คลายสงสัย ทำไมพระเณรต้องควบขี่ม้ามาบิณฑบาต ที่สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย
ที่มาของการขี่ม้าบิณฑบาต สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง จ.เชียงราย
จากเดิมที่พระครูบาเหนือชัยเดินขึ้นลงเขาเพื่อรับบาตรจากญาติโยม ได้ฉันบ้าง ไม่ได้ฉันบ้าง ด้วยหนทางที่ห่าง ไกลกว่าท่านจะเดินถึงวัดก็เลยเวลาฉันเพล ชาวบ้านจึงสงสารนำม้ามาถวายเพื่อให้ท่านใช้เป็น พาหนะในการเดินทาง ซึ่งม้าดังกล่าวเป็นม้าที่มีลักษณะดี ร่างกายกำยำ พระครูบาจึงตั้งชื่อให้ว่า 'ม้าอาชาทอง' และใช้ชื่อดังกล่าว เป็นชื่อวัดด้วย จึงเป็นที่มาของ "วัดป่าอาชาทอง"
พระขี่มาบิณฑบาต สร้างความแปลกใจจนกลายเป็นหนึ่งใน 'unseen Thailand' เมื่อท่านมีม้าเป็นพาหนะจึงทำให้การบิณฑบาตและเดินทางเผยแผ่ธรรมะ ได้รับความสะดวกมากขึ้น แม้พระครูบาจะต้องขี่ม้าเป็นระยะทางไม่ต่ำกว่า 5 กิโลเมตรเพื่อรับบาตรจากสาธุชนผู้มีจิตศรัทธา
บางครั้งอาหารที่ได้มาตกหล่นไปกว่าครึ่ง เพราะเวลาม้าควบตะบึงไปตามทาง มันคดโค้ง ขรุขระ ของก็กระเด้ง กระดอนหล่นหมด พระครูบาท่านทนร้อนทนหนาวข้ามเขาลูกแล้วลูกเล่า เพื่อนำอาหารที่เหลือจากฉันไปแจกจ่าย ให้ชาวเขาเพราะพวกนี้ยากจนมาก ท่านก็เผยแผ่ธรรมะไปด้วย ท่านก็ไม่เคยบ่นไม่เคยท้อนะ ท่านอยากให้ชาวบ้าน มีความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
สุทธิพงศ์ ชุติมากุลทวี ผู้ประสานงานของวัดป่าอาชาทอง หนึ่งในลูกศิษย์ที่ติด ตามรับใช้พระครูบาเหนือชัยมาตลอด เล่าถึงภารกิจของพระครูบา