[วิชามารภาษาอังกฤษ] Grammath เทคนิคใหม่ในการเรียนภาษาอังกฤษ ตอน หลักของเรขาคณิต
บทความนี้เขียนขึ้นโดยติวเตอร์พี่กอล์ฟ ผู้ถ่ายทอดความรู้เคล็ดลับภาษาอังกฤษ
เจ้าของเว็บไซต์ brown-english.com ผู้ดำเนินรายการ English Clinic by Brown English
ที่อยากเข้ามาแบ่งปันวิชามารส่วนตัวในการทำข้อสอบภาษาอังกฤษครับ
หลายคนคงเคยปวดหัวกับปัญหาในการทำข้อสอบภาษาอังกฤษในพาร์ท Error Recognition หรือหาส่วนที่ผิดในประโยคนะครับ วิชามารในการทำข้อสอบในพาร์ทนี้ จริงๆแล้วมีร่วม 20 วิชามารด้วยกัน (อาจจะไม่มารเท่าไหร่ เพราะเยอะไปหน่อย) ในแต่ละวิชามาร บางคนจะเรียกว่า การเดา แต่มันคือการเดาอย่างมีหลักการครับ สำหรับน้องๆที่รู้คำศัพท์ไม่เยอะ และมืดแปดด้านทุกครั้งที่เจอข้อสอบ Error!
เทคนิคที่พี่นำมาใช้ พี่จะขอเรียกมันว่า เทคนิค GRAMMATH (สงวนลิขสิทธิ์แล้วนะ! ห้ามแอบอ้างเอาไปใช้ทางการค้านะ!) ซึ่งเกิดมาจากการสมาสสนธิของคำว่า Grammar และ Mathematics เป็นเทคนิคที่นำหลักคณิตศาสตร์เบื้องต้น มาใช้ช่วยอธิบายหลักไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้น้องๆเข้าใจภาษาอังกฤษง่ายมากๆ และช่วยในการจดจำโครงสร้างของภาษาอังกฤษได้อย่างแม่นยำด้วยครับ สำหรับวิชามารแรกที่จะนำมาใช้ในกระทู้นี้ พี่ขอเรียกมันว่า "หลักของเรขาคณิต"
"เรขาคณิต" คือคณิตศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่ว่าด้วยรูปทรงต่าง ๆ ครับ เกริ่นมาซะเป็นทางการเชียว ดูยากอ่ะ! จริงๆมันเป็นหลักง่าย ๆ ที่ช่วยให้น้อง ๆ สังเกตได้เท่านั้นเองครับ ลองดูปัญหาเชาวน์ด้านล่างต่อไปนี้นะครับ ลองมาทายกันครับว่า รูปทรงที่หายไป ควรจะเป็นรูปทรงอะไร
รูปทรงที่หายไป ควรจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมใช่ไหมครับ ตามสำนวนที่เขาว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม.. อ้ะ! ขออีกสักหนึ่งตัวอย่าง ให้น้อง ๆ ลองทายดูสิครับ ว่ารูปทรงที่หายไป ควรจะเป็นรูปทรงอะไร
ถูกต้องแล้วครับ รูปทรงที่หายไป ก็ควรจะเป็นรูปวงกลมนั่นเอง ไม่ยากเลย.. หากพี่ลองนำมาเปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษตามด้านล่าง น้องๆคิดว่า กริยาตัวที่ขาดหายไป ควรจะเป็นกริยาชนิดไหนดีครับ?
ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ ก็ควรจะเป็นกริยาช่องที่ 1 ไงล่ะ! ง่ายแค่นี้เองถามหนูทำไมเนี่ย! อ่ะอีกสักตัวอย่างหนึ่งครับ กับคำถามเดิม กริยาที่หายไป ควรจะเป็นกริยาชนิดใดน้าาา??
เริ่มเข้าที่เข้าทางแล้วใช่มั้ยครับ เราควรเติม V.ing ลงไปนั่นเอง ทีนี้ลองดูตัวอย่างข้อสอบ (ขอบอกว่าความยากของข้อนี้เทียบได้กับระดับความยากของข้อสอบ TU-GET เลยนะตะเอง)
หากสังเกตให้ดี น้องจะเห็นคำว่า Organize, Direct, Controlling และ Superviseครับ ลองมาดูตามแผนผังด้านล่างครับว่า อะไรเอ่ย ไม่เข้าพวก ??
ถูกต้องครับ คำว่า Controlling เป็นคำที่ไม่เข้าพวก เพราะในขณะที่ทุกคนเขาเป็นกริยาช่องที่ 1 กัน ทำไมคำนี้จะมาเป็น V.ing ได้ล่ะ มีสิทธิพิเศษเหรอ! ตึ่งโป๊ะ! จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวเลือกข้อที่ 3 เป็นตัวเลือกที่ควรจะต้องถูกแก้ไขให้ถูกต้อง พี่กอล์ฟคิดว่า น้องๆหลายคน ก็คงพอจะเดาออกกันแล้วว่า ต้องถูกแก้เป็น V.1 นะครับโผมมม
ตามหลักภาษาอังกฤษแล้ว หัวข้อนี้เขาจะเรียกกันอย่างเป็นภาษาวิชาการว่า เป็นเรื่องของ Verb ... ครับ (หูย ภาษาวิชาการนี่มันช่างน่าปวดหัวเสียจริงเชียว) หลัก ๆ ของมัน ถ้าจะให้พี่อธิบาย จริงๆแล้วก็อธิบายด้วย "หลักของเรขาคณิต" จากเทคนิค GRAMMATH นี่ล่ะครับ จะเข้าใจง่ายที่สุดแล้ว เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตามนะเอ้อ
จริงๆ หากเป็นภาพเคลื่อนไหว อาจจะทำให้น้อง ๆ บางคนเข้าใจง่ายกว่า เพราะฉะนั้น อย่ารีรอครับ พี่มีคลิปวีดีโอมารอให้น้อง ๆ เข้าไปชมกันอยู่แล้ว (โฮะๆๆ) ตามกันไปชมได้เลยคร้าบโผมมมม..
อย่างที่บอกไปในย่อหน้าแรกครับ วิชามารนี้มีกว่า 20 วิชา เยอะแสรดด.. ฉะนั้น หลักของเรขาคณิตนี้ เป็นเพียงแค่วิธีหนึ่งที่สามารถช่วยได้ ทั้งนี้ อาจจะใช้ไม่ได้กับข้อสอบพาร์ท Error ทุกข้อที่เจอนะครับ แต่เมื่อไหร่หากน้องๆเจอข้อสอบประเภทนี้แล้ว ขอให้น้องๆลองฝึกสังเกต และใช้เทคนิค GRAMMATH เข้าช่วย จะทำให้การทำข้อสอบง่ายขึ้นเยอะเลยล่ะครับ เย้!
ยังไงพี่กอล์ฟก็ต้องขอฝากรายการ English Clinic ไว้กับน้องๆชาวโพสจังด้วยนะครับ และตามสัญญา(จากในวีดีโอ) ในคลิปหน้า พี่จะนำเทคนิค GRAMMATH มาประยุกต์กับเรื่องของ Tense ให้น้อง ๆ สามารถจำฟอร์มของทั้ง 12 เทนส์ 24 รูป ได้ภายใน 16 นาทีเลยทีเดียว
พี่กอล์ฟ
เข้าไปแวะชมเว็บไซต์ของพี่กันได้ ที่
brown-english.com
facebook.com/amittawin
instagram.com/thebrownenglish#
youtube.com/thebrownenglish
แล้วเจอกันนะคร้าบบโผมมมม