6 สัญญาณบ่งบอกว่าคุณอาจเป็นโรคไบโพลาร์ (อารมณ์สองขั้ว)
หลายๆคนอาจคิดว่า “ไบโพลาร์” หรือโรคอารมณ์สองขั้วคือผู้ที่มีอารมณ์แปรปรวน แต่อันที่จริงโรคอารมณ์สองขั้วคืออาการป่วยทางจิตที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใหญ่ชาวอเมริกันปีละราว 5.7 ล้านคน ที่สำคัญผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมักจะเพิกเฉยต่อสัญญาณและไม่ยอมเข้ารับการรักษาอันเนื่องมาจากความกลัวการเสื่อมเสียชื่อเสียงโดยหารู้ไม่ว่าโรคนี้จะทำให้พวกเขาใช้ชีวิตลำบากอย่างไม่น่าเชื่อ
โรคอารมณ์สองขั้วคือความผิดปกติของสมองซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ พลังงาน การทำกิจกรรม และความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปเราจะเรียกว่า “ภาวะอารมณ์” ซึ่งเป็นภาวะที่การกระทำ ความคิด และอารมณ์ (เช่นเดียวกับรูปแบบการนอนและการใช้พลังงาน) ของผู้ป่วยจะแตกต่างกว่าคนปกติ ภาวะอารมณ์มี 2 ประเภทหลักๆคือ 1. ภาวะคลุ้มคลั่งซึ่งเป็นช่วงที่ใช้พลังงานมากเกินไป เช่น กระวนกระวาย ไม่ยอมนอน ใจร้อน และประเภทที่ 2 คือภาวะซึมเศร้าซึ่งเป็นช่วงที่มีความเศร้ารุนแรง เลิกสนใจงานอดิเรกเดิมๆ อ่อนเพลีย เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับประทานอาหารและการนอน หรือแม้แต่คิดอยากฆ่าตัวตาย
แต่ใช่ว่าผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วทุกคนจะต้องคลุ้มคลั่งหรือเศร้าสลด บางคนอาจมีอาการรุนแรงน้อยหรือที่เรียกว่า “อาการคลุ้มคลั่งระดับต่ำ” ขณะที่บางคนอาจมี “อาการผสม” ซึ่งรวมองค์ประกอบทั้งสองอาการที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งกับภาวะซึมเศร้าเข้าด้วยกัน แต่บางคนอาจมีอาการรุนแรงและมีอาการประสาทหลอนอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากคุณมี 6 อาการด้านล่างนี้ก็อาจบ่งบอกว่าคุณเป็นโรคอารมณ์สองขั้ว ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือจิตแพทย์ของคุณก่อนที่จะสายเกินไป
ผู้ที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งหรือภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำ เช่น รู้สึกมั่นใจผิดปกติหรือรู้สึกว่าความจำเป็นในการนอนหลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด อาจจะรู้สึกดีมากกว่าที่จะคิดว่าตัวเองมีอาการบกพร่องทางจิต หลายคนที่เข้ารับการรักษาโรคอารมณ์สองขั้วอธิบายว่าพวกเขามีความสุขในภาวะคลุ้มคลั่งและไม่รู้สึกว่านี่คือปัญหา ดังนั้นหากคุณสังเกตว่าตัวเอง “อารมณ์ดี” สุดๆพร้อมกับมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนอนหรือความอยากอาหารติดต่อกันเป็นสัปดาห์หรือนานกว่านั้น คุณควรปรึกษามืออาชีพด้านสุขภาพจิต
2. เข้าสู่ระยะการแสดงออกและใช้จ่ายเงินอย่างมหาศาล
แม้ว่าการมีพลังงานล้นเหลือบวกกับความมั่นใจ แต่ผู้ที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งอาจใจร้อน ขี้กลัว หงุดหงิดง่าย และมีแนวโน้มว่าจะเกิดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การขับรถเร็วหรือไม่ปลอดภัย กิจกรรมทางเพศ หรือแม้แต่ใช้จ่ายเงินที่คุณไม่มี บางคนที่อยู่ในภาวะคลุ้มคลั่งอาจมีพลังงานเพิ่มขึ้น ไม่ยอมนอน รวมถึงรู้สึกหงุดหงิด โมโหง่าย กลัว และควบคุมตัวเองไม่ได้
3. อารมณ์เปลี่ยนหลังจากที่อดนอน
การนอนหลับไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วจะไปกระตุ้นภาวะอารมณ์ทำให้อารมณ์แปรปรวน ดังนั้นหากมีผลกระทบที่รุนแรงและทำให้อารมณ์ส่วนใหญ่เปลี่ยนไป คุณควรรีบปรึกษาแพทย์
4. มีพลังงานและซึมเศร้าในเวลาเดียวกัน
ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วในภาวะซึมเศร้าอาจจะดูไม่แตกต่างจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งมีแนวโน้มที่จะรู้สึกอ่อนเพลีย อารมณ์ลดต่ำลง และพฤติกรรมการนอนและความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วจะมีอาการที่เรียกว่า “อาการผสม” ซึ่งเป็นภาวะที่อาจทำให้รู้สึกกระวนกระวาย มีปัญหาในการนอนหลับและการรับประทานอาหาร รวมถึงมีความคิดฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่มีอาการผสมอาจรู้สึกเศร้าหรือหมดหวัง และในขณะเดียวกันก็รู้สึกมีพลังสุดๆ ดังนั้นหากคุณมีอาการคล้ายๆกันนี้ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
5. ดีก็ดีสุดๆ แย่ก็แย่สุดๆ
ภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำคือสภาพอารมณ์หรือระดับพลังงานที่สูงกว่าปกติแต่ยังไม่มากถึงขั้นที่จะทำให้เกิดความบกพร่องซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างจากความคลุ้มคลั่ง ผู้ที่มีภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำอาจไม่คิดว่านี่คือปัญหาหรืออาจจะมองว่าเป็นพัฒนาการเชิงบวก อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำสามารถเลื่อนขึ้นสู่ภาวะคลุ้มคลั่งหรือกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้
6. มักจะทิ้งทุกอย่างไปดื้อๆ
ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมีแนวโน้มที่จะพับแผนงานก่อนที่ทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์ด้วยเหตุผลต่างๆมากมายตั้งแต่ปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวไปจนถึงปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ เนื่องจากปกติพวกเขาจะใช้พลังงานที่เกิดขึ้นในระหว่างภาวะคลุ้มคลั่งระดับต่ำเพื่อเริ่มแผนงาน แต่พวกเขาก็ไม่สามารถรับมือได้หลังจากที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
บทสรุป
การค้นหาว่าตัวเองเป็นโรคอารมณ์สองขั้วหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยต้องรับมือกับอาการต่างๆมานานเกือบทศวรรษก่อนที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ข่าวดีคือโรคอารมณ์สองขั้วมักจะตอบสนองกับการรักษาแบบมืออาชีพได้ดี เช่น การใช้ยา การบำบัด และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แม้ว่าการเข้ารับการรักษาอาจจะดูน่ากลัวแต่ก็น่ากลัวน้อยกว่าการเผชิญกับโรคนี้ด้วยตัวเอง
Blogger : Gabrielle Moss
Source : bustle.com