ยูเอ็นยันสิทธิเลือกทำแท้งเป็น 'สิทธิมนุษยชน'
ยูเอ็นยันสิทธิเลือกทำแท้งเป็น 'สิทธิมนุษยชน' จากคดีหญิงตั้งครรภ์ด้วยภาวะเสี่ยงในเปรู
เป็นผลจากคดีเมื่อปี 2544 ที่เกิดในเปรู มีสตรีชาวเปรูวัย 17 ปีผู้หนึ่งตั้งครรภ์ แล้วถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการทำแท้งแม้ว่าจะตรวจพบว่าทารกในครรภ์มีการการผิดปรกติทางสมองและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แต่ทางโรงพยาบาลในเปรูปฏิเสธไม่ยอมให้เธอทำแท้งถึงแม้ว่าการทำแท้งในเปรูเป็นเรื่องถูกกฎหมาย ปรากฎว่าอีกไม่กี่วันเธอก็แท้ง หลังจากนั้นเธอก็มีอาการบอบช้ำทางจิตใจอย่างรุนแรง
เธอได้ฟ้องร้องในเรื่องนี้ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNCHR) โดยความช่วยเหลือของทนายความด้านสิทธิมนุษยชน
ในที่สุดอีก 4 ปีต่อมา UNCHR ตัดสินให้ทางการเปรูต้องจ่ายค่าชดเชยให้เธอในฐานะที่ละเมิดกติกาสากลแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และทางเปรูก็ต้องยอมจ่ายค่าชดเชยอันเป็นการยอมรับว่าการปฏิเสธทำแท้งของพวกเขาเป็นการกระทำที่ "โหดร้าย ขาดมนุษยธรรม และลดทอนความเป็นมนุษย์"
อีกกรณี คือ เด็กหญิงอายุ 13 ปี ที่ตั้งท้องเนื่องจากถูกข่มขืน ก็ถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการทำแท้งที่ปลอดภัยเพื่อรักษาสุขภาพของเธอ ส่งผลให้เธอต้องเป็นอัมพาตในเวลาต่อมา
จุดสำคัญของการชนะคดีในครั้งนี้ คือ สหประชาชาติผู้ร่วมพิจารณาคดีด้วยได้ยืนยันได้ว่าสิทธิในการเลือกทำแท้งถือเป็นสิทธิมนุษยชน แต่ก็ยังต้องมีการต่อสู้เพื่ออนาคตให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงการทำแท้งที่ปลอดภัยได้
เรื่องนี้มีประเด็นปัญหาจากศาสนามากทีเดียว