หอกแห่งลองกินุส (Lance of Longinus, Spear of Longinus) คือ หอกที่ใช้แทงพระเยซูคริสต์ หลายคนอาจจะคิดว่าหอกเล่มนี้เป็นหอกที่ใช้สังหารพระเจ้า แต่วัตถุประสงค์ที่แท้จริง ของการแทงด้วยหอกคือ เพื่อตรวจสอบว่า พระเยซูได้สิ้นพระชนม์แล้วหรือยัง(แน่นอนถ้ายังไม่สิ้นพระชนม์จะต้องมีปฏิกริยาโต้ตอบของร่างกายแน่นอน)
- หอกลองกินุส เป็นที่รู้จักกันอีกในหลากหลายฉายานาม ดังนี้ หอกแห่งโชคชะตา (Spear of Destiny) , หอกศักดิ์สิทธิ์ (Holy Lance, Holy Spear) หอกแห่งพระคริสต์ (Spear of Christ)
- หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมในภาษาอังกฤษ จึงมีการใช้คำว่า Lance สลับไปมากับคำว่า Spear โดยทั้งสองคำมีความหมายถึง หอก ในภาษาไทยทั้งคู่ แต่คำว่า Lance นั้นมาจากคำว่า longche(ภาษากรีก แปลว่า หอก) คำนี้มีการกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญยอห์น(Gospel of John)
- ลองกินุส นั้นเป็น คาดว่าเป็นชื่อของ ทหารที่ใช้ หอกเล่มนี้แทงพระเยซู ชื่อ ลองกินุสนี้ไม่มีการกล่าวถึงใน พระวรสารนักบุญยอห์น แต่มีชื่อทหารโรมันนายนี้ปรากฏในพระวรสารฉบับของ นักบุญNicodemus หรือบันทึก(manuscripts)ในศตวรรษที่4ของPilate ในชื่อ ลองกินุส(Logginus หรือ Longinus)
- มีหอกมากมายหลายเล่มที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็น หอกศักดิ์สิทธิ์ลองกินุส แต่มีเพียง 3 เล่มเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดว่าคือ หอกลองกินุส เล่มจริง คือ เล่มแรกคือหอกวาติกันลองกินุส(Vatican lance) , เล่มที่สองคือEchmiadzin lance เล่มสุดท้ายคือหอกเวียนนาลองกินุส(Vienna Lance) แต่ละเล่มล้วนมีตำนานอันยาวนาน
หนึ่งในหอกลองกินุสที่งดงามที่สุด มีประวัติ และตกทอดสู่เหล่าบุคคลที่ยิ่งใหญ่มากมายหลายยุคหลายสมัย นั้นไม่มีเล่นไหนเกิน หอกเวีนยนาลองกินุส
ปฐมบทแห่งตำนาน เริ่มเมื่อ ค.ศ.33 เมื่อพระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน และถูกนายทหารโรมัน แทงด้วยหอกเพื่อตรวจสอบว่า พระองค์สิ้นพระชนม์แล้วหรือยัง?
ย่างเข้าสู่ ค.ศ.287 นายทหารโรมันชาวอียิปเชี่ยน นามว่ามอริเชียส(Mauritius) ได้ค้นพบหอกลองกินุสติดในอียิปต์ มอริเชียสเป็นผู้นำกองทัพชาวอียิปต์ 6,666(บางที่ใช้ตัวเลข 6600 คน) ทุกคนล้วนนับที่คริสตศาสนา ต่อมา เขาได้กลายเป็น เซนต์มอริเชียส เนื่องจากขัดพระบัญชากษัตริย์ Maximian ในการเข่นฆ่าชาวคริสต์ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวคริสต์ ทำให้ มอริเชียส ถูกประหารชีวิต
ในช่วง ค.ศ.312 พระเจ้าคอนสแตนตินมหาราช กษัติรย์โรมันผู้นับถือคริสตศาสนา ที่เชื่อว่าพระองค์ได้รับการช่วยเหลือจาก หอกลองกินุส ในการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาิติโรมัน พระองค์จึงทำการแทรก ตะปูศักดิ์สิทธิ์(ตะปูที่ใช้ตรึงกางเขนพระเยซู) ลงไปบนใบดอกลองกินุส
ในช่วง ค.ศ.800 พระเจ้าชาร์ลมาญมหาราช(Emperor Charlemagne) กษัตริย์นักรบอันเกรียงไกร ผู้มีตำนานไร้พ่ายจนสามารถรวบรวมดินแดนแดนที่ปัจจุบันเป็น เยอรมัน ฝรั่งเศลไว้ได้เกือบทั้งหมด และเป็นผู้ก่อตั้ง อาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ ตำนานกล่าวไว้ว่าพระองค์เชื่อว่า หอกศักดิ์สิทธิ์ได้ประทานพลังอำนาจให้แด่พระองค์ พระองค์ทรงเก็บรักษาหอกไว้กับตัวเสมอ และพระองค์ก็สิ้นพระชนม์เนื่องจากทำหอกตกจากมือจึงเสียชีวิตในการรบ พระองค์เป็นผู้เสริมปีกหอก ให้ แด่หอกศักดิ์สิทธิ์
ในปีช่วง ค.ศ.1046 พระเจ้าเฮนรี่ที่3มหาราช ผู้สืบเชื้อสายมาจาก ชาร์ลมาญ พระเจ้าเฮนรี่ได้ทำการหุ้มหอกด้วยแผ่นเงิน เนื่องจาก หอกลองกินุสเกิดหัก (คาดว่าเป็นผลจากความพยายามจะ
ฝัง ตะปูศักดิ์สิทธิ์ ดอกที่ 2 ลงไปในหอก)
ในช่วง ค.ศ.ที่ 1350 ในยุคสมัยของพระเจ้าชาร์ลที่4 พระองค์ได้สร้างปราสาท Karlstejn ในกรุง ปราก(Prague) เพื่อเป็นที่เก็บรักษา หอกลองกินุส และทรงหุ้มหอกลองกินุสใหม่ด้วยทองคำ
ในช่วง ค.ศ.1400 ผู้สืบเชื้อสายจากพระเจ้าเฮนรี่ที่4 ได้ขายหอกศักดิ์สิทธิ์ ให้แก่สภาเมืองนูเรมเบิร์ก(Nuremberg town council) หอกศักดิ์สิทธิ์ถูกเก็บรักษาไว้ในหีบเงิน และถูกลืมเลือนไปจากหน้าประวัติศาสตร์เกือบ 400 ปี
ต่อมาในช่วงปี ค.ศ.1796 นโปเลียน โบนาปาร์ต(Napoléon Bonaparte) ผู้เกือบจะได้เป็นเจ้าโลก ก็หวังในพลังอำนาจของ หอกลองกินุส ได้ปิดล้อมเมืองนูเรมเบิร์ก ทำการข่มขู่เหล่าสมาชิกสภาเมืองให้เปิดเผยที่ซ่อนและส่งมอบหอกให้แก่ตนเอง หอกลองกินุสจึงถูกนำไปซ่อนยังกรุงเวียนนา ให้พ้นจากเงื้อมือของนโปเลียน
ในช่วงปี ค.ศ.1938 เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์(Adolph Hitler) ยึดประเทศออสเตรียได้ ฮิตเลอร์ได้ยึดเอา หอกลองกินุส และนำกลับไปยังเมืองนูเรมเบิร์ก ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของ หอกลองกินุสเกือบ 400 ปี อีกครั้ง
มีการกล่าวอ้างถึงขั้นว่า ฮิตเลอร์เก็บหอกลองกินุสไว้ใต้ที่นอนเพื่อเวลานอนจะได้ ดูดซับพลังอำนาจเข้าสู่ตนเอง
ในช่วงปี ค.ศ. 1945 เมือเยอรมันแพ้สงคราม นายพล George S. Patton ค้นพบ หอกลองกินุสในบังเกอร์ใต้ดิน ใต้ปราสาทนูเรมเบิร์ก เขาจึงนำหอกลองกินุสกลับไปยัง ออสเตรีย และเก็บรักษาไว้พิพิธภัณฑ์ Schatzkammer จวบจนปัจจุบัน
รูปภาพจาก http://channel.nationalgeographic.com/series/when-rome-ruled/all/Overview33#tab-the-holy-spear