             อะระหัตตะ                                ผะละ                            ธาตุ สะมาทิยานะ สัมปันโนฯ

อิติปิโส ภะคะวา

กุสะลาธัมมา               อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา                                   ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ชมพูทิปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นะโมพุทธายะ

นะโมธัมมายะ นะโมสังฆายะ ปัญจะพุทธา นะมามิหัง

อาปามะ จุปะ ทีฆะสังอังขุ สังวิธาปุกะยะปะ

อุปะสะ ชะสุ เหปาสา ยะโส โสสะสะ อะอะ อะอะ

นิเตชะสุเนมะ ภูจะนาวิเว อะสังวิสุโลปุสะพุภะ

อิสะวาสุ สุสะวาอิ กุสะลาธัมมา จิตติ วิอัตถิฯ อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง อะอา   ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

สาโพธิปัญจะ อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะวิวังโก อิติสัมมาสัมพุทโธ สุคะลาโน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

จาตุมมะหาราชิกา อิสสะโร กุสะลาธัมมา อิติ          วิชชาจะระณะสัมปันโน อุอุ  ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตาวะติงสา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นันทะปัญจะ     สุคะโต โลกะวิทู มะหาเอโอ  ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ยามา อิสสะโรกุสะลาธัมมาพรหมาสัททะปัญจะสัตตะสัตตาปาระมีอะนุตตะโร ยะมะกะขะ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ดุสิตา อิสสะโร กุสะลาธัมมา ปุยะปะกะ    ปุริสะทัมมะสาระถิ                           ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

นิมมานะระตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา เหตุโปวะ สัตถา เทวะมะนุสสานัง ตะถา     ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ปะระนิมมิตตะวะสะวัตตี อิสสะโร กุสะลาธัมมา

สังขาระขันโธ ทุกขัง อะนิจจังอะนัตตา รูปะขันโธ     พุทธะ   ปะผะ                    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

พ์รห์มา อิสสะโร กุสะลาธัมมา นัตถิปัจจะยา วินะปัญจะภะคะวะตา           ยาวะนิพพานัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ พุทธิลาโภ กะลา กะระ กะนา เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ วิตติ วิตติ วิตติ อิติ อิติ อิติ มิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ อัตติ อัตติ วัตติ วัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

 

สาวัง คุณัญจะ วิชชัญจะ พะลัญจะ  เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง  โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัญจะ  ปัญญาจะ นิกขะมะ ปุญญัง ภาคะยัง ตะปัง ยะสัง สุขัง สิริ รูปัง   จะตุวีสะติ เทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะฯ

 

อินทะ                                        สาวัง                 เอเตนะ   สาเวนะ                 เอเตนะ สัจจะวัจจะเนนะ วา มัยหังสุวัตถิโหนตุ  

มะหาอินทะ                               คุณัง                             คุเณนะ             นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ นะโมสังฆัสสะ

พรหมมะ                                   วิชชัง                             วิเชนะ               เสยยะถีทัง หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ

มะหาพรหมมะ                           พะลัง                            พะเลนะ

จักกะวัตติ                                  เตชัง                             เตเชนะ

มะหาจักกะวัตติ                          วิริยัง                             วิริเยนะ

เทวา                                         สิทธิ                              สิทธิยา

มะหาเทวา                                 กัมมัง                            กัมเมนะ                                                           

อิสี                                            ธัมมัง                            ธัมเมนะ

มะหาอิสี                                    สัจจัง                            สัจเจนะ

มุนี                                            นิพพานัง                       นิพพาเนนะ

มะหามุนี                                   โมกขัง                           โมกเขนะ

สัปปุริสะ                                    คุยหะกัง                        คุยหะเกนะ

มะหาสัปปุริสะ                           ทานัง                            ทาเนนะ

พุทธะ                                       สีลัง                              สีเลนะ  

ปัจเจกะพุทธะ                            ปัญญัง                          ปัญญายะ

อะระหัตตะ                                เนกขะมะณัง                  เนกขะมะเณนะ

สัพพะสิทธิวิชชาธาระณัง             ปุญญัง                          ปุญ...นะ

สัพพะโลกา อะริยานัง                 ภาคะยัง                        ภาคะเยนะ

                                                ตะปัง                            ตะเปนะ

                                                ยะสัง                            ยะเสนะ

                                                สุขัง                              สุเขนะ

                                                สิริ                                สิริยา

                                                รูปัง                               รูเปนะ

สาวัง คุณัง วิชชัง พะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิ กัมมัง  ธัมมัง สัจจัง นิพพานัง โมกขัง คุยหะกัง ทานัง สีลัง ปัญญัง เนกขะมะณัง   ปุญญัง ภาคะยัง ตะปัง ยะสัง สุขัง สิริ รูปัง จะตุวีสะติเทสะนัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ    

                       

นะโมพุทธัสสะ   ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม อิติปิโส ภะคะวาฯ

นะโมพุทธัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโมฯ

นะโมธัมมัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สวากขาโต ภะคะวาตา ธัมโมฯ

นะโมธัมมัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆฯ

นะโมสังฆัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆฯ

นะโมสังฆัสสะ    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ นะโม  สุปะฏิปันโน ภะคะวาโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตังฯ

นะโมพุทธายะ มะอะอุ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา ยาวะตัสสะ หาโยโมนะ        อุอะมะ ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

อุอะมะอะ วันทา นะโมพุทธายะ นะอะกะติ นิสะระณะ อาระปะขุทธัง           มะอะอุ  ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตาฯ

วิปัสสิต  สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา  วินาสสันตุ

 

บทกรวดน้ำแผ่เมตตา

อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา อาจะริยูปะการา จะ มาตา ปิตา จะ ญาตะกาปิยา มะมัง สุริโย จันทิมาราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ พรัหมมะ มารา จะ อินทา จะ จตุโลกะปาลา จะ เทวะตา ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะสัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม  สุขัญจะ   ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อิมินา อุททิสเสนะ จะ  ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุ ปาทานะเฉทะนัง เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง  นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา  มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริ...ุ เม    พุทธาทิปะ วะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม  นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถ ตะโร มะมัง   เต โสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุมา

 

คาถากันภัยพิบัติใหญ่ ของท่าน Ram Bahadur Bomjan  นะโม พุทธะ สังกายะ นะโม พุทธะ สังกายะ นะโม สังกายะ

คาถากันภัยพิบัติใหญ่ ของเทพเจ้า เบื้องบน  โอมพระกาฬารี  โอมพระกาฬารี  โอมพระกาฬารี

เนื้อหาโดย: ยักเล็ก
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: ยักเล็ก
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่แดดออก แต่ฟ้าแอบๆครึ้มๆ ลมแรงมีไอเย็น เรียกได้ว่า 3 ฤดู ในวันเดียวเลยมั้งเนี่ยนักศึกษาจีนนับแสน ปั่นจักรยานตามล่าเกี๊ยวต้นสังนักร้องดัง ไอยู ฟ้องชาวเน็ต 180 คนนักแสดงเกาหลี "ซง แจ ลิม" เสียชีวิตแล้วเมกาเตรียมเปิดตัวรถไฟเหาะ "Rapterra" ที่สูงและยาวที่สุดในโลก ปี 2025"ทรัมป์" แต่งตั้ง "มัสก์" คุมกระทรวงใหม่อีสานบ้านเฮา:สุขที่แท้จริง(อาหาร)ตากระตุก สัญญาณเตือนจากร่างกายที่อาจไม่ใช่แค่เรื่องโชคลางเซอร์ไพร์ !! กาฮี อดีตวง After School ร่วมแห่ขบวนขันหมากงานแต่งพี่ชายที่ไทย "เมืองสิงโตใต้บาดาล: การค้นพบเมืองโบราณอายุ 1,400 ปีที่หายสาบสูญใต้ทะเลสาบพันเกาะ ของประเทศจีน"ร้านเบเกอรี่เร่งทำขนมปังรูปสัตว์ต่าง ๆ สำหรับวันลอยกระทง สูตรนี้คนกินได้ สัตว์น้ำก็กินดี ☺️เมื่อบินโดรนชมเกาะช้าง แต่ถูกเหยี่ยวโฉบโดรนไป นี่มัน bird eye view ของแท้ 😅
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
exhausted: เหน็ดเหนื่อย หมดเรี่ยวแรง"ทรัมป์" แต่งตั้ง "มัสก์" คุมกระทรวงใหม่ทำอย่างไร? ให้กล้วยเชื่อมมีสีแดงสวยอีสานบ้านเฮา:สุขที่แท้จริง(อาหาร)
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ดูดวง เรื่องลึกลับ
ทำนายความฝัน เป็นลางดี หรือลางร้าย ตีเลขเด็ด งวดนี้คำทำนายวันโลกสิ้น ของ'หลวงปู่เทสก์'อ.ไวท์ เปิดดวงราศี ดวงพุ่งแรงสุดขีด หลังผ่านจุดตกต่ำในรอบปีเตรียมรับมือกับปีชง 2568 มะเส็ง, ขาล, วอก, กุน
ตั้งกระทู้ใหม่