หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เทียบชัดๆ ราคาประเมินราชการต่ำกว่าราคาตลาด

โพสท์โดย doctorsopon

เทียบชัดๆ ราคาประเมินราชการต่ำกว่าราคาตลาด

            หลายคนเข้าใจว่าราคาประเมินของทางราชการกับราคาซื้อขายจริง เป็นราคาเดียวกัน แท้จริงแล้วแตกต่างกันมาก และไม่มีสัดส่วนที่แน่ชัดเสียด้วย  ดร.โสภณ มาไขความจริงให้ทราบทั่วกัน

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) นำราคาที่ดินในใจกลางเมืองพื้นที่สำคัญ ๆ มานำเสนอ ได้แก่ กรุงธนบุรี เจริญกรุง ทองหล่อ นราธิวาสราชนครินทร์ เยาวราช รัชดาฯ ห้วยขวาง สยาม-เพลินจิต สาทร สีลม สุขุมวิท (ไทมสแควร์) และอโศกมนตรี และนำราคาประเมินราชการในปี 2555 และ 2559 มาเทียบกับราคาตลาดปี 2555 และ 2559 ที่ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ประเมินไว้ ดังนี้

 https://thaisocialwork.files.wordpress.com/2016/05/59-168.jpg

            สีลม ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 850,000 บาท/ตรว. ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 1,000,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 4% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 1,100,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,600,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 10% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 60% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            สยาม-เพลินจิต ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 700,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 900,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 6% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 1,400,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,900,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 111% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            สาทร ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 700,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 750,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 2% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 1,000,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,400,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 9% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 87% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            เยาวราช ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 700,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 700,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 0% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 850,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,200,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 9% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 71% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            สุขุมวิท (ไทมสแควร์) ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 500,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 650,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 7% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 1,000,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,850,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 17% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 185% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากที่สุดก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            นราธิวาสราชนครินทร์ ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 550,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 600,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 2% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 650,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 850,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 7% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 42% และที่ต่างกันไม่มากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีไม่มากนัก

            อโศกมนตรี ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 400,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 550,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 8% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 800,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,000,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 6% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 82% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            เจริญกรุง ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 400,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 500,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 6% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 700,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,000,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 9% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 100% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            กรุงธนบุรี ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 215,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 450,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 20% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 550,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 8% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 22% และที่ต่างกันต่ำสุดก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีไม่มากนัก

            ทองหล่อ ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 350,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 420,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 5% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 600,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 1,100,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 16% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 162% ทั้งนี้ที่ต่างกันมากเกือบที่สุดก็เพราะความคึกคักทางการตลาดในพื้นที่มีสูงมาก

            รัชดาฯ ห้วยขวาง ราคาประเมินราชการเป็นเงิน 350,000 บาท/ตรว ในปี 2555 แต่พอถึงปี 2559 เพิ่มเป็น 400,000 บาท/ตรว. หรือเพิ่มขึ้นปีละ 3% ในขณะที่ราคาตลาดเป็นเงินตารางวาละ 400,000 บาทในปี 2555 และเพิ่มเป็น 600,000 บาท/ตรว. แสดงว่าราคาตลาดเพิ่มขึ้น 11% ต่อปี หรือราคาตลาดสูงกว่าราคาราชการประมาณ 50% และที่ต่างกันไม่มากก็เพราะราคาราชการปรับสูงกว่าพื้นที่อื่น

            ดร.โสภณ เสนอว่า รัฐบาลควรเปิดกว้างในการเปิดเผยราคาซื้อขายบ้านและที่ดินในบริเวณต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบถึงการซื้อขาย เพื่อป้องกันการฟอกเงิน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลประกอบการตั้งราคาซื้อ-ขายที่เหมาะสม ทั้งนี้ในประเทศตะวันตก บุคคลสามารถไปขอรับข้อมูลการซื้อขายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือบางแห่งก็สามารถซื้อข้อมูลดังกล่าวในราคาถูกเพื่อใช้สำหรับการประเมินค่าทรัพย์สินของบริษัทประเมิน สถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ทำให้การประเมินค่าทรัพย์สินมีมาตรฐานที่ดี

            ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการประเมิน ทางราชการเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายจ้างบริษัทประเมินเอง เพราะค่าใช้จ่ายถูกมาก อย่างเช่นแปลงที่ดินที่มีการซื้อขายจริงขนาด 3 ไร่ ณ ราคาตารางวาละ 1.9 ล้านบาทที่ถนนชิดลมนั้น รวมเป็นเงินถึง 2,280 ล้านบาท หากคิดค่านายหน้า 3% ก็จะเป็นเงินสูงถึง 68.4 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างประเมินคงเป็นเงินประมาณ 20,000 บาทตามอัตราค่าจ้างมาตรฐานของสมาคมผู้ประเมินฯ เท่านั้น แต่หากเป็นกรณีของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย  คงคิดค่าจ้าง 100,000 บาท เพราะทำการประเมินอย่างละเอียดครบถ้วน

            อย่างไรก็ตามค่าจ้างประเมินไม่ว่าจะเป็น 20,000 บาท หรือ 100,000 บาท ก็เป็นเพียง 0.001% ถึง 0.004% เท่านั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ค่าจ้างประเมินเป็นเพียง 1 ใน 114,000 ส่วนของราคา - 1 ใน 22,800 ส่วนของราคาเท่านั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าค่าจ้างถูกมาก รัฐบาลสามารถจ้างผู้ประเมินได้มากกว่า 1 รายเพื่อการสอบทานข้อมูลได้อีกต่างหาก ซึ่งนับว่าคุ้มค่ามากเมื่อสามารถเก็บภาษีมาพัฒนาประเทศได้มากขึ้น

            ถ้าเราพัฒนาระบบประเมินค่าทรัพย์สินให้ดีกว่านี้ ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรม ประเทศชาติจะเจริญยิ่งขึ้น

ที่มา: http://www.area.co.th
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
doctorsopon's profile


โพสท์โดย: doctorsopon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: HellCat, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!จีนเปิดรูปสถานีรถไฟเเห่งใหม่ ได้เเรงบันดาลใจจากดอกบ๊วยที่กำลังเบ่งบาน เเต่ชาวเน็ตบอก เหมือนผ้าอนามัยมากกว่า 😆ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อย3 แมงป่องที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลกเพื่อน "ออกัส" ซัดแหลก..พระเอกดังต่างหาก ถูกข่มขู่ให้กราบเท้า!!ราศีที่อ่อนไหวและอ่อนแอที่สุดคำทำนายวันสิ้นโลกจาก"นักวิทยาศาสตร์"วันนี้ที่รอคอย! กอดทั้งน้ำตา..หนุ่มตามหาแม่แท้ๆ นานกว่า 29 ปีจนเจอรวมเด็ดเลขปฏิทินงวด2พ.ค.67
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ปูทะเลที่หนักที่สุดในโลกพ่อของ "น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์" เสียชีวิตแล้วจีนเปิดรูปสถานีรถไฟเเห่งใหม่ ได้เเรงบันดาลใจจากดอกบ๊วยที่กำลังเบ่งบาน เเต่ชาวเน็ตบอก เหมือนผ้าอนามัยมากกว่า 😆3 แมงป่องที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด บ้าน คอนโด ที่ดิน
ไอเดียแต่งสวนข้างบ้านรู้จักกับ บ้านดิน คืออะไร?8 เทคนิคเลือกบ้าน ช่วยให้อยู่แล้วไม่ร้อนสถาปนิก ทำงานอะไร หน้าที่และขั้นตอนการทำงานเป็นยังไง?
ตั้งกระทู้ใหม่