ปรากฏการณ์เอลนีโญ และ ลานีญา กับภาวะโลกร้อน มันแตกต่างกันอย่างไร !!
ใครขี้เกียจอ่านไปดูคลิปด่านล่างเลย สั้นๆเข้าใจง่าย !!
เอลนีโญ และ ลานีญา ทั้ง 2 คำนี้เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทร ทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร เกิดจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดความผกผันของกระแสอากาศโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก
คำอธิบายสั้น ๆ ที่มักจะเป็นคำตอบจากผู้รู้ หรือนักวิชาการ เมื่อถูกถามถึง เอลนีโญ และ ลานีญา ก็คือ เอลนีโญ ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกัน
ลานีญา ทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ความหมายของเอลนีโญ และ ลานีญา
เอลนีโญ มีความหมายแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มบุคคล คำว่า เอลนีโญ (el nino) ในภาษาสเปน หมายถึง เด็กชายเล็ก ๆ แต่หากเขียนนำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ (El Nino) หมายถึง บุตรพระเยซูคริสต์ โดยปรากฏคำนี้มาตั้งแต่ก่อนเริ่มศตวรรษที่ 20 โดยชาวประมงในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ใช้ตั้งชื่อกระแสน้ำอุ่น เมื่อเกิดปรากฏการณ์กระแสน้ำอุ่นผิดปกติขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลที่ไหลเลียบชายฝั่งของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุก ๆ 2-3 ปี หรือมากกว่านั้น ตั้งชื่อว่า เอลนีโญ เนื่องจากจะมีน้ำอุ่นปรากฏอยู่ตามชายฝั่งเปรูเป็นฤดู ๆ โดยเริ่มประมาณช่วงคริสต์มาส น้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่น้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งประเทศเปรและเอกวาดอร์นานประมาณ 2-3 เดือน แต่บางครั้งน้ำอุ่นที่ปรากฏจะคงอยู่นานเกินกว่า 2-3 เดือน หรืออาจจะยาวนานข้ามปี ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาและห่วงโซอาหาร
เอลนีโญ แม้จะมีความหมายหลากหลาย แต่ความหมายอันเป็นที่รับรู้และเข้าใจกันโดยทั่วไป ก็คือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศและกระแสน้ำในมหาสมุทร ทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร ปรากฏการณ์เอลนีโญ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า El Nino-Southern Os-cillation หรือเรียกอย่างสั้น ว่า ENSO ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้นั่นเอง
สำหรับ ลานีญา มีชื่อใช้เรียกหลากหลาย เช่น ลานีญา (La Nina) แปลว่า บุตรธิดา หรือน้องของเอลนีโญ
(El Nino’s Sister) สภาวะตรงข้ามเอลนีโญ สภาวะที่ไม่ใช่เอลนีโญ และฤดูกาลที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลเย็น เป็นต้น แต่ก็มีเพียงความหมายเดียว คือ ปรากฏการณ์ที่ตรงกันข้ามกับเอลนีโญ นั่นคือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า
ปรากฏการณ์ เอลนีโญ และ ลานีญา
ตามปกติเหนือน่านน้ำมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนหรือมาหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเขตศูนย์สูตรจะมีลมสินค้าตะวันออก พัดปกคลุมเป็นประจำ ลมนี้จะพัดพาผิวหน้าน้ำทะเลที่อุ่นจากทางตะวันออกบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ เปรู และชิลี ตอนเหนือ ไปสะสมอยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งอินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตกจนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60-70 เซนติเมตรแล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้มีปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเล และการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู เรียกว่าสภาวะปกติหรือสภาวะที่ไม่ใช้
เอลนีโญ
ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะเกิดขึ้นจากกระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทางพัดจากประเทศอินโดนีเซียและเอ้เตเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้ ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง
การเกิดเอลนีโญส่วนมากจะทำให้น้ำอุ่นผิดปกติ จะปรากฏครั้งแรกบริเวณชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์และเปรูในเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม แต่ละครั้งที่เกิดขึ้นอาจจะแตกต่างไปจากรูปแบบปกติดังกล่าวนี้ได ไม่จำเป็นว่าจะต้องเกิดเช่นนี้เสมอไป ดังตัวอย่างเช่น เอลนีโญ ปี พ.ศ. 2525-2526 อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งอเมริกาใต้เริ่มอุ่นขึ้นช้ากว่ารูปแบบปกติหลายเดือน
ปรากฏการณ์ลานีญา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่ทว่ารุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปก ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุมตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู (รูปที่ 3)
อาจกล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้ง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลกบริเวณเส้นศูนย์สูตรเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ตัวอย่างของปรากฏการณ์ลานีญาที่เกิดขึ้นเมื่อ
พ.ศ. 2531-2532 พบว่า อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวต่ำกว่าปกติประมาณ 4 oC
ดัชนีชี้วัดขนาดของปรากฏการณ์
ดัชนีชี้วัดขนาดที่สำคัญและชัดเจนที่สุดตัวหนึ่ง คืออุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะทางตะวันออกหรือตอนกลางของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร อุณหภูมิยิ่งสูงกว่าปกติมากเท่าไร ปรากฏการณ์ยิ่งรุนแรงมากเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากรูปที่ 5 ซึ่งแสดงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่ต่างจากปกติในช่วงเอลนีโญที่รุนแรงมาก 2 ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ. 2525-2526 และ พ.ศ. 2540-2541
นักวิทยาศาสตร์แบ่งขนาดของเอลนีโญออกเป็น อ่อนมาก อ่อนปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก จากการศึกษาของ Quinn et al. (1987, p 14453) กล่าวไว้ว่า “ปรากฏการณ์ยิ่งมีความรุนแรงมากเท่าไร ปริมาณความเสียหาย การ
ถูกทำลาย และมูลค่าความเสียหาย ยิ่งสูงมากเท่านั้น” และได้อธิบายถึงความรุนแรง โดยผนวกเอาการเปลี่ยนแปลง
ทางกายภาพของมหาสมุทรกับผลกระทบที่เกิดขึ้นบนพื้นทวีปเข้าด้วยกันดังนี้
ขนาดรุนแรงมาก ปริมาณฝนสูงมากที่สุด มีน้ำท่วมและเกิดความเสียหายในประเทศเปรู มีบางเดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งสูงกว่าปกติมากกว่า 7 oC
ขนาดรุนแรง ปริมาณฝนสูงมาก มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง มีรายงานความเสียหายในประเทศเปรู มีหลายเดือนในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกใต้ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งสูงกว่าปกติ 3-5oC
ขนาดปานกลาง ปริมาณฝนสูงกว่าปกติ มีน้ำท่วมตามบริเวณชายฝั่ง ความเสียหายที่เกิดขึ้นในประเทศเปรูอยู่ในระดับต่ำ โดยทั่วไปอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกใต้จะสูงกว่าปกติ 2-3 oC
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่นำมาใช้กำหนดขนาดของเอลนีโญ ซึ่งรวมถึงตำแหน่งของแอ่งน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรบริเวณพื้นผิวมหาสมุทรซึ่งปกคลุมด้วยแอ่งน้ำอุ่นที่ผิดปกติ หรือความลึก (ปริมาตร) ของแอ่งน้ำอุ่นนั้น ยิ่งแอ่งน้ำอุ่นมีอาณาบริเวณกว้างและมีปริมาตรมากปรากฏการณ์จะยิ่งมีความรุนแรง เพราะจะมีความร้อนมหาศาลซึ่งจะมีผลต่อบรรยากาศเหนือบริเวณนั้นในกรณีที่เอลนีโญมีกำลังอ่อนบริเวณน้ำอุ่นมักจะจำกัดวงแคบอยู่เพียงแค่ชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ แต่กรณีเอลนีโซขนาดรุนแรงบริเวณที่มีน้ำอุ่นผิดปกติจะแผ่กว้างปกคลุมทั่วทั้งตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร
ผลกระทบต่ออุณหภูมิโลกของ “เอลนีโญ” ตรงข้ามกับ “ลานีญา”
นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในฤดูหนาวและฤดูร้อนของซีกโลกเหนือ (ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ และเดือนมิถุนายน-สิงหาคม) รูปแบบของฝนและอุณหภูมิหลายพื้นที่ผิดไปจากปกติ เช่น ในฤดูหนาว บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของแอฟริกาและตอนเหนือของประเทศบราซิลแห้งแล้งผิดปกติ ขณะที่ทางตะวันตกของแคนนาดา อลาสก้าและตอนบนสุดของอเมริกามีอุณหภูมิสูงผิดปกติ ส่วนบางพื้นที่บริเวณกึ่งเขตร้อนของอเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ (บราซิลตอนใต้ถึงตอนกลางของอาร์เจนตินา) มีฝนมากผิดปกติ
ปรากฏการณ์ลานีญาทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้งนอกจากพื้นที่ในบริเวณเขตร้อนจะได้รับผลกระทบแล้ว ปรากฏว่า
ลานีญายังมีอิทธิพลไปยังพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปด้วย โดยพบว่า แอฟริกาใต้มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากกว่าปกติและ
มีความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้น ขณะที่บริเวณตะวันออกของแอฟริกาและตอนใต้ของอเมริกาใต้มีฝนน้อยและเสี่ยงต่อการเกิดความแห้งแล้ง และในสหรัฐอเมริกาช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ลานีญาจะแห้งแล้งกว่าปกติทางตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายฤดูร้อนต่อเนื่องถึงฤดูหนาว บริเวณที่ราบตอนกลางของประเทศในช่วงฤดูใบไม้ร่วง และทางตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง
ฤดูหนาว แต่บางพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออกมีฝนมากกว่าปกติในช่วงฤดูหนาว
ส่วนผลกระทบของลานีญาที่มีต่อรูปแบบของอุณหภูมิปรากฏว่าในช่วงลานีญา อุณหภูมิผิวพื้นบริเวณเขตร้อนโดยเฉลี่ยจะลดลง และมีแนวโน้มต่ำกว่าปกติในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกเหนือ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทร รวมถึงพื้นที่
ทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลียมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่วนทางตอนเหนือของสหรัฐอเมริกาต่อเนื่องถึงตอนใต้ของแคนาดามีอากาศหนาวเย็นกว่าปกติ จากผลงานวิจัยของ ดร.วิลเลียม เกรย์ แห่งมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด พบว่า
ลานีญามีผลกระทบต่อพายุหมุนเขตร้อน โดยพายุเฮอร์ริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกและอ่าวเม็กซิโก มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น สหรัฐอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียนมีโอกาสประสบกับพายุเฮอร์ริเคนมากขึ้น
ผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญาต่อปริมาณฝนและอุณหภูมิในประเทศไทย
จากการศึกษาสภาวะฝนและอุณหภูมิของประเทศไทยในปีเอลนีโญ และในปีลานีญา โดยใช้วิธีวิเคราะห์
ค่า Composite Percentile ของปริมาณฝน และ Composite Standardized ของอุณหภูมิ จากข้อมูลของปริมาณฝน และอุณหภูมิรายเดือนในช่วงเวลา 50 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง 2543 พบว่า
ในปีเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่าปกติ (Rainfall Index น้อยกว่า 50) โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และพบว่าเอลนีโญขนาดปานกลางถึงรุนแรงมีผลกระทบทำให้ปริมาณฝนต่ำกว่าปกติมากขึ้น สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่าสูงกว่าปกติทุกฤดู ในปีเอลนีโญ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝน และสูงกว่าปกติมากขึ้นในกรณีที่
เอลนีโญมีขนาดปานกลางถึงรุนแรงอย่างก็ตามจากการศึกษาพบว่า ในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ไม่สามารถหาข้อสรุปเกี่ยวกับสภาวะฝนในปีเอลนีโญได้ชัดเจน นั่นคือ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีโอกาสเป็นไปได้ทั้งสูงกว่าปกติและต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญ
มีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น
ในปีลานีญา ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่
ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่า ในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ลานีญา
มีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่า ในช่วงกลางและปลายฤดูฝน ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่าลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมาขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น
จากความผันแปรของภูมิอากาศมีผลต่อลักษณะอากาศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยก็มีสัญญาณที่บ่งบอกถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น นั่นคือ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วประเทศสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (อุณหภูมิเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส) ส่งสัญญาณว่า อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น นั่นคือ ภาวะโลกร้อนขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝน ระดับน้ำทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์