กาลครั้งหนึ่งกลางปี 2555....จากกระทู้ในพันทิพย์นะคะอ่านแล้วอึ้งค่ะ
ปัจจุบันมียาดีช่วยเราได้ค่ะ
ลองเทียบง่ายๆ เวลาไปซื้อของที่ตลาดหรือห้าง
ที่อังกฤษ ผมซื้อของกินเข้าบ้าน 20 ปอนด์ กินได้ 1 อาทิตย์ ซื้อได้ทั้งไก่ ผัก ผลไม้ ไข่ ฯลฯ
ค่าแรงขั้นต่ำประเทศอังกฤษ ของเด็กเสริฟ์ คนล้างจาน คนเก็บขยะ อยู่ที่ ชม ละ 6 ปอนด์
นั้นหมายถึงว่า ทำงานประมาณ 4 ชม. ครึ่งวัน มีเงินพอซื้ออาหารกินไป 1 อาทิตย์แล้ว
พอกลับไปเมืองไทย เดินซืัอของในตลาดตกใจมาก ราคาอาหารตามสั่งก็แพง ขนมก็แพง
ถ้าประหยัด ก็จะไปซื้อของในตลาด ให้พอกิน 1 อาทิตย์ ใช้เงินประมาณ 500-600 บาท
ในขณะที่เงินเดือนขั้นต่ำคนไทย ชม. ละ 30-40 บาท หรือวันละ 300 บาท
นั้นหมายถึงคนไทยต้องทำงาน 1-2 วันเพื่อให้ซืัอของกินได้ 1 อาทิตย์
สินค้าอื่นๆ นะ
- ราคาโค๊กกระป๋อง ที่อังกฤษ 1 ปอนด์ ซื้อได้ 3 กระป๋อง คือทำงาน 1 ชม. (6 ปอนด์) ซื้อได้ 18 กระป๋อง
- ราคาโค๊กกะป๋องที่เมืองไทย 15 บาท (ใช่เปล่า ไม่แน่ใจ) นั้นคือทำงาน 1 ชม. (30 บาท) ซื้อโค๊กได้ 2 กระป๋อง
- ราคาไข่ไก่ อังกฤษ ลูกละ 0.11 ปอนด์ คือทำงาน 1 ชม (6 ปอนด์) ซื้อได้ 54 ฟอง
- ราคาไข่ไก่ เมืองไทย ลูกละ 3 บาท ทำงาน 1 ชม (30 บาท) ซื้อได้ 10 ฟอง
ที่บอกว่าเมืองไทยน่าเทียว ค่าครองชีพถูก ผมว่าสำหรับฝรั่งที่ถือเงินดอลล่าไปเที่ยวมากกว่า
แต่ถือว่าแพงมากสำหรับคนไทย ที่ใช้เงินบาท
คำว่า "ค่าครองชีพ" (Cost of Living) หมายถึง ค่าใช้จ่ายของบุคคลหรือครัวเรือน ในการซื้อสินค้าและบริการตามชนิดและปริมาณจำนวนหนึ่ง ที่ยอมรับกันว่าจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ และมีความเหมาะสมกับระดับแห่งการพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น และค่าครองชีพนั้น ยังใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอีกด้วย
นอกจากนั้น ค่าครองชีพของประชากรในแต่ละประเทศสามารถสะท้อนได้ถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ ได้เช่นกัน ฉะนั้น ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงได้มีการสำรวจค่าครองชีพของประชากรในประเทศ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์สภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งแต่ละสถาบันที่ได้ทำการสำรวจ ผลลัพธ์ที่ได้มักจะไม่ต่างกันมากนัก และนี่ คือตัวอย่างผลสำรวจจากหลากหลายสถาบันที่ได้สำรวจค่าครองชีพของปี 2009
ผลสำรวจจาก 2 สถาบัน 10 เมือง ที่มีค่าครองชีพแพงที่สุด ปี 2552
สถาบันอิสระ (EIU) ผลสำรวจของบริษัท Mercer Consulting
1. โตเกียว (ญี่ปุ่น) 1. โตเกียว (ญี่ปุ่น)
2. โอซากา (ญี่ปุ่น) 2. โอซากา (ญี่ปุ่น)
3. ปารีส (ฝรั่งเศส) 3. กรุงมอสโค (รัสเซีย)
4. โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก) 4. เจนีวา (สวิตเซอร์แลนด์)
5. ออสโล (นอร์เวย์) 5. ฮ่องกง
6. ซูริค (สวิตเซอร์แลนด์) 6. ซูริค (สวิตเซอร์แลนด์)
7. แฟรงค์เฟิร์ต (เยอรมัน) 7. โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก)
8. เฮลซิงกิ (ฟินแลนด์) 8. นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา)
9. เจนีวา (สวิตเซอร์แลนด์) 9. ปักกิ่ง (จีน)
10. สิงคโปร์ 10. สิงคโปร์
การจัดอันดับเรื่องค่าครองชีพของประชากรในแต่ละประเทศ นอกจากจะเป็นประโยชน์กับนักการตลาดและนักลงทุนที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดและปรับเพิ่มการลงทุนทางธุรกิจของเหล่าบริษัทข้ามชาติเพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายกิจการแล้ว ประชาชนคนทั่วไป ก็สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลนี้เพื่อช่วยในการตัดสินใจ เช่น ผู้ที่ต้องการไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ไปทำงาน ไปเรียนต่อที่ต้องเลือกว่าควรไปที่ใดจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยของเราค่าครองชีพยังคงสมเหตุสมผล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ถึงแม้จะเป็นเมืองหลวง แต่ค่าครองชีพในกรุงเทพมหานครยังต่ำกว่าเมืองหลวงในประเทศอื่น ๆ อยู่มากทีเดียว
เราในฐานะคนไทยก็ควรใช้จ่ายภายในประเทศ ซื้อของไทย กินของไทย เที่ยวเมืองไทย หากคิดจะเที่ยวเมืองใหญ่ ๆ กรุงเทพมหานครของเราก็มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ไม่น้อยกว่าเมืองใหญ่ในประเทศอื่น ๆ ทั้งยังเคยติดอันดับเมืองที่น่าเที่ยวที่สุดในโลกมาแล้ว นอกจากจะประหยัดเงินในกระเป๋าแล้ว ยังช่วยทำให้เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ หมุนเวียน ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนต่อไปอีกด้วย...
จาก...หนังสือบางกอก Economy ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 (มิถุนายน - กันยายน 2552)