สมัยเมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชยังเป็นพระยุพราชอยู่นั้น ได้มีพระชายาเป็นเจ้าหญิงองค์หนึ่ง ที่ประทับอยู่ในเมืองใกล้ๆสาญจี และทรงมีพระโอรสและพระธิดากับพระชายาพระองค์นั้น นั้นก็คือ เจ้าชายมหินท์ และเจ้าหญิงสังฆมิตตา ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุและภิกษุณี
ต่อมาเมื่อพระเจ้าอโศกขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ได้ทำการสังคยาพระไตยปิฎก ครั้งที่ 3 แล้วได้ส่งพระสมณะทูตออกไปถึง 9 สาย ซึ่งสายของพระมหินท์เถระนั้น ได้นำคณะสงฆ์ไปลังกาแล้วเผยแพร่พระศาสนาจนสำเร็จ
ซึ่งการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในลังกาครั้งนั้น ก็ปรากฎว่าเจ้าหญิงอนุฬา พระขนิษฐาของพระเจ้าติสสะ กษัตริย์ของลังกาได้บรรลุโสดาบัน จึงได้ขอบวช พระมหินท์เถระจึงแนะนำให้ทูลเชิญพระน้องนาง คือพระนางสังฆมิตตาเถรี พร้อมคณะภิกษุณีสงฆ์อีกจำนวน 10 รูป เสด็จมาลังกาในปีถัดมา และจัดการอุปสมบทให้เจ้าหญิงอนุฬาและข้าราชบริพารที่ตามเสด็จเป็นจำนวนมาก
พระสังฆมิตตาเถรีช่วงที่เสด็จไปลังกานั้น ก็มีพระชนม์ถึง 32 พรรษา และทรงมีพระโอรส 1 องค์ คือสามเณรที่ตามเสด็จพระมหินท์มาลังกาก่อนหน้า
พระนางสังฆมิตตาเถรีนี้ พระชนมายุอ่อนกว่าพระมหินท์ ซึ่งเป็นพระเชษฐาเพียง 1 ปีเท่านั้น ทั้งสองพระองค์ทรงช่วยกันประดิษฐานพระพุทธศาสนาในเกาะลังกาตลอดทั้งชีวิต พระมหินท์เถระปลงสังขารเมื่ออายุ 80 ปี ฝ่ายพระสังฆมิตตาเถรีก็ปลงสังขารอายุเท่ากัน ในปีถัดไป
จนถึง ปี ค.ศ.1017 กษัตริย์ฮินดูจากอินเดียใต้ เข้าโจมตีเกาะลังกา เป็นเหตุทำให้สูญเสียทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ไปในครั้งนั้น
.....แต่เรื่องนี้ยังมีต่อไป ในฝ่ายของมหายานว่า
ก่อนหน้าที่กษัตริย์ฮินดูจะเข้ารุกราน ในปี 1017 นั้น
ได้มีภิกษุณีสงฆ์ ออกเดินจากเกาะลังกาไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ.433 แล้วได้ทำการอุปสมบทให้แก่สตรีชาวจีนเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ภิกษุณีสงฆ์ของจีนนั้น ยังคงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ และไม่ขาดวงศ์มาจนถึงปัจจุบัน