หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สัมภาษณ์(ผู้เชี่ยวชาญ)หมีขั้วโลก

โพสท์โดย greenpeaceth

เขียน โดย Larissa Beumer

มาร่วมกัน เรียนรู้เกี่ยวกับหมีขั้วโลกที่แสนมหัศจรรย์จากนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหมีขั้วโลกมาหลายทศวรรษ

Thor S. Larsen ผู้ริเริ่มการวิจัยหมีขั้วโลก เขาทำงานในสาขาวิชาการตั้งแต่ พ.ศ.2508 ที่ Norwegian Polar Institute จากนั้นเขาก็กลายเป็นสมาชิกของ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN)

 และเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเรื่องหมีขั้วโลก (Polar Bear Specialist) เมื่อ พ.ศ.2511 ถึง พ.ศ.2528 ในการทำงานร่วมกับนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เขาได้ริเริ่มเสนอข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการอนุรักษ์หมีขั้วโลกและได้ลงนามใน พ.ศ.2516

หลังจากการไปเยือนอาร์กติกนานกว่า 50 ปี เขาได้อธิบายความรู้สึกของเขาถึงภูมิภาคนั้นว่าเป็น “เรื่องราวความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด”

Larissa Beumer นักรณรงค์อาร์กติกของกรีนพีซเยอรมนี ได้สัมภาษณ์เกี่ยวกับงานของเขา


การศึกษาหมีขั้วโลกใน พ.ศ.2508 มีลักษณะเป็นอย่างไร?

ณ เวลานั้น เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับหมีขั้วโลก เราไม่รู้ว่าหมีขั้วโลกในอาร์กติกนั้นเป็นประชากรกลุ่มเดียวกันทั้งหมดหรือเป็นประชากรที่แตกต่างกัน มีจำนวนเท่าไหร่ หรือวิธีการอพยพหรือชีววิทยาประชากรของพวกเขา เช่น การสืบพันธุ์หรืออัตราการเสียชีวิต

การประชุมทางวิทยาศาสตร์ครั้งแรกที่ Fairbanks มีความกังวลอย่างชัดเจนว่าหมีขั้วโลกถูกล่ามากเกินไปในหลายพื้นที่ แต่ไม่มีประเทศใดสามารถให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับจำนวนของหมีขั้วโลกในอาร์กติกได้ การประมาณจำนวนประชากรของหมีขั้วโลกในบางพื้นที่อยู่ระหว่าง 5,000 และ 19,000 ตัว แม้ว่าจำนวนที่สูงที่สุดที่ได้บันทึกไว้คือ 25,000 ตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียง “การคำนวณอย่างคร่าวๆ” มากกว่าการขึ้นอยู่กับการประมาณการที่อยู่บนพื้นฐานจากข้อมูลตามหลักวิทยาศาสตร์

ย้อนกลับไปใน พ.ศ.2510 เราเริ่มระบบการวิจัยหมีขั้วโลกใน Svalbard เราจับหมีขั้วโลก และทำสัญลักษณ์ที่หู เก็บตัวอย่างที่หลากหลาย และลงไปสำรวจในหลายพื้นที่ เพื่อที่จะนับจำนวนจากบนเรือและเครื่องบิน นอกจากนี้เรายังคุยกับนักล่าสัตว์เพื่อรวบรวมข้อมูลอีกด้วย

การลงสำรวจในสมัยก่อนมีความแตกต่างมากกับในปัจจุบัน 15 ปีที่ผ่านมา เราไป Kong Karls Land โดยใช้เพียงสกีที่ปราศจากเครื่องยนต์ ครั้งหนึ่งฉันเคยพักอยู่ที่ Edgeoya เป็นเวลา 16 เดือน เพื่อทำการสำรวจใช้แค่เพียงสุนัขเลื่อน ในพ.ศ.2516 เราเดินทางไปกับหน่วยลาดตระเวนซีเรียสในกรีนแลนด์ตามชายฝั่งตะวันออกเพื่อศึกษาหมีขั้วโลกที่นั่น การเดินทางสำรวจทั้งหมดนี้ เรามักจะพักที่กระท่อมขนาดเล็ก ประมาณ 4-5 ตารางเมตรเท่านั้น และเดินทางด้วยสกีทุกวัน คุณต้องทำทุกอย่างด้วยตัวคุณเอง ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติอันแสนบริสุทธิ์และโหดร้ายอย่างแท้จริง

ภาพโดย Thor S. Larsen

ทำไมคุณถึงต้องการศึกษาเกี่ยวกับหมีขั้วโลก?

เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับหมีขั้วโลกเลย จึงเป็นความท้าทายทางวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง และผมรู้สึกหลงใหลอาร์กติกมาก ฉันเคยอยู่ที่นั่นเพื่อทำงานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับนก คุณจะตกหลุมรักเมื่อคุณทำงานกับหนึ่งในบรรดาสัตว์ที่สวยงามและน่าทึ่งของโลก ผมโชคดีมากๆที่ได้ทำงานนี้

ภาพโดย Thor S. Larsen

คุณเคยเห็นหมีขั้วโลกมามากแค่ไหนแล้วในชีวิต?

ผมเคยเห็นหมีขั้วโลกมามากกว่า 2,000 ตัว จากนั้นผมก็หยุดนับ แต่เมื่อผมเห็นอีกครั้งในวันนี้ มันช่างสวยงามเหมือนครั้งแรกที่ผมเคยเจอ

การเผชิญหน้ากับหมีขั้วโลกที่น่าจดจำที่สุดของคุณเป็นอย่างไร?

ผมอธิบายไม่ถูกเลย อาจจะเป็นเวลาที่เราทำการสำรวจถ้ำของหมีตัวเมียด้วยสกี คุณจะได้สังเกตหมีตัวเมียกับลูกตัวเล็กๆของมันออกจากถ้ำเป็นครั้งแรก หลังจากที่ใช้เวลาหลายเดือนในการอดอาหาร มีเพียงการให้กำเนิดและการดูแลลูกที่เพิ่งเกิด ลูกๆของมันจะเริ่มเล่นและสำรวจโลกใหม่ มันมองมาที่คุณ คุณก็มองไปที่พวกมัน ช่วงเวลานั้นมันวิเศษมากจริงๆ

คุณจะรู้สึกอ่อนน้อมมากขึ้น เมื่อคุณทำงานที่อาร์กติกเป็นเวลาหลายปี และคุณจะเคารพธรรมชาติอย่างแท้จริง

 ภาพโดย Thor S. Larsen

ข้อตกลงของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN)ว่าด้วยการปกป้องหมีขั้วโลกในพ.ศ.2516 เป็นอย่างไร?

IUCN ได้ก่อตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านหมีขั้วโลก (Polar Bear Group) ใน พ.ศ.2508 เขาส่งคำเชิญส่วนตัวให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านหมีขั้วโลกในสหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ก และนอร์เว ผมโชคดีที่ได้เป็นหนึ่งในนั้น

กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเล็กๆ มีเพียงตัวแทนสองคนจากห้ารัฐในอาร์กติกและสำนักเลขาธิการขนาดเล็ก เราตัดสินใจที่จะจัดประชุมเล็กๆ   โดยมีเพียงผู้แปลภาษารัสเซียเป็นภาษาอังกฤษจากพนักงานของ IUCN ที่เหลืออยู่ในห้อง การนำเสนอและการปรึกษาหารือมีความตรงไปตรงมาและเปิดเผย เราท้าทายกันและกันเกี่ยวกับผลการวิจัยและการจัดการคำแนะนำ

การประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2511 หลังจากการประชุมนั้นทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นในการประชุมนานาชาติหรือข้อตกลงในการอนุรักษ์หมีขั้วโลก และเราติดตามการสนับสนุนนี้ในการประชุมครั้งต่อไปใน พ.ศ.2513 และ พ.ศ.2515

ในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศ IUCN ไม่ได้รับอนุญาตในการดำเนินการในข้อตกลงระหว่างประเทศ แต่ด้วยความช่วยเหลือของการวิจัยของเรา เราสามารถจัดทำร่างข้อตกลงระหว่างห้ารัฐในอาร์กติกได้

ห้าประเทศในอาร์กติกได้ลงนามในข้อตกลงในการอนุรักษ์หมีขั้วโลกใน พ.ศ.2516 และมีผลบังคับใช้ใน พ.ศ.2519 ข้อตกลงโดยทั่วไปมีการห้ามฆ่าหมีขั้วโลกทุกกรณีโดยไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายในประเทศและต่างประเทศ แต่มีข้อยกเว้นหนึ่งคือการล่าสัตว์แบบดั้งเดิมโดยชนพื้นเมือง เพื่อการดำรงชีวิตของพวกเขา

การกำหนดวัน เรียกว่าเป็นกรณีที่สำคัญของการร่วมมือระหว่างประเทศ ผมดีใจที่ผมสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัตินั้นและมีผลบังคับใช้ก่อนที่มันจะสายไป ก่อนที่ประชากรหมีขั้วโลกจะอยู่ในขั้นวิกฤต เพราะการล่าที่มากเกินไป

สิ่งใดที่เป็นภัยคุกคามอันใหญ่หลวงที่สุดต่อหมีขั้วโลกในปัจจุบันนี้ ?

ข้อตกลงที่ถูกลงนามใน พ.ศ.2516 เราคิดว่าหมีขั้วโลกได้รับการคุ้มครองตลอดไปแล้ว แต่วันนี้พวกมันเผชิญหน้ากับความท้าทายที่แตกต่างจากการล่าสัตว์โดยสิ้นเชิง

ทะเลน้ำแข็งกำลังถดถอยและน้อยลง ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับหมีขั้วโลกที่จะล่าแมวน้ำ สิ่งนี้มีผลต่อร่างกายของหมีขั้วโลก เมื่อหมีติดอยู่ที่ชายฝั่งในหน้าร้อน เมื่อทะเลน้ำแข็งลอยไปทางเหนือ มันสามารถมีชีวิตรอดโดยปราศจากอาหารได้ประมาณ 6 เดือน แต่หลังจากนั้นสุขภาพของพวกมันก็จะไม่สมบูรณ์ และพวกมันก็จำเป็นต้องใช้ไขมันสำรอง หมีบางส่วนก็กำลังตั้งครรภ์ เมื่อให้กำเนิดลูก ลูกๆของพวกมันจะมีน้ำหนักเพียง 500 กรัม เมื่อพวกมันออกจากถ้ำที่คลอดลูกในฤดูใบไม้ผลิ พวกมันจะมีน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม หมีตัวเมียต้องเลี้ยงดูลูกให้ถึงน้ำหนักนี้จากน้ำหนักร่างกายของพวกมัน หากแม่หมีไม่ได้รับอาหารที่เพียงพอเพื่อใช้สะสมไขมันที่จะสามารถใช้เลี้ยงลูกหลังคลอดในช่วงฤดูร้อนได้ พวกมันอาจจะแท้งหรือทารกในครรภ์อาจถูกดูดกลับเข้าไปเพื่อให้ตนรอดชีวิต และจะไม่สามารถมีลูกได้ในปีนั้น และน้ำแข็งที่น้อยลงก็มีผลต่อการสืบพันธุ์ของพวกมันอีกด้วย

การที่ทะเลน้ำแข็งหายไปยังมีผลต่อพื้นที่ของถ้ำที่ใช้คลอดลูก ถ้ำที่หมีขั้วโลกมักจะใช้คลอดลูกคือบนเกาะ เช่น เกาะ Wrangel ในประเทศรัสเซีย หรือ Hopen และ Kong Karls Land ใน Svalbard อย่างไรก็ตาม หากอาณาเขตทะเลน้ำแข็งไปไม่ถึงเกาะเหล่านี้ในฤดูใบไม้ร่วง หมีตัวเมียก็จะไม่ไปคลอดลูกที่นั่น

เมื่อผมทำการวิจัยที่ Kong Karls Land ใน พ.ศ. 2515 และ พ.ศ.2528 ในฤดูใบไม้ผลิมักจะมีอัตราการคลอดประมาณ 40-50 ตัว และแต่ละปีจำนวนถ้ำก็เพิ่มขึ้น นั่นเป็นผลจากการอนุรักษ์หมีขั้วโลกใน Svalbard ฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ.2552 หลังจากที่ฤดูหนาวมีน้ำแข็งในอัตราที่ปกติ เพื่อนร่วมงานของฉันก็พบอีก 25 ถ้ำ ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ.2553 น้ำรอบๆ Kong Karls Land ก็ปราศจากน้ำแข็ง ต่อมาในฤดูใบไม้ผลิ เราพบอีก 13 ถ้ำ ฤดูใบไม้ร่วงต่อมา น้ำก็ปราศจากน้ำแข็งอีกครั้ง และมีการพบถ้ำอีกเพียง 5 ถ้ำในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ.2555 เรากำลังสังเกตภาพเดียวกันนี้ในสถานที่อื่นๆอย่างเต็มที่ เพื่อนของฉันที่ทำงานบนเกาะ Wrangel บอกฉันว่าใน พ.ศ.2513 โดยปกติในแต่ละปีจะมีถ้ำ 300-400 ถ้ำ แต่ในปีที่ผ่านมานี้ มีถ้ำเพียง 30-40 ถ้ำเท่านั้น หากนี่จะกลายเป็นเรื่องปกติ ก็หมายความจะมีสมาชิกใหม่เกิดขึ้นน้อยมากในประชากรหมีขั้วโลก และนั่นเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเอาซะเลย

ปัญหาใหญ่อีกเรื่องก็คือมลภาวะสารพิษปนเปื้อนข้ามพรมแดนจำนวนมหาศาล เช่น สารมลพิษที่ตกค้างยาวนานและโลหะหนัก ซึ่งจะสะสมในห่วงโซ่อาหาร ดังนั้นหมีขั้วโลกจะมีความเสี่ยงมาก เพราะมันอยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร นักวิทยาศาสตร์คาดว่าสิ่งนี้มีผลต่อการสืบพันธุ์ของพวกมัน แต่เรายังไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆ แต่อย่างน้อยเราทราบดีว่า มลพิษของหมีขั้วโลกใน Svalbard นั้นสูงมาก

ภาพโดย Thor S. Larsen

สถานการณ์ของประชากรหมีขั้วโลกในปัจจุบันนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ตามข้อมูลที่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Specialist Group) ประกาศใน พ.ศ.2555 การเพิ่มขึ้นประชากรหมีขั้วโลกจำนวนมากกำลังลดลง มีเพียงเล็กน้อยที่ยังเพิ่มขึ้นในระดับปกติ แต่ข้อมูลอีกครึ่งหนึ่งของอาร์กติกยังไม่เพียงพอ ตามข้อมูลระบุว่าประชากรหมีขั้วโลกกลุ่มหนึ่งเพิ่มขึ้น  แต่เป็นข้อมูลจาก พ.ศ.2543 โดยปกติเราต้องการข้อมูลที่ดีกว่า เพื่อทำให้การประมาณนั้นเชื่อถือได้

คุณคิดว่าหมีขั้วโลกจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้หรือไม่?

ผมไม่รู้ มีการถกเถียงมากมายเกี่ยวกับหมีขั้วโลกแต่ละสายพันธุ์เกิดขึ้นมานานแค่ไหนแล้ว ปัจจุบันนี้เราคิดว่าหมีขั้วโลกดำรงชีวิตมาเป็นเวลา 600,000 ปี บนโลก ในระยะ 600,000 ปีนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นมาก รวมถึงระยะเวลาที่น้ำแข็งได้ลดน้อยลง บางทีหมีขั้วโลกอาจปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตได้  แต่เราก็ทำได้แค่คาดเดาเท่านั้น นอกจากนี้มันขึ้นอยู่กับความเร็วของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านลบอื่นๆ เช่น มลพิษที่ส่งผลกระทบต่อประชากรหมี นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

มลพิษและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่งและเราสามารถแก้ไขได้ในระดับนานาชาติ เราจำเป็นต้องจัดการปัญหาเหล่านี้ให้ได้ แต่ยังเฝ้าดูผลกระทบด้านลบอื่นๆ เช่น ควบคุมการล่าสัตว์ที่ผิดกฎหมายอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลูกหมีขั้วโลกและตัวที่อายุครบ 1 ปีจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเคลื่อนย้ายควรจะถูกห้ามทั้งในและรอบๆพื้นที่ถ้ำ และควรจะมีการสำรวจถ้ำตามฤดูกาลปกติและการตรวจสอบการสืบพันธุ์ในประชากรหมีขั้วโลกด้วย

ภาพโดย Thor S. Larsen

มีแรงบันดาลใจที่จะทำเพื่อหมีขั้วโลกแล้วหรือยัง? ร่วมลงชื่อเพื่อปกป้องอาร์กติกที่นี่

Larissa Beumer นักรณรงค์ด้านอาร์กติกของกรีนพีซเยอรมนี เธอได้สัมภาษณ์ Thor S. Larsen ใน พ.ศ.2558

เรื่องราวการสัมภาษณ์นี้ ต้นฉบับถูกตีพิมพ์โดยกรีนพีซเยอรมนี


ที่มา: Greenpeace Thailand

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
greenpeaceth's profile


โพสท์โดย: greenpeaceth
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: Bogie PJ Hihi, ginger bread, jujuuuud
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
วิธีล้างผักให้สะอาดปราศจากสารพิษตกค้างจริงไหมที่คำว่า ‘Salary’ มาจาก ‘Salt’ เพราะทหารโรมันรับค่าจ้างเป็นเกลือ?อยากโกอินเตอร์? เจาะลึกวิธีหางานต่างประเทศ 2567 แบบถูกกฎหมาย ได้สิทธิเต็มที่ ไม่มีโดนหลอก!ชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย
ตั้งกระทู้ใหม่