หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และการพิจารณาตัดสินคดีโดยลูกขุน เปรียบเทียบกับศาลไทย

โพสท์โดย Donald trumps
 
 

 

ประเทศสหรัฐอเมริกาประกอบด้วยมลรัฐต่างๆ 50 รัฐ รวมตัวเข้าเป็นประเทศเดียวกันเรียกว่าสหรัฐอเมริกา (United State of America) อย่างไรก็ตามบรรดารัฐทั้งปวงยังคงมีความเป็นอิสระในบางเรื่อง โดยอำนาจของมลรัฐ (State) จะแตกต่างจากอำนาจของรัฐบาลกลาง (Federal Government) ซึ่งมีอำนาจส่วนใหญ่เกี่ยวกับกรณีระหว่างมลรัฐต่อมลรัฐ และกรณีระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศอื่น ๆ ดังนั้น เรื่องใดที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ภายในมลรัฐของแต่ละมลรัฐโดยเฉพาะและไม่เกี่ยว กับมลรัฐอื่น และไม่ปรากฏจากรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดว่าอยู่ในอำนาจของรัฐบาลกลาง มลรัฐนั้น ๆ ย่อมมีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุด เพราะแต่ละมลรัฐ (State) มีรัฐบาลของตนเอง มีผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีหน่วยราชการต่างๆ เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารกิจการต่างๆ ภายในมลรัฐ แต่ละมลรัฐมีเมืองหลวงของมลรัฐเอง มีรัฐสภาของตนเอง มีศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลสูงสุดของมลรัฐเอง และมีการออกกฎหมายของตนเองได้ แต่ต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นการแปลกประหลาดที่การกระทำในเรื่องเดียวกัน บางกรณีอาจเป็นความผิดในรัฐหนึ่งและอาจไม่เป็นความผิดในอีกรัฐหนึ่งก็ได้ ดังนั้น ระบบกฎหมายและระบบศาลของสหรัฐอเมริกาจึงมีความซับซ้อนและแตกต่างจากประเทศ อื่นโดยทั่วไป

 

รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (The Constitution of the United State of America)

 

การประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศเอกราช เกิดขึ้นเมื่อ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 (พ.ศ.2319) และในปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญของประเทศเรียกว่า “บทบัญญัติแห่งสมาพันธ์รัฐ (Articles of Confederation) ซึ่งถือว่าเป็นรัฐูธรรมนูญฉบับแรกของประเทศ และต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1789 เป็นต้นมา 

หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา คือ

 

-เปลี่ยน ชื่อรัฐธรรมนูญจาก “บทบัญญัติแห่งสมาพันธ์รัฐ” (Articles of Confederation) เป็น “รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา” (The Constitution of the United State of America)

 

-เปลี่ยนชื่อประเทศซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า “สมาพันธ์รัฐ” (Confederation) มาเป็น “สหรัฐ”(The United States) ซึ่งมีความหมายว่า มีการรวมตัวอย่างเหนียวแน่นเป็นหนึ่งเดียว และมีการสถาปนารัฐบาลกลางมารับผิดชอบดูแลกิจการทั่วไป

 

-จัดรูปรัฐและแบบสาธารณรัฐ (Republic) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

 

-จัดรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย และมีการแบ่งแยกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย

 

-จัดรูปรัฐบาลแบบประธานาธิบดี (Presidential System) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารในเวลาเดียวกัน

 

-จัดรูปแบบการปกครองแบบสหรัฐ โดยมีรัฐบาลของมลรัฐ (State Government) และรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลของสหรัฐ (Federal Government) โดยรัฐบาลกลางมีฐานะเหนือรัฐบาลของมลรัฐ เฉพาะในกรณีที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ นอกเหนือจากนั้นแล้วอำนาจของรัฐยังคงมีอยู่เช่นเดิม

 

รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาเริ่มมีขึ้นพร้อมๆ กับการก่อตั้งประเทศ และใช้มาอย่างต่อเนื่องถึงแม้จะมีการปรับปรุงแก้ไขบ้างก็ทำเท่าที่จำเป็น จึงทำให้รัฐูรรมนูญของสหรัฐอเมริกาอายุยืนยาวนานกว่า 200 ปี ทั้งนี้ มีเหตุผลที่สำคัญ 4 ประการ คือ

 

1.ต้องการให้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

 

2.ต้องการให้เป็นหลักประกันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 

3.ต้องการให้เป็นแม่บทของกฎหมายทั้งปวง

 

4.ต้องการให้มีอายุยืนยาวและมีความมั่นคง ถาวร

 

นอกจากนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ทำได้ยากต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน และต้องอาศัยความพร้อมเพรียงของหลายมลรัฐ จึงทำให้รัฐธรรมนูญมีเสถียรภาพ และประชาชนยอมรับนับถือและพึงพอใจในรัฐธรรมนูญของตน จนทำให้มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีและประชาชนหวงแหน ผูกพันต่อรัฐธรรมนูญมาก

 

โครงสร้างระบอบการปกครองของสหรัฐอเมริกาตามรัฐธรรมนูญ

 

ระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา

 

ระบบกฎหมายของอเมริกาเป็นระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์ (Common Law) ซึ่งมีรากฐานและแนวคิดมาจากอังกฤษ โดยได้นำส่วนที่ดีมาใช้ แต่ยังคงความเป็นเอกภาพทางศาลไว้โดยถือหลักว่าระบบตุลาการจะต้องปลอดจากอำนาจทางการเมือง สภาคองเกรสหรือฝ่ายบริหาร

 

กฎหมาย คอมมอน ลอว์ (Common Law) ซึ่งมาจากคำในภาษาฝรั่งเศสโบราณว่า Comune ley หมายถึงกฎหมายที่ใช้เป็นหลักสามัญร่วมกันทั่วพระราชอาณาจักร (law Common to all English) คำสำคัญในที่นี้คือคำว่า “Common” (สามัญร่วมกัน) เพราะเป็นการสร้างความเป็นเอกภาพทางกฎหมายในอังกฤษ โดยเน้นความยุติธรรมเฉพาะคดีมากกว่าที่จะสร้างกฎเกณฑ์สำหรับใช้ในอนาคต คำพิพากษาของศาลในคดีหนึ่งจะเป็นบรรทัดฐานมัดศาลในคดีต่อไปในอนาคต โดยนำเอาหลักเกณฑ์ที่เกิดขึ้นในคดีก่อนที่เคยเกิดขึ้นแล้วมาใช้ และเน้นให้ความสำคัญในเรื่องวิธีพิจารณามากกว่าเนื้อหาในทางสารบัญญัติ เพราะเชื่อว่าความยุติธรรมส่วนใหญ่อยู่ที่ระบบวิธีการพิจารณาพิพากษาคดี จึงทำให้เกิดระบบคณะลูกขุนหรือจูรี่ (Jury) ซึ่งเป็นราษฎรด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีการใช้ระบบหมาย (writ) เข้ามาให้ความสะดวกแก่การดำเนินคดี กฎหมายและวิธีพิจารณาเหล่านี้บางทีก็เรียกกฎหมายจารีตประเพณีหรือกฎหมายที่ ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

 

คอม มอนลอว์ ในความหมายอย่างแคบก็คือ กฎหมายที่ศาลสร้างขึ้นมาจากคำพิพากษา (Judge made law) แต่ในปัจจุบันมีความหมายกว้างขึ้นคือ หมายถึงกฎหมายทั้งหลายในระบบกฎหมายอังกฤษ ซึ่งรวมถึงการรวมเอาหลักกฎหมายใหม่ที่เรียกว่า “เอคควิตี้” (Equity) และ กฎหมายลายลักษณ์อักษร” (Statutory Law) เข้าไปด้วย ประเทศที่ใช้กฎหมายสกุลคอมมอนลอว์ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหภาพแอฟริกาใต้ นิวซีแลนด์ เป็นต้น

 

กฎหมายอาญาของสหรัฐอเมริกาแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับกฎหมายไทย คือ

 

1.กฎหมายอาญาภาคสารบัญญัติ (Sutstantive Criminal Law) เป็นกฎหมายซึ่งครอบคลุมบทบัญญัติว่าการกระทำใดเป็นการกระทำความผิดและมีบทลง โทษสถานใด

 

2.กฎหมายอาญาภาควิธีสบัญญัติ (Procedural Criminal Law) เป็นกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีอาญา การจัดระเบียบบริหารงานยุติธรรมทางอาญา การอภัยโทษ การลดโทษ ฯลฯ

 

กฎหมายอาญาในระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกามีทั้งส่วนที่เป็นกฎหมาย Common Law และส่วนที่เป็ นลายลักษณ์อักษร ซึ่งได้แก่ตัวบทกฎหมายของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา และกฎหมายของมลรัฐต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มว่ากฎหมายอาญาสารบัญญัติส่วนใหญ่ที่ใช้อยู่ในมลรัฐต่างๆ เกิดจากหลักคอมมอนลอว์ แต่ก็มีแนวโน้มว่าเริ่มนิยมใช้กฎหมายลายลักษณ์อักษรมากขึ้น โดยคำนึงถึงหลักสำคัญ 3 ประการ คือ

 

1.ไม่ขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ

 

2.ต้องกำหนดความผิดและโทษไว้แน่นอนไม่เคลือบคลุม (void-for-vagueness)

 

3.ไม่มีผลบังคับย้อนหลัง (Expost factor Law)

 

ระบบศาลของสหรัฐอเมริกา

 

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีศาลอยู่ด้วยกัน 2 ระบบ คือ ศาลสหพันธ์รัฐบาลกลาง (The Federal Court) และศาลมลรัฐ (The State Court) ศาลสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกาคือ ศาลสูงสุดรัฐบาลกลาง (The U.S.Supreme Court) อย่างไรก็ตามในแต่ละมลรัฐอาจมีศาลสูงมลรัฐของตนเองแยกออกไปจากศาลสูงรัฐบาลกลางก็ได้

 

ศาลรัฐบาลกลาง (The U.S.Ferderal Courts) มีเขตอำนาจศาลพิจารณาคดีเกี่ยวพันกับกฎหมายของรัฐบาลกลาง และในกรณีที่คู่ความเป็นพลเมืองต่างมลรัฐกัน ศาลรัฐบาลกลางจะมีเขตอำนาจในการไต่สวนและพิจารณาพิพากษา

 

ศาลมลรัฐในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ละศาลมลรัฐก็มีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะพลเมืองในมลรัฐนั้น

 

ในคดีอาญาการตัดสินชี้ขาดคดี คณะลูกขุน (The Jury) ต้องเป็นไปโดยเอกฉันท์ (Unanimous) ในคดีอาญา บุคคลผู้ชนะในคดีจะได้รับการตัดสินปล่อยตัวให้พ้นผิด (ยกฟ้อง) และจะไม่ถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกันอีก หลักการนี้เรียกว่าการดำเนินฟ้องคดีซ้ำซ้อนในข้อหาเดียวกัน (Double Jeopardy)

 

การพิจารณาคดีอาญา (Criminal Procedure) ของสหรัฐอเมริกา ใช้ลูกขุน 12 คน คำตัดสินของลูกขุน (Juror’s Decision) จะต้องลงคะแนนเป็นเอกฉันท์ทั้ง 12 คน ถ้ามีคนใดคนหนึ่งไม่เห็นด้วย ก็จะชี้ขาดไม่ได้ ซึ่งถ้ามีเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้พิพากษาที่เป็นประธานในการไต่สวน (Chairman of the Trial) ก็จะสั่งให้คณะลูกขุนกลับไปทบทวนใหม่จนกว่าจะได้ข้อยุติเป็นเอกฉันท์ จึงจะมีการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นใหม่ เพื่อให้ได้ข้อยุติอย่างแท้จริง

 

แผนภูมิแสดงระบบศาลของสหรัฐอเมริกา

 

ระบบคณะลูกขุนในอเมริกา

 

คณะลูกขุน (The Jury) ในระบบกฎหมายอเมริกัน มีการนำแบบอย่างมาจากอังกฤษ โดยให้มีบทบาทคุ้มครองในการตัดสินคดีมีความยุติธรรม ระบบลูกขุนนำมาใช้เพื่อจำกัดขอบเขตอำนาจของคณะรัฐบาล และเพื่อเป็นหลักประกันถึงความไม่ลำเอียงและทำให้เกิดความยุติธรรมในการพิจารณาตัดสินคดี

 

บรรดาลูกขุนโดยปกติจะได้รับการคัดเลือกจากผู้มีสิทธ์ิออกเสียงตามกฎหมายในขอบเขต ที่ศาลนั้นมีอำนาจปกครองอยู่ ลูกขุนโดยปกติจะเป็นพลเมืองทั่วไปที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน 12 คนโดยทนายความของทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ให้ความเห็นขอบ ในคดีอาญาคำตัดสินของลูกขุนจะต้องเป็นเอกฉันท์ เว้นแต่ในคดีแพ่งคณะลูกขุนมักจะตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก การตัดสินของลูกขุนจะถือว่าเป็นกฎหมาย เว้นแต่เป็นกรณีที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายอย่างชัดเจน อาจมีการกลับคำตัดสินชี้ขาดได้โดยการร้องขออุทธรณ์

 

หลักเรื่องการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในระบบลูกขุน(Jury System) เปรียบเทียบกับการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยศาลตามกฎหมายไทย 

 

ระบบการค้นหาข้อเท็จจริงโดยให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดนั้น สามารถที่จะจำแนกออกได้ 2 ระบบ คือ 

 

1.1 ระบบไต่สวน (Inquisitorial System) 

 

1.2  ระบบกล่าวหา (Accusatorial หรือ Adversary system)

 

โดยระบบการค้นหาข้อเท็จจริงในแต่ละระบบ มีข้อควรพิจารณาดังนี้ 

 

1.1  ระบบไต่สวน (Inquisitorial System)

 

ระบบไต่สวน เป็นระบบที่ใช้อยู่ในกฎหมายวิธีพิจารณาความของประเทศในกลุ่ม Civil law โดยระบบนี้มีที่มาจากการชำระความของผู้มีอำนาจเด็ดขาดซึ่งจะทำการไต่สวนคดีความเพื่อหาข้อเท็จจริงให้ได้ ระบบนี้ถือว่าหน้าที่หาข้อเท็จจริงเป็นของศาล ศาลมีบทบาทสำคัญในการที่จะสืบพยานหรืองดสืบพยานใดก็ได้ แม้คู่ความมีสิทธินำเสนอพยานหลักฐานต่อศาล ศาลก็มีอำนาจสั่งให้สืบพยานเพิ่มเติมอีกได้ วิธีปฏิบัติในการถามพยานก็จะให้ศาลเป็นผู้ซักถามก่อนแล้วคู่ความค่อยซักถาม ภายหลัง ในระบบไต่สวนกฎหมายลักษณะพยานจะไม่ค่อยมีบทบาทสำคัญนัก และไม่มีบทตัดพยานหรือกฎที่ห้ามนำเสนอพยานหลักฐานประเภทหนึ่งประเภทใด (exclusionary rule) ส่วนใหญ่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานได้ทุกประเภท เว้นแต่พยานหลักฐานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคดี อย่างไรก็ตามศาลมีอำนาจอย่างกว้างขวางที่จะใช้ดุลยพินิจในการรับฟังพยานหลัก ฐานที่เสนอมาโดยคู่ความและดุลยพินิจนี้มักถูกโต้แย้งไม่ได้ (unreviewable) นอกจากการรับฟังพยานหลักฐานโดยกว้างขวางแล้วศาลยังมีดุลยพินิจในการชั่ง น้ำหนักพยานหลักฐานอย่างเต็มที่ 

สรุป แล้วอาจกล่าวได้ว่าระบบไต่สวนศาลมีหน้าที่ในการค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อที่จะ รับฟังเป็นข้อยุติ คู่ความมีหน้าที่นำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลเป็นการช่วยเหลือศาลให้ทำหน้าที่ ได้อย่างสมบูรณ์ถูกต้อง   

 

1.2  ระบบกล่าวหา (Accusatorial หรือ Adversary system)   

 

ระบบกล่าวหาในอังกฤษเรียก Accusatorial และในสหรัฐอเมริกาเรียก Adversary เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นในประเทศกลุ่มกฎหมายคอมมอนลอว์ คือ อังกฤษ แล้วต่อมาพัฒนาไปยังสหรัฐอเมริกา ระบบนี้ถือหลักว่าศาลหรือผู้พิพากษาหรือลูกขุนเปรียบเสมือนกรรมการของการต่อสู้คดีที่จะต้องวางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัด การพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นหน้าที่ของคู่ความซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้หรือ ตามที่ศาลสั่ง ถ้าคู่ความใดไม่พิสูจน์ข้อเท็จจริงใดซึ่งตนมีหน้าที่ก็ย่อมแพ้ในประเด็นข้อ นั้น ระบบกล่าวหาจึงมีกฎเกณฑ์ในเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานที่ละเอียดและเคร่งครัด เริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบ วิธีการนำเสนอพยานหลักฐานประเภทต่างๆ และเนื่องจากในระบบกล่าวหามีการนำลูกขุนมาเป็นผู้พิจารณาปัญหาข้อเท็จจริง จึงได้มีกฎเกณฑ์ต่างๆ มากมายที่เคร่งครัดมากในการนำเสนอพยานหลักฐานและการรับฟังพยานหลักฐาน เช่นมีบทตัดพยานที่ได้มาโดยไม่ชอบ  

 

2.  การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในระบบลูกขุน (Jury System)

การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในระบบลูกขุนเป็นการพิจารณาคดีในระบบกล่าวหา ซึ่งใช้ในกลุ่มประเทศคอมมอนลอว์ โดยให้ มีลูกขุน (Jury) เป็นผู้พิจารณาข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีว่าจำเลยเป็นผู้ กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ส่วนผู้พิพากษา (Judge) จะทำหน้าที่วางหลักกฎหมายและชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิด    

 

ในการพิจารณาคดีระบบกล่าวหาที่ใช้อยู่ในอเมริกา ผู้พิพากษาจะเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้คดีกันอย่างเต็มที่ คู่ความฝ่ายที่กล่าวอ้างมีหน้าที่หรือภาระการพิสูจน์ คือต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงให้ลูกขุนเชื่อตามที่ตนกล่าวอ้าง เมื่อคู่ความแถลงเปิดคดีแล้วก็จะนำสืบพยานหลักฐานไปตามหน้าที่นำสืบหรือตาม ที่ฝ่ายตนมีภาระการพิสูจน์ คือต้องนำพยานหลักฐานมาสืบเพื่อแสดงให้ลูกขุนเชื่อตามที่ตนกล่าวอ้าง ศาลทำหน้าที่ควบคุมไม่ให้คู่ความฝ่ายหนึ่งเอาเปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง หากพยานหลักฐานใดไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลก็จะไม่อนุญาตให้นำพยานหลักฐานดังกล่าว เข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาลเพื่อป้องกันมิให้ลูกขุนที่มีหน้าที่ต้อง วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีได้รับรู้ ข้อเท็จจริงที่เกิดจากพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันจะทำให้ลูกขุนวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดพลาดไป ลำดับในการพิจารณาคดี  เมื่อได้มีการเลือกคณะลูกขุนได้ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดแล้ว ลูกขุนจะเข้านั่งประจำที่ซึ่งจัดไว้ จากนั้นการพิจารณาคดีจะเริ่มโดยผู้พิพากษา 1 คน ทำหน้าที่ควบคุมการพิจารณาคดี เพื่อให้การสืบพยานของทั้งสองฝ่ายเป็นไปตามกฎหมาย และมีหน้าที่วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในเรื่องการอนุญาตให้รับฟังพยานหลักฐาน ประเภทใดหรือไม่ได้รับอนุญาต จึงถือกันว่าผู้พิพากษาเป็นผู้มีคำสั่งหรือคำวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนลูกขุนเป็นผู้มีคำสั่งหรือวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ในระหว่างการพิจารณาคดีต้องไม่มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่มีผลให้ลูกขุน เกิดอคติขึ้นมาได้ การพิจารณาจะเริ่มจากการแถลงการณ์เปิดคดีโดยคู่ความการนำสืบพยานของฝ่าย โจทก์ การนำสืบพยานของฝ่ายจำเลย การแถลงการณ์ปิดคดีของคู่ความ 

 

หน้าที่ของลูกขุนระหว่างสืบพยาน คือฟังคำเบิกความของพยาน แต่ลูกขุนไม่มีหน้าที่บันทึกหรือจดย่อ หากมีปัญหาเกี่ยวกับการรับฟังพยานหลักฐานหรือซักถามพยานผิดหลักเกณฑ์ เมื่อมีปัญหาขึ้นมาโดยคู่ความคัดค้าน ศาลก็จะมีคำสั่งในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐานนั้นๆ โดยต้องส่งคำสั่งให้ลูกขุนได้ยินด้วย กรณีเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการเสนอพยานหลักฐานต้องห้าม การคัดค้านก็จะต้องไม่ให้ลูกขุนได้ยินเพื่อป้องกันไม่ให้พยานหลักฐานที่ไม่ ชอบเข้าสู่การรับรู้ของลูกขุน การคัดค้านในบางเรื่องก็ควรทำลับหลังลูกขุน  

 

เมื่อมีการนำเสนอพยานเอกสารหรือวัตถุพยาน ศาลจะสั่งให้ส่งให้ลูกขุนดู วัตถุพยานบางประเภทศาลอาจไม่อนุญาตให้อ้างอิงเป็นพยานเพราะอาจเกิดอคติต่อ ลูกขุนได้ง่าย ซึ่งในจุดนี้แตกต่างจากศาลไทยอย่างเห็นได้ชัดเพราะการ พิจารณาคดีในศาลไทยนั้นข้อเท็จจริงทุกอย่างจะถูกนำเสนอต่อศาล แต่หากเป็นระบบลูกขุนแล้วศาลจะทำหน้าที่พิจารณาไตร่ตรองในชั้นแรกก่อนว่ามี ข้อเท็จจริงใดที่ลูกขุนไม่ควรรับรู้เพราะอาจก่อให้เกิดอคติกับลูกขุนในการพิ จาณาวินิจฉัยได้ ในขั้นตอนนี้เรียกว่า Admission of Evidence  

 

สำหรับในกรณีที่มีการรับสารภาพเกิดขึ้นนอกศาล หากเป็นระบบลูกขุนแล้วศาลจะเป็นผู้ตรวจสอบจากการโต้เถียงกันของคู่ความก่อน ที่จะวินิจฉัยว่าควรรับฟังคำรับสารภาพดังกล่าวหรือไม่ โดยลูกขุนจะไม่ได้รับรู้ถึงคำรับสารภาพดังกล่าวแต่อย่างใด แต่หากเป็นศาลไทยแล้วศาลไทยจะรับฟังคำรับสารภาพนั้นก่อนแล้วค่อยพิจารณาใน ภายหลังว่าจะรับฟังคำรับสารภาพนั้นหรือไม่อย่างไรในภายหลัง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาลมีอำนาจเรียกพยานมาสืบและมีอำนาจซักถามพยานบุคคล ระหว่างที่พยานนั้นเบิกความ ตลอดถึงการเรียกพยานบุคคลมาสืบ แต่มีหลักอยู่ว่า คำถามศาลไม่ควรก่อให้เกิดอคติแก่กับลูกขุน ซึ่งอาจทำให้ดุลยพินิจของลูกขุนเปลี่ยนไปได้ ดังนั้นถ้าเมื่อใดคำถามของศาลมีผลต่อการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของลูกขุนอาจ ทำให้การพิจารณาคดีนั้นไม่ชอบขึ้นมาได้

 

หลังจากสืบพยานเสร็จก็จะมีการแถลงปิดคดี เมื่อคู่ความแถลงปิดคดีแล้ว จะมาถึงขั้นตอนสำคัญคือ การสั่งข้อกฎหมายแก่ลูกขุน (instruction to the jury) โดยผู้พิพากษาจะอธิบาย (instruction )   หลักกฎหมายและองค์ประกอบความผิด รวมทั้งหลักกฎหมายในเรื่องหน้าที่นำสืบและภาระการพิสูจน์ให้ลูกขุนฟัง โดยต้องเน้นเสมอว่าข้อสงสัยที่จะปล่อยจำเลยนั้นต้องเป็นข้อสงสัยที่มีเหตุผล หากลูกขุนไม่เข้าใจข้อกฎหมายก็มีสิทธิซักถาม เมื่อไม่มีคำถามใดๆ แล้ว ลูกขุนจะเข้าไปในห้องประชุมลูกขุน การพิจารณาของลูกขุนเป็นการประชุมลับ เริ่มต้นจะเลือกประธานลูกขุน แล้วมีการพูดจากัน สิ่งที่ลูกขุนพูดเป็นเอกสิทธิ์ แม้แต่ผู้พิพากษาก็ก้าวล่วงไม่ได้ ในศาลรัฐบาลกลางจะลงโทษจำเลยได้เมื่อลูกขุนมีมติเป็นเอกฉันท์และเมื่อ พิจารณาเสร็จแล้วให้แจ้งให้ผู้พิพากษาทราบ ผู้พิพากษาจะนั่งพิจารณาแล้วถามลูกขุนว่าพิจารณาว่าอย่างไรหากประธานลูกขุน ตอบว่าจำเลยมีความผิดศาลก็จะพิพากษากำหนดโทษ คำวินิจฉัยของลูกขุนเป็นการวินิจฉัยในคดีไม่ต้องแสดงเหตุผล และคำวินิจฉัยของลูกขุนถือเป็นที่สิ้นสุด คู่ความไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะถือว่าเป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง เนี่องจากการพิจารณาข้อเท็จจริงในศาลชั้นต้นที่ใช้ระบบลูกขุน ช่วยกันค้นหาความจริงเป็นการช่วยกลั่นกรองทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็น ไปด้วยความรอบคอบแล้ว ศาลสูงสหรัฐจึงไม่ก้าวล่วงดุลยพินิจของลูกขุน แต่คู่ความอาจอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย 

 

จะ เห็นได้ว่าลูกขุนต้องปรับข้อเท็จจริงที่ฟังยุติจากพยานหลักฐานเข้ากับหลัก กฎหมาย ที่ผู้พิพากษาอธิบาย (instruction) ลูกขุนจึงไม่ใช่แต่เพียงตัดสินปัญหาข้อเท็จจริง แล้วให้ผู้พิพากษาเป็นผู้ปรับข้อกฎหมายแต่ประการใด แต่ลูกขุนเป็นผู้วินิจฉัยความผิดตามกฎหมายที่ถูกฟ้องนั้น

 

กฎหมายคอมมอนลอว์ได้ให้อำนาจศาลอย่างกว้างขวางในการที่จะพิจารณาว่าจะรับหรือไม่ รับพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งชิ้นใด โดยชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับข้อเสียที่เกิดขึ้น เนื่องจากพยานหลักฐานบางประเภทอาจทำให้ลูกขุนซึ่งเป็นสามัญชนเกิดความสับสน หรืออคติได้ง่าย ในระบบคอมมอนลอว์ เชื่อว่าการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานที่ดีที่สุดคือ หลักสามัญสำนึกของบุคคลธรรมดาทั่วๆไป กฎหมายคอมมอนลอว์เชื่อว่าบคุลลธรรมดาที่มีสติปัญญาปกติย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อ เท็จจริงต่างๆ ได้เหมือนกัน จึงมีระบบการพิจารณาคดีโดยลูกขุน   

 

3. การวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามกฎหมายไทย

 

ใน ศาลไทยนั้นการดำเนินคดีโดยหลักแล้วเป็นระบบกล่าวหาเช่นเดียวกับอเมริกาเพียง แต่ไม่มีการใช้ระบบลูกขุน ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา สิ่งสำคัญอันเป็นหลักในคดีได้แก่ คำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ทำให้เกิดประเด็นในคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยสิ่งต่างๆ ที่ทั้งโจทก์และจำเลยบรรยายมาในคำคู่ความบางเรื่องศาลอาจวินิจฉัยได้เลย โดยอาศัยความรู้ทางกฎหมายของศาล ไม่ต้องมีการพิสูจน์อะไรอีก ประเด็นประเภทนี้เรียกว่า “ปัญหาข้อกฎหมาย” ไม่เกี่ยวข้องกับพยานหลักฐาน แต่บางเรื่องศาลไม่อาจวินิจฉัยได้เพราะไม่ทราบว่าจะเชื่อคู่ความฝ่ายไหนดี ความรู้ทางกฎหมายของศาลไม่อาจช่วยวินิจฉัยได้ เว้นแต่คู่ความจะนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเชื่อตามข้อกล่าว อ้างของตน ประเด็นแห่งคดีประเภทนี้เรียกว่า “ปัญหาข้อเท็จจริง” 

 

การวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงคือ การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน เป็นการที่ศาลนำพยานหลักฐานทุกประเภทที่คู่ความ นำมาสืบไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคล พยานเอกสาร หรือพยานวัตถุ มาพิเคราะห์ว่าพยานหลักฐานนั้นคูความนำสืบเชื่อได้ตามข้ออ้างข้อเถียงใน ประเด็นข้อพิพาทหรือไม่ พยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งเพื่อที่จะวินิจฉัยอย่างหนึ่งอย่างใดต้องเป็น พยานหลักฐานที่รับฟังได้ตามกฎหมาย หากพยานหลักฐานใดที่เข้ามาสู่สำนวนความโดยในชั้นพิจารณาได้มีการนำสืบหรือ อ้างส่งแล้วแต่กฎหมายห้ามรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้น ดังนั้น การชั่งนำหนักพยานหลักฐานจึงหมายถึงการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็น ที่พิพาทโดยอาศัยพยานหลักฐาน โดยศาลเป็นผู้ทำหน้าที่วินิจฉัย 

 

สำหรับ ในประเทศไทย หลักในเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะคำพิพากษาของศาลไทยมุ่งที่จะแสดงให้เห็นถึงปรัชญาในการวินิจฉัยความน่า เชื่อถือของพยานหลักฐานแต่ชิ้น  

 

การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีจึงสามารถแยกพิจารณาได้  2 กรณี คือ

 

3.1  การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีแพ่ง

 

การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้น ศาลจะพิจารณาประเด็นข้อพิพาทเป็นรายประเด็นไป แล้วพิจารณาว่าในแต่ละประเด็นนั้นฝ่ายโจทก์หรือจำเลยต้องเป็นผู้นำพยานเข้า สืบ เมื่อสืบแล้วฝ่ายใดน่าเชื่อถือกว่ากัน ก็จะวินิจฉัยให้ฝ่ายนั้นชนะในประเด็นนั้น คดีแพ่งจึงเป็นเรื่องการวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อ ถือกว่ากัน ตรงกับคอมมอนลอว์ที่ว่า preponderance of evidence ใน การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลไทย ศาลจะปฏิเสธไม่วินิจฉัยคดีโดยจะอ้างว่าพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอไม่ได้ พยานหลักฐานมีเท่าใด หรือไม่มีเลยเนื่องจากในคดีนั้นคู่ความต่างสืบพยานรับฟังไม่ได้คือ มีกฎหมายห้ามรับฟัง ศาลต้องวินิจฉัยคดีโดยพิจารณาจากหน้าที่นำสืบ คู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบแต่ไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนย่อมต้องเป็นฝ่าย แพ้คดี   

 

ในการพิจารณาพยานหลักฐานของคู่ความ ศาลต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานไม่ว่าจะเป็นพยานบุคคลพยานเอกสาร หรือพยานวัตถุพยานเหล่านั้นรับฟังได้หรือไม่ ถ้ารับฟังได้แล้วพยานหลักฐานเหล่านั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ การวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานรับฟังได้หรือไม่ ศาลต้องวินิจฉัยไปตามกฎหมายลักษณะพยาน หากพยานหลักฐานใดที่กฎหมายห้ามรับฟัง ศาลต้องไม่นำพยานหลักฐานนั้นพิจารณาเลย เมื่อพิจารณาแล้วเหลือพยานหลักฐานที่กฎหมายให้รับฟังได้เท่าใด ศาลจึงนำมาพิจารณาอีกทีว่าจะเชื่อถือพยานชิ้นใดเพียงใด ในขั้นตอนนี้เรียกว่าการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน หรือการวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งขั้นตอนนี้กฎหมายให้อำนาจศาลในการใช้ ดุลยพินิจได้เต็มที่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา104  

 

ดังนั้นในคดีแพ่งศาลจะวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความ ทั้งสองฝ่ายเปรียบเทียบกัน ถ้าในประเด็นพิพาทประเด็นหนึ่ง ถ้าคู่ความฝ่ายใดมีพยานหลักฐานที่รับฟังได้มานำสืบและอีกฝ่ายไม่สามารถถาม ค้านทำลายน้ำหนักได้ และไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น ปกติ ศาลต้องตัดสินให้คู่ความฝ่ายที่มีพยานมาสืบเป็นฝ่ายชนะคดี แต่ถ้าคดีนั้นคู่ความทั้งสองฝ่ายต่างสืบพยานที่รับฟังไม่ได้ หรือเป็นเรื่องนอกประเด็นทำให้ศาลไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ ศาลต้องวินิจฉัยโดยพิจารณาจากภาระการพิสูจน์ โดยคู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นใดต้องแพ้ในประเด็นนั้น การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริง เป็นดุลยพินิจของศาล  

 

3.2 การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานหรือการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญา

 

การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญา  มีกฎเกณฑ์กำหนดไว้แน่นอน และประเด็นในคดีอาญามีแต่เฉพาะที่ว่ามีการกระทำความผิดหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งมีหลักอยู่ใน ป.วิ.อ. มาตรา 227   ดัง นั้นในคดีอาญา จึงมีข้อพิจารณาในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ซึ่งเป็นหลักสากล ในคดีอาญาโจทก์จึงมีภาระที่ต้องนำสืบพิสูจน์ความผิดของจำเลยให้แจ้งชัด จนศาลแน่ใจปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทำผิดจริง ศาลจึงจะลงโทษจำเลยได้ สำหรับคำให้การชั้นสอบสวนของพยานหากโจทก์ไม่สามารถนำตัวพยานมาเบิกความในศาล ได้ เพราะเหตุจำเป็นศาลฏีกาวางหลักตลอดมาว่า คำให้การดังกล่าวโดยลำพังไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยได้ เมื่อเรื่องการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเป็นเรื่องของการวินิจฉัยโดยสามัญ สำนึก แต่เมื่อถ่ายทอดออกมาเป็นคำพิพากษาจึงต้องแสดงรายละเอียดและเหตุผลในการ วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงวางหลักกฎหมายเกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงหรือการชั่ง น้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญาขึ้นมาประการหนึ่งเรียกว่า พยานประกอบ คือ หมายถึงพยานที่นำมาประกอบพยานที่มีน้ำหนักน้อย ลำพังแต่พยานประเภทนั้นประเภทเดียวไม่มีน้ำหนักให้พอรับฟังลงโทษจำเลยได้ แต่ถ้ามีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบ ก็รับฟังลงโทษได้ เช่น พยานบอกเล่า เป็นต้น  

 

3.3 สรุป

 

ปัญหาข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐาน กฎหมายลักษณะพยานของไทย จึงเป็นเรื่องของการ วางกฎเกณฑ์ว่าด้วย การนำเสนอ การรับฟังพยานหลักฐาน ข้อที่พึงระลึกคือ พยานหลักฐานในการใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงแห่งคดี ต้องเป็นพยานหลักฐานที่ได้มีการนำเสนอไว้ในการพิจารณาคดี กล่าวคือ ศาลไม่รับฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน การนำเสนอพยานหลักฐานที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ กฎหมายวางไว้  กล่าวโดยสรุปคือ ศาลไทยรับฟังพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ศาล จะรับฟังนั้นต้องมีการนำเสนอโดยชอบด้วยกฎหมาย  

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Donald trumps's profile


โพสท์โดย: Donald trumps
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: BARAK OBAMA, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, AdamS JaideE, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567สาวสงสัยว่าบ้าน หรือร้านขายพัดลมกันแน่..เพราะเล่นติดถึง 14 ตัวทั่วบ้านเคลมอีกแล้ว! อ้างมั่ว "ลิซ่า" ไม่ใช่คนไทย..แต่เป็นคนเขมรหลานโฉด เข็นศwลุงไปกู้เงินธนาคารiPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!"เดชา" ชี้ ละครที่สนุกสนาน​เค้าลางใกล้จบ ต้องรอดูจนถึงตอนนั้นสงสัยพรที่เข้าไปขอ​ คือขอให้ได้อยู่นายกฯ ต่อ"กระแต อาร์สยาม" โดนแซะแรง! เก่งสวยแต่ดูไม่แพง..ตอบกลับแซ่บ รึดูไม่เป็น?"วงกลมลึกลับ" โผล่เหนือน้ำ..บางหลุมมีปลาอยู่ มันคืออะไรกันแน่ ?เขมรเคลมอีก! วง BLACKPINK มีต้นกำเนิดมาจากกัมพูชา อ้างหลักฐานจากภาพสลักโบราณ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เคลมอีกแล้ว! อ้างมั่ว "ลิซ่า" ไม่ใช่คนไทย..แต่เป็นคนเขมรแคสตรงปก เจมส์จิ(คุณชายพุฒิภัทร) และไมกี้(คุณฉัตรเกล้า)ฟิวชั่นจนอึ้ง!! เมนูสุดเเปลกจากเวียดนาม "ชานมปลาทอด" เเปลกจนหมอเตือน กินเเยกเถอะทำไมมนุษย์ถึงตื่นเช้า?ตุ๊กตาแม่ลูกดก (Matryoshka) ของฝากขึ้นชื่อจาก รัสเซีย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
memorable: น่าจดจำ ควรระลึกถึงhamper: กีดกั้น ขัดขวางShell Beach หาดเปลือกหอยทำไมมนุษย์ถึงตื่นเช้า?
ตั้งกระทู้ใหม่