สาเหตุที่นักปั่น “ไข่ชา”
ปัจจุบันการปั่นจักรยานเป็นกิจกรรมที่หนุ่มๆ นิยมกันมาก ไม่ว่าจะหนุ่ม ฮิปสเตอร์ หนุ่มเฮลท์คอนเชียสทั้งหลาย ต่างปั่นจักรยานเป็นงานอดิเรกกันทั้งนั้น แต่นักปั่นทั้งหลายต้องประสบกับอาการ “ไข่ชา” ขึ้น ทำให้กังวลว่าอาการไข่ชา” นั้น จะส่งผลอะไรกับน้องชายของเรารึป่าว ? วันนี้บอนด์จึงพาท่านมารู้ถึงสาเหตุของอาการไช่ชากับก่อนครับ
ไข่ชา เกิดจาก?
จริงๆ แล้ว น้ำหนักของตัวเราเองจะถูกกดทับบริเวณเชิงกรานของตูดครับ และเบาะนั่งที่ดีจะต้องช่วยกระจายน้ำหนักของผู้ขับได้ดี แต่ปัญหา “ไข่ชา” เกิดจากการที่เราเลือกเบาะนั่งไม่รองรับสรีระของเราเองทำให้น้ำหนักกดทับไปยัง “ฝีเย็บ” (ใครที่นึกถาพฝีเย็บไม่ออก ฝีบริเวณกึ่งกางระหว่างใต้ต่ออัณฑะก่อนถึงรูทวารหนัก จะมีจุดเชื่อมบริเวณนั้นหละครับ) ทำให้เลือด และออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงไข่ กับน้องชายไม่เพียงพอนั่นเองครับ เหตุก็เพราะว่า บริเวณฝีเย็บเป็นบริเวณศูนย์รวมเส้นประสาทและเส้นเลือด (จุดเสียวอีกจุดหนึ่ง อิอิ) นั่นเอง
มีการทดสอบหนึ่งครับที่แสดงถึงการกดทับของเบาะ โดยมีการศึกษาเปรียบเทียบระดับออกซิเจนที่ปลายน้องชายหลังจากปั่นจักรยานบนเบาะที่แตกต่างกันสี่แบบ ตามรูป
แบบ A) คือ narrow, heavily padded seat
แบบ B คือ narrow seat with medium padding and V-shaped groove in the saddle nose
แบบ C คือ wide unpadded leather seat
แบบ D คือ women’s special wide seat with medium padding and no saddle nose
โดยวัดระดับออกซิเจนในท่ายืน และหลังจากนั่งปั่นจักรยานบนเบาะจักรยานทั้งสี่แบบ ผลการศึกษาพบว่า เบาะแบบ D มีการลดลงของออกซิเจนที่ปลายองคชาติน้อยที่สุด รองลงมาเป็นแบบ C และแบบ B โดยแบบ A มีการลดลงของออกซิเจนที่ปลายองคชาติมากที่สุด ซึ่งก็หมายถึง แบบ D ดีที่สุด
ซึ่งก็มีการศึกษาอื่นสนับสนุนอีกครับว่า แบบที่มีจมูกยื่น เป็นแบบที่ไม่สมควรนำมีใช้ในการขับขี่เช่นกัน เพราะจะมีการกดทับเส้นประสาทมากกว่า สังเกตจากรูปทั้งสงรูปให้ดีนะครับ
A. รูปแสดงตำแหน่งของเส้นเลือดและเส้นประสาทที่อาจถูกกดทับจากเบาะที่มีส่วนยื่นด้านหน้า
(ภาพจากDepartment of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. No-nose saddles for preventing genital numbness and sexual dysfunction from occupational bicycling. Available at: http://www.cdc.gov/niosh/blog/ nsb042209_bikesaddle.html (accessed April 22, 2009)
ลักษณะเบาะจักรยานแบบไม่มีส่วนยื่นคล้ายจมูก เส้นเลือดและเส้นประสาทมีโอกาสถูกดทับน้อยกว่า และมีการกระจายน้ำหนักสองข้างได้ดีกว่า
(ภาพจากDepartment of Health and Human Services, Centers for Disease Control and Prevention, National Institute for Occupational Safety and Health. No-nose saddles for preventing genital numbness and sexual dysfunction from occupational bicycling. Available at: http://www.cdc.gov/niosh/blog/ nsb042209_bikesaddle.html (accessed April 22, 2009).
จะสังเกตเห็นว่า เบาะในแบบที่มีจมูกจะเกิดการกดทับบริเวณฝีเย็บที่มากกว่า เพราะไม่มีการกระจายน้ำหนัก ในทางตรงกันข้ามครับ หากเป็นเบาะที่ไม่มีจมูกจะมีการกระจายน้ำหนักได้ดีกว่า ทำให้ฝีเย็บไม่ถูกกดทับเท่าไหร่ครับ
ดังนั้น จึงมีการศึกษาทางการแพทย์รายงานว่า เมื่อเปลี่ยนมาใช้เบาะแบบที่ไม่มีจมูกยื่นออกมาเป็นระยะเวลา 6 เดือน อาการชาบริเวณฝีเย็บ อวัยวะเพศลดลงอย่างมีนัยสำคัญครับ และข้อมูลนี้ก็ช่วยให้นักปั่นสบายใจขึ้นว่า อาการที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นถาวร และดีขึ้นได้เมื่อมีการแก้ไขตามสาเหตุที่ถูกต้อง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถตอบได้ชัดเจนในขณะนี้ว่ามีผลหรือไม่ เช่น ความนุ่ม แข็งของเบาะแต่ละชนิด รวมถึงลักษณะกางเกงที่ผู้ปั่นสวมใส่เวลาปั่นจักรยาน ลักษณะพื้นผิวของถนนที่ขับขี่ครับ
และในบทความหน้า ผมมีวิธีเลือกเบาะนั่งและวิธีการถนอมไข่ของนักปั่น อย่างถูกวิธีกันครับ และมาเฉลยว่า ปั่นนานๆ เสี่ยงเป็นหมันหรือไม? อิอิ
อ้างอิงจาก ศูนย์ต่อมลูกหมาก โรงพยาบาล รามา