หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

Share แชร์บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ โพสท์โดย AdamS JaideE
กระบวนการผลิตขนสัตว์

แกะแต่ละตัวให้ขนครั้งละประมาณ 6 – 8 ปอนด์ (3 – 8 กก.) เฉลี่ยประมาณ 8 ปอนด์ (3.5 กก.) และเมื่อทำการล้างไขออกจากน้ำหนักเหลือเพียงประมาณ 3 ปอนด์ (1.5 ปอนด์) เท่านั้นเอง จากนั้นจะทำการตัดเอาส่วนที่มีคุณภาพต่ำออกแล้วม้วนเก็บเป็นมัดบรรจุในกระสอบหรืออัดเป็นเบล (Bale)

ขนแกะที่เพิ่งตัดออกจะมีลักษณะที่มีไขตามธรรมชาติเกาะติดค่อนข้างมากบางครั้งเรียกว่า Grease wool ซึ่งเมื่อผ่านการไขออกแล้วน้ำหนักอาจหายไปถึง 20 – 80 % ของน้ำหนักเดิม ไขที่ถูกล้างออกนั้นสามารถนำไปใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ทางยาหรือเครื่องสำอางต่อไป

การแบ่งระดับคุณภาพของขนแกะอาจแบ่งตามความรู้สึกของผู้มีประสบการณืโดยการสัมผัสและมองด้วยตาเปล่า ทั้งนี้สามารถแบ่งออกได้กว่า 20 ระดับ โดยดูจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ชนิด ความยาว ความละเอียด สภาพยืดหยุ่น และความแข็งแรงของเส้นใย เป็นต้น ในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้ระบบการเปรียบเทียบคุณภาพโดยยึดเอาขนแกะเมอริโนเป็นขนแกะอ้างอิงที่มีคุณภาพดีที่สุด ในขณะที่ตลาดโลกอาศัยระบบการวัดความละเอียด ของอังกฤษในรูปของเอบร์ด้าย ซึ่งสะท้อนถึงการการวัดความละเอียดหรือขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นสำคัญ เช่น ด้ายคุณภาพดีที่สุดคือด้ายเบอร์ 80s, 70s, 64s, เป็นต้น เส้นด้ายขนแกะโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ขึ้นอยู่ความยาวของเส้นใยเป็นหลัก ถ้าได้จากเส้นใยสั้นเรียกว่า woolen yarn และถ้าได้จากเส้นใยยาวเรียกว่า worsted yarn


 

การเตรียมแกะเพื่อตัดขน

ในการเลี้ยงแกะขน เพื่อตัดขนจำหน่ายหรือนำขนแกะที่ได้มาแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เช่น ผ้าคลุมไหล่ เสื้อถัก ฯลฯ การเตรียมการสำหรับตัดขนเป็นเรื่องที่จะต้องวางแผนไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ได้ขนแกะที่มีคุณภาพ มีข้อปฏิบัติที่ควรจะต้องใส่ใจ 5 ประการ ได้แก่

  1. ให้มีการปนเปื้อนที่น้อยที่สุด

  2. เตรียมสถานที่สำหรับขนแกะให้เหมาะสม อาจทำยกพื้นสี่เหลี่ยมด้านเท่าสำหรับการตัดขนแกะ ขนาด 1.5×1.5 เมตร และมีโต๊ะสำหรับวางขนแกะที่ตัดแล้ว (Skirting table) เพื่อคัดสิ่งแปลกปลอมออกจากขนก่อนบรรจุลงถุง

  3. แยกขนบริเวณท้องออกไว้ต่างหาก

  4. แยกขนที่ต่างคุณภาพ โดยชนิดและถุงที่ใช้บรรจุ

  5. บรรจุขนแกะให้เต็มถุงที่ใช้เก็บ

ผลผลิตขนจะเป็นผลงานตลอดปี คุณภาพของขนแกะจะขึ้นกับผลของการคัดเลือก การจัดการและสิ่งแวดล้อมในการผลิต ผู้เลี้ยงแกะจะต้องใช้เวลาถึง 1 ปีในการเจริญเติบโตของขนแกะ แต่ใช้เวลาแค่ 2-3 นาที ในการเก็บเกี่ยว ดังนั้นผู้เลี้ยงแกะจะสามารถปรับปรุงผลตอบแทนจากขนโดยกฎเกณฑ์ง่ายๆ กล่าวคือ แกะที่ควรอยู่ในคอกที่สะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อน เช่น เมล็ดหญ้า และฝุ่นอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนถูกตัดหรือ 12 ชั่วโมง จะดียิ่งขึ้นระหว่างนี้ควรควบคุมอาหารและน้ำ ซึ่งเป็นเหตุผลในการทำความสะอาดพื้นคอก ทั้งนี้ เพราะคอกจะต้องมีหลังคากันฝนอยู่แล้ว ดังนั้นถึงแม้ว่าฝนจะตกแกะก็จะไม่เปียกฝน ถ้าขนเปียกไม่สมควรตัด

 

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

 

รูปที่ 41 แสดงส่วนของร่างกายและคุณภาพขน

 

ขนแกะส่วนไหนคุณภาพดีที่สุด

โดยทั่วไปแล้ว ขนแกะบริเวณไหล่จะเป็นส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะเป็นส่วนที่อ่อนนุ่มที่สุด เป็นส่วนขนที่เรียกว่า Crimp
(ขนที่หยักเป็นคลื่น ความอ่อนนุ่มขึ้นอยู่กับความถี่ของคลื่น
) เมื่อตัดเสร็จแล้ว ช่วงที่นำขึ้นโต๊ะ จะมีส่วนของ Sweat Point
(ต่อมเหงื่อ
) ที่จะต้องตัดทิ้ง ในส่วนขนที่สีข้าง (Flank) ต่อจากหัวไหล่และอกลงมาตามซี่โครงและขาหลังเป็นส่วนที่ขนค่อนข้างเส้นใหญ่และมีน้ำหนักและขึ้นเงา (มีประกาย) ขนในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อให้ราคา ขนในขาหลังจะแข็งกว่าในช่วงสีข้างควรเก็บออก รวมถึงขนแซมก็ควรเอาออกด้วย ปริมาณที่คัดทิ้งในขนแกะแต่ละตัวขึ้นกับความแตกต่างของขน และลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในลูกแกะผสม ขนในบริเวณขาหลังมักจะมีปัญหา

นอกจากนี้ยังมีส่วนที่ปนเปื้อนด้วยฝุ่น ทราย เมล็ดหญ้า รวมทั้งปัสสาวะและอุจจาระด้วย ขนในส่วนหลัง มักจะปนเปื้อนด้วยฝุ่นทรายจำนวนมาก ลักษณะของขนในส่วนนี้จะบางและสั้นกว่าขนในช่วงสีข้าง ส่วนขนบริเวณท้อง โดยเฉพาะแกะตัวผู้จะมีปัสสาวะปนอยู่มาก ข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งคือ เวลาตัดขนจะต้องแยกสัตว์เป็นกลุ่ม Lamp
(ลูกแกะอายุไม่เกิน
1 ปี) Yearling (แกะอายุไม่เกิน 1 ปีขึ้นไป) ewe (แม่พันธุ์) โดยพิจารณาจากพันธุ์ อายุ คุณภาพขน และความยาวของขน แกะที่เพิ่งนำเข้ามาสู่ฝูงใหม่ แกะป่วย ต้องคัดออก

 

ขั้นตอนการตัดขนแกะ

  1. จัดตัวแกะอยู่ระหว่างเข่าทั้งสองข้างของผู้ตัด ใช้หัวเข่าทั้งสองข้างบังคับให้แกะอยู่นิ่งและพักขาด้านหน้า ด้านขวาของแกะไว้ทางซ้ายของผู้ตัดเพื่อให้หนังบริเวณด้านท้องตึง จังหวะแรกของการตัดให้ไถลงมาทางซ้าย ให้ชิดด้านซ้ายมากๆไถลงมาตามแนวจังหวะที่สองให้เป็นเส้นขนานกับเส้นแรก จังหวะที่สามขยับให้ค่อนมาทางขวา 2 ครั้ง เป็นช่วงสั้น ตัดให้หมดในช่วงท้อง จังหวะที่สี่ให้ตัดทางด้านขวาที่เหลือ ระวังหัวนมแกะเพศเมียและอวัยวะเพศผู้

 

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 42 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 1

 

  1. จับแกะนอนตะแคง หันด้านซ้ายขึ้น ให้แกะนอนหัวพิงขาของผู้ตัดในท่าสบาย แต่ดิ้นไม่ได้ โดยใช้มือซ้ายของผู้ตัดกดไว้ ไถจากปลายขาหลังขึ้นมาสี่แถบโดยให้มาหยุดตรงต้นขาหลัง จากนั้นตัดอีกสามแถบจากหางขึ้นมาจนถึงบริเวณเอว ใช้มือซ้ายดึงหนังให้ตึง

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 43 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 2

 

  1. จัดท่าให้ขาขวาของผู้ตัดอยู่ระหว่างขาหน้าและขาหลังของแกะ จับหัวแกะให้เงยขึ้นไปทางหลังและให้คอแกะอยู่บริเวณใต้เข่าซ้ายของผู้ตัด วางน้ำหนักตัวของผู้ตัดทางซ้าย และอย่าให้แกะนั่งตัวตรงมากเกินไปบังคับให้เอน ตัดขนบริเวณคอ จังหวะแรกตัดใต้เส้นเลือดแดงใหญ่ หรือบริเวณที่เป็นรอยพับแถบบริเวณคอ จังหวะที่สองตัดให้ขนานกันไป แต่พยายามตัดบริเวณด้านล่างของหู และหัว และบริเวณหน้าให้หมด จังหวะต่อไป ตัดบริเวณขาหน้าและตัดจากไหล่ไปยังลำคอ

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

 

รูปที่ 44 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 3

 

  1. จัดแกะให้นอนตะแคง ตัดส่วนด้านข้างที่เหลือตามแนวยาวลำตัวจนถึงกลางหลัง ให้ขาหน้าอยู่ในสภาพงอขาไว้ ไม่ใช่ชี้ไปทางหัว ถ้ารู้สึกว่าหนังแกะค่อนข้างหลวม ใช้มือดึงให้ตึงพยายามตัดแค่สามครั้งจากด้านข้าง ในช่วงที่ตัดขนจากขาหลังไม่จำเป็นต้องตัดเลยมาจนถึงหลัง ซึ่งเป็นรอยย่น

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 45 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 4

 

  1. จัดแกะให้ส่วนหน้าอยู่ใต้ขาซ้าย ใช้ขาขวากดหางแกะไว้ ใช้กำลังเท้าช่วยให้มือที่จับหัวแกะสามารถหมุนตัวแกะได้ ไถสองครั้งบนส่วนหลังให้เป็นแนวยาว ครั้งที่สามไถโดยใช้เท้าขวาช่วยดันให้แกะเผยอตัวขึ้น

    ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

    รูปที่ 46 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 5

 

  1. หนีบตัวแกะให้อยู่ระหว่างขาทั้งสอง โดยให้หัวแกะอยู่ตรงช่วงเข่า หลังจากตัดขนบริเวณเขา หู และหน้า ตัดเป็นแนวตรงลงไปที่ไหล่ หลังจากที่ตัดแถบที่สามแล้วให้จับขาขวาหน้า ดึงมาไว้ที่ข้างหน้าและตัดขนตรงหน้าแข้ง

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 47 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 6

 

  1. หลังจากนั้นตัดขนลงมาตามสีข้าง โดยตัดให้ขยานกันลงมาตามไหล่ ครั้งที่สามาและสี่ตัดให้เป็นแนวเดียวกันและเลยไปด้านริมของขาหลัง

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 48 แสดงการตัดขนขั้นตอนที่ 7

 

หลังจากตัดเสร็จแล้วให้จัดรูปของขนแกะเป็นตัวแกะ จะเห็นเป็นส่วนต่างๆ หยิบขนส่วนที่ปนเปื้อนมากๆทิ้งไป พับทบเข้ามาทีละส่วนจากหัว ขาหน้า ขาหลัง และพับทบกลางตัว ชั่งน้ำหนักและม้วนเก็บใส่ถุง

 

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

 



รูปที่
49 แสดงขนแกะที่ตัดเสร็จแล้ว

 


ขั้นตอนการผลิตเส้นใยขนแกะที่บ้านห้วยห้อม จ.แม่ฮ่องสอน

 

  1. ตัดขนด้วยกรรไกรตัดขนแกะ แกะตัวหนึ่งใช้เวลาตัดขนประมาณ 1 ชั่วโมง ต้องช่วยกันอย่างน้อย 2 คน โดยการจับแกะนอนลงไม่ให้ดิ้น การตัดต้องระวังไม่ไห้กรรไกรถูกตัวแกะ

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 50 แสดงการตัดขนแกะด้วยกรรไกร

 

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

 

รูปที่ 51 แสดงกรรไกรตัดขนแกะ

 

  1. นำขนแกะที่ตัดแล้วนำมาซักล้างด้วยผงซักฟอกให้สะอาดแล้วแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำขนแกะมาต้มน้ำร้อนเพื่อเอาไขมันที่อยู่ในขนแกะออก (ในต่างประเทศนำน้ำที่เหลือจากการต้มขนแกะมาทำเป็นครีมบำรุงผิวได้) ทิ้งให้เย็นและบิดน้ำออก แล้วนำไปผึ่งแดดจนแห้งสนิท ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 2 วัน

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

 

รูปที่ 52 แสดงการนำขนแกะตากแดด

 

3. นำขนแกะมาดึงหรือคลี่เส้นขนที่ติดกันออกมา จากนั้นนำขนแกะไปยีเส้นขนแกะด้วยแปรงยีขน ซึ่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ ให้ขนฟูละเอียดจนได้ออกมาเป็นแผ่นอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ



รูปที่ 53-54 แสดงการนำขนแกะมาคลี่เส้นขน

 

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 55 แสดงหวีสำหรับสางขนแกะ



ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 56 แสดงขนแกะที่หวีแล้ว

 

4. นำขนแกะที่ยีแล้วมาปั่นด้วยเครื่องปั่นเส้นด้าย ออกมาเป็นเส้นด้าย, เส้นด้ายจะม้วนรวมกันอยู่ที่แกนปั่น

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 57-58 แสดงการนำขนแกะมาปั่นด้วยเครื่องปั่นเส้นด้าย



ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ


รูปที่ 59 แสดงอุปกรณ์ปั่นขนแกะ

 

5. นำเส้นด้ายที่แกนปั่นมาม้วนกับไม้ได้เส้นด้ายออกมาเป็นหนึ่งม้วนหรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า หนึ่งจาย หรือนำด้ายที่แกนปั่นมาเดินด้ายที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

รูปที่ 60 แสดงการนำเส้นด้ายที่แกนปั่นมาม้วนกับไม้ได้เส้นด้ายออกมา

 

6. เมื่อต้องการเส้นด้ายสีอื่นก็นำมาย้อมด้วยสีย้อมผ้า (ขนแกะที่นำมาย้อมสีได้นั้นต้องเป็นสีขาวหรือสีครีมเท่านั้น ส่วนขนแกะสีนำตาลหรือสีดำย้อมสีไม่ได้)

 

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

 

รูปที่ 61 แสดงตัวอย่างเส้นด้านขนแกะสีขาว และ ย้อมสี

 

สำหรับผลิตภัณฑ์ worsted

ที่มา, ประโยชน์ และการตัดขนแกะ

ขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการผลิตภัณฑ์ woolen และ worsted

ในการผลิต worsted yarn นั้นมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นอยู่ 2 ขั้นตอนคือ การหวี (combing) และการรีดปุย (drawing) ซึ่งการหวีนั้นวัตถุประสงค์หลักคือการขจัดเส้นใยที่มีความยาวไม่เหมาะสมออก (เส้นใยที่ถูกหวีออกนั้นเรียกว่า combing noils) เหลือไว้แต่เส้นใยยาวตามต้องการขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เรียงเส้นใยเหล่านี้ขนานกันไปด้วยอีก
ทั้งทำให้เส้นด้ายมีความสะอาดมากขึ้นในระหว่างการหวี เส้นใยสั้นที่สุดที่หวีออกนั้นมิได้หมายความว่าเป็นเส้นใยที่ไม่ดี เส้นใยเหล่านั้นยังมีคุณภาพที่ดีตามสายพันธุ์ของแกะนั้น ๆ และอาจนำไปใช้ผสมกับเส้นใยอื่นเพื่อทำเป็นผ้าผืนได้ สำหรับกระบวนการรีดปุยจะเป็นขั้นตอนที่สูงขึ้นอาจเป็นการลดขนาดของสไลเวอร์
(sliver) ให้เล็กลง ทำให้โครงสร้างเส้นใยที่รวมกันเป็นสไลเวอร์นี้เกาะตัวกันแน่นเข้า

 


 

โครงสร้างทางกายภาพของขนสัตว์

ความยาวโดยทั่วไปของขนสัตว์จะอยู่ระหว่าง 1 – 6 นิ้ว (25 – 150 ม.ม) ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์
และระยะเวลาที่เล็มขน เส้นใยยาวนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ชนิด
worsted yarn
ในขณะที่เส้นใยสั้นนำมาทำเป็น
woolen yarn ความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 10 – 15 ไมครอน โดยขนแกะเมอริโนมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 ไมครอน โดยทั่วไปขนสัตว์จะมีความหยิกตามธรรมชาติ และมีส่วนประกอบของเส้นใยแบ่งออกได้เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ


ในชั้นผิวนอกสุดคือCUTICLE จะประกอบด้วยเกล็ดที่เรียกว่า CUTICULAR SCALES ซ้อนเรียงกันคล้ายเกล็ดปลา ในเส้นใยหยาบเกล็ดเหล่านี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองขึ้นได้ นอกจากนั้นแล้วยังทำหน้าที่ป้องกันการขัดถูและเป็นปัจจัยหลักในการเกิดการหดตัวอย่างถาวร (felting) ถัดเข้าไปเนื้อในเป็นส่วนหลักของเส้นใยเรียกว่า CORTEX ซึ่งมีเซลล์ยาวเล็ก ๆ เรียกว่า CORTICAL CELL ประกอบกันมากมาย เซลล์เหล่านี้ในแต่ละด้านของเส้นใยมีความแตกต่างของขององค์ประกอบทางเคมีและการเกิดปฏิกิริยาต่างกัน
เมื่อได้รับความชื้นเป็นลักษณะที่เรียกว่า
natural bicomponent fiber ส่วนที่มีความทนทานต่อสารเคมีมักจะกันออกด้านนอกอยู่เสมอ
เรียกว่า
paracortex และพยายามหันเอาส่วนที่มีความอ่อนไหวต่อสารเคมีและเอนไซม์ ต่าง ๆ ออกด้านนอก เรียกว่า orthocrtex ทำให้เส้นใยเกิดการหยิกงขึ้นตามธรรมชาติ ในบริเวณส่วนกลางของเส้นใยอาพบส่วนี่คล้ายท่อกลางเรียกกัน medulla ซึ่งจะพบเฉพาะในเส้นใยหยาบเท่านั้น

 

องค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างภายใน


 

เส้นใยเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่าคีราติน (keratin) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับโปรตีนในเส้นผมคน
ซึ่งมีธาตุหลักคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน และซัลเฟอร์ ทั้งนี้ได้มีผู้ทำการศึกษาวิเคราะห์คีราตินอย่างละเอียด
และพบว่าธาตุต่าง ๆ ที่ประกอบกันเข้าจะประกอบไปด้วย

 


คาร์บอน 50.3 – 52.5%

 

ไฮโดรเจน 6.4 -7.3 %

 

ไนโตรเจน 16.2 -17.7%

 

ออกซิเจน 20.7 – 25.0 %

 

ซัลเฟอร์ 0.7 – 5.0 %

 

องค์ประกอบพื้นฐานนี้จะคล้ายกันหมดในขนสัตว์ชนิดต่าง ๆ กัน แต่อาจมีปริมาณของซัลเฟอร์แตกต่างกันอกไป ในเส้นใยหยาบจะพบปริมาณซัลเฟอร์มากกว่าในเส้นใยละเอียด โมเลกุลของขนสัตว์เป็นลูกโซ่โมเลกุลยาว และจับยึดเข้าด้วยพันธะเคมี

 

สมบัติทางกายภาพ

1.ลักษณะภายนอก ดูจากกล้องจุลทรรศน์มีผิวนอกเป็นเกล็ดแข็งคล้ายกับเกล็ดปลา หรือเกล็ดของสัตว์เลื้อยคลาน ชั้นที่อยู่ถัดไปภายในที่เรียกว่า Cortex มีความอ่อนนิ่มและฟูแบบฟองน้ำ ทำหน้าที่ในการดูดซึมน้ำและสีย้อมได้ดี จากโครงสร้างทางกายภาพนี้เอง ทำให้เส้นใยขนสัตว์มีความนุ่มนวล มีความฟู เหมาะกับการใช้งานเป็นเสื้อผ้า ชุดสากลของผู้ชาย ส่วนเส้นใยหยาบนิยมนำไปทำเป็นพรม

2. ความยาวของเส้นใย ขนสัตว์มีความยาวที่หลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์อาจเป็นช่วงความยาวระหว่าง 1-20 นิ้ว (25-500 ม.ม.) แต่ส่วนใหญ่ที่ใช้งานจะอยู่ในช่วง 1-6 นิ้ว (25-150 ม.ม.) โดยมีขนาดระหว่าง 1-3 นิ้ว (25-75 ม.ม.) มักไปทำเส้นด้าย woolen yarn และเส้นใยยาวนำไปทำ worsted yarn ดังที่กล่าวไปแล้ว

3. สี ปรกติเป็นเส้นใยสีขาว แต่ระดับความขาวจะแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของสัตว์แต่ละพันธุ์ บางชนิดอาจพบสีเทา น้ำตาล ไปจนกระทั่งสีดำ

4. ความมัน ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับถิ่นกำเนิดและพันธุ์ของสัตว์ อาหาร ตลอดจนภูมิอากาศที่เจริญเติบโต ขนสัตว์บางชนิดให้ความมันที่ดีมาก แต่ระดับของความมันในขนสัตว์ไม่ได้เป็นปัจจัยในการแบ่งระดับคุณภาพเส้นใย กล่าวคือ เส้นใยที่ถูกจัดเป็นคุณภาพอาจมีความมันน้อยกว่าเส้นใยคุณภาพต่ำได้

 

5. ความแข็งแรง ขนสัตว์นับเป็นเส้นใยที่มีความแข็งแรงต่ำที่สุด ความแข็งแรงในขณะแห้งประมาณ 1.5 gpd และลดลง 10-20% เมื่อเปียก แต่เมื่อนำขนสัตว์มาทำเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ด้วยการด้วยแปลงในกระบวนการผลิตจะทำให้ได้ผ้าผืนขนสัตว์ที่มีความทนทานดี

 

6. สภาพยืดหยุ่น นับว่าสมบัติข้อนี้เป็นข้อทดแทนด้านความแข็งแรงของขนสัตว์ได้เป็นอย่างดี ขนสัตว์มีสภาพยืดหยุ่นดีมาก สามารถยืดได้ 20-30 % จากความยาวเดิมก่อนขาด เป็นการช่วยลดความเสียหายจากการฉีกขาด และทำให้การเคลื่อนที่ของเส้นใย มีความเป็นอิสระ ดังนั้นการแขวนเสื้อผ้าที่มีขนสัตว์ให้ถูกวิธีจะทำให้เสื้อผ้าอยู่ในสภาพที่รักษารูปทรงได้ดีไม่ยับ การคืนกลับภายหลังการได้รับแรงดึงอยู่ในระดับดีมาก มีค่าของการคืนตัวจากแรงยืดสูงถึง 99%

 

7. การคืนตัวจากแรงอัด มีความสามารถในการคืนตัวดีมาก สามารถที่จะคืนตัวกลับได้ดีภายหลังจากถูกแรงอัด กล่าวกันว่าเส้นใยขนสัตว์ถูกดัดงอกไปมาได้ 20,000 ครั้งก่อนการฉีกขาด เมื่อเปรียบเทียบกับฝ้ายที่ทนได้เพียง 3,000 ครั้ง และเรยอนทนได้เพียง 75 ครั้งเท่านั้นเอง ความชื้นจากอากาศทำให้สมบัติข้อนี้ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามอากาศที่แห้งเกินไป จะทำให้เส้นใยเกิดการเปราะแตกได้ง่าย

 

8. ความสามารถในการดูดซึมความชื้น เส้นใยขนสัตว์มีความสามารถในการดูดซึมความชื้นได้ดีกว่าเส้นใยชนิดอื่นๆ ในภาวะมาตรฐานมีค่าความสามารถในการดูดซึมความชื้นอยู่ที่ 13-18% และลักษณะของการดูดซึมก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากเส้นใยอื่นด้วย คือ ความมันบนเกล็ดทำให้หยดน้ำไม่เกาะแต่เมื่อน้ำแทรกซึม เข้าใต้ชั้นเกล็ดแล้วจะถูกดูดซึมเข้าไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ดูเหมือนกับว่าขนสัตว์เป็นเส้นใยไม่เปียกน้ำผิวนอกดูเหมือนแห้งตลอดเวลา นอกจากนั้นสมบัติข้อนี้ยังเท่ากับเป็นการให้โอกาสในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศระหว่างแห้งและชื้นต่อผู้สวมใส่ได้ดี

 

9. น้ำ ขนสัตว์มีความแข็งแรงลดลงเมื่อเปียกน้ำ หากขนสัตว์ถูกแช่น้ำเดือดเป็นเวลานาน น้ำเดือดจะทำลาย cystine linkage มีผลทำให้ความมันและความแข็งลดลง

 

10. ผลจากความร้อน ขนสัตว์เริ่มหยาบกระด้างที่อุณหภูมิ ที่อุณหภูมิ212 ◦F (100 ◦C) และเริ่มสลายตัวช้าๆ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั่งเริ่มหลอมที่ 400 ◦F (240 ◦C) และกลายเป็นขี้เถ้าในที่สุด ในอากาศที่ร้อนแห้งช่วง 212-230 ◦F (100-110 ◦C) หากทิ้งไว้ในระยะเวลาหนึ่งเส้นใยจะสูญเสียความชื้นตัวทำให้หยาบกระด้างและเปราะ ความร้อนชื้นในลักษณะของไอน้ำ สามารถใช้ประโยชน์จากการที่ขนสัตว์อยู่ในลักษณะที่เป็นพลาสติกทำการจับจีบหรืออัดขึ้นรูปตามต้องการได้

 

11. การติดไฟ ขนสัตว์เกิดการเผาไหม้ได้ช้าๆ และดับได้ด้วยตัวมันเอง การเผาไหม้ของขนสัตว์จะทำให้ควันเล็กน้อย ดังนั้นบางตำราอาจเรียกหรือจัดขนสัตว์เป็นเส้นใยหน่วงใย ใช้ทำผ้าม่าน พรม หรือผ้าบุเครื่องเรือน เป็นต้น

 

12. ความนำไฟฟ้า ค่อนข้างต่ำ อาจเกิดประจุได้ง่ายจากการขัดถู ของเส้นใยเป็นเหตุให้เกิดประจุไฟฟ้าขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอากาศที่เย็น แห้ง ความชื้นต่ำ ก่อให้เกิดปัญหาไฟฟ้าสถิตได้

 

13. ความถ่วงจำเพาะ มีค่า 1.34 ซึ่งนับว่าเป็นเส้นใยที่ค่อนข้างเบา

 


 

สมบัติทางเคมี

1.กรด โดยทั่วไปขนสัตว์ทนทานต่อกรดได้ดี แต่ถูกทำลายได้ด้วยกรดกำมะถัน ในกระบวนการผลิตผ้ามีขนสัตว์มีขั้นตอนหนึ่งที่เรียกว่า carbonizing เป็นขั้นตอนที่ใช้กรดไปขจัดสารประเภทเซลลูโลสจากพืช เช่น ใบไม้ที่ติดมากับขนสัตว์ โดยกรดที่ใช้ไม่มีผลเสียต่อขนสัตว์เลย นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์จากกรดในการทำให้สะพานเกลือในโครงสร้างทางเคมีของขนสัตว์เกิดการยอมรับสีย้อมได้ดีย้อม

2. ด่าง ขนสัตว์มีความอ่อนไหวต่อด่างแก่อย่างมาก เป็นสมบัติที่ใช้ทดสอบเส้นใยขนสัตว์ได้ด้วย เมื่อถูกด่างขนสัตว์จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีลักษณะถูกละลายเป็นของเหลวในที่สุด การใช้ด่างอ่อนในน้ำเย็นหรือน้ำอุ่นเป็นการล้างไขออกจากขนสัตว์โดยไม่เกิดอันตราย

 

3. สารละลายอินทรีย์ ขนสัตว์มีความทนทานต่อสารละลายอินทรีย์ที่ใช้ในการซักแห้งได้ดีมาก

 

4. สารซักฟอก สารซักฟอกที่มีใช้ในครัวเรือนกลุ่มที่เป็น Oxidizing Bleach เช่น ในกลุ่มของโซเดียม ไฮโปคลอไรท์ หรือที่เป็นสารประกอบพวกคลอรีน จะเป็นอันตรายต่อผาขนสัตว์ ทำให้ขนสัตว์เปลี่ยนเป็นเหลืองและเกิดการละลายได้ อย่างไรก็ดีในสารซักฟอกประเภท reducing bleach เช่น ที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซค์ หรือ โซเดียมเปอร์ สามารถใช้ได้

 

5. การทนต่อราและแมลง ขนสัตว์โดยปรกติไม่ขึ้นราง่าย ยกเว้น แต่จะถูกปล่อยทิ้งไว้ในภาวะที่เปียกชื้นเป็นเวลานาน ในขณะที่ตัวอ่อนแมลงต่างๆจะทำลายผ้าสกปรกที่บริเวณ cystine linkage ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ พยายามรักษาผ้าให้สะอาดอยู่เสมอ หรือแขวนผ้าขนสัตว์ตากแดดบ้าง เพื่อให้แสงแดดทำลายตัวอ่อนของแมลง อีกวิธีหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางโมเลกุล cystine linkage จาก –S-S- ให้เป็น –S-CH2S-

 

6. แสงแดด ทำให้ความแข็งแรงของขนสัตว์ลดลง อันเนื่องจากการเข้าไปทำลาย cystine linkage เช่นกัน

7. การย้อมสี ขนสัตว์มีความสามารถในการรับสีย้อมผ้าได้ดี ใช้ได้ทั้งสีแอสิด สีเบสิก หรือสีไดเรก แสงแดดทำให้ความเข้มของสีเปลี่ยนไปได้


 

การหดตัวของขนสัตว์

การหดตัวของขนสัตว์อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

 

  1. การหดตัวแบบชั่วคราว (relaxation or emporary shrinkage) เกิดจากการที่ขนสัตว์ได้รับการอบหรือจุ่มในน้ำ ปริมาณการหดตัวไม่มากนัก และสามารถแก้ไขได้โดยอาศัยแรงดึง

     

  2. การหดตัวแบบถาวร (felting or permanent shrinkage) เป็นเอกลักษณ์ที่พบเฉพาะเส้นใยขนสัตว์เท่านั้น สมบัติข้อนี้เกิดจากโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นเกล็ดของขนสัตว์ ภายใต้แรงกระทำภายนอก เช่น มีการกวน การขัดถู และในภาวะที่มีความร้อน ความดันและเปียกน้ำ ขนสัตว์เกิดการหดตัวไปในทิศทางของรากของเส้นใย และเมื่อภาวะต่าง ๆ กลับสู่ปรกติ ขนสัตว์จะพยายามกลับคืนสู่ความยาวเดิมของมัน แต่สืบเนื่องจากเกล็กที่ผิวเกิดการขัดกันหรือเรียกว่า interlock ทำให้ไม่สามารถคืนตัวกลับในสภาพเดิม ผลก็คือผ้าขนสัตว์เกิดการหดตัวอย่างเห็นได้ชัด การหดตัวในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่รุนแรง ผ้าอาจเกิดการหดตัวได้ถึงประมาณครึ่งหนึ่งของขนาดเดิม ขนแกะการหดตัวมากกว่าขนสัตว์ชนิดอื่น ๆ ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผ้าที่นุ่มและฟูมาก ๆ การเกาะกันของเส้นใยไม่แข็งแรงนัก เส้นใยมีอิสระในการเคลื่อนที่สูง ทำให้ผ้าพวกนี้เกิดการหดตัวอย่างถาวรได้ง่ายกว่าผ้าขนสัตว์ที่ทอให้มีโครงสร้างผ้าที่แน่นและแข็งแรง ปรากฎการณ์ของการเกิดการกดตัวอย่างถาวรอาจมีประโยชน์คือ สามารถนำหลักการไปผลิตเป็นผ้าผืนโดยตรงจากเส้นใย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทำเป็นเส้นด้าย ส่วนข้อเสียที่เห็นชัดเจนคือ ทำให้เกิดปัญหาในการซักเนื่องจากการหดตัว หลักการเบื้องต้นในการแก้การหดตัวอย่างถาวร คือการพยายามตกแต่งให้ผิวที่เป็นเกล็ดมีความเรียบมัน ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการตกแต่งสำเร็จ ทั้งนี้ที่นิยมใช้มี 2 วิธีดังนี้

     

  1. โดยการเคลือบแผ่นฟิลม์บาง ๆ ประเภทไนลอน ลงบนผ้าผืนที่ทอเสร็จแล้ว แต่มีข้อเสี ทำให้เส้นด้ายลื่น โครงสร้างผ้าไม่แข็งแรง และทำการทอประเภทลายธรรมดาไม่ได้

     

  2. โดยการเคลือบด้วยพอลิเมอร์ประเภมพอลิโอเลฟิน (polyolefin)

.............................................................

อันนี้ แถมสำหรับกระทู้ที่แล้ว

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
AdamS JaideE's profile


โพสท์โดย: AdamS JaideE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
48 VOTES (4/5 จาก 12 คน)
VOTED: Art peter, หุ่นเชิดสังหาร, พระเจ้ามายา, ginger bread, AdamS JaideE, แมวดำ เหมียวๆ, WhiteKiller, บังไค, PRP, จอมยุทธอินดี้, Saisiamasia
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่"ลิซ่า" จะเดบิวต์เป็นดาวติ๊กต๊อก..แต่กลับโดนแซะว่าเลียนแบบ "กามิน"ยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!แพทย์อึ้ง!! หลังพบนิ่วนับไม่ถ้วน ในถุงน้ำดีของหญิงสูงอายุรถไฟเหาะที่เร็วสุดในโลก! ประกาศปิดถาวร หลังมีคนกระดูกคอหักหลายรายเผยโฉมหน้า "แบงค์" ที่ "เจ๊ปิ่น ทรงหิว" เต๊าะจนสำเร็จ..งานนี้ไม่หิวอีกต่อไปแล้ว!สตรีมเมอร์ผิวสีสุดห้าว ทำคอนเทนต์เตะเก้าอี้ที่พัทยา12ราศีไหนดวงเปิดแล้ว เตรียมรับโชคก้อนโต!! งวดนี้9 วิธีเด็ดแก้ปัญหา แอร์กินไฟช่วงหน้าร้อนนักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิ่งก่อสร้างที่มีความสูงมากที่สุดในโลก ที่ไม่ใช่ตึกระฟ้าหรืออาคารที่อยู่อาศัย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เคล็ดลับการใช้ประโยชน์จากเปลือกส้มๆ เหลือๆ อย่าทิ้งน๊า เอามาทำประโยชน์ได้จ้า จะใช้อย่างไรนั้นมาดูกันเลย...9 วิธีเด็ดแก้ปัญหา แอร์กินไฟช่วงหน้าร้อนให้คนที่ชื่อ “เวลา” ได้ทำหน้าที่ของมันบ้าง!? #เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นsuddenly: ทันใดนั้น
ตั้งกระทู้ใหม่