หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สงครามครูเสด (The Crusades)

โพสท์โดย Faithbook

      สงครามครูเสด เป็นชื่อของสงครามต่าง ๆ ระหว่างชาวคริสต์และชาวมุสลิมที่เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1095 และสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1291 หลังจากการทำสงครามนองเลือดถึง 8 ครั้ง
การใช้คำว่า “ครูเสด” (กางเขน) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ แสดงให้เห็นว่าสงครามเหล่านี้เริ่มต้นขึ้นในนามของสงครามศาสนา เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้สงครามเริ่มต้นขึ้น 

      นักประวัติศาสตร์อธิบายถึงสาเหตุของสงครามนี้ไว้ด้วยกันหลายประการ บางคนเชื่อว่าความเข้มงวดของชาวมุสลิมที่มีต่อผู้แสวงบุญชาวคริสต์ที่ไปเยือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการพิชิตของชาวเติร์กซัลจู๊ค จึงเป็นสาเหตุปลุกเร้าให้ชาวคริสต์หาทางที่จะยึดครองสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ [1]

      แต่ในทางตรงกันข้าม นักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งกล่าวเช่นนี้ว่า เป้าหมายต่าง ๆ ทางการเมืองและเศรษฐกิจของกษัตริย์และผู้นำชาวคริสต์ คือสาเหตุที่มาของสงครามเหล่านี้ [2]

      ความเจริญรุ่งเรืองของกลุ่มประเทศอิสลามและอารยธรรมอิสลาม เป็นสิ่งล่อใจของบรรดากษัตริย์เหล่านั้น ความใฝ่ฝันที่จะไขว่คว้าเอาประเทศเหล่านี้มาอยู่ในอำนาจครอบครองของตนเป็นหนึ่งในความปรารถนาของบรรดากษัตริย์ชาวตะวันตกตลอดมา

การเรียกร้องของจักรพรรดิคอนสแตนติโนเปิลเพื่อการทำสงคราม

         เพื่อที่จะทำให้ความฝันอันเก่าแก่ของตนเป็นจริงขึ้นมา อเล็กซิส [3] จักรพรรดิคอนสแตนติโนเปิล ได้ส่งจดหมายฉบับหนึ่งไปถึงสมเด็จพระสันตะปาปาในสมัยนั้น โดยขอร้องจากท่านให้เรียกร้องเชิญชวนชาวคริสต์สู่การทำสงครามเพื่อยึดครองบัยตุ้ลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) 

สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) 

       สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 (Urban II) [4] จึงจัดตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นจากคริสตจักรต่างๆ ของตะวันตกเพื่อนำเสนอเรื่องนี้ ผู้นำคริสตจักรทั้งหลายต่างเห็นพ้องตรงกันในการตัดสินใจนี้ และประกาศความพร้อมที่จะเริ่มต้นสงครามศักดิ์สิทธิ์กับชาวมุสลิม [5]

เสียงระฆังของสงครามดังขึ้น

      ไม่นานนักการรณรงค์อย่างเข้มข้นเพื่อโน้มน้าวประชาชนก็เริ่มต้นขึ้น ผู้นำคริสเตียนได้ปลุกระดมภายใต้หัวข้อที่ว่า “บัยตุ้ลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) เป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ของชาวคริสต์ และเป็นของคริสตชน” พวกเขาเตรียมความพร้อมชาวคริสต์สำหรับการทำสงคราม บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการยุยงส่งเสริมประชาชนให้ออกไปทำสงครามศาสนา คือพระคริสต์ผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อว่าปีเตอร์ [6] ซึ่งประชาชนรู้จักเขาในนาม “ฤาษี” เขาสวมใส่เสื้อผ้ามอมแมมและถือกางเขนขนาดใหญ่ ขี่ลาเดินทางไปยังส่วนต่างๆ ของยุโรป และรวบรวมประชาชนจำนวนมากมาอยู่กับเขา เพื่อการทำสงครามครั้งนี้ [7]

ปีเตอร์มหาฤาษี (Peter the Hermit) 

        สมเด็จพระสันตะปาปาได้ออกคำประกาศฉบับหนึ่ง และให้คำมั่นสัญญาว่าผู้ที่ย่างก้าวไปบนเส้นทางของการต่อสู้จะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาป

       “ทุกคนที่เดินทางไปบนเส้นทางนี้ ไม่ว่าจะโดยทางบกหรือทางทะเล หรือตายในขณะที่ทำสงครามกับพวกบูชาเจว็ด (หมายถึงพวกที่ไม่ใช่ชาวคริสต์) บาปต่าง ๆ ของพวกเขาจะถูกลบออกไปทันที ฉันจะให้สิ่งนี้โดยผ่านอำนาจของพระเจ้าที่ฉันได้รับมอบมา” [8]

        แต่กระนั้นก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ก็หวังว่าการเข้าร่วมในสงครามครูเสด จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาดีขึ้น อย่างไรก็ดี ไม่ใช่แค่เพียงคนธรรมดาสามัญเท่านั้นที่เข้าร่วมสงครามนี้ ทว่าแม้แต่ผู้นำคริสเตียนก็เข้าร่วมด้วย โดยไม่มีการยกเว้นจากกฎข้อนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 ได้กล่าวกับบรรดาพระคริสต์และบาทหลวงในที่ประชุมสภาคลีมองต์ (Council of Clermont) ว่า 

       “เยรูซาเล็มคือดินแดนสวรรค์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขภิรมย์และปัจจัยอำนวยสุขต่าง ๆ เป็นดินแดนที่ให้ผลผลิตที่ดีกว่าดินแดนอื่น ๆ ทั้งมวล เมืองนี้คือเมืองจักรพรรดิที่ตั้งอยู่ในใจกลางของโลก คาดหวังจากพวกท่านที่จะรีบรุดในการช่วยเหลือมัน" [9]

สงครามครูเสดครั้งที่หนึ่ง 

       ไม่นานนักกองทัพขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ของสังคมก็ถูกจัดตั้งขึ้น และเคลื่อนทัพมุ่งสู่บัยตุ้ลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่า จำนวนทหารของกองทัพครูเสดประมาณ 6 แสนคน

        กองทัพเริ่มต้นเดินทางสู่บัยตุ้ลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) ในระหว่างการเดินทางตลอดเส้นทางก็จะปล้นสะดมเมืองต่างๆ ที่ตั้งอยู่บนเส้นทางนั้น หลังจากเดินทางมาถึงกรุงเยรูซาเล็มก็ได้ปิดล้อมเมืองนี้ไว้เป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน และในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการยึดครอง ผู้รุกรานเหล่านั้นหลังจากที่เข้าไปในเมืองก็ทำการเข่นฆ่าสังหารประชาชนอย่างเหี้ยมโหด ซึ่งหาที่เปรียบไม่ได้ในหน้าประวัติศาสตร์

        พวกเขาจะใช้ดาบสังหารทั้งชาวยิวและชาวมุสลิมทุกคนที่พบเห็น ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ จนทำให้เมืองนี้นองไปด้วยเลือด นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกผู้หนึ่งได้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้ไว้เช่นนี้ว่า :"เฉพาะในวิหารโซโลมอน ศีรษะของมนุษย์จำนวนนับหมื่นถูกแยกออกจากร่างกาย และเท้าของพวกเขาจมอยู่ในกองเลือดจนถึงข้อเท้า จะให้ผมสามารถพูดอะไรได้อีก? ไม่มีใครสามารถเอาชีวิตรอดไปได้แม้แต่เพียงคนเดียว แม้กระทั่งชีวิตของบรรดาสตรีและเด็กๆ พวกเขาก็ไม่ละเว้น" [10] เป็นไปตามกระบวนการดังกล่าวนี้ สงครามครูเสดครั้งแรกจึงได้สิ้นสุดลงหลังจากระยะเวลาสามปี

สงครามครูเสดครั้งที่สอง

       ในปี ค.ศ. 1145 ชาวมุสลิมได้ยึดเอาเมืองโอเดสซากลับคืนมา ซึ่งถือเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก เมื่อข่าวการยึดเมืองนี้กลับคืนได้ไปถึงกรุงโรม สมเด็จพระสันตะปาปาจึงตัดสินใจระดมประชาชนออกสู่สงครามอีกครั้งหนึ่งเพื่อยึดเมืองนี้กลับคืน ไม่นานนักกองทัพของชาวคริสต์ก็เคลื่อนพลมุ่งสู่เมืองโอเดสซา ในครั้งนี้กองทัพแบ่งออกเป็นสองส่วน และเคลื่อนพลไปสู่ภูมิภาคนี้จากสองเส้นทาง

        แต่ในครั้งนี้ชาวเติร์กซัลจู๊กได้ใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ ได้สร้างความปราชัยให้กับกองทัพคูเสดทั้งสองส่วน และทำลายกองทัพนี้ลงเกือบสองในสามของจำนวนทหารในกองทัพ หลังจากความพ่ายแพ้ครั้งนี้กองทัพของครูเสดก็ไม่ยอมหยุดนิ่ง หลังจากการฟื้นฟูและเสริมความแข็งแกร่งให้กับกองทัพแล้ว พวกเขาได้ตัดสินใจบุกโจมตีกรุงดามัสกัสซึ่งถือเป็นเมืองยุทธศาสตร์หนึ่งของมุสลิม เพื่อที่จะยึดครองเมืองนี้ไปเป็นของตนเอง

       การเผชิญศึกในช่วงแรกแม้ว่ากองทัพครูเสดจะสามารถเอาชนะได้ก็ตาม แต่ด้วยเหตุผลต่างๆ ที่ไม่เป็นที่แน่ชัด ผู้บัญชาการกองทัพได้ออกคำสั่งให้ถอนทัพ หลังจากเวลาผ่านไปไม่กี่วันก็มุ่งหน้าเดินทางกลับสู่กรุงเยรูซาเล็มโดยมิได้บรรลุผลสำเร็จใดๆ [11] บางคนกล่าวว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดจากการสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างผู้บัญชากองทัพคูเสดกับผู้ปกครองของดามัสกัส แต่สิ่งนี้ก็เป็นเพียงการคาดการณ์เพียงเท่านั้น สาเหตุต่างๆ ของการถอนทัพครั้งนี้ไม่เป็นที่เปิดเผย และกลายเป็นความลับหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์

       เป็นเวลายาวนานหลายทศวรรษที่สันติภาพในระดับหนึ่งเกิดขึ้นในระหว่างประเทศต่างๆ ของอิสลามและของคริสเตียน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1187 เรโนลต์ โดชาเตียน เจ้าชายแห่งอันติอ๊อก (Antioch) ได้กระทำการที่ไร้ความเป็นสภาพบุรุษด้วยการโจมตีกองคาราวานการค้าของมุสลิมที่กำลังมุ่งหน้าไปยังนครมักกะฮ์ ทำให้มุสลิมเกิดความโกรธแค้น เจ้าชายองค์นี้ได้ปล้นสะดมทรัพย์สินของกองคาราวาน และไม่เพียงเท่านั้น ยังได้ออกคำสั่งให้สังหารบรรดาบุรุษของกองคาราวานนี้ และจับกุมตัวบรรดาสตรีและเด็กไปเป็นเชลย

ซอลาฮุดดีน อัยยูบี 

       ในช่วงเวลานี้ ซอลาฮุดดีน อัยยูบี ผู้ปกครองซีเรียได้เรียกร้องให้เรโนลต์ปล่อยตัวเชลยศึกและจ่ายค่าสินไมทดแทนเลือดของผู้ที่ถูกฆ่าตาย แต่เรโนลต์ไม่ได้ให้ความสนใจ และยังปฏิเสธที่จะให้การต้อนรับคณะผู้แทนของซอลาฮุดดีน ซอลาฮุดดีนจึงจัดกองทัพขนาดใหญ่และเคลื่อนพลไปยังกรุงเยรูซาเล็ม หลังจากสองสัปดาห์ของการิดที่ล้อมเมืองนี้ไว้ก็สามารถพิชิตเมืองนี้ได้สำเร็จ [12] 

สงครามครูเสดครั้งที่สาม

        การถูกโค่นล้มของกรุงเยรูซาเล็ม ได้สร้างความหวาดกลัวและความโกรธแค้นให้เกิดขึ้นในหมู่ชาวคริสต์อย่างใหญ่หลวง กองทัพครูเสดจึงตัดสินใจอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่งที่จะยึดครองกรุงเยรูซาเล็มกับมาเป็นของตน กองทัพครูเสดภายใต้การนำทัพของบุรุษผู้หนึ่งซึ่งมีนามว่า ริชาร์ด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักในนามกษัตริย์ “ริชาร์ดใจสิงห์” (Richard the Lionheart) ได้บุกโจมตีกรุงเยรูซาเล็ม แต่ก็ต้องเผชิญกับการต้านทานอย่างเต็มกำลังของซอลาฮุดดีนและกองทัพที่อยู่ภายใต้คำบัญชาของเขา ท้ายที่สุดเมื่อเอากันไม่ลง ซอลาฮุดดีนได้เสนอการทำสนธิสัญญาสงบศึกกับกษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์ ภายใต้สนธิสัญญาสงบศึกครั้งนี้ คริสเตียนสามารถที่จะเดินทางไปเยือนและแสวงบุญในกรุงเยรูซาเล็มได้อย่างอิสระ และสงครามครูเสดครั้งสามจึงสิ้นสุดลง [13] 

กษัตริย์ “ริชาร์ดใจสิงห์” (Richard the Lionheart)

สงครามครูเสดครั้งที่สี่

       ในปี ค.ศ. 1204 ชาวคริสเตียนได้บุกโจมตีเมืองคอนสแตนติโนเปิล และยึดเมืองนี้ไปเป็นของตน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสยดสยองที่สุด ทันทีที่พวกเขาเข้ามาถึงเมืองนี้ก็เริ่มการเข่นฆ่าสังหารอย่างไม่เคยมีมาก่อน พวกเขาไม่มีความเมตตาปรานีต่อใครทั้งสิ้น แม้แต่เด็ก ๆ ก็ถูกฆ่าตายในสภาพที่แสนอเนจอนาถ แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ แม้แต่คริสตจักรต่าง ๆ ของเมืองนี้ก็ไม่ปลอดภัยจากการปล้นสะดม [14]

สงครามครูเสดครั้งที่ห้า

        ในปี ค.ศ. 1218 สมเด็จพระสันตะปาปาได้ปลุกกระตุ้นชาวคริสต์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อส่งกองทัพไปยังภูมิภาคนี้หวังจะพิชิตประเทศอียิปต์ แต่ความทะเยอทะยานของผู้นำคริสเตียนไม่อาจทำให้ภารกิจครั้งนี้บรรลุผล ทั้งนี้เนื่องจากชาวฝรั่งซึ่งโดยปกติจะเข้าช่วยในกองทัพเพื่อทำศึกสงครามเหล่านี้ แต่ขณะนี้พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ร่มเงาของความสงบสุขและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พวกเขาจึงปฏิเสธที่จะร่วมเดินทางไปกับกองทัพครูเสด ในที่สุดชาวครูเสดก็ต้องกลับสู่ยุโรปโดยไม่สามารถไปถึงยังเป้าหมายที่กำหนดไว้ [15]

สงครามครูเสดครั้งที่หก

         แม้เหตุการณ์ครั้งนี้จะถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นสงครามหนึ่ง แต่ความเป็นจริงแล้วในเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้มีการหลั่งเลือดใดๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากในปี ค.ศ. 1229 กษัตริย์เฟรเดอริคที่ 2 (Frederick II) แห่งเยอรมนี หลังจากที่เคลื่อนทัพไปถึงดินแดนศักดิ์สิทธิ์ก็พบว่าชาวมุสลิมไม่มีความต้องการที่จะปกครองเหนือกรุงเยรูซาเล็ม สุลต่านแห่งอียิปต์ได้บรรลุข้อตกลงกับเฟรเดอริค และมอบกรุงเยรูซาเล็มให้อยู่ในอำนาจของเฟรเดอริค สงครามครูเสดครั้งที่หกจึงสิ้นสุดลงโดยที่ไม่มีการหลั่งเลือดแต่อย่างใด [16]

กษัตริย์เฟรเดอริคที่ 2 (Frederick II) แห่งเยอรมนี

สงครามครูเสดครั้งที่เจ็ดและแปด

         กรุงเยรูซาเล็มอยู่ในอำนาจของชาวคริสต์เป็นเวลา 15 ปี จนกระทั่งมุสลิมบางส่วนที่รู้สึกไม่พึงพอใจต่อการกระทำของกษัตริย์อียิปต์ พวกเขาได้บุกโจมตีกรุงเยรูซาเล็มและยึดมาเป็นของตน ในปี ค.ศ. 1250 พระเจ้าหลุยส์ ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (Louis IX of France) ตัดสินใจที่จะยึดครองเมืองศักดิ์สิทธิ์ เขาได้บุกโจมตีกรุงเยรูซาเล็ม แต่ก็ต้องเผชิญกับการต้านทานอย่างหนักหน่วงจากมุสลิม ไม่เพียงแต่แผนการของพระเจ้าหลุยส์จะไม่บรรลุความสำเร็จเท่านั้น ทว่าเขาเองยังถูกจับกุมตัวโดยมุสลิม หลังจากจ่ายค่าไถ่ตัวอย่างหนักอึ้งเขาจึงได้รับการปล่อยตัว [17]

 พระเจ้าหลุยส์ ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (Louis IX of France)

       สงครามครูเสดครั้งสุดท้ายก็เช่นกัน เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการยึดครองเมืองอันติอ๊อก (Antioch) หรือ “อันตอกียะฮ์” ในปี ค.ศ.1268 โดยชาวมุสลิม อีกครั้งหนึ่งที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 ตัดสินใจที่จะลองเสี่ยงโชคพร้อมกับลูกชายของเขา และสงครามครูเสดครั้งที่แปดจึงถูกจัดเตรียมขึ้น แต่เนื่องจากอายุขัยของเขาไม่อำนวยและได้เสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1270 สงครามครูเสดครั้งสุดท้ายจึงสิ้นสุดลงไปด้วย [18]

      หลังจากการเสียชีวิตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แล้ว เมืองต่างๆ ที่เคยตกอยู่ในการยึดครองของชาวคริสต์ได้ถูกพิชิตคืนโดยมุสลิมเมืองแล้วเมืองเล่า เมืองเอเคอร์ซึ่งเป็นเมืองสุดท้ายที่ถูกยึดครองโดยชาวครูเสด และจากการพิชิตเมืองนี้ในปี ค.ศ. 1291 ยุคแห่งการครอบครองเมืองต่างๆ ของอิสลามโดยชาวคริสต์ก็สิ้นสุดลง

เชิงอรรถ

[1] อะลัดร์, จอห์น, ประวัติศาสตร์การปฏิรูปคริสตจักร, พิมพ์ปี 1947 (ปีอิหร่าน), สำนักพิมพ์บีนอ, หน้า 25

[2] เลวี่ บีเอล, ทิโมธี; สงครามครูเสด, แปลโดย ซุเฮล ซัมมี, สำนักพิมพ์กุกนูซ, ปี 1385 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้าที่ 11

[3] Alexius

[4] Urban II

[5] รันซีมาน, สตีเฟ่น, ประวัติศาสตร์ของสงครามครูเสด, แปลโดย มานูเจฮัร, สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, ปี 1384 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งแรก, เล่มที่ 1, หน้าที่142

[6] ปีเตอร์ฤาษี (Peter the Hermit)

[7] อะลัดร์, จอห์น, ประวัติศาสตร์การปฏิรูปคริสตจักร, พิมพ์ปี 1947 (ปีอิหร่าน), สำนักพิมพ์บีนอ, หน้า 25

[8] แวน โวริส, โรเบิร์ต เอ, ศาสนาคริสต์ในตำราต่างๆ, แปลโดยญะวาด บอกบอนี และ รอซูลซอเดะฮ์, สำนักพิมพ์สถาบันอิหม่ามโคมัยนี, ปี 1384 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งแรก, หน้าที่ 222

[9] ดูแรนท์, วีล , ประวัติศาสตร์อารยธรรม, แปลโดยอบูฏอลิบ ซอริมี และเพื่อนร่วมงาน, สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, ปี 1378 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้ง 6, เล่มที่4, หน้าที่ 786

[10] เลวี่ บีเอล, ทิโมธี : สงครามครูเสด, แปลโดย ซุเฮล ซัมมี, สำนักพิมพ์กุกนูซ, ปี 1385 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้าที่ 91

[11] รันซีมาน, สตีเฟ่น, ประวัติศาสตร์ของสงครามครูเสด, แปลโดย มานูเจฮัร, สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, ปี 1384 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งแรก, เล่มที่ 2,หน้าที่ 285-330

[12] เลวี่ บีเอล, ทิโมธี : สงครามครูเสด, แปลโดย ซุเฮล ซัมมี, สำนักพิมพ์กุกนูซ, ปี 1385 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้าที่ 122-125

[13] อาร์ กูรีก, เจมส์, ปลายยุคกลาง, แปลโดยมะฮ์ดี ฮะกีกัต คอฮ์, สำนักพิมพ์กุกนูซ, ปี 1385 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้าที่ 93

[14] รันซีมาน, สตีเฟ่น, ประวัติศาสตร์ของสงครามครูเสด, แปลโดย มานูเจฮัร, สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, ปี 1384 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งแรก, เล่มที่ 3,หน้าที่ 149 -150

[15] เลวี่ บีเอล, ทิโมธี : สงครามครูเสด, แปลโดย ซุเฮล ซัมมี, สำนักพิมพ์กุกนูซ, ปี 1385 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้าที่ 152

[16] หนังสืออ้างอิงเล่มเดิม, หน้าที่ 153

[17] ดูแรนท์, วีล, ประวัติศาสตร์อารยธรรม, แปลโดยอบูฏอลิบ ซอริมี และเพื่อนร่วมงาน, สำนักพิมพ์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม, ปี 1378 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้ง 6, เล่มที่4, หน้าที่ 814

[18] อาร์ กูรีก, เจมส์, ปลายยุคกลาง, แปลโดยมะฮ์ดี ฮะกีกัต คอฮ์, สำนักพิมพ์กุกนูซ, ปี 1385 (ปีอิหร่าน), พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้าที่ 97

 

ที่มา: http://www.islamicstudiesth.com/index.php/27-articles/282-the-crusades
ที่มา : แฟ้มข่าวและบทความ เว็บไซต์ www.sahibzaman.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Faithbook's profile


โพสท์โดย: Faithbook
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: ไทยเฉย, เทียร์, มารคัส, ท่านฮั่ว แมวขี้งอน
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ตำนานตลอดไป!! กับการประกวด Miss planet international 2024 บอกเลยว่า.. ที่สุดรวมเลขเด็ด! หวยแม่จำเนียร งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567ลูกค้ากินบุฟเฟ่ต์ 210 บาทไม่ยั้ง ชาวเน็ตห่วงร้านขาดทุน เจ้าของเผยคำตอบพลิกความคาดหมายสิงโตคู่หนึ่งซั่มกัน อย่างไม่แคร์สายตาฝูงควาย ที่ยืนดูอยู่ป้าติ๋มเผยความจริง ได้รับมรดก 100 ล้านบาทจากนายจ้างชาวฝรั่งเศสตามพินัยกรรมที่เขียนไว้วิกฤตแรงงาน! โรงงานดังย่านกิ่งแก้วเลิกจ้าง 900 คนรวด คนทำงานนาน 19 ปียังไม่รอดนับถือหัวใจ!! หนุ่มก่อสร้างขาพิการแต่ใจสู้ ทำงานได้เหมือนคนธรรมดา คนเเบบนี้น่านับถือจริง ๆหนุ่ม กรรชัย เปิดใจเรื่องช่อง 3 ปรับโครงสร้าง เผยเหตุผลไว้ผมยาว พร้อมตอบชัดจะตัดหรือไม่ชีวิตบนท้องถนน ในนิวยอร์กซิตี้ ช่วงปลายศตวรรษที่ 19"ลิลลี่ อะทิตยา" สาวหล่อสุดปังบนเวทีมิสแกรนด์ขอนแก่น กับฉายา "หนีเมียมาประกวด"ดูดวงการเงิน ราศีไหนจะมีโชคลาภช่วงสิ้นปีนี้?เลขเด็ด "ไอ้ไข่ให้โชค" งวดวันที่ 1 ธันวาคม 67 มาแล้ว..คอหวยอย่าพลาด!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ปลานกแก้วสีน้ำเงิน (Blue Parrotfish) ปลาที่สวยงามอีกหนึ่งสายพันธุ์ กับคุณค่าที่คู่ควรอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่ท้องทะเลตำนานตลอดไป!! กับการประกวด Miss planet international 2024 บอกเลยว่า.. ที่สุด"ลิลลี่ อะทิตยา" สาวหล่อสุดปังบนเวทีมิสแกรนด์ขอนแก่น กับฉายา "หนีเมียมาประกวด"สิงโตคู่หนึ่งซั่มกัน อย่างไม่แคร์สายตาฝูงควาย ที่ยืนดูอยู่
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ปลานกแก้วสีน้ำเงิน (Blue Parrotfish) ปลาที่สวยงามอีกหนึ่งสายพันธุ์ กับคุณค่าที่คู่ควรอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่ท้องทะเลส่องไทม์ไลน์ แจกเงิน 10,000 บาท เงินดิจิทัลเฟส 2-3 ใครได้เมื่อไหร่เช็กที่นี่รู้หรือไม่ว่า พิสตาชิโอ (Pistachio) นั้นไม่ใช่ถั่ว แท้จริงแล้วมันคือ . . .5 เหตุผลทำไมคุณควรลอง "Digital Detox" สักครั้งในชีวิต
ตั้งกระทู้ใหม่