ฮาจิหมายอดกตัญญู!!! แม้เจ้าของตายแล้วกว่า 10 ปี ก็ยังรอจนตัวตาย!!!
ฮะชิโก (ญี่ปุ่น: ハチ公 Hachikō ?) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2478) เป็นสุนัขที่เป็นที่รู้จักในนามของ “สุนัขยอดกตัญญู ฮะชิโก” (忠犬) เป็นสุนัขสายพันธุ์อะกิตะ ฮะชินั้นเป็นสัญลักษณ์ถึงความจงรักภักดีอันน่าทึ่ง
ฮาจิเป็นตัวอย่างของความจงรักภักดีและกตัญญู
จากการที่มันเฝ้ารอเจ้า นายของมันเป็นเวลาหลายปี แม้ว่าเจ้านายของมันจะเสียชีวิตไปแล้ว ในปัจจุบันฮะชิเป็นสัญลักษณ์ของความสัตย์ซื่อ หนุ่มสาวญี่ปุ่นจะไปสัญญารักต่อกันหน้ารูปหล่อของฮะชิโกที่สถานีรถไฟดัง กล่าว
ในปี ค.ศ. 1924 ฮิเดะซะบุโร อุเอะโนะ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการเกษตรกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์อะกิตะอินุ ไว้ และตั้งชื่อให้ว่า “ฮะชิ” ซึ่งในตอนเย็นของทุกวัน ฮะชิจะไปรอเขาใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟชิบุยะ เป็นเช่นนี้อยู่ทุกวันจนกระทั่งในวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1925 ศาสตราจารย์อุเอะโนะได้เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกในสมอง ทำให้ในวันนั้นเจ้านายของฮะชิไม่ได้กลับไปที่สถานีรถไฟ ถึงกระนั้นในทุก ๆ วัน ฮะชิก็ยังคงมารอเจ้านายของมันที่สถานีชิบุยะ
ฮาจิและศาสตราจารย์อุเอโนะ (ภาพจาก : http://dogsmakeeverythingbetter.com/tag/hidesaburo-ueno/)
ตลอด ช่วงเวลานั้น ฮะชิโกะกลายเป็นที่สะดุดตาของคนที่สัญจรไปมา หลายคนในสถานีรถไฟนั้นล้วนเคยเห็นฮะชิโกกับเจ้านายของเขาในแต่ละวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ในสถานีรถไฟบางคนก็ไม่ได้เป็นมิตรต่อเจ้าฮะชิโกมากนัก อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1932 ภายหลังจากที่มีคนเขียนบทความเกี่ยวกับเจ้าฮะชิโกและเจ้านายของเขาลงใน หนังสือพิมพ์อะซะฮิ ก็เริ่มมีผู้คนจำนวนหนึ่งที่นำขนมและอาหารไปให้แก่เจ้าฮะชิโก ซึ่งหากรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้ว เป็นเวลากว่า 9 ปีภายหลังการเสียชีวิตของศาสตราจารย์อุเอะโนะ ที่เจ้าฮะชิโกได้มาเฝ้ารอการกลับมาของเจ้านายทุกวัน
ค.ศ. 1932 นักศึกษาคนหนึ่งในอุเอโนะ (ที่เชี่ยวชาญในการผสมพันธุ์สุนัขอะกิตะ) เห็นฮะชิที่สถานีและตามเขาไปในบ้านโคะบะยะชิ (บ้านของอดีตคนสวนของศาสตราจารย์อุเอะโนะ – โคะบะยะชิ คิกุซะโบะโระ) ทำให้เขาได้ทราบถึงประวัติของฮะชิโก ไม่นานหลังจากนั้น นักศึกษาได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับประชากรสุนัขอะกิตะในญี่ปุ่น ซึ่งในงานวิจัยของเขาพบว่ามีสุนัขอะกิตะพันธุ์แท้เพียง 30 ตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งเจ้าฮะชิโกเป็นหนึ่งในนั้น
เขากลับไปเยี่ยมฮะชิโกบ่อยขึ้น และในปีที่เขาตีพิมพ์บทความหลายเรื่องเกี่ยวกับความจงรักภักดีที่น่าทึ่งของ ฮะชิโกในปี 1932 หนึ่งในบทความเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในโตเกียว โดยหนังสือพิมพ์อะซะฮิชิมบุง ซึ่งทำให้ฮะชิเป็นที่สนใจขึ้นมาทันทีจากทั้งประเทศ เรื่องราวของฮะชิโกกลายเป็นเรื่องโด่งดังระดับชาติ ความสัตย์ซื่อและความทรงจำของเจ้านายของมัน เป็นที่ประทับใจของชาวญี่ปุ่นจากจิตใจที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดี ครูและผู้ปกครองจำนวนมากได้เล่าเรื่องนี้แก่ลูกหลานเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับ เด็กที่ควรจะปฏิบัติตาม ในด้านของความจงรักภักดีและรู้คุณ
ในที่สุดความซื่อสัตย์และตำนานของฮะชิโกกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติในด้านความจงรักภักดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคจักรวรรดินิยม ที่ผู้คนจงรักภักดีต่ออย่างสุดซึ่งต่อองค์จักรพรรดิ
ฮะชิโกตายลงในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ 1935 บริเวณถนนในชิบุยะซึ่งหลังจากฮะชิโกตาย ร่างของมันได้ถูกรักษาไว้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ร่างของฮะชิโกถูกชันสูตรที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเกี่ยวกับสาเหตุการตาย ซึ่งพบว่ามีพยาธิที่ตับและหัวใจ และมีปัญหาที่ระบบทางเดินอาหาร
(ภาพจาก : wikipedia.com)
ฮะชิโกตายลงในวันที่ 8 มีนาคม คภาพในวันที่ฮาจิตายค.ศ 1935 บริเวณถนนในชิบุยะ ซึ่งหลังจากฮะชิโกตาย ร่างของมันได้ถูกรักษาไว้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ร่างของฮะชิโกถูกชันสูตรที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเกี่ยวกับสาเหตุการตาย ซึ่งพบว่ามีพยาธิที่ตับและหัวใจ และมีปัญหาที่ระบบทางเดินอาหาร
ร่างของฮาจิที่ถูกสตัฟฟ์ไว้ในพิพิธภัณฑ์ (ภาพโดย log in : หวานข้าวใหม่ จากเว็บไซต์ pantip.com
ป้ายอนุสรณ์ของฮะชิโก ตั้งอยู่ข้างหลุมศพของศาสตราจารย์อุเอะโนะ
ในปัจจุบันร่างของฮะชิโกถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น ป้ายอนุสรณ์ของฮะชิโกตั้งอยู่ในสุสานอะโอะยะมะ ในมินะโตะกุ ของกรุงโตเกียว นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟชิบุยะ ซึ่งเป็นจุดที่ฮะชิโกนั่งรอเจ้านาย