หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ รีวิว "การเมืองเรื่องตัณหา"

Share แชร์โพสท์โดย ngowkun

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ รีวิว

 

"การเมืองเรื่องตัณหา"

 

 

มีการเมือง ก็มีตัณหา มีตัณหา ก็มีการเมือง

 

 

 

หมุนเข็มนาฬิกากลับไปแค่ 7 ปี ปลายปี 2549 คณะปฏิวัติที่เรียกชื่อว่า คมช. โดยการนำของ พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ซึ่งเรียกชื่อในภายหลังว่า "ฉบับ พ.ศ.2550" ซึ่งมีผลใช้มาจนปัจจุบัน

 

วันนั้น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 1982 ท่าน ได้ร่วมกันลงคะแนนเพื่อเลือกตัวแทนเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งกำหนดไว้จำนวน 200 คน โดยสมาชิกทั้ง 200 คน ได้เลือกให้ นายนรนิติ เศรษฐบุตร เป็นประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

 

รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550 และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ จุลานนท์ ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฏว่า พรรคพลังประชาชน (พรรคไทยรักไทยเก่า) ซึ่งมีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นหัวหน้าพรรค ได้คะแนนเสียงข้างมาก จำนวนถึง 233 เสียง (ส.ส.) ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้า ได้คะแนนเสียง 165 เสียง (ส.ส.) ส่งผลให้พรรคพลังประชาชนได้เป็นรัฐบาลและนายสมัคร สุนทรเวช ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

 

ต่อมา ในวันที่ 9 กันยายน 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีปเป็นพิธีกรรายการ "ชิมไปบ่นไป" และ "ยกโขยงหกโมงเช้า" นั้น ผิดกฎหมายว่าด้วยผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ส่งผลให้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง และประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ นามว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องเขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีบารมีเหนือพรรคพลังประชาชน โดยนายสมชายเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 18 กันยายน 2551

 

ต่อมา วันที่ 2 ธันวาคม 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคพลังประชาชน เนื่องด้วยคดีทุจริตการเลือกตั้งของ นายยงยุทธ ติยะไพรัช กรรมการบริหารพรรค ส่งผลให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องหลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปด้วย

 

สมาชิกพรรคพลังประชาชน ได้แปรรูปไปตั้งพรรคใหม่ ในนาม "พรรคเพื่อไทย" และได้ลงเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 โดยมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรค ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นั้นสมัครเป็นสมาชิกพรรค แต่มิได้เป็นกรรมการพรรค ทั้งนี้ก็เพื่อจะเลี่ยงที่จะถูกปลดจากตำแหน่ง กรณีเกิดปัญหาจากกรรมการบริหารพรรค เหมือนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมา ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้คะแนนเสียงท่วมท้นถึง 265 เสียง (ส.ส.) และปรากฏว่า พรรคเพื่อไทยได้เสนอชื่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นคนแรกในประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย ที่นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มิได้เป็นหัวหน้าหรือแม้แต่กรรมการบริหารพรรค

 

ครั้นวันที่ 9 ธันวาคม 2556 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกกดดันจากมวลชนจำนวนมาก ให้ลาออกจากตำแหน่ง เพราะผลักดันพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ซึ่งเหมารวมทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีคดีซื้อที่ดินรัชฎาติดหลัง และยังหลบหนีอยู่ในต่างประเทศด้วย โดยรัฐบาลได้ประกาศยุบสภา และได้มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

 

แต่กลุ่มผู้ต่อต้านกลับเห็นว่า การเลือกตั้งเป็นการฟอกตัวของพรรคเพื่อไทย เพราะเชื่อว่า ไม่ว่าจะเลือกอีกกี่ครั้ง พรรคเพื่อไทยก็ชนะการเลือกตั้งตลอดกาล ไม่มีทางที่พรรคใหญ่อีกพรรค คือพรรคประชาธิปัตย์จะชนะได้เลย คณะกรรมการ กปปส. นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ จึงเริ่มรณรงค์ "ปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง" โดยแรกนั้นขอให้เลื่อนเวลาเลือกตั้งออกไปก่อน แต่ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่า "แม้ว่าจะเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 4 พฤษภาคม 2557 ก็ไม่มีความหมาย" นั่นหมายถึงว่า ถ้ายังปฏิรูปประเทศไทยไม่เสร็จสิ้น กปปส. ก็ไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งเด็ดขาด แต่ทั้งนี้ กปปส. ก็มิได้ระบุว่า "จะใช้เวลาเท่าใดในการปฏิรูปประเทศไทย" ก่อนจะเปิดให้มีการเลือกตั้ง

 

อีกทั้ง เป้าหมายที่ กปปส. นำมาประชาสัมพันธ์ให้มวลชนทราบก็คือ จะวางระบบให้ประเทศไทยไม่มีการทุจริต คอรัปชั่น และที่สำคัญก็คือ "ไม่มีนักการเมืองโกง" ซึ่งทั้งสามประการเหล่านี้ ยังไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยในโลกใบนี้ว่า มีประเทศใดบ้างที่ไม่มีการทุจริต คอรัปชั่น และไม่มีนักการเมืองโกง แม้แต่คนเดียว !

 

จริงอยู่ การทุจริต คอรัปชั่น การโกง ฯลฯ ถ้ามองในแง่ของพระพุทธศาสนาก็เห็นว่า "เป็นกิเลส" แต่พระพุทธองค์ก็มิได้ห้าม "คนมีกิเลส" มาบวช นอกจากจะเป็นคนที่ชั่วช้าระดับอนันตริยกรรม คือฆ่าพระอรหันต์ หรือฆ่าพ่อฆ่าแม่เท่านั้น ทั้งนี้ พระพุทธศาสนาก็เหมือนมหาวิทยาลัย มีเป้าหมายเพื่อจะ "ฝึกสอนคน" ให้รู้ คือให้พ้นทุกข์ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเอาทั้ง คนดี-คนเก่ง และคนโง่-คนเลว มาฝึกสอน ถ้าเลือกสอนเฉพาะ "คนเก่ง-คนดี" ก็แสดงว่าสถาบันแห่งนี้เลือกปฏิบัติ ถึงสอนให้คนเก่งเป็นคนเก่งได้ ก็ไม่เห็นจะอัศจรรย์สิ่งใด เพราะคนเก่งนั้นเก่งอยู่แล้ว ถึงไม่ต้องสอนก็เก่งได้เอง ส่วนคนโง่นั้น ถ้านำมาสั่งสอนจนกลายเป็นคนฉลาดได้ ก็ต้องถือว่า "ผู้สอน" เป็นคนเก่งจริง

 

เรื่องนี้ ยืนยันได้จากการคัดคุณสมบัติของผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ ถ้าไม่พิกลพิการ และมีความผิดอุกฉกรรจ์ทั้งทางโลกทางธรรมแล้ว ก็ทรงโปรดให้บวชได้ ที่สำคัญก็คือ "ยังเป็นคนมีกิเลส" เพื่อจะเอามา "ปฏิบัติขัดเกลาให้หมดกิเลส" มิใช่แสวงหาคนที่หมดกิเลสแล้วมาบวช ถ้าเช่นนั้นพระพุทธศาสนาก็ไร้ค่า ไม่มีใครนับถือ

 

ที่อารัมภบทมาทั้งนี้ ก็เพื่อจะตั้งคำถามต่อสังคมไทยว่า จริงอยู่ แม้ว่าเราจะรังเกียจการทุจริตคอรัปชั่น การโกงบ้านโกงเมือง หรือนักการเมืองขี้โกง และแน่นอนว่า วัตถุประสงค์ของคณะ กปปส. นั้น ก็ดูดี ควรที่จะสนับสนุน แต่ดูไปแล้วก็เหมือนไกลเกินฝัน มันเป็นเรื่องสุดโต่ง เพราะถ้านักการเมืองมิใช่พระอริยบุคคลระดับพระอรหันต์แล้ว เมื่อเกี่ยวพันกับอำนาจและผลประโยชน์แล้ว ก็มิแคล้วต้องเสียคน ไม่ว่าใครก็ตาม !

 

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ รีวิว ในวันนี้ นำเอาบัญชีรายชื่อ "200 อรหันต์" มาทบทวน เพราะเขาเหล่านี้เป็นผู้สรรค์สร้างรัฐธรรมนูญ ฉบับดีที่สุดในโลก แต่สุดท้ายก็ใช้ได้แค่ 6 ปี วันนี้ก็มีคำถามเกิดใหม่เสียแล้วว่า "ยังไม่เพอร์เฟค" ยังต้องเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ ให้การเมืองบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างแท้จริงๆ และเผลอๆ หลายคน อาจจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กปปส. อีกด้วย จึงยังไม่รู้ว่า รัฐธรรมนูญบกพร่อง หรือผู้ร่างรัฐธรรมนูญบกพร่อง เพราะถ้าไม่บกพร่องก็คงไม่ต้องแก้ไขกันใหม่ คำถามจึงว่า แม้แต่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเลือกอย่างหลากหลายมาจากทุกสาขาอาชีพแล้ว กปปส. ก็ยังเห็นว่า "ใช้ไม่ได้" แล้วจะเลือกใครมาเป็นกรรมการร่างให้ดีกว่าเก่า เพราะคนไทยเราก็มีเพียงเท่านี้

 

คิดเล่นๆ ก็เห็นเป็นว่า เผลอๆ กปปส. อาจจะประกาศให้ "พระไตรปิฎก" เป็นรัฐธรรมนูญประจำชาติไทยฉบับใหม่ด้วยซ้ำไป เพราะประเทศไทยจะได้นายกรัฐมนตรีและนักการเมืองผู้ไม่โกงอย่างแท้จริง

 

แต่ถามว่า จะเป็นจริงได้แค่ไหน เพราะใน "มหาเถรสมาคม" ซึ่งนุ่งเหลืองห่มเหลืองมาแต่อ้อนแต่ออก แต่ก็ยังกอดกระสันต์กับยศถาบรรดาศักดิ์ เล่นพรรคเล่นพวก เล่นเส้นเล่นสาย โยกย้ายกันอย่างไม่มีคุณธรรมบ่าง ไม่มีคุณธรรมบ้าง รับสินบาทคาดสินบนกันจนเลอะเทอะเปอะเปื้อนไปหมด ดังกรณีเณรคำ มีแม้กระทั่ง "ซื้อยศ-ซื้อตำแหน่ง" แต่ที่ไม่มีใครทำอะไรได้ ก็เพราะมหาเถรสมาคมเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผูกขาดทั้งอำนาจในการบริหาร การนิติบัญญัติ และยุติธรรม

 

คำถามจึงมีว่า ก็ขนาดองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งเป็นเสาหลักในด้านความบริสุทธิ์ยุติธรรม ยังเป็น "เผด็จการสมบูรณ์แบบ" แล้วจะเชื่อได้อย่างไรว่า การเมืองไทย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ นับถือพระนับถือเจ้า จะไม่ตกต่ำย่ำแย่กว่า ดังที่เห็น

 

วิธีการหนึ่งซึ่งควรพิจารณาก็คือว่า ในการรณรงค์ทางการเมืองของ กปปส. ในครั้งนี้ มีเป้าโจมตีไปที่ "นโยบายประชานิยม" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเรียกว่า "ระบอบทักษิณ" ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ยังนิยม และฝ่ายต่อต้านก็ยังยอมรับถึงขนาดเชื่อว่า "ไม่ว่าจะเลือกตั้งสักกี่ครั้ง ก็สู้ทักษิณไม่ได้"

 

ถ้าเราเห็นว่า ระบอบทักษิณ เป็นระบอบเลวร้าย เหมือนยาเสพติดที่ทำลายต่อร่างกายและจิตใจของผู้เสพ นั้นเป็นความเห็นเบื้องต้นในการพิจารณาอาการของผู้ป่วย แต่สำหรับวิธีการรักษาเยียวยาแล้ว หากหักโหมรุนแรงเกินไป ในทำนอง "หักดิบ" ก็อาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยนั้น "ลงแดง" ตายได้ ก็จะกลายเป็นความสูญเสีย มากกว่าการช่วยเหลือ

 

เราก็เชื่อเช่นกันว่า กระบวนการประชาธิปไตย ยังต้องใช้เวลาพิสูจน์ รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 ยังเพิ่งใช้ได้เพียง 6-7 ปี ก็จะฉีกทิ้งเสียแล้ว ยังใหม่สดอยู่เลย จะมิไวเกินไปหรือ หรือว่าเราเสพติดกับตัวบทกฎหมายและการเขียนรัฐธรรมนูญมากเกินไป ฝากความหวังไว้กับกระดาษและตัวหนังสือเพียงไม่กี่บรรทัด เพื่อจะยกระดับประเทศไทยไปสู่ความศิวิไลซ์ ?

 

 

 

 

สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ

พุทธศักราช 2550

    
       1.นายโอกาส เตพละกุล ภาครัฐ
       2.นางภรณี ลีนุตพงษ์ ภาคเอกชน
       3.นายสุวิทย์ พิพัฒน์วิไลกุล ภาคเอกชน
       4.นายทวี เตชะธีราวัฒน์ ภาคสังคม
       5.นายอุทิศ ชูช่วย ภาครัฐ
       
       6.รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย ภาคสังคม
       7.พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ภาครัฐ
       8.ว่าที่ร้อยตรีสมทรง สรรพโกศลกุล ภาครัฐ
       9.นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ ภาควิชาการ
       
10.รองศาสตราจารย์เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ภาควิชาการ
       
       11.นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ ภาครัฐ

       12.นายจรัญ ภักดีธนากุล ภาควิชาการ

       
13.ศาสตราจารย์สมคิด เลิศไพฑูรย์ ภาควิชาการ
       14.นายไพศาล ปราการรัตน์ ภาครัฐ
       15.นายไพโรจน์ พรหมสาส์น ภาควิชาการ
       
       16.นายวิทธยา บริบูรณ์ทรัพย์ ภาครัฐ
       17.นายศิวะ แสงมณี ภาคเอกชน
       18.นายสุรพล พงษ์ทัดศิริกุล ภาครัฐ
       
19.นายกล้านรงค์ จันทิก ภาครัฐ
       20.นายชาติชาย แสงสุข ภาคสังคม
       

       21.นายเสรี สุวรรณภานนท์ ภาควิชาการ

       22.นายชํานาญ ภูวิลัย ภาครัฐ
       23.นางสาวพรรณราย ขันธกิจ ภาครัฐ
       24.นายอิทธิพล เรืองวรบูรณ์ ภาครัฐ
       25.นายนพพร ศักดาพร ภาคเอกชน
       
       26.นายวิชัย จันทร์วิเศษ ภาคสังคม
       27.นายวิทยา งานทวี ภาคเอกชน
       28.นายสํารอง ปันสุยะ ภาคสังคม
       29.นายอําไพ กองมณี ภาครัฐ
       30.นายชวลิต หมื่นนุช ภาควิชาการ
       
       31.นายรุจาธิตย์ สุชาโต ภาคเอกชน
       
32.นายนรนิติ เศรษฐบุตร ภาควิชาการ
       33.นายประสงค์ พิทูรกิจจา ภาครัฐ
       34.นายมนตรี เพชรขุ้ม ภาครัฐ
       35.นายสุทิน ภาศิวะมาศ ภาคเอกชน
       
       36.นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ ภาครัฐ
       37.นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ภาคเอกชน
       38.นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ ภาครัฐ
       39.นายมานิจ สุขสมจิตร ภาคสังคม
       40.นายชัยเกษม นิติสิริ ภาครัฐ
       
       41.พลตํารวจเอกมีชัย นุกูลกิจ ภาครัฐ
       42.นายยุทธนา ยุพฤทธิ์ ภาคเอกชน
       43.นายวิชัย ศรีขวัญ ภาครัฐ
       44.ศาสตราจารย์เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ ภาควิชาการ
       45.นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ภาคเอกชน
       
       46.พลตํารวจโทอัศวิน ขวัญเมือง ภาครัฐ
       47.นายเดโช สวนานนท์ ภาควิชาการ
       
48.นายสวัสดิ์ โชติพานิช ภาครัฐ
       49.นายประดิษฐ สุโชคชัยกุล ภาคเอกชน
       50.นายยอดยิ่ง จันทนพิมพ์ ภาครัฐ
       
       51.นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ภาคเอกชน
       52.นายเศวต ทินกูล ภาคเอกชน
       53.นายสุนทร จันทร์รังสี ภาคสังคม
       54.รองศาสตราจารย์นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ภาควิชาการ
       55.นายนพดล แก้วสุพัฒน์ ภาครัฐ
       
       56.นายประพันธ์ นัยโกวิท ภาครัฐ
       57.นางพัชนี ธนาพรสิน ภาคเอกชน
       58.นายวัฒนศักดิ์ จังจรูญ ภาคเอกชน
       59.นายวีนัส ม่านมุงศิลป์ ภาคเอกชน
       60.นายอัครวิทย์ สุมาวงศ์ ภาครัฐ
       
       61.นายขจรศักดิ์ นันทปัญญา ภาครัฐ
       62.นายคมสัน โพธิ์คง ภาควิชาการ
       63.นายประสิทธิ์ จันทกลาง ภาครัฐ
       64.นายพีระ ตั้งชูทวีทรัพย์ ภาครัฐ
       65.สิบเอกวิรัช ทองเพชร ภาครัฐ
       
       66.นายอรัญ ธรรมโน ภาควิชาการ
       67.นายโอรส วงษ์สิทธิ์ ภาครัฐ
       68.ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ ภาควิชาการ
       69.พลตํารวจตรีเกริก กัลยาณมิตร ภาคสังคม
       70.ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ภาควิชาการ
       
       71.นายชนินทร์ บัวประเสริฐ ภาครัฐ
       72.นายธีรวัฒน์ ร่มไทรทอง ภาควิชาการ
       73.นายบุญลือ เพชรบดี ภาครัฐ
       74.นายประดิษฐ์ เหลืองอร่าม ภาคเอกชน 74
       75.นายพินิจ สุเสารัจ ภาครัฐ
       
       76.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ ภาครัฐ
       77.นายรัฐ ชูกลิ่น ภาคสังคม
       78.นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ ภาคสังคม
       79.นายวิทยา คชเขื่อน ภาครัฐ
       80.นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ภาครัฐ
       
       81.นายสมชัย ฤชุพันธุ์ ภาครัฐ
       82.นายสราวุธ เบญจกุล ภาครัฐ
       83.นายเสถียร เม่นบางผึ้ง ภาคเอกชน
       84.นายอุดมศักดิ์ บุพนิมิตร ภาคสังคม
       85.นายการุณ ใสงาม ภาคสังคม
       
       86.ผู้ช่วยศาสตราจารย์เจริญ ปิยารมย์ ภาคเอกชน
       87.นายชูชัย ศุภวงศ์ ภาครัฐ
       88.นายธวัช บวรวนิชยกูร ภาคเอกช
       89.นายธวัชชัย ศรีจํานงค์ ภาคสังคม
       90.นายธํารงค์ น่วมศิริ ภาคสังคม
       
       91.พันเอกนรินทร์ พรรณรายน์ ภาครัฐ
       92.นายประกอบ เมืองทัง ภาคเอกชน
       93.นายประวิทย์ อัครชิโนเรศ ภาคเอกชน
       94.นางมนูญศรี โชติเทวัญ ภาคเอกชน
       95.นายยงยศ แก้วเขียว ภาคเอกชน
       
       
96.รองศาสตราจารย์วรากรณ์ สามโกเศศ ภาควิชาการ
       97.นายวิทยา ผิวผ่อง ภาครัฐ
       98.นายวิทวัส บุญญสถิตย์ ภาคเอกชน
       99.รองศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพานิช ภาครัฐ
      
 100.นางสดศรี สัตยธรรม ภาครัฐ
       
       101.นายสมเกียรติ รอดเจริญ ภาคสังคม
       102.นายสิทธิศักดิ์ วงค์อ่อน ภาคเอกชน
       103.นายสุรพล นาคนคร ภาคเอกชน
       104.นายหลักชัย กิตติพล ภาคเอกชน
       105.นายอรรครัตน์ รัตนจันทร์ ภาคเอกชน
       
       106.นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ภาคเอกชน
       107.นายกิตติพงษ์ ขันตี ภาคสังคม
       108.นายเกรียงเดช สุทธภักติ ภาคเอกชน
       109.นายเกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ ภาคสังคม
       110.รองศาสตราจารย์ดวงสุดา เตโชติรส ภาควิชาการ
       
       111.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย ภาควิชาการ
       112.นางนิรัตน์ คงวราคม ภาคเอกชน
       113.นายนิวัฒน์ พ้นชั่ว ภาควิชาการ
       114.นายปกรณ์ ปรียากร ภาควิชาการ
       115.พลเรือเอกพีรศักดิ์ วัชรมูล ภาคสังคม
       
       116.นายสมเดช คงเดช ภาคสังคม
       117.นายสายัณห์ วสุธาสวัสดิ์ ภาคสังคม
       118.นายสุชาติ สหัสโชติ ภาครัฐ
       119.นายเสรี นิมะยุ ภาครัฐ
       120.นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล ภาคเอกชน
       
       121.นายอมรศักดิ์ นพรัมภา ภาคเอกชน
       
122.นางอังคณา นีละไพจิตร ภาคเอกชน
       123.รองศาสตราจารย์กิตติ ตีรเศรษฐ ภาควิชาการ
       124.พลอากาศตรีจุลจรูญ แสงงําพาล ภาครัฐ
       125.พลตํารวจโทธรรมนิตย์ ปิตะนีละบุตร ภาคสังคม
       
       126.นายธีวรา วิตนากร ภาคเอกชน
       127.นายนิตย์ วังวิวัฒน์ ภาคเอกชน
       128.นายนุรักษ์ มาประณีต ภาควิชาการ
       129.นางสาวปราศรัย ประวัติรุ่งเรือง ภาควิชาการ
       130.นายปรีชา พัวนุกุลนนท์ ภาคสังคม
       
       131.นางสาวพวงเพชร สารคุณ ภาครัฐ
       132.พันตํารวจโทพีระ วิชากรกุล ภาครัฐ
       133.นายศุภัคชัย เอมอ่อน ภาครัฐ
       134.นายสนั่น อินทรประเสริฐ ภาควิชาการ
       135.นายสามขวัญ พนมขวัญ ภาคเอกชน
       
       136.นายสุทธิเดช จันทวิชานุวงษ์ ภาครัฐ
       137.นายอานนท์ พรหมนารท ภาครัฐ
       138.นายอุดม ชัยเจริญ ภาครัฐ
       139.นางกรรณิกา ดํารงวงศ์ ภาคเอกชน
       140.นายกฤษฎา ให้วัฒนานุกูล ภาคเอกชน
       
       141.นายชาลี กางอิ่ม ภาครัฐ
       142.นายนิมิตร ชัยจีระธิกุล ภาคเอกชน
       
143.นายบุญยอด สุขถิ่นไทย ภาคสังคม
       144.นายพัฒเศรษฐ ศันสนะพิทยากร ภาครัฐ
       145.นายมงคล ภาธรธุวานนท์ ภาคสังคม
       
       146.นายเมธา แช่มสะอาด ภาครัฐ
       147.รองศาสตราจารย์รุจิรา เตชางกูร ภาควิชาการ
       148.นายรุสลัน อารง ภาครัฐ
       149.นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ภาคเอกชน
       150.นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ ภาครัฐ
       
       151.นายวัชรา หงส์ประภัศร ภาคสังคม
       152.นายวิทูร ชาติปฏิมาพงษ์ ภาครัฐ
       153.นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น ภาคสังคม
       154.นายสมยศ สมวิวัฒน์ชัย ภาคสังคม
       155.นายสวิง ตันอุด ภาคสังคม
       
       156.นายสุเทพ ชูชัยยะ ภาครัฐ
       157.นางสาวอลิสา พันธุศักดิ์ ภาคเอกชน
       158.นายอวยชัย วรดิลก ภาครัฐ
       159.นางอารีย์ อิ้งจะนิล ภาควิชาการ
       160.นางกรรณิการ์ บรรเทิงจิตร ภาคเอกชน
       
       161.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ภาควิชาการ
       
162.ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคสังคม
       163.นายโกมุท ฑีฆธนานนท์ ภาครัฐ
       
164.ศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา ภาควิชาการ
       165.นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ภาคเอกชน
       
       166.นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ภาคเอกชน
       167.นาย ช.ชัยนาท ศรีเสมาเมือง ภาครัฐ
       168.นายโชคชัย อักษรนันท์ ภาครัฐ
       169.ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ ภาควิชาการ
       170.นายเดชา ทองสุวรรณ ภาคสังคม
       
       171.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธวัชชัย พีรพัฒน์ดิษฐ์ ภาครัฐ
       172.นายประภาส นิยมทอง ภาควิชาการ
       173.นายปริญญา ศิริสารการ ภาคสังคม
       174.นายพิเชียร อํานาจวรประเสริฐ ภาคเอกชน
       175.นายพิพัฒน์ วงศาโรจน์ ภาครัฐ
       
       176.นายพีรศักดิ์ ว่องวชิราพาณิชย์ ภาคสังคม
       177.นายมณเฑียรทอง ธนเศรษฐ์ ภาคสังคม
       178.นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ภาครัฐ
       179.นายยุทธนา กาญจนวงศ์ชัย ภาคเอกชน
       180.นายวิชัย ทวีปวรเดช ภาครัฐ
       
       181.นายวิชัย เรืองเริงกุลฤทธิ์ ภาคสังคม
       182.นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ภาคเอกชน
       183.นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ ภาครัฐ
       184.นายเอกพร โฆษะครรชิต ภาคเอกชน
       185.ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิวัต กลิ่นงาม ภาควิชาการ
       
       186.ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรรณราย แสงวิเชียร ภาควิชาการ
       187.นายพิทูร พุ่มหิรัญ ภาครัฐ
       188.นายพิสิฐ ลี้อาธรรม ภาคเอกชน
       189.นายวรท ศรีไพโรจน์ ภาคเอกชน
       190.นายวโรทัย ภิญญสาสน์ ภาคเอกชน
       
       191.นายวิชัย รูปขําดี ภาควิชาการ
       192.นายวิชา มหาคุณ ภาครัฐ
       193.นายวิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ ภาครัฐ
       194.นายวีริศ กวยะปาณิก ภาครัฐ
       195.นายสมชาย มีเสน ภาคสังคม
       
       196.ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย วงศ์เกษม ภาคสังคม
       197.นายสรรพกิจ ปรีชาชนะชัย ภาคสังคม
       198.นายสํารวย ฉิมฉวี ภาครัฐ
       199.ศาสตราจารย์เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ภาคเอกชน
       200.นายอภิชาติ ดําดี ภาคสังคม
 

 

 

 

 

 

 

 

อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม
15 มกราคม 2557

 

ที่มา:www.alittlebuddha.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ngowkun's profile


โพสท์โดย: ngowkun
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวสั่งอาหารผ่านแอพฯ แต่ไรเดอร์แชทบอกเธอให้เปลี่ยนร้าน เพราะร้านนี้สกปรกมาก 😌รวบแล้ว 1 มือวางเพลิงป่วนใต้10 เคล็ดลับในการฮีลใจตัวเอง สามารถทำได้อย่างไรบ้าง มาดูกันจ้า
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ่านนิยายไร้สาระจริงหรือ"ซีอิ๊วแบบเม็ด" ฉีกทุกกฎของซอส..นวัตกรรมใหม่จาก "เด็กสมบูรณ์""บิ๊กเต่า" รับหลักฐาน "ทนายตั้ม" ลั่น ใหญ่แค่ไหนก็จับ ไม่มีใครใหญ่กว่าประตูห้องขัง9 โรงเรียนหญิงล้วนที่น่าสนใจในประเทศไทยหลวงพี่เขมรแนะชาวเขมร ว่า..“ไทยเอาคำว่า‘สงกรานต์‘ไปแล้ว งั้นเขมรเราใช้คำว่า ’มหาอังกอร์สงกรานต์‘ ดีไหม? เพราะคำนี้มันใหญ่กว่าสงกรานต์ธรรมดา”
ตั้งกระทู้ใหม่