ย้อนคิด..เวียดนามต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพ..สหรัฐอเมริกามายุ่งเกี่ยวทำไม??
เวียดนามต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพ
ทหารอเมริกันที่เข้าร่วมสงครามจะเข้าใจสงครามและฝ่ายตรงข้ามยิ่งกว่าคนอื่น พันเอกอันเดรส ซาวาโกตเคยเข้าร่วมสงครามเวียดนามในฐานะเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามถึง ๙ ปี โดยท่านมาเวียดนามตามคำสั่งของผู้บัญชาการเพราะเป็นข้าราชการทหาร พันเอกอันเดรส ซาวาโกตเล่าว่า “ ก่อนเดินทางไปเวียดนาม ผมไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์ของเวียดนามเลย ไม่เคยรู้ว่า เวียดนามเคยถูกรุกรานจากจีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา เวียดนามต่อสู้เพื่อเอกราชและเสรีภาพเท่านั้น ซึ่งนี่เป็นความจริง ”
ภายหลังลงพื้นที่ท้องถิ่นหลายแห่งและพบปะกับชาวเวียดนามมาหลายปี รวมทั้งนักรบปฏิวัติ พันเอกอันเดรสก็ข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและประเพณีของเวียดนามมากขึ้น นายอันเดรส ซาวาโกตจึงเข้าใจว่า สหรัฐอเมริกาไม่สามารถรบชนะเวียดนามได้ “ ผมเข้าใจว่า พวกผมจะแพ้ ประธานาธิบดีนิสันควรถอนทหารออกจากเวียดนามเร็วกว่านี้ ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาต้องเดินทางไกลไปยังประเทศที่อยู่ห่างไกลมากในขณะที่คนเวียดนามต่อสู้บนแผ่นดินของตนเองเพื่อเอกราชและเสรีภาพของตนเอง ซึ่งเป็นความแตกต่างระหว่างสองฝ่าย โดยเฉพาะเวียดนามมีบุคคลที่กล้าหาญ รักสันติภาพ เกลียดสงคราม แต่เมื่อถูกรุกรานจากศัตรูไม่ว่าจะเป็นใครศัตรูก็ต้องปราชัยอย่างแน่นนอน หากผมเกิดในประเทศเวียดนาม ผมก็จะสนับสนุนฝ่ายปฏิวัติและไม่ยอมต่อผู้รุกรานจากภายนอก ”
สหรัฐอเมริกาไม่อาจชนะได้
บรรดาผู้สื่อข่าวต่างชาติภาคสนามโดยเฉพาะผู้สื่อข่าวชาวอเมริกันมีส่วนร่วมไม่น้อยต่อการที่สหรัฐอเมริกายอมถอนทหารออกจากเวียดนาม บทความ ข่าวและภาพถ่ายจากสมรภูมิทำให้ชาวอเมริกันและประชาคมระหว่างประเทศเข้าใจธาตุแท้ของสงครามในเวียดนาม ซึ่งได้สร้างแรงกดดันจนทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องยุติการขยายสงคราม นายเดวิด แลมบ์ ผู้สื่อข่าวภาคสนามของสำนักข่าวยูพีไอเล่าว่า “ ก่อนไปเวียดนาม ผมสนับสนุนสงครามเพราะเห็นว่า เป็นสิ่งที่สหรัฐอเมริกาต้องทำคือ ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่ ๒ ปีที่อยู่ในเวียดนาม ความคิดเห็นของผมก็ได้เปลี่ยนไป ซึ่งผมเห็นว่า นี่เป็นสงครามที่สหรัฐอเมริกาไม่อาจชนะได้และไม่ควรเข้าร่วม ”
นายเดวิดเคยมาสมรภูมิเวียดนามช่วงปีค.ศ.๑๙๖๘-๑๙๗๐ ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามดุเดือดที่สุด และเขาได้กลับมาเวียดนามในช่วงปลายเดือนเมษายนค.ศ.๑๙๗๕เพื่อรายงานข่าวเกี่ยวกับความล่มสลายของรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม นายเดวิด แลมบ์เข้าใจสาเหตุที่ทำให้สหรัฐอเมริการต้องพ่ายแพ้ นายเดวิดกล่าวว่า “ ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ข้อหนึ่งของพวกเราคือ ไม่เข้าใจคนเวียดนามและความอดทนอดกลั้น ความทรหด ลัทธิชาตินิยม สมรรถภาพในการสู้รบ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภาษาของพวกเขา ชัยชนะหรือความพ่ายแพ้มาจากการขาดความเข้าใจดังกล่าว ผมหวังว่า สหรัฐอเมริกาจะเรียนรู้ประสบการณ์จากสงครามเวียดนาม ”
การทิ้งระเบิดนาปาล์ม*** ลงหมู่บ้าน Trang Bang โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศเวียดนาม
ในวันที่ 8 มิถุนายน 1972 เนื่องจากสงสัยว่าจะมีกองกำลังเวียดกง ซุ่มซ่อนอยู่ในหมู่บ้าน
Kim Phuc อายุ 9 ขวบ วิ่งหนีออกจากหมู่บ้านมาตามถนน ในสภาพไม่มีทั้งเสื้อผ้า และเสียขวัญสุดขีด
มาพร้อมกับพี่ชายอายุ 12 ปี ทางซ้ายสุดของภาพ น้องชายอายุห้าขวบที่วิ่งไป พร้อมกันเหลียวมองไปที่หมู่บ้าน
และลูกพี่ลูกน้องอีกสองคนที่จูงมือกันวิ่งมาด้วย
ความคิดเห็นและมุมมองของชาวอเมริกันเกี่ยวกับสงครามเวียดนามในโอกาสการปลดปล่อยถภาคใต้เวียดนามอย่างสมบูรณ์รวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวครบรอบ ๔๐ ปีทำให้ชัยชนะแห่งประวัติศาสตร์นี้ของเวียดนามมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น ./.
***ระเบิดนาปาล์ม (อังกฤษ: Napalm Bomb) เป็นระเบิดรูปแบบการทำปฏิกิริยาของเคมีที่ให้ความร้อนสูงมากนำมาใช้ครั้งแรกในสงครามโลกครั้งที่สอง อุณหภูมิโดยรอบจะสูงมากโดยมีระดับการให้ความร้อนตั้งแต่ NP1, NP2 ประมาณ 1000 กว่า องศาเซลเซียสและมีการพัฒนาขึ้นไปถึง 2000 องศาเซลเซียส