หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

คนเราจะกลั้นใจตายได้ไหม? มาดูคำตอบกัน..

โพสท์โดย ลูกสาวอบต
ถ้าคนที่อ่านอยู่เคยได้อ่านตำนานพระนางสร้อยดอกหมากที่กลั้นใจตายเพราะน้อยใจพระเจ้าสายน้ำผึ้งคงจะสงสัยว่าคนเราจะกลั้นใจตายได้จริง ๆ หรือ


โดยปรกติเราไม่ต้องคิดเลยเวลาหายใจ เพราะมันเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตามเราอาจเปลี่ยนแปลงจังหวะการหายใจของเราได้เมื่อต้องการ แต่ก็เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การเป่าลูกโป่ง การผิวปากเรายังสามารถกลั้นลมหายใจได้ในช่วงสั้น ๆ และบางคนซึ่งฝึกฝนมาอย่างดีอาจกลั้นหายใจได้นานหลายนาทีร่างกายของเรายังมีกลไกป้องกันความผิดพลาดที่เรียกว่า Failsafe ซึ่งไม่ยอมปล่อยให้เราหยุดหายใจนานเกินไปเป็นอันขาด บางครั้งพ่อแม่วิตกทุกข์ร้อนมากว่า ลูกเล็กซึ่งอาละวาดเอาแต่ใจด้วยการกลั้นหายใจอาจทำอันตรายกับตนเองจนถึงแก่ชีวิตได้ ถึงแม้ว่าบางคนพยายามกลั้นหายใจ จนหน้าเขียวเป็นลมหมดสติไปแต่ทันทีที่ตกอยู่ในสภาพนั้น กลไกเฟลเซฟจะกระตุ้นให้ระบบการหายใจของร่างกายเริ่มทำงานอีกครั้งหนึ่งถ้าพิจารณาจากข้อมูลนี้ คนปรกติก็ไม่น่าจะกลั้นใจตายได้นะ

ทารกแรกเกิดหายใจประมาณ ๑ ครั้งทุกวินาทีหรือ ๖๐ ครั้งต่อนาที เมื่อโตขึ้นหน่อยทารกหายใจประมาณ ๔๐ ครั้งต่อนาที ส่วนเด็กโตจะหายใจช้าลงกว่าทารกเล็กน้อย และผู้ใหญ่หายใจประมาณ ๑๕-๒๐ ครั้งต่อนาที นั่นคือหายใจหนึ่งครั้งทุก ๔-๕ วินาที ช่วงนอนหลับร่างกายค่อนข้างนิ่งเคลื่อนไหวน้อย จึงต้องการปริมาณออกซิเจนลดลง จังหวะหายใจจะค่อย ๆ ช้าลงและสม่ำเสมอ

ความรู้ข้อนี้ได้นำมาใช้ประโยชน์ในเรือดำน้ำ ระหว่างช่วงสงครามโลกทั้งสองครั้งโดยบรรดาลูกเรือต้องถูกสั่งให้นอนหลับมากเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อใช้อากาศภายในลำเรือให้น้อยที่สุด

สัตว์ประเภทต่าง ๆ หายใจในอัตราช้าเร็วต่างกัน โดยทั่วไปสัตว์เล็กหายใจเร็วกว่าสัตว์ใหญ่ ตัวอย่างเช่น ในช่วงพักผ่อนหนูหายใจในอัตรา ๑๐๐-๒๐๐ ครั้งต่อนาที นกกระจอก ๙๐ ครั้งต่อนาที แมว ๒๐-๓๐ ครั้ง สุนัข ๑๕-๒๕ ครั้ง ม้า ๕ ครั้ง และช้างหายใจในอัตราเท่ากับม้า

ศูนย์ควบคุมการหายใจ ( Respiratory Center) ภายในก้านสมองตรงฐานสมอง ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการหายใจเซลล์กลุ่มนี้คอยตรวจสอบระดับออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดอย่างต่อเนื่อง เมื่อใดก็ตามที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ศูนย์ควบคุมการหายใจจะสั่งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องกับการหายใจ ให้ทำงานเพิ่มขึ้นหรือเร็วขึ้นหรือทั้งสองอย่าง จนกว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินจะถูกขับออกมาโดยปอด และกลไกของร่างกายกลับคืนสู่สภาพปรกติ

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
76 VOTES (4/5 จาก 19 คน)
VOTED: eee, Betatia, puddingzii, บอม ปลานิล, AdamS JaideE, ยิ้มทุกวัน, โอคาล่ามาร์ชตื๊ดชึ่ง, makhamdong, นางเบิร์ด, ท่านฮั่ว แมวหน้าง้ำ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปิดตำนานไร่ชื่อดังที่วังน้ำเขียว ลานกางเต็นท์ยอดนิยมได้ประกาศหยุดดำเนินการแล้วขมิ้น สมุนไพรที่มีส่วนช่วยให้ผิวสวย ช่วยบำรุงผิวพรรณให้มีสุขภาพดีสิงโตคู่หนึ่งซั่มกัน อย่างไม่แคร์สายตาฝูงควาย ที่ยืนดูอยู่รวมเลขเด็ด! หวยแม่จำเนียร งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาวช็อก! สร้อยคอเรซินจาก Temu กลายเป็นฟันหมาของแทร่แสนเหม็น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ส่องไทม์ไลน์ แจกเงิน 10,000 บาท เงินดิจิทัลเฟส 2-3 ใครได้เมื่อไหร่เช็กที่นี่รู้หรือไม่ว่า พิสตาชิโอ (Pistachio) นั้นไม่ใช่ถั่ว แท้จริงแล้วมันคือ . . .5 เหตุผลทำไมคุณควรลอง "Digital Detox" สักครั้งในชีวิตรับเหมาตกแต่งภายใน เนรมิตสถานที่เดิมให้ดูใหม่ด้วยการออกแบบภายในที่ครบวงจร
ตั้งกระทู้ใหม่