ความเข้าใจผิดอย่างมากเกี่ยวกับความขัดแย้งปาเลสไตน์-อิสราเอล
โดย George Orwell
ความ เข้าใจผิดอย่างมากเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์-อิสราเอลคือการมอง ว่าเป็น “รัฐ” สองแห่งที่ทำสงครามกัน ผิดครับ ความจริงต้องบอกว่าเป็นสงครามที่ฝ่ายผู้ปกครอง (the occupier) ที่กระทำต่อผู้ถูกปกครอง (the occupied) มากกว่า เพราะในช่วงกึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายไม่เคยเท่าเทียมกันเลย อิสราเอลเอาเปรียบและกดขี่ปาเลสไตน์อย่างโหดร้ายมาโดยตลอด
ดินแดนที่เรียกกันว่าเป็น State of Israel เป็นรูปเป็นร่าง ขึ้นมาไม่ถึงกึ่งศตวรรษดี ดินแดนแถบนี้ทั้งหมด เดิมเป็นของชนชาติปาเลไสตน์ โดยมียิวเป็นชนส่วนน้อยไม่ถึง 20% แต่ปัจจุบัน อิสราเอลบุกเข้าไป “ยึดครอง” พื้นที่ของปาเลสไตน์ทั้งที่ถูกกฎหมาย (ตามมติองค์การสหประชาชาติ) และผิดกฎหมาย (settlements ) เหลือพื้นที่ให้ปาเลสไตน์อยู่อาศัยไม่ถึง 20% กลับตาลปัตรกัน แถม 20% นั้นยังถูกรุกล้ำเข้ามาตลอด สร้าง “กำแพง” สูง 25 เมตรขวางกั้นเขาไว้อีก
กว่ากึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ชนชาติอิสราเอลกดขี่ ข่มเหง ปิดกั้นการเติบโตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจของปาเลสไตน์มาโดยตลอด เอาแค่ง่าย ๆ เรื่องกฎหมาย ในพื้นที่ที่มีคนอิสราเอลและปาเลสไตน์อาศัยอยู่ด้วยกันอย่างในในพื้นที่ที่ คนอิสราเอ ลบุกเข้ามา “ยึดครอง” อย่างผิดกฎหมาย หรือที่เรียกกันหรู ๆ ว่า “settlements” ในเวสต์แบงก์นั้น ถ้ามีการกระทำความผิด คนอิสราเอลขึ้นศาลพลเรือน แต่ปาเลสไตน์ขึ้นศาลทหาร เพราะในพื้นที่ของปาเลสไตน์จะถูกปกครองด้วยกฎอัยการศึก เพราะฉะนั้น ถ้าเด็กยิวปาหินใส่เด็กปาเลสไตน์ และตอบโต้กันไปมา เด็กยิวขึ้นศาลพลเรือน เด็กปาเลสไตน์ถูกทรมานทรกรรม ถูกคุมขังและไต่สวนโดยศาลทหาร Unicef จึงทำรายงานออกมาเมื่อปี 2013 ระบุว่า อิสราเอลเป็นประเทศเดียวในโลกที่เอาเด็ก (ปาเลสไตน์) ขึ้นศาลทหาร
ถนนก็แยกกันระหว่างยิวกับปาเลสไตน์ ถนนยิวราดยางอย่างดี ถนนปาเลสไตน์ผุ ๆ พัง ๆ แถมยังมีการทำโรดบล็อกกั้นทำให้การเดินทางของปาเลสไตน์เกิดความไม่สะดวก การขนส่งสินค้าต้องใช้ต้นทุนมากกว่าพ่อค้าชาวยิว ทำให้ยิวขายสินค้าได้ราคาถูกกว่า อันนี้เป็นการกดขี่ทางเศรษฐกิจต่อปาเลสไตน์ของยิวในฐานะผู้ยึดครอง ส่วนที่ฉนวนกาซ่ายิวเป็นผู้ควบคุมเส้นทางเข้าออกทั้งหมด เก็บค่าศุลกากรสินค้า ขายน้ำ ขายไฟให้ในราคาแพง ดินแดนทั้งฉนวนกาซากับเวสต์แบงก์จึงเป็นเหมือน “คุกแบบเปิด” open air prison ดี ๆ นี่เอง