นมที่คุณรัประทานอยู่ทุกวัน ผสมแป้งจริงหรือ??
จากการทดลอง ของโรงเรียน ใน เขตพื้นที่การศึกษาภาคกลาง เขต 1 แห่งหนึ่ง เพื่อ พิสูจน์แป้งในนมโรงเรียน เราลองมาดูผลกันว่า คุณจะได้ สารอาหารในนมนั้นๆ ตามต้องแค่ไหน คือได้รับ โปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต อะไรมากกว่ากัน
มนุษย์ต้องการอาหารเพื่อดำรงชีวิต อาหารที่มนุษย์กินมีสารอาหารเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่และวิตามิน สารอาหารที่ให้พลังงาน คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย คือ เกลือแร่และวิตามิน ในบางครั้งอาหารที่เรากินเข้าไป ก็อาจมีการปนเปื้อนสารบางอย่างทั้งที่เป็นอันตรายและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หรืออาจมีการปลอมปนสารบางอย่างเข้าไปเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า นม ก็เป็นอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายซึ่งมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมาก และอาจมีการปลอมปนสารบางอย่างเข้ามา ซึ่งเราควรเลือกกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เหมาะสมกับเพศและวัย เพื่อสุขภาพที่ดีของร่างกาย
เพื่อตรวจสอบหาแป้งในนมแต่ละชนิด ถ้าในนมมีแป้งผสมอยู่จะให้ผลการเปลี่ยนแปลงกับสารละลายไอโอดีน
ตัวแปร
ตัวแปรต้น = ชนิดของนม (นมชนิดต่างๆ)
ตัวแปรตาม = ผลการทดสอบกับสารละลายไอโอดีน (เกิดสีน้ำเงินขึ้น)
ตัวแปรควบคุม = ปริมาตรนม, จำนวนหยดของสารละลายไอโอดีน,
การเขย่า, ขนาดหลอดทดลอง
นมเป็นผลิตผลจากสัตว์ชนิดเดียวที่มีน้ำตาลแล็กโทสเชื่อกันว่า น้ำตาลแล็กโทสในนมอาจเป็นอาหารบำรุงสมอง เพราะกาแล็กโทสซึ่งเป็นส่วนประกอบของแล็กโทสนั้น พบว่าเป็นองค์ประกอบของระบบประสาทกลาง
คนไทยบริโภคผลิตผลจากสัตว์ปีละมากๆ และสั่งผลิตภัณฑ์นมเข้าประเทศปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์นมผงและนมเลี้ยงทารก นมที่ผลิตในประเทศมีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการนมทั้งประเทศ
ตารางที่ 1 ส่วนประกอบที่สำคัญในนม
ผลิตภัณฑ์นม |
น้ำ % |
โปรตีน % |
ไขมัน % |
คาร์โบไฮเดรต % |
นมสด |
87.2 |
3.5 |
3.7 |
4.9 |
คาร์โบไฮเดรต
แป้ง เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ พบมากในข้าว เผือก มัน
ไกลโคเจน เป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง มีสะสมในมนุษย์และสัตว์ เพื่อเป็นอาหารสำรองไว้ในยามที่ร่างกายต้องการพลังงานฉุกเฉิน
การตรวจสอบคาร์โบไฮเดรต
-การทดสอบแป้ง ใช้สารละลายไอโอดีน จะเกิดปฏิกิริยาได้สีน้ำเงินเข้ม
แป้ง + สารละลายไอโอดีน (สีน้ำตาลแดง) กฃายเป็น สีน้ำเงินเข้ม
การทดสอบน้ำตาลโมเลกุลคู่ ได้แก่ แล็กโทส โดยใช้สารละลายเบเนดิกต์จะได้ตะกอนสีเขียวหรือเหลือง
- อุ่นร้อน
แล็กโทส + สารละลายเบเนดิกต์ (สีฟ้า) หลายเป๋น ตะกอนสีเขียว , เหลือง
จากการทดสอบหาแป้งในนมชนิดต่างๆ ได้ผลการทดลองดังนี้
- หลอดที่ 1 ใส่นมโรงเรียน 5 cm3 หยดสารละลายไอโอดีน 20หยด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของนม
- หลอดที่ 2 ใส่นมสดยี้ห้อ ก. 5 cm3 หยดสารละลายไอโอดีน 20 หยด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของนม
- หลอดที่ 3 ใส่นมสดยี้ห้อ ค. 5 cm3 หยดสารละลายไอโอดีน 20 หยด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของนม
- หลอดที่ 4 ใส่น้ำเต้าหู้ 5 cm3 หยดสารละลายไอโอดีน 20 หยด เปลี่ยนแปลงสีของนมเป็นสีเขียวคล้ำ
- หลอดที่ 5 ใส่นมถั่วเหลืองยี้ห้อ ค. 5 cm3 หยดสารละลายไอโอดีน 20 หยด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีของนม
- หลอดที่ 6 ใส่นมโรงเรียนผสมน้ำแป้ง 5 cm3 หยดสารละลายไอโอดีน 10 หยด เปลี่ยนสีของนมเป็นสีน้ำเงินเข้ม
ตารางบันทึกผลการทดลอง
หลอดที่/ชนิดของนม |
การเปลี่ยนสีของนม |
ปริมาณ ไอโอดีน (หยด) |
|||
ก่อนทดสอบ |
หลังทดสอบ |
||||
ครั้งที่ 1 |
ครั้งที่ 2 |
ครั้งที่ 3 |
|||
1. นมโรงเรียน |
ขาว |
- |
- |
- |
20 |
2. นมสดยี้ห้อ ก. |
ขาว |
- |
- |
- |
20 |
3. นมสดยี้ห้อ ข. |
ขาว |
- |
- |
- |
20 |
4. น้ำเต้าหู้ |
ขาว |
เขียวคล้ำ |
เขียวคล้ำ |
เขียวคล้ำ |
20 |
5. นมถั่วเหลืองยี้ห้อ ค. |
ขาว |
- |
- |
- |
20 |
6. นมโรงเรียน+น้ำแป้ง |
ขาว |
น้ำเงินเข้ม |
น้ำเงินเข้ม |
น้ำเงินเข้ม |
10 |
จากผลการทดสอบแป้งโดยใช้สารละลายไอโอดีน พบว่าในนมโรงเรียนไม่มีแป้งเป็นส่วนผสม เพราะ เมื่อหยดสารละลายไอโอดีนลงไปในนม ไม่เปลี่ยนสีสารละลายไอโอดีนเป็นสีน้ำเงิน ดังสมการ
นมโรงเรียน(สีขาว) + สารละลายไอโอดีน (สีน้ำตาลแดง) >>> ไม่เปลี่ยนสี
คือ ไม่ให้ผลการทดสอบกับสารละลายไอโอดีน (ไม่เป็นสีน้ำเงินเข้ม) และถ้าผลการทดสอบนมโรงเรียนพบว่ามีแป้งเป็นส่วนผสมอยู่ เมื่อดื่มเข้าไปก็จะได้รับสารอาหารในนมนั้นลดลงไป แต่จะได้แป้งมากขึ้น (เทียบกับ 1 หน่วยบริโภค) ซึ่งอาจเกิดมาจากผู้ค้าต้องการหวังผลทางการค้า ให้ได้ปริมาณนมมากขึ้นจะได้มีกำไรมากๆ
*****ดีที่สุดเลือกอย่างชาญฉลาด...อ่านข้อมูลข้างขวด ข้างกล่องก่อนซื้อนมเป็นดีที่สุดว่า คุณจะกินแป้ง ( คาร์โบไฮเดรต) หรือจะกิน โปรตีน You got what you choose.