หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ลาบหมาน้อย

โพสท์โดย แงววววว

ฟังชื่ออาจดูน่ากลัว แต่เป็นอาหารที่กินแล้วทั้งอร่อยทั้งมีปนะโยชน์นะคะ สำหรับลาบหมาน้อยเพราะเครือหมาน้อยเป็นสมุนไพรมีฤทธิ์เย็น แก้ไข้ แแก้ร้อนใน นอกจากนั้นยังลดการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารของผู้ป่วยเบาหวานและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงอีกด้วย

หมาน้อย หรือ กรุงเขมา ป็นไม้เถาเลื้อยพัน ก็คือชื่อเรียกไม้เถาเลื้อยพันชนิดหนึ่ง แต่ถูกเรียกกันคนละภาษานั่นเอง เครือหมาน้อย หรือ กรุงเขมา เป็นพืชพื้นเมืองแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มักพบในป่าดิบ ป่าผลัดใบ ป่าไผ่ ป่าพุ่ม บางครั้งพบบนภูเขาหินปูน ออกดอก เดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน ติดผล เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ (วิทย์, 2539 ; ก่องกานดา และ ลีนา, 2545) สังเกตง่ายเพราะใบเป็นรูปหัวใจ โคนใบก้นปิด หน้าใบและหลังใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุม หลังใบจะมีขนหนาแน่นมากกว่าหน้าใบ  เวลาเอามือลูบใบ รู้สึกนุ่มเหมือนขนหมาน้อย สามารถนำมาทำอาหารทั้งคาวหวาน คนอีสานบ้านเรา ก็เลยเรียกว่า "เครือหมาน้อย" เอามาทำเป็นขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกินก็ได้  โดยเก็บใบมาขยี้กับน้ำ คั้นแยกกาก ได้น้ำสีเขียวๆ เหมือนน้ำย่านาง ตั้งทิ้งไว้สักพักจะกลายเป็นวุ้น วุ้นที่ว่านี่แหละค่ะที่เราจะมาทำเป็นลาบ(วุ้น)หมาน้อยกัน

 

วิธีการทำวุ้นหมาน้อย 
ส่วนประกอบ
1. ใบหมาน้อย = 30 ใบ
 
2. พริกแดงสด = ตามชอบ
 
3. กระเทียม = 3-5 กลีบ
 
4. ตะไคร้หั่นซอย = 3 ต้น
 
5. ผักชีฝรั่ง = 2 ต้น
 
6. ผักชีจีน = 2 ต้น หรือตามใจชอบ
 
7. ห้วหอม = 10 หัว
 
8. ต้นหอม = 2 ต้น
 
9. ปลาร้าสับ = 2 ขีด หรือ ปลาเค็มทอดสุก = 2 ขีด หรือ กะปิ-เคย = 2 ขีด
 
10. น้ำ = 1/2 ลิตร
 
ขั้นตอนการทำ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
โขลกพริกสด หัวหอม กระเทียม ตะไคร้ซอย รวมกันให้ละเอียด (หรือจะนำปลาร้าสับใส่ลงไปคลุกเคล้าในขั้นตอนนี้ร่วมด้วยก็ได้) และตักใส่ภาชนะพักไว้ก่อน
 
ขั้นตอนที่ 2
นำใบหมาน้อยล้างให้สะอาด นำใส่ลงเครื่องปั่นเติมน้ำเปล่าที่เตรียมไว้ลงไป และปั่นให้ละเอียด แล้วนำมากรองเพื่อเอากากออก ก็จะได้ "น้ำหมาน้อย"
 
ขั้นตอนที่ 3
นำ "น้ำหมาน้อย" กับส่วนผสมในขั้นตอนที่ 1 มาผสมกัน (หากยังไม่ได้ผสมปลาร้าสับในขั้นตอนที่ 1 ให้นำปลาร้าสับใส่ผสมลงไปในขั้นตอนที่ 3 นี้) และเติมด้วยผักชีฝรั่ง ต้นหอม และผักชีซอยลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา หรือเกลืิอ จัดแจงส่วนผสมทั้งหมดลงภาชนะที่เตรียมไว้ พักทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หมาน้อยจะแข็งตัวเป็นวุ้น จัดแจงใส่ภาชนะพร้อมเสิร์ฟ พร้อมผักชีจีน และพริกสด และอื่นๆ ตามชอบ
 
 
 
 
ชื่อสมุนไพร เครือหมาน้อย
ชื่ออื่นๆกรุงเขมา(กลาง นครศรีธรรมราช)หมอน้อย (อุบลราชธานี)ก้นปิด (ตะวันตกเฉียงใต้)ขงเขมา พระพาย (ภาคกลาง) เปล้าเลือด (แม่ฮ่องสอน) สีฟัน (เพชรบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Issampelos pareira L. var. hirsuta (Buch. ex DC.) Forman.

ชื่อพ้อง Cissampelos poilanei Gagnep.

 ชื่อวงศ์ Menispermaceae

 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้เถาเลื้อย เนื้อไม้แข็ง มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่ง ช่อดอก และใบ ไม่มีมือเกาะ มีรากสะสมอาหารใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว มีหลายรูป เช่น รูปหัวใจ รูปกลม รูปไต หรือรูปไข่กว้าง ก้นใบปิด ออกแบบสลับ กว้าง 4.5-12 เซนติเมตร ยาว 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบส่วนมากมนหรือเรียวแหลม โคนใบกลมตัด หรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ เนื้อบางคล้ายกระดาษ มีขนนุ่มสั้นกระจาย ทั้งหลังใบ และท้องใบ ใบเมื่อยังอ่อนจะมีขนอ่อนนุ่มปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน และตามขอบใบ แต่จะร่วงไปเมื่อใบแก่ เส้นใบออกจากโคนใบรูปฝ่ามือ ก้านใบยาว 2-9 เซนติเมตร ขนนุ่มสั้น หรือเกือบเกลี้ยง ติดที่โคนใบห่างจากขอบใบขึ้นมา 1-18 มิลลิเมตร ปลายใบแหลมหรือเป็นติ่งหนาม ดอกออกเป็นช่อกระจุกสีขาว ขนาดเล็กประมาณ 0.2-0.5 มิลลิเมตร ดอกแยกเพศ และอยู่ต่างต้นกัน เรียงแบบช่อเชิงหลั่น มีขนาดเล็ก แต่ละช่อกระจุกมีก้านช่อดอกยาว 2-4 เซนติเมตร มีขนนุ่มสั้น ออกกระจุกเดี่ยวๆหรือ 2-3 กระจุกในหนึ่งช่อ ช่อดอกเพศผู้ ออกตามง่ามใบ ก้านช่อกระจุกแตกแขนง ยืดยาว ประกอบด้วยกระจุกดอกอยู่ตามง่ามใบประดับ ใบประดับรูปกลม และขยายใหญ่ขึ้น ดอกเพศผู้ สีเขียวหรือสีเหลือง มีก้านดอกย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รูปไข่กลับ ยาว 1.25-1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนยาวห่าง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ด้านนอกมีขนประปราย เกสรเพศผู้เชื่อมติดกัน อับเรณูยาว 0.75 มิลลิเมตร ช่อดอกเพศเมีย เป็นช่อคล้ายช่อกระจุกแยกแขนง ทรงแคบ ยาวถึง 18 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกที่เป็นกระจุกติดแบบคล้ายเป็นช่อกระจะ แต่ละกระจุกอยู่ในง่ามของใบประดับ ใบประดับรูปกลม เมื่อขยายใหญ่ขึ้นยาวถึง 1.5 เซนติเมตร มีขนประปรายหรือขนยาวนุ่ม ดอกเพศเมีย มีก้านดอกย่อยยาว 1-1.5 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงมี 1 กลีบ รูปไข่กลับกว้าง ยาว 1.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 1 กลีบ รูปไข่กลับกว้าง ยาว 0.75 มิลลิเมตร โคนสอบแคบไม่มีเกสรเพศผู้ปลอม เกสรเพศเมียมี 1 อัน ขนาดประมาณ 0.5 มิลลิเมตร มีขนยาวห่าง ก้านเกสรเพศเมียเกลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 พู กางออก ผลสด มีก้านอวบใหญ่ ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร สีส้ม ผลทรงกลมรีอยู่ตรงปลาย เมื่อสุกสีน้ำตาลแดง เมล็ดโค้งงอรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ผิวขรุขระ มีรอยแผลเป็นของก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ด้านข้าง มีขนสั้นนุ่ม ผนังผลชั้นในรูปไข่กลับ ยาว 5 มิลลิเมตร ด้านบนมีสันขวาง 9-11 สัน เรียงเป็น 2 แถว ชัดเจน ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดหรือเหง้า พบในป่าดิบ ป่าผลัดใบ และป่าไผ่ ตามริมแม่น้ำลำธาร ออกดอกช่วงเดือนมีนาคมถึงธันวาคม เถาและใบคั้นเอาน้ำเมื่อผสมกับเครื่องปรุงอาหาร จะมีลักษณะเป็นวุ้น รับประทานเป็นอาหาร
 
สรรพคุณ    
              ส่วนเหนือดิน เป็นยาแก้ร้อนใน แก้โรคตับ ราก มีกลิ่นหอม รสสุขุม ใช้แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน เป็นยาขับปัสสาวะ ยาถ่าย แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ยาอายุวัฒนะ ยาช่วยย่อย แก้ท้องร่วง บวมน้ำ แก้ไอ ขัดเบา กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และใช้ในรายถูกงูกัด เป็นยาลดไข้ แก้ปวดท้อง โรคหนองใน 
              ราก รสหอมเย็นสุขุม แก้ไข้ แก้ดีรั่ว ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงอวัยวะเพศให้แข็งแรง แก้ลม โลหิต กำเดา แก้โรคตา ขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ ใช้เคี้ยว แก้ปวดท้อง และโรคบิด ระบายนิ่ว แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ไอเจ็บหน้าอก เป็นยาขับเหงื่อ ยาขับระดู ยาบำรุง ยาสงบประสาท ยาขับน้ำเหลืองเสีย ยาสมาน 
              รากและใบ พอกเป็นยาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนัง หิด 
              ลำต้น ดับพิษไข้ทุกชนิด บำรุงโลหิตสตรี เป็นยาพอกแก้ตาอักเสบ 
              เนื้อไม้ แก้โรคปอด และโรคโลหิตจาง 
              ใบ แก้ร้อนใน พอกแผล ฝี แก้แผลมะเร็ง แก้หืด ใช้ทาภายนอกแก้หิด
 
องค์ประกอบทางเคมี    
              ราก พบแอลคาลอยด์ปริมาณสูง เช่น hyatine, hyatinine, sepurine, beburine, cissampeline, pelosine นอกจากนี้ยังพบ quercitol, sterol  แอลคาลอยด์ hyatine มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและลดความดันโลหิต (ฤทธิ์เทียบเท่ากับ d-tubercurarine ที่ได้จากยางน่อง)  cissampeline แสดงฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์ 
              ใบ มีสารพวกเพคติน เมื่อขยำใบกับน้ำ เมื่อทิ้งไว้จะแข็งตัวเป็นวุ้น  
 จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ในแถบภาคอีสาน เล่ากันว่ามักจะนำใบกรุงเขมา หรือหมาน้อย มาทำอาหารให้คนไข้รับประทาน เพราะจะช่วยให้คนไข้สดชื่นฟื้นไข้ได้เร็ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าเชื่อถือได้ เพราะจากการค้นคว้าจากตำราโบราณ และงานวิจัยที่มีการศึกษาเรื่องของกรุงเขมาพบว่ามีสรรพคุณอย่างหลากหลาย
 
            มีการบันทึกในหนังสือที่เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรหลายเล่มว่า กรุงเขมา มีสรรพคุณในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร แก้ร้อนใน และรักษาโรคตับ (วุฒิ, 2540 : กัญจนา และ อร่าม, 2541) ในประเทศอินโดนีเซียใช้รากกรุงเขมาต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ส่วนของใบ ตำใส่น้ำตั้งทิ้งไว้ให้เป็นเยลลี่ กินเป็นยาช่วยย่อย แก้ปวดท้อง (ก่องกานดา และ ลีนา, 2545) และในตำรายาโบราณของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ วัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ ได้บันทึกว่า รากของกรุงเขมามีกลิ่นหอมสุขุม ใช้ปรุงเป็นยารับประทานดับพิษไข้ทั้งปวง แก้ดีรั่ว ดีล้น ดีซ่าน บำรุงอวัยวะให้แข็งแรง แก้ลม เลือดกำเดา แก้โรคตา เป็นยาอายุวัฒนะ (ร.ร.แพทย์แผนโบราณ, 2537) นอกจากนั้น ยังมีคุณสมบัติช่วยลดอาการผื่นคัน และอาการบวมได้ (กมลรัตน์, มปพ)
 
             ส่วนในตำราโอสถพระนารายณ์พบว่า กรุงเขมา เป็นส่วนประกอบของตำรับยาสำหรับแก้เตโชธาตุพิการ ซึ่งจะกล่าวไว้เป็นบทกลอน ดังนี้
 
             ถ้ามิถอยไซ้ให้เอาโกฐสอ โกฐเขมา รากพิลังกาสา ผลราชดัด ผลสรรพพิศม์ ผลสวาด จุกโรหินี รากกรุงเขมา รากมะแว้งเครือ รากจิงจ้อใหญ่ มหาหิงคุ์ ผลจันทน์เทศ เทียนดำ เทียนขาว ยา 14 สิ่ง เสมอภาค ทำเป็นจุลละลายน้ำนมโคก็ได้ ส้มมะงั่วก็ได้ (ชยันต์ และคณะ, 2542)
 
หรืออีกสูตรที่ใช้แก้ลมอัมพาต (ลมไม่เดิน)
 
ถ้ามิถอยให้เอาดีงูเหลือม พิมเสน สิ่งละส่วน รากพริกไทย รากกรุงเขมา สิ่งละ 2 ส่วน ทำเป็นจุลละลายน้ำผึ้งรวงกินพอควร (ชยันต์ และคณะ, 2542)
 
             หรือจากตำราโรคนิทาน ก็พบว่า มีการใช้กรุงเขมาเป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาโรคหลายโรค เช่น โรคหัวใจ แก้ไอ แน่นท้อง จุกเสียด ริดสีดวง ท้องร่วง โรคเลือด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นตำรับยาที่ประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด (เพ็ญนภา และ กาญจนา, มปพ)
 
 
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรงเขมา หรือเครือหมาน้อย
             นอกจากจะมีการกล่าวถึงสรรพคุณในตำราของแพทย์แผนโบราณแล้ว ในแพทย์แผนปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาถึงสรรพคุณของกรุงเขมาด้วย ดังที่ เภสัชกรหญิงจุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก ได้บันทึกไว้ในหนังสือสมุนไพรบำบัดเบาหวาน 130 ชนิด ว่า กรุงเขมา มีสรรพคุณหลายอย่างและใช้ได้ทุกส่วนของต้น คือส่วนของราก ใช้ลดน้ำตาลในเลือด แก้ไข้ แก้ลม แก้เสมหะ บำรุงหัวใจ แก้ท้องร่วง แก้บวม ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย ส่วนของต้น ดับพิษไข้ แก้ระดูพิการ ส่วนของเปลือกและแก่น บำรุงโลหิต แก้ไข้ แก้ระดูพิการ ส่วนของเนื้อไม้ รักษาโรคปอด โรคโลหิตจาง และส่วนของใบ แก้หิด พอกแผลฝี ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของกรุงเขมาซึ่งมีดังนี้ ลดน้ำตาลในเลือด ทำให้หัวใจเต้นช้าลง กดระบบทางเดินหายใจ ต้านฮิสตามีน ยับยั้งการหดเกรงของกล้ามเนื้อ ต้านการชัก เพิ่มน้ำลาย ม่านตาขยาย กดระบบประสาทส่วนกลาง กดระบบทางเดินหายใจ บำรุงหัวใจ ลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ต้านเชื้อรา แบคทีเรีย ยีสต์ คลายกล้ามเนื้อเรียบ และได้มีการทดสอบความเป็นพิษ เมื่อฉีดสารสกัดใบและกิ่งด้วยน้ำ หรือแอลกอฮอล์เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ขนาดต่ำที่สุดที่เป็นพิษคือ 1 มิลลิลิตร ต่อตัว และเมื่อฉีดสารสกัดแอลคาลอยด์เข้าหลอดเลือดหนูถีบจักร ขนาดที่สัตว์ทดลองทนได้ คือ 50 มิลลิกรัม ต่อกรัม และในกระต่ายเมื่อฉีดสารสกัดรากด้วยแอลกอฮอล์-น้ำ (1:1) เข้าช่องท้อง หรือใต้ผิวหนัง พบว่า ขนาด 10 กรัม ต่อกิโลกรัม ไม่พบพิษ (Roy et al, 1952 อ้างถึงโดย จุไรรัตน์, 2548) ส่วนในกระต่าย พบว่าเมื่อฉีดสารสกัดด้วยน้ำเข้าหลอดเลือด ขนาด 0.4 กรัม ต่อตัว ไม่พบพิษ (Makkhasmit et al, 1971 อ้างถึงโดย จุไรรัตน์, 2548) และจากรายงานผลการทดลองในประเทศอินเดีย เมื่อปี ค.ศ.1979 ใช้สารสกัดจากส่วนเหนือดินของกรุงเขมาที่สกัดด้วยน้ำ และแอลกอฮอล์ (1:1) ในสัตว์ทดลอง พบว่าสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ (Tripathai et al, 1979 อ้างถึงโดย จุไรรัตน์, 2548)
 
             สารสำคัญที่พบในกรุงเขมา พบว่ารากมีปริมาณของแอลคาลอยด์สูง แอลคาลอยด์ที่พบมี hayatine hyatinine sepurrine bevurine cissampeline และ pelosine และยังพบ Quercitol และ sterol (จุไรรัตน์, 2548) สาร hayatine แสดงฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ และลดความดันเลือด (ชยันต์ และคณะ, 2542) ในพืชชนิดนี้มีสารสำคัญคือ alkaloid cycleine ซึ่งมีฤทธิ์ต่อหัวใจ (ก่องกานดา และ ลีนา, 2545)
 
              การที่น้ำคั้นที่ได้จากการขยี้ใบกรุงเขมากับน้ำ เมื่อตั้งทิ้งไว้ 10-15 นาที สามารถเซ็ตตัวเป็นเยลที่มีลักษณะคล้ายวุ้นได้ เพราะในใบของกรุงเขมามีเพคตินเป็นองค์ประกอบ และในปี 2546 พิเชษฐ ก็ได้ทำการศึกษาหาปริมาณของเพคตินที่มีในหมาน้อย พบว่าจากในหมาน้อย 100 กรัม สามารสกัดเป็นเพคตินได้สูงถึง 30 กรัม หรือคิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ซึ่งจากคุณสมบัติของเพคตินเองสามารถดูดซับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ ซึ่งหากรับประทานจะช่วยลดปัญหาหลายอย่าง เช่น ปริมาณคอเลสเตอรอล แล้วหากมีการนำมาปรุงเป็นอาหารหรือของหวานให้เด็กนั้นเราจะได้ทั้งเป็นอาหารกินเล่นที่มีประโยชน์ ไม่ใช่แค่วุ้นใส่น้ำตาล อย่างที่เด็กรับประทานอยู่ทุกวันนี้ จะเป็นขนมที่พ่วงยาบำรุง ยาแก้ร้อนใน รวมไปถึงแก้ปวดท้องได้อีกด้วย จะเห็นว่ามีประโยชน์มากมายจากการรู้จักกับกรุงเขมาพื้นท้องถิ่นตัวนี้
 
               จากที่กล่าวมาจะเป็นว่ากรุงเขมาเป็นพืชป่าที่มีคุณค่าทางยาอีกชนิดหนึ่งที่น่าจะมีการนำมาปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน เพื่อเป็นการช่วยอนุรักษ์พืชท้องถิ่นให้คงอยู่กับเราไปได้นานเท่านาน เพราะจากการที่ได้ไปเดินสำรวจเพื่อหากรุงเขมาจากป่าธรรมชาติด้วยตัวเอง ปรากฏว่าเดินจนเหนื่อยทั้งที่เลือกเดินสำรวจในแถบที่มีการบอกเล่าว่าเคยมีกรุงเขมาอยู่อย่างดาษดื่น ก็ยังไม่ปรากฏเห็นต้นกรุงเขมาแม้แต่ต้นเดียว ที่จะพบบ้างก็ตามที่นาหรือที่สวนที่มีเจ้าของนำมาปลูก นั่นก็เป็นผลมาจากการบุกรุกพื้นที่แหล่งที่อยู่ของเดิมของกรุงเขมาใช้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง ยางพารา หรือพืชอื่นๆ ที่เมื่อปลูกต้องรื้อป่าออกทำให้พื้นที่ป่าลดลงอย่างเร็ว ยิ่งการปลูกมันสำปะหลังกับยางพาราที่มีการไถพรวนดิน ทำให้เหง้าของหมาน้อยลอยขึ้นมาและตายในที่สุด แต่ยังไม่ร้ายเท่ากับการใช้ยากำจัดวัชพืช เมื่อมีการกำจัดวัชพืชมากในการปลูกยางพารา ซึ่งจะทำลายพืชคลุมดินทั้งหมด รวมไปถึงหมาน้อยที่เป็นพืชที่อยู่ใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ด้วย และจากการสอบถามในกลุ่มผู้ผลิตต้นกล้าจำหน่ายได้ความว่า ปัจจุบันในป่าที่อยู่ใกล้หมู่บ้านไม่ค่อยพบต้นกรุงเขมาแล้ว ที่จะพบได้ก็ต้องเข้าไปในป่าลึกหรือบนเขาที่ยังไม่มีใครเข้าไปรบกวนป่านั่นเอง หากเราช่วยกันปลูกคนละต้นสองต้นไว้ที่บ้าน จะเป็นการช่วยกันอนุรักษ์พันธุ์ด้วยแล้วยังมีพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์หลายอย่างไว้ที่บ้านของเราด้วย
 
             สำหรับการปลูกกรุงเขมานั้นเป็นเรื่องไม่ยุ่งยาก เพราะกรุงเขมาเป็นพืชป่าที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ชอบดินร่วนมีอินทรียวัตถุสูง หรือดินปนลูกรัง ชอบอยู่ใต้ร่มไม้ใหญ่ แต่ไม่ชอบที่แฉะน้ำขัง หากมีโอกาสเข้าไปในป่าแล้วพบต้นกรุงเขมาก็สามารถขุดแบ่งต้นจากป่ามาปลูกก็ได้ หรือถ้าไม่มีโอกาสได้เข้าไปในป่า ก็สามารถเลือกซื้อต้นกล้ากรุงเขมาตามร้านจำหน่ายกล้าไม้ได้ ในราคาประมาณต้นละ 10-15 บาท อาจจะปลูกในกระถางหรือปลูกลงดินเลยก็ได้ กรุงเขมาเป็นพืชป่าจึงไม่ชอบปุ๋ยเคมีเพราะว่าความเข้มข้นปุ๋ยสูง จะทำให้ต้นกรุงเขมาเปื่อยและตายได้ ดังนั้น จึงควรให้ปุ๋ยชีวภาพเป็นหลัก และเนื่องจากกรุงเขมาเป็นไม้เถา ดังนั้น เมื่อนำต้นกล้ากรุงเขมามาปลูกเมื่อเริ่มโตและเริ่มเลื้อยอาจจะเอากระถางไปวางไว้ใกล้ๆ ต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ต้นกรุงเขมาเลื้อยขึ้นต้นไม้ใหญ่ หรือทำค้างให้เช่นเดียวกับการปลูกถั่ว ปลูกบวบ ก็ได้ ส่วนเรื่องศัตรูของกรุงเขมาที่พบเป็นหลักคือ หนอนกระทู้ และหอยทาก จะเจอกับปัญหานี้โดยเฉพาะในฤดูฝน ในช่วงต้นกล้าปลูกใหม่ แต่ถ้าต้นโตแข็งแรงแล้ว แม้จะเจอหนอนหรือหอยก็ไม่มีผลอะไร
 
 
 
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
แงววววว's profile


โพสท์โดย: แงววววว
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: แม่หมูอุ๊, Darius, เพ้ยเพ้ย, แมวฮั่ว แมวขี้งอน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยของในร้านนี้หยิบได้ฟรีทุกชิ้นคนไข้วัย 72 ติดเชื้อโควิดนาน 613 วัน ก่อนกลายพันธุ์ในร่างกายกว่า 50 ครั้งปูทะเลที่หนักที่สุดในโลกiPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!เกมพลิก!! เมื่อหนุ่ม ๆ เเอบเเม่ไปหาปลา เกือบโดนด่า เเต่พอเห็นลูกได้ปลาตัวใหญ่กลับบ้าน เสียงเปลี่ยนทันทีเลยนะเเม่วันนี้ที่รอคอย! กอดทั้งน้ำตา..หนุ่มตามหาแม่แท้ๆ นานกว่า 29 ปีจนเจอ5 ราศีที่มีพญาครุฑคุ้มครอง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวมุสลิมตันหยงมัสปลื้มใจบิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ ไม่แบ่งแยกศาสนานกอันตรายที่สุดในโลกปูทะเลที่หนักที่สุดในโลกเกิดเหตุม้วนเหล็กกลิ้งทับคนตาย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
5 อันดับคณะที่เรียนยากที่สุดอาชีพที่เหมาะกับวันเกิดปูทะเลที่หนักที่สุดในโลกdefine: นิยาม จำกัดความ
ตั้งกระทู้ใหม่