หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ความช่วยเหลือจากดาวเคราะห์เพื่อนบ้าน

โพสท์โดย ห่ะไรนะ

 
ดาวเคราะห์ต่างด้าวที่มีเพื่อนบ้านอยู่ใกล้กันและกัน รอบดาวฤกษ์แม่ดวงเดียวกัน น่าจะช่วยกันและกันในการค้ำจุนชีวิต สร้างสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ระบบเอื้ออาศัยได้แบบพหุ(multihabitable systems)
 
ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้ยืนยันการมีอยู่ของดาวเคราะห์นอกระบบมากกว่า 1900 ดวง งานวิจัยในอดีตบอกว่าในทางช้างเผือกมีดาวเคราะห์นอกระบบหลายพันล้านดวงที่อาจจะมีศักยภาพเอื้ออาศัยได้ ซึ่งพวกมันจะอยู่ในเขตเอื้ออาศัยได้(habitable zone) ของดาวฤกษ์แม่ของพวกมัน ที่ซึ่งอุณหภูมิเหมาะสมที่จะมีน้ำของเหลว หรือกระทั่งชีวิตได้
 
ดาวเคราะห์นอกระบบ 2 ดวงที่นักดาราศาสตร์เพิ่งค้นพบรอบดาวฤกษ์ Kepler-36 นั้นอยู่ใกล้ชิดกันมากจนพวกมันน่าจะเผชิญกับสภาพดาวเคราะห์ขึ้นที่ขอบฟ้า(planetrise) คล้ายกับพระจันทร์ขึ้น(moonrise) บนโลก ดาวฤกษ์แม่ Kepler-36 นั้นอยู่ห่างออกไป 1200 ปีแสงในกลุ่มดาวหงส์(Cygnus) ถ้าระบบแห่งนี้มีอัตราส่วนเท่ากับวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ทั้งสองจะอยู่ห่างจากกันเพียง 0.1 AU ในจุดที่ใกล้กันมากที่สุด หรือเพียง 40 เท่าระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์เท่านั้น Jason Steffen ผู้เขียนนำจากมหาวิทยาลัยเนวาดา ลาสเวกัส กล่าวในแถลงการณ์
ภาพจากศิลปินแสดงสิ่งที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ขึ้น(planetrise) ระหว่างดาวเคราะห์นอกระบบ Kepler-36b และ Kepler-36c ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ Kepler-36 ที่อยู่ห่างออกไป 1200 ปีแสง
การค้นพบดาวเคราะห์ทั้งสองของ Kepler-36 ได้เพิ่มความเป็นไปได้ของระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุซึ่งมีดาวเคราะห์ขนาดเท่าโลก 2 ดวงหรือมากกว่านั้น โคจรอยู่ใกล้กันและกันในเขตเอื้ออาศัยได้ของดาวฤกษ์แม่ เพื่อดูว่าชีวิตน่าจะมีลักษณะเช่นไรบนพิภพดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำแบบจำลองคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่งเพื่อจำลองระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุ ขึ้นมา
 
นักวิจัยค้นพบว่าภูมิอากาศอาจจะเสถียรบนดาวเคราะห์ในระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุ ฤดูกาลและภูมิอากาศบนโลกขึ้นอยู่กับความเอียงของมัน หรือแกนโลกที่เอียง 23.5 องศากับแกนการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ยกตัวอย่างคือ ที่ขั้วทั้งสองบนโลก ความยาวของกลางวันและกลางคืนจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงตลอดช่วงปี แต่ที่ศูนย์สูตร ความยาวจะใกล้เคียงกันตลอดเวลา
 
การเปลี่ยนความเอียงเพียงไม่กี่องศาก็สามารถเริ่มยุคน้ำแข็ง แต่นักวิทยาศาสตร์พบว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่ปฏิสัมพันธ์แรงโน้มถ่วงระหว่างดาวเคราะห์ในวงโคจรเพื่อนบ้านใกล้ชิด ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเอียงครั้งใหญ่ของพิภพทั้งสอง Gongjie Li ผู้เขียนร่วมการศึกษาที่ศูนย์ฮาร์วาร์ดสมิธโซเนียนเพื่อดาราศาสตร์ฟิสิกส์ กล่าวในแถลงการณ์ว่า เราพบว่าความเอียงของดาวเคราะห์ในระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุ นั้นไม่ได้รับผลจากวงโคจรของพวกมันที่อยู่ใกล้ชิดกัน มีแต่เพียงในช่วงเวลาที่พบได้ยากที่ภูมิอากาศของพวกมันจะได้รับส่งในแบบที่รุนแรงเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม พฤติกรรมของพิภพเหล่านี้จะคล้ายกับดาวเคราะห์ในระบบของเรา
 
นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าดาวเคราะห์แต่ละดวงในลำดับเหตุการณ์นี้น่าจะสามารถส่งเมล็ดพันธุ์ชีวิตให้กับคู่หูได้ การชนจากอวกาศมักจะระเบิดเศษซากออกจากดาวเคราะห์ซึ่งสามารถไปชนกับดาวเคราะห์เพื่อนบ้านได้ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในอดีตได้พบว่ามีอุกกาบาตบนดาวอังคารมากกว่า 100 ชิ้นที่มาจากโลก โดยทฤษฎี อุกกาบาตดังกล่าวก็อาจนำวัสดุสารที่ชีวิตต้องพึ่งพาจากพิภพหนึ่งไปอีกพิภพหนึ่ง ในกระบวนการที่เรียกว่า lithopanspermia
ยังคงไม่แน่ชัดว่า ลิโธแพนสเปอร์เมีย เกิดขึ้นระหว่างดาวอังคารกับโลกหรือไม่ ระยะทางที่มากระหว่างดาวเคราะห์หมายความว่า อุกกาบาตน่าจะต้องใช้เวลาที่มากเพื่อเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างพิภพทั้งสอง ทำให้การอาศัยไปของสิ่งมีชีวิตใดๆ ก็น่าจะมีโอกาสรอดน้อยลง นอกจากนี้ยังต้องการการชนที่ทรงพลังเพื่อยิงอุกกาบาตออกไปข้ามระยะทางที่กว้างไกล และพลังงานจากการชนลักษณะดังกล่าวก็น่าจะฆ่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ที่อาจเกาะติดไปได้อย่างง่ายดาย
ภาพจากศิลปินแสดงดาวเคราะห์ต่างด้าวขนาดเท่าดาวเสาร์ 2 ดวงที่อยู่ใกล้กันมากในระบบสุริยะ Kepler-9 ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าดาวเคราะห์สองดวงที่อยู่ใกล้กันน่าจะมีศักยภาพในการแบ่งปันชีวิตซึ่งกันและกัน
 
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดาวเคราะห์ในระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุ นั้นอยู่ใกล้กันมากกว่าที่โลกกับดาวอังคารเป็น จุลชีพน่าจะทั้งอยู่รอดจากการชนที่ส่งพวกมันออกสู่อวกาศ และผ่านเวลาที่ยาวนานที่ใช้ในการเดินทางได้ Steffen กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่น่าสนใจที่สุดก็คือระบบเหล่านี้อาจเป็นต้นไม้ตระกูลทางชีววิทยาที่แบ่งปันระหว่างดาวเคราะห์ทั้งสอง
 
นักวิจัยยังแม้แต่บอกว่าการมีเพื่อนบ้านที่เอื้ออาศัยได้น่าจะช่วยให้ชีวิตอยู่รอดบนดาวเคราะห์นอกระบบที่ห่างไกลได้ ภูมิอากาศไม่น่าจะแย่ในระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุ และความเป็นไปได้ที่ดาวเคราะห์ทั้งสองจะมีปัจจัยทางชีวภาพเหมือนกันก็น่าจะช่วยให้ระบบผ่านพ้นช่วงเวลายากลำบากได้ Steffen กล่าวในแถลงการณ์
 
นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าระบบที่เอื้ออาศัยได้แบบพหุ เป็นหนึ่งในลำดับเหตุการณ์เพียงไม่กี่งานที่ “ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชีวิตที่ทรงปัญญา น่าจะอยู่รอดในสองสถานที่ในเวลาเดียวกันและในระบบเดียวกันได้” Steffen กล่าวในแถลงการณ์ คุณสามารถจินตนาการว่าถ้าอารยธรรมได้บังเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์ทั้งสอง พวกเขาก็สามารถสื่อสารซึ่งกันและกันได้นานหลายร้อยปีก่อนที่จะได้เห็นหน้ากันด้วยซ้ำ มันเป็นความคิดที่สวยงาม อย่างไรก็ตาม เรายังไม่พบระบบจริงๆ ที่มีเอเลี่ยนที่สื่อสารกันเองเลย Steffen กล่าว
 
นักวิทยาศาสตร์นำเสนอการค้นพบในการประชุมระบบสุริยะสุดขั้ว 3(the Extreme Solar System III meeting) ในหาดไวโคเลา ฮาวาย วันที่ 1 ธันวาคม การค้นพบเผยแพร่ใน Astrophysical Journal
 
แหล่งข่าว space.com : in alien solar systems, twin planets could share life
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ห่ะไรนะ's profile


โพสท์โดย: ห่ะไรนะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
16 VOTES (4/5 จาก 4 คน)
VOTED: Casanowa Leftturnzag, PMAlone, โก๊ะทอง, หนูชอบแดกโคยยยยยยยยย
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ช็อตฮาประชาชี : บ้านญาติบรรยากาศแบบนี้ ต้องหาคนมานอนเป็นเพื่อนหน่อยเน่อ ไม่งั้นหลอนแน่ๆเขมรเคลมอีก? อ้าง ข้าวเหนียวทุเรียน คือขนมดั้งเดิมของเขมรโบราณ!ตอนเรียนกับตอนทำงานเต่างกันแค่ไหน?แล้งหนัก...ประปาไร้น้ำ เกาะพีพีต้องซื้อน้ำใช้อดีตผู้บริหารหญิง Google ไทย เมาแล้วขับ ลาออกเมื่อต้นปี..ทั้งนี้ยังมาก่อเหตุซ้ำอีก!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
Huawei ทวงคืนบัลลังก์! ขึ้นแท่นอันดับ 1 ตลาดสมาร์ทโฟนจีนอีกครั้ง"ภาวะโลกเดือด" การปรับตัวในยุคที่ท้าทายสุดขีดของมนุษย์!!วิธีใช้ " ปลั๊กพ่วง " ให้ถูกวิธีกินอย่างไรไม่ให้เป็น (เบาหวาน)
ตั้งกระทู้ใหม่