มาดูภาพตัดแปะ แบบเนียนๆในหนังกันบ้างดีกว่า
เรามักจะเห็นละครไทย มีการทำภาพตัดแปะแบบหลอกตาหลายเรื่อง ที่ผ่านๆ ตา มา
ไม่ว่าจะเป็นลูกทาส ธิดาพยายม เสือสมิง ฟ้าจรดทราย หรือเรื่องที่หลายคนว่าดีแล้ว
อย่างมณีสวาท มันก็ยังไม่เนียนอยู่ดี
งั้นเรามาดูการตัดภาพแบบเนียนๆกันบ้างดีกว่า
เทคนิคการซ้อนภาพ ได้เป็นที่นิยมใช้กันมานานแล้วในการถ่ายทำภาพยนตร์
หรือในรายการโทรทัศน์ และสามารถทำได้แนบเนียนมากจนเราไม่ทราบว่า
ฉากหลังต่างๆนั้น เป็นการถ่ายทำจริง หรือถ่ายทำทีละครั้ง แล้วนำภาพมาซ้อนกัน
เทคนิคนี้ นิยมถ่ายภาพยนตร์หรือวิดีโอ เช่นมีคนยืนพูด หรือขับรถ เดิน หรือวิ่ง
อยู่ในสตูดิโอ ที่มีฉากด้านหลังเป็นสีพื้น เช่นสีน้ำเงิน (Blue Screen) หรือสีเขียว
(Green Screen) จากนั้น ก็จะถ่ายทำฉากจริง แยกต่างหาก เช่น ฉากภูเขา ชายทะเล
ฯลฯ แล้วนำภาพที่มีฉากหลังเป็น Blue Screen มาซ้อนทับฉากจริง แล้วใช้เทคนิค
เช่น ในระบบวิดีโอ ใช้ Mask & Chroma Key ทำการซ้อนภาพ และทำให้ฉากสี
ีน้ำเงินหายไป (Transparent) และถูกแทนที่ด้วยภาพที่เป็นฉากหลังจริงๆ
ในวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์ รวมทั้งการถ่ายภาพ ในปัจจุบัน นิยมใช้ทั้ง Blue
Screen และ Green Screen แต่การแต่งกายของผู้แสดง หรือพิธีกร ควร
หลีกเลี่ยงการใช้สีที่เหมือนกับฉากหลัง เช่น สีฟ้า ถ้าฉากหลังเป็น Blue Screen
จากบทความในต่างประเทศได้เปรียบเทียบการใช้ Blue Screen กับ Green
Screen ไว้ ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ถ้าเราสังเกตภาพที่เกิดจากการซ้อนภาพและ
ฉากหลัง หลายๆครั้งจะพบว่า ภาพคนนั้นมีขอบเป็นสีติดมา ทำให้ดูไม่แนบเนียน
หรือรู้เลยว่า นี่เป็นการทำภาพซ้อน Effect ดังกล่าว เรียกว่า Blue Spill หรือ
Green Spill ซึ่งบทความกล่าวว่า Blue Spill จะสังเกตได้ยากกว่า หรืออาจจะ
ไม่สังเกตเห็น เมื่อเทียบกับ Green Spill
ผมหัดทำการซ้อนภาพวิดีโอ โดยใช้โปรแกรม Ulead ง่ายๆ ไม่ได้ลงทุนอะไรนัก
แม้ตัวอย่างที่ทำลงอินเทอร์เน็ต ก็ใช้ฉากหลัง Blue Screen เป็นกระดาษโปสเตอร์
แผ่นเล็กๆ เพราะความอยากรู้ เผื่อจะนำมาใช้ในเว็บไซต์ต่างๆที่ทำอยู่ให้มีสีสรรมากขึ้น
และต่อมาก็ได้เริ่มทำฉาก Blue Screen ติดฝาผนังห้อง มีขนาดใหญ่ขึ้น พอใช้
สำหรับให้คนยืนพูดได้
ฉากเรือเชลซี แล่นอยู่ในบลูสกรีน จากภาพยนตร์เบนจามิน บัตตัน
เรื่องนี้ชนะออสการ์สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยมด้วย
ฉากสถานีรถไฟ จากเรื่องเดียวกับด้านบน
นาฬิกา ก็ยังใช้บลูสกรีน เพื่อให้ออกมาสวยตรงตามจินตนาการมากที่สุด เท่าที่จะทำได้
จากภาพยนตร์จอห์น คาร์เตอร์ เป็นฉากกรุงนิวยอร์ก น่าจะเป็นช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ก็ใช้กรีนสกรีน เพื่อสร้างซอยให้ยาวขึ้น
ฉากพิธีแต่งงานบนดาวบาร์ซูม
พระราชวังกรีนสกรีน จากภาพยนตร์อลิซผจญแดนมหัศจรรย์
ฝาแฝดอ้วนทวีเดิล อันนี้กรีนสกรีนตั้งแต่ฉากหลัง ยันนักแสดงเลย
อลิซอินกรีนสกรีน กับฉากป่าวิมซีย์อันน่าพิศวง
การใช้บลูสกรีน สร้างโลกดิจิตอลสุดไฮเทคขึ้นมา ในภาพยนตร์ทรอน เลกาซี
อันนี้ดูเหมือนจะเป็นวิหาร หรือโบสถ์ หรืออะไรสักอย่าง จากภาพยนตร์รหัสลับ ดาวินชี
หัวกระโหลกแดงแห่งพรรคนาซี จากภาพยนตร์กัปตัน อเมริกา ยืนหล่อบนกรีนสกรีน
ฉากพี่บัคกี้ ตกจากรถไฟไปสู่เหวหิมะเบื้องล่าง เค้าถ่ายทำกันแบบนี้นี่เอง
ในขบวนรถไฟก็มีการจำลองขึ้นมา แต่ด้านนอกก็ยังต้องเป็นกรีนสกรีน เพื่อสร้างฉากภูเขาหิมะ และสะดวกต่อการวางมุมกล้อง
ฉากทางเดินสุดโอ่อ่า จากภาพยนตร์เข็มทิศทองคำ
เป็นอีกเรื่องที่ได้ออสการ์สาขาเทคนิคพิเศษยอดเยี่ยม โดยเอาชนะตัวเต็งงอย่างทรานส์ฟอร์มเมอร์ส และไพเรท 3 ไปได้
ฉากต่อสู้ในตอนท้ายเรื่อง ดูๆไปคล้ายๆธิดาพยายมเลย สู้กันในแดนหิมะ
ขี่หมีขั้วโลก ก็ขี่กันแบบที่เห็น
อีกหนึ่งฉากที่น่าหวาดเสียว กับฉากเดินบนสะพานน้ำแข็ง ก็มีการสร้างสะพานขึ้นมาจริงๆ แล้วล้อมรอบไปด้วยกรีนสกรีน
นักล่าหมีขั้วโลก
อันนี้คือฉากห้องอะไรสักอย่าง จากเรื่องซานตาคลอส 3
คุณลุงซานต้า เดินออกมาจากเตาผิง ก็ถ่ายบนกรีนสกรีน แล้วเอามาแปะบนภาพเตาผิงอีที
ฉากปล่อยพลังเพลิง ในเรื่องมหาศึก 4 ธาตุ จอมราชันย์
ปล่อยพลังน้ำกันบ้าง ดูแล้วนึกถึงละครจักรๆวงศ์ๆบ้านเรา ตอนเช้าเสาร์ อาทิตย์
มวลมหาประชาชน จาก flag of fathers
18+ กับฉากยิงหัวกระจุย จากพันนิชเชอร์
ยืนมองดวงอาทิตย์ระยะใกล้ บนกรีนสกรีน จากซันไชน์
การสร้างบรรยากาศโลกที่ตายไปแล้ว จากภาพยนตร์เดอะ โรด ฉากซากต้นไม้ล้ม ก็ใช้กรีนสกรีน
การประจันหน้ากันระหว่างชาวสปาร์ตา กับเสือโหย ท่ามกลางหิมะที่โปรยปราย จากภาพยนตรืเรื่อง 300
ฉากนางระบำเสี่ยงทาย เพื่อความพริ้วไหว เลยให้นักแสดงลงไปทำท่าระบำอยู่ใต้น้ำ แล้วจุ่มบลูสกรีนลงไป เพื่อให้ได้ฉากที่งดงามที่สุด
และนี่คือเบื้องหลัง ฉากหน้าผาในตำนาน ก่อนจะเป็นภาพที่เล่นแสงสีได้งดงามที่สุดเรื่องหนึ่งในโลก
ปิดท้ายด้วยกษัตริย์เซอร์เซส จอมจักรา ที่ร้องคำรามกึกก้องอยู่บน..... บลูสกรีน