หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กว่าจะเป็นนมสดพาสเจอร์ไรส์

โพสท์โดย I AM THOR

 ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนที่ 1

คุณภาพของผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์ 
ต้องเริ่มต้นจากฟาร์มโคนมของเกษตรกร

 

 ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2

บริเวณรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรสมาชิก 
จัดส่งวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น

 

 ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอนที่ 3

การตรวจสอบน้ำนมดิบจากถังนมเกษตรกร
ก่อนการรับซื้อ โดยใช้การดูตะกอนของนมข้างหลอด ภายหลังจากผสมกับน้ำยาแอกอฮอล์ ในอัตราส่วน 1 : 1

 

 ขั้นตอนที่ 4
ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนที่ 4

ถังเก็บน้ำนมดิบความจุ 10,000 ลิตร 
รักษาความเย็นน้ำนมดิบไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 
4 องศาเซลเซียส ตลอดเวลา

 

 ขั้นตอนที่ 5
ขั้นตอนที่ 5

ขั้นตอนที่ 5

ตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ

  1. องค์ประกอบน้ำนมดิบ
    % ไขมัน - % โปรตีน 
    ค่าปริมาณของแข็ง
    ไม่รวมไขมัน - % น้ำตาลนม (แลคโตส)
  2. ปริมาณเชื้อจุลิตทรีย์ โดยวิธี รีซาซูลิน เทส
  3. การตกค้างของยาปฏิชีวนะของน้ำนมดิบ โดยชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และโดยวิธีเดลโว เทส

 

 ขั้นตอนที่ 6
ขั้นตอนที่ 6

ขั้นตอนที่ 6

น้ำนมดิบถูกต้มที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสคงที่ เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 นาที และปั๊มน้ำนมร้อน ผ่านกรองละเอียด

 

 ขั้นตอนที่ 7
ขั้นตอนที่ 7

ขั้นตอนที่ 7

น้ำนมร้อนที่ผ่านกรองละเอียดเข้าสู่
เครื่องโฮโมจิไนเซอร์ เพื่อตีไขมันนมให้เป็น
โมเลกุลเล็ก ๆ ใช้ความดัน 120 บาร์ และ
ผ่านชุดเพลท ลดอุณหภูมิจาก 80 องศาเซลเซียส เหลือ 4 องศาเซลเซียสอย่างรวดเร็ว

 

 ขั้นตอนที่ 8
ขั้นตอนที่ 8

ขั้นตอนที่ 8

นมสดพาสเจอร์ไรส์ รอการบรรจุในถังเย็น
รักษาระดับอุณหภูมิไว้ที่ 4 องศาเซลเซียสคงที่

 

 ขั้นตอนที่ 9
ขั้นตอนที่ 9

ขั้นตอนที่ 9

นมสดพาสเจอร์ไรส์ ผ่านเข้าเครื่องบรรจุอัตโนมัติ
ซึ่งมีการฆ่าเชื้อแผ่นฟิล์มถุง โดยแสงอุลตร้าไวโอเลต และควบคุมปริมาณบรรจุ โดยระบบอัตโนมัติ พร้อม ประทับตราระบุ วันหมดอายุบนถุง

 

 ขั้นตอนที่ 10
ขั้นตอนที่ 10

ขั้นตอนที่ 10

บรรจุนมสดพาสเจอร์ไรส์ ใส่ในกระบะพลาสติก
และนำเก็บในห้องเย็น อุณหภูมิ 2 – 4 องศาเซลเซียส เพื่อรอการจัดส่งให้ผู้บริโภค โดยจะมีการสุ่มตัวอย่าง นมพาสเจอร์ไรส์ ตรวจสอบคุณภาพอีกครั้ง

 

 ขั้นตอนที่ 11
ขั้นตอนที่ 11

ขั้นตอนที่ 11

บริเวณส่วนของโรงงานแยกแต่ละฝ่ายชัดเจน 
พื้นยกสูงจากระดับดิน 30 ซม. มีมุ้งลวดป้องกันแมลง พาหะโรค มีระบบการระบายน้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก

 

 ขั้นตอนที่ 12
ขั้นตอนที่ 12

ขั้นตอนที่ 12

ห้องเย็นสำหรับเก็บนมพาสเจอร์ไรส์ ควบคุมอุณหภูมิ ไว้ที่ 2 – 4 องศาเซลเซียส มีประตู 2 ด้าน เพื่อรับนมถุงจากการผลิต และจ่ายนมถุงออกตลาดแยกกัน

 

 ขั้นตอนที่ 13
ขั้นตอนที่ 13

ขั้นตอนที่ 13

รถห้องเย็น เพื่อการจัดส่งนมสดพาสเจอร์ไรส์ รักษาอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส

 

 ขั้นตอนที่ 14
ขั้นตอนที่ 14

ขั้นตอนที่ 14

รถบรรทุกน้ำนมดิบขนาด 6,600 ก.ก. สามารถจัดส่งน้ำนมดิบไกล ๆ โดยรักษาอุณหภูมิ น้ำนมดิบไว้ไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส

 

      แล้วก็ส่งน้ำนมดิบไปยังโรงผลิตออกมาเป็นกล่องให้เรากินกัน

 

    อย่าลืมดื่มนมให้หมดน่ะเพราะกว่าที่เราจะได้ดื่มนมกันนั้น มันผ่านอะไรมาเยอะกว่าจะมาลงกล่องให้เราแกะดืมกัน

 

 

 

นม คือของเหลวสีขาวที่รีดได้จากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น วัว แพะ แกะฯลฯ ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ปราศจากน้ำนมน้ำเหลือง (Colostrum) จัดเป็นหนึ่งในอาหาร ที่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของมนุษย์ทุกเพศทุกวัย เนื่องจากเป็นแหล่งที่ดีของสารอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะโปรตีน แคลเซียม วิตามินบี 2 นมที่ได้รับความนิยมในการบริโภค ได้แก่ นมวัว ดังนั้นในอุตสาหกรรมนมจึงนิยมนำน้ำนมจากวัวมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม เพื่อนำมาจำหน่ายในท้องตลาดอย่างกว้างขวาง โดยผู้ผลิตแต่ละราย ต่างมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มของตนเองพร้อมกับการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดควบคู่กันไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีจุดเด่นตรงใจกลุ่มผู้บริโภค นับได้ว่าไม่ผิดหวังเลย สังเกตได้จากปริมาณการผลิตนมพร้อมดื่มที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และเนื่องจากนมพร้อมดื่มที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายประเภท การทำความรู้จักกับนมพร้อมดื่มให้มากขึ้น ย่อมทำให้เลือกบริโภคนมพร้อมดื่มได้อย่างคุ้มค่าและสมประโยชน์ที่สุด

ประเภทของนมพร้อมดื่ม 

นมพร้อมดื่ม ในที่นี้จะหมายถึงเฉพาะน้ำนมที่รีดจากแม่โค และนำมา ผ่านกรรมวิธีการผลิตต่าง ๆ ให้อยู่ในลักษณะที่เป็นของเหลวที่พร้อมจะดื่มได้เท่านั้น โดยทั่วไปผู้ผลิตจะมีการผลิตนมพร้อมดื่มออกจำหน่ายในท้องตลาดด้วยกันหลายรูปแบบ และมีการแบ่งประเภทของนมพร้อมดื่มแตกต่างกันไป สามารถสรุปโดยย่อได้ดังนี้ 
1. นมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำน้ำนมที่รีดจากแม่โคมาผ่านกระบวนการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อนั่นเอง ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีการบริโภคอย่างแพร่หลาย นอกจากจะจำหน่ายในรูปน้ำนมที่ไม่ได้แยกหรือเติมวัตถุใดเข้าไป เว้นแต่ปรับปริมาณมันเนยโดยการแยกหรือเติมมันเนยเพื่อให้เป็น นม แล้ว ผู้ผลิตยังมีการดัดแปลงให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น โดยนำน้ำนมมาสกัดแยกมันเนยออกบางส่วน เพื่อให้เป็น นมพร่องมันเนย หรือนำน้ำนมมาแยกมันเนยออกเกือบหมดให้อยู่ในรูป นมขาดมันเนย ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคบางกลุ่มที่ต้องการหลีกเลี่ยงไขมัน 
2. นมคืนรูป คือนมพร้อมดื่มที่ไม่ได้ทำจากน้ำนมโดยตรง แต่ได้จากการนำองค์ประกอบของน้ำนมมาผสมกันให้มีลักษณะเช่นเดียวกับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ เช่น การนำนมผงธรรมดามาละลายน้ำ เพื่อให้เป็น นมคืนรูป เป็นต้น นอกจากนี้แล้วผู้ผลิตอาจนำมันเนยมาสกัดแยกออกบางส่วน หรือเกือบหมด เพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในรูปของนมคืนรูปพร่องมันเนย หรือ นมคืนรูปขาดมันเนย อีกด้วย
3. นมแปลงไขมัน คือ นมพร้อมดื่มที่นำเอาไขมันชนิดอื่น อาทิ น้ำมันปาล์ม ฯลฯ มาผสมในสูตรส่วนประกอบแทนมันเนยที่อยู่ในน้ำนม โดยผู้ผลิตอาจแทนเพียงแค่บางส่วนหรือทั้งหมด จากนั้นนำมาจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในรูปของ นมแปลงไขมัน หรือ นมแปลงไขมันชนิดพร่องไขมัน 
4. นมปรุงแต่ง คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนมโคตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1–3 หรือ นมผง มาผ่านกรรมวิธีการผลิตต่าง ๆ แล้วปรุงแต่งสี กลิ่น รส เข้าไปเพื่อเพิ่มรสชาติ และทำให้นมน่าบริโภคมากยิ่งขึ้น โดยอาจเติมวัตถุอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือ เพิ่มสารอาหารอื่นลงไป ด้วย ทั้งนี้ผู้ผลิตอาจลดมันเนย หรือไขมันอื่นที่อยู่ในนมลง เพื่อปรับปรุงให้นมมีลักษณะที่หลากหลายเหมือนเช่นนมพร้อมดื่มประเภทอื่น และนำมาจำหน่ายอยู่ในรูปของ นมปรุงแต่งพร่องมันเนย นมปรุงแต่งขาดมันเนย หรือนมปรุงแต่งพร่องไขมัน 
5นมเปรี้ยว คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมที่หมักด้วยจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้ เกิดโรคหรือไม่ทำให้เกิดพิษ อาจเติมวัตถุอื่นที่จำเป็นต่อกรรมวิธีการผลิต หรือปรุงแต่งสีกลิ่นรสด้วยก็ได้ ที่พบจำหน่ายในท้องตลาดจะมี 2 รูปแบบ คือ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม มีลักษณะเป็นน้ำเหมือนน้ำนมทั่วไป บริโภคง่าย และโยเกิร์ต ซึ่งมีลักษณะกึ่งแข็ง กึ่งเหลว โดยจุลินทรีย์ที่นำมาผลิตนมเปรี้ยวต้องเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่เปลี่ยนน้ำตาลแลกโตสในนมให้เป็นกรดแลกติกเท่านั้น แบคทีเรียที่ผู้ผลิตนิยมนำมาใช้ในกรรมวิธีการผลิตนมเปรี้ยวจะได้แก่ แลกโตบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactobacillus bulgaricus) และ สเตรปโตคอกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) 
นอกจากนี้แล้วผู้บริโภคอาจคุ้นหูกับคำว่า นมพาสเจอร์ไรส์ นมสเตอริไลส์ หรือ นม ยู เอช ที สืบเนื่องจากนมพร้อมดื่มทุกชนิดจะต้องผ่านกระบวนการให้ความร้อนทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในนม เพื่อให้นมนั้นปลอดภัยต่อการบริโภค โดยผู้ผลิตจะเลือกใช้หนึ่งในสามกรรมวิธี ได้แก่ การพาสเจอร์ไรส์ สเตอริไลส์ หรือ ยู เอช ที ดังนั้นในบางครั้งจึงมีการเรียกชื่อนมพร้อมดื่มตามกรรมวิธีที่ใช้ฆ่าเชื้อแทนการเรียกชื่อตามประเภทของนมพร้อมดื่มที่กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งถ้าผู้บริโภคสังเกตข้อมูลบนฉลากของนมพร้อมดื่มแล้วจะทราบได้ทันทีว่านมพร้อมดื่มที่ตนเองสนใจนั้นเป็นนมประเภทใด เป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ตัดสินใจในการเลือกบริโภคได้ 

ส่วนประกอบของนมพร้อมดื่ม 
ส่วนประกอบหลักของนมพร้อมดื่ม ก็คือ น้ำนม ดังนั้นนมพร้อมดื่มจะมีคุณภาพมาตรฐานหรือไม่นั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับน้ำนมซึ่งเป็นวัตถุหลักในการผลิต โดยคุณภาพของน้ำนมนั้นสามารถผันแปรได้ตามปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ อาทิ พันธุ์วัว อาหารที่แม่วัวได้รับ และอายุแม่วัว เป็นต้น ซึ่งส่วนประกอบของน้ำนมสามารถแสดงเป็นค่าสัดส่วนของสารอาหารได้ ดังนี้ 

ส่วนประกอบ
ช่วงสัดส่วน (%)
น้ำ
ไขมัน
โปรตีน
น้ำตาลแลกโตส 
วิตามินและแร่ธาตุ
87.0-89.5
2.5-6.0
2.9-5.5
3.6-5.5
0.6-0.9
ที่มา :Dr. Bernhard Von Bqckelmann,”Aseptic Processing and Packaging” เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่องการยกระดับมาตรฐานการผลิตนมพร้อมดื่ม 7-8 กรกฎาคม 2537

จากตารางสามารถสรุปได้ว่านมพร้อมดื่มส่วนใหญ่จะประกอบด้วย

1. น้ำ โดยมีอยู่ในสัดส่วนเกือบร้อยละ 90 ของน้ำนม
2. ส่วนที่เป็นของแข็ง หรือ ธาตุน้ำนมทั้งหมด (Total solid ) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 
2.1 ไขมันนม หรือ มันเนย (Milk fat or butter fat )
2.2 เนื้อนมไม่รวมมันเนย (Milk solid not fat) ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต (น้ำตาลแลกโตส) วิตามิน และ แร่ธาตุ

นอกจากนี้แล้วในส่วนประกอบของนมพร้อมดื่มบางประเภทจะมีการเติมน้ำตาล ผงโกโก้ น้ำผลไม้ วัตถุแต่งกลิ่นรส สีผสมอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร วิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ ลงไปด้วย เพื่อสร้างทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ผู้บริโภค แต่ทั้งนี้ปริมาณที่ใช้ต้องอยู่ในปริมาณที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ในนมพร้อมดื่มแต่ละประเภท
แม้ว่าส่วนประกอบของน้ำนมจะมีปริมาณสารอาหารผันแปรตามปัจจัยแวดล้อมที่กล่าวถึงข้างต้น แต่เนื่องจากในอุตสาหกรรมนมนั้นได้น้ำนมจากแหล่งต่าง ๆ กันจากหลายฟาร์ม ดังนั้นข้อแตกต่างเหล่านี้จะเฉลี่ยกันไป ทำให้องค์ประกอบของน้ำนมที่ได้ไม่แตกต่างกันมากเกินไป อย่างไรก็ตามการกำหนดมาตรฐานองค์ประกอบของน้ำนมโคให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ ทั้งนี้เพื่อควบคุมให้นมพร้อมดื่มที่จำหน่ายไปยังผู้บริโภคมีคุณภาพมาตรฐานอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุข จึงได้กำหนดปริมาณของมันเนยหรือไขมัน โปรตีนนม และเนื้อนมไม่รวมมันเนยหรือไขมัน สำหรับนมพร้อมดื่มแต่ละประเภทขึ้น ซึ่งปริมาณที่กำหนดนั้นจะแตกต่างกันไปตามประเภทของนมพร้อมดื่ม สามารถสรุปได้ดังนี้ 

นมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อและ นมคืนรูป
มันเนย
โปรตีนนม
เนื้อนมไม่รวมมันเนย
นม 
นมคืนรูป
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.2 
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.8
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.25 
ของน้ำหนัก
นมพร่องมันเนย 
นมคืนรูปพร่องมันเนย
มากกว่าร้อยละ 0.1 ของน้ำหนัก 
แต่ไม่ถึงร้อยละ 3.2 ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.8
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.5 
ของน้ำหนัก
นมขาดมันเนย 
นมคืนรูปขาดมันเนย
ไม่เกินร้อยละ 0.1 ของน้ำหนัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.8
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.8 
ของน้ำหนัก
นมแปลงไขมัน
ไขมัน
โปรตีนนม
เนื้อนมไม่รวมไขมัน
นมแปลงไขมัน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.2 
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.8
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.25 
ของน้ำหนัก
นมแปลงไขมันชนิดพร่องไขมัน มากกว่าร้อยละ 0.1 ของน้ำหนักแต่ไม่ถึงร้อยละ 3.2 ของน้ำหนัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.8
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8.5 
ของน้ำหนัก
นมปรุงแต่งชนิดเหลว
มันเนยหรือไขมัน
โปรตีนนม
เนื้อนมไม่รวมมันเนยหรือไขมัน
นมปรุงแต่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.6
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7.7
ของน้ำหนัก
นมปรุงแต่งพร่องมันเนย 
นมปรุงแต่งพร่องไขมัน
มากกว่าร้อยละ 0.1 ของน้ำหนัก 
แต่ไม่ถึงร้อยละ 3 ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.6
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 7.7 
ของน้ำหนัก
นมปรุงแต่งขาดมันเนย ไม่เกินร้อยละ 0.1 ของน้ำหนัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.6
ของน้ำหนัก
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 
ของน้ำหนัก


กรรมวิธีการผลิตนมพร้อมดื่ม 

นมพร้อมดื่มแต่ละประเภทจะมีกรรมวิธีการผลิตคล้ายคลึงกันกันมาก โดยกระบวนการผลิตจะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1.การรับและเก็บน้ำนม (Receiving and Storage) โดยต้องมีการตรวจสอบน้ำนมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ตรวจสอบความผิดปกติด้าน สี กลิ่นรส ของน้ำนม 
1.2 ตรวจสอบทางด้านฟิสิกส์ เคมี โดยการวิเคราะห์ค่าของไขมัน เพื่อตีราคานม ตรวจสอบจุดเยือกแข็งหรือค่าถ่วงจำเพาะของนมเพื่อดูว่ามีการปลอมปนน้ำในน้ำนมหรือไม่ วัดความเป็นกรด-ด่างในน้ำนม โดยน้ำนมควรจะมีฤทธิ์เป็นกรดเล็กน้อย ตรวจสอบสารปฏิชีวนะและสารพิษตกค้าง อาทิ เพนิซิลลิน (Penicillin) และ อฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ฯลฯ ตรวจสอบว่านมเสียหรือไม่ โดยการนำไปต้มให้เดือด ถ้าน้ำนมรวมตัวกันเป็นก้อน หรือ Clot จับตัวกันหนามาก แสดงว่านมนั้นมีความ เป็นกรดสูง น้ำนมเริ่มจะเสีย จึงไม่เหมาะกับการนำไปทำผลิตภัณฑ์
1.3 ตรวจสอบทางจุลินทรีย์ เช่น การตรวจนับจุลินทรีย์ทั้งหมด ตรวจหาโคลิฟอร์ม ซึ่งเป็นตัวชี้ถึงสุขลักษณะของนม เป็นต้น 
1.4 น้ำนมโคที่ผ่านการตรวจสอบแล้วต้องเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 45 องศาฟาเรนไฮด์ (7.2 องศาเซลเซียส) ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจริญของแบคทีเรีย และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 72 ชั่วโมง 
2. การแยกฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกที่อยู่ในน้ำนม (Clarification) อาจใช้วิธีการกรอง หรือใช้แรงเหวี่ยง เพื่อขจัดฝุ่นละออง จุลินทรีย์บางชนิด เซลเม็ดเลือดขาว ตลอดจนสิ่งเจือปน ที่อยู่ในน้ำนม หากไม่ผ่านขั้นตอนนี้ นมพร้อมดื่มที่ผลิตได้จะมีตะกอนเกิดขึ้นอย่างเห็น ได้ชัด 
3. การปรับมาตรฐานมันเนยหรือไขมัน (Standardization) เพื่อปรับปริมาณมันเนยหรือไขมัน และ เนื้อนมไม่รวมมันเนยหรือไขมัน ที่อยู่ในนมพร้อมดื่มแต่ละประเภทให้ได้มาตรฐานเป็นไปตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข 
4. การฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ( Heat Treatment) เพื่อทำลายจุลินทรีย์ รวมถึงเอนไซม์ต่างๆ ที่ไม่ต้องการให้มีอยู่ในนม เช่น เอนไซม์ไลเปส ที่ทำให้เกิดกลิ่นหืนในนม ฯลฯ ตลอดจนช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มให้ยาวนานขึ้น การฆ่าเชื้อจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับกระบวนการฆ่าเชื้อที่ผู้ผลิตเลือก ซึ่งจะมีด้วยกัน 3 วิธี ได้แก่ 
4.1 กระบวนการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) การฆ่าเชื้อวิธีนี้สามารถทำลายเอนไซม์ต่าง ๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ทั้งนี้อุณหภูมิที่ใช้ในการฆ่าเชื้อต้องไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส โดยผู้ผลิตสามารถเลือกใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 63 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 30 นาที (Low Temperature Long Time) แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า หรือใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 72 องศาเซลเซียส และคงอยู่ที่อุณหภูมินี้ไม่น้อยกว่า 15 วินาที (High Temperature Short Time) แล้วทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า 
สำหรับนมที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อนี้จะมีคุณค่าสารอาหารเกือบเท่ากับ น้ำนมก่อนผ่านการฆ่าเชื้อ ตลอดจนรสชาติของนมจะมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับ น้ำนมตามธรรมชาติมากกว่าวิธีอื่น
4.2 กระบวนการสเตอริไลส์ (Sterilization) วิธีนี้สามารถทำลายจุลินทรีย์ตลอดจนเอนไซม์ทุกชนิดที่อยู่ในนมพร้อมดื่มที่บรรจุในภาชนะปิดสนิทได้ กรรมวิธีการฆ่าเชื้อนี้ต้องใช้อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาที่เหมาะสม เช่นใช้อุณหภูมิ 115-120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20-30 นาที วิธีนี้จะทำให้สี กลิ่น รสของนมเปลี่ยนแปลงไป เกิดกลิ่นนมต้มไหม้ (Over cooked) ขึ้น สีนมออกเหลือง และทำให้วิตามินบางตัวที่อยู่ในน้ำนมดิบลดลง เช่น โฟลิคแอซิด วิตามินบี 1 และวิตามินซี เป็นต้น
4.3 กระบวนการ ยู เอช ที (Ultra High Temperature) วิธีนี้จะสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้เกือบหมด โดยต้องใช้ความร้อนไม่ต่ำกว่า 133 องศาเซลเซียส เวลาไม่น้อยกว่า 1 วินาที แล้วบรรจุในภาชนะและในสภาวะที่ปราศจากเชื้อ โดยทั่ว ๆ ไปจะใช้อุณหภูมิระหว่าง 135-150 องศาเซลเซียส นาน 2-3 วินาที การฆ่าเชื้อวิธีน นมพร้อมดื่มที่ได้จะมีกลิ่น-รสบริสุทธิ์กว่านมพาสเจอร์ไรส์ เนื่องจากสามารถขจัดกลิ่นอาหารสัตว์ กลิ่นฟางได้ดี นอกจากนี้น้ำนมยังมีสีขาวกว่า 
5. การทำให้น้ำนมเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogenization) นิยมทำหลังจากผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้ว น้ำนมที่ผ่านกระบวนการนี้ไขมันนมจะมีขนาดเล็กลง และมีความคงตัวไม่แยกเป็นชั้นเมื่อตั้งนมทิ้งไว้ โดยกฎหมายบังคับให้นมพร้อมดื่มที่ผ่านกระบวนการสเตอริไรส์ และ ยู เอช ที ต้องผ่านขั้นตอนนี้

หมายเหตุ บางขั้นตอนอาจไม่จำเป็นต้องใช้ในการผลิตนมพร้อมดื่มบางประเภท และผู้ผลิตอาจเติม น้ำตาล ผงโกโก้ สี วัตถุแต่งกลิ่นรสผลไม้ น้ำผลไม้ หรือจุลินทรีย์ที่ใช้ในการทำนมเปรี้ยว ในระหว่างกระบวนการผลิตข้อที่ 4 หรือ 5 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสูตรของนมพร้อมดื่มที่ผลิต

6. การบรรจุ (Packing) น้ำนมที่ผ่านการฆ่าเชื้อและการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันแล้วจะถูกทำให้เย็นลงที่ 4 - 5 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า เพื่อรอการบรรจุ ภาชนะบรรจุนมอาจเป็นแผ่นพลาสติก กระดาษ หรือขวดแก้ว ส่วนการบรรจุนม ยู เอช ที นั้นจะใช้ระบบเตตราแพค ซึ่งภาชนะบรรจุสามารถป้องกันการซึมผ่านอากาศ แสงสว่าง หรือความชื้นได้ จึงเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
7. การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นมเพื่อรอการจำหน่าย (Storage) จะเก็บรักษาอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ กฎหมายให้เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลาหลังบรรจุจนถึงผู้บริโภค เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดที่ยังอยู่ในนม มิฉะนั้นจะทำให้นมเสีย สำหรับนมสเตอริไลส์ และนม ยู เอช ที นั้น กฎหมายให้เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิปกติในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 วัน นับแต่วันที่บรรจุในภาชนะก่อนออกจำหน่าย

ปัจจุบันยังได้เพิ่มมาตรการกำหนดให้ผู้ผลิตนมพร้อมดื่มต้องปฏิบัติตามวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร ตามแนวทางการผลิตอาหารตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) ควบคู่กันไปด้วย โดยผู้ผลิตต้องดูแลตั้งแต่ สุขลักษณะของสถานที่ตั้งและอาคารผลิต เครื่องมือเครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต การควบคุมกระบวนการผลิต การสุขาภิบาล การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด ตลอดจนบุคลากร ถ้าผู้ผลิตปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวจะช่วยลดและขจัดอันตรายที่ทำให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคลงได้ ส่งผลให้นมพร้อมดื่มที่จำหน่ายมีความสะอาดและปลอดภัยมากขึ้น 

การเก็บรักษานมพร้อมดื่ม

นมพร้อมดื่มที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตอย่างถูกต้อง เหมาะสม ถ้าเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ สามารถเก็บได้นานประมาณ 10 วันที่อุณหภูมิ 2-5 องศาเซลเซียส นมสเตอริไลส์ (กระป๋อง) เก็บได้นานประมาณ12 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น นม ยู เอช ที เก็บได้นานประมาณ 6 เดือน โดยไม่ต้องแช่เย็นเช่นกัน ส่วนนมเปรี้ยวนั้นเก็บได้นานกว่านมประเภทอื่นเพราะมีรสเปรี้ยวจากกรดแลกติกช่วยในการถนอมอาหาร ดังนั้นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอร์ไรส์ ถ้าเก็บในอุณหภูมิ 10-12 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานถึง 21 วัน นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม ยู เอช ที เก็บได้ประมาณ 8 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น อย่างไรก็ตามถ้าขั้นตอนการผลิตไม่เหมาะสม เกิดการปนเปื้อน การขนส่งไปจำหน่ายไม่ระมัดระวัง หรือเก็บรักษานมพร้อมดื่มในอุณหภูมิไม่เหมาะสม ก็จะมีผลทำให้อายุการเก็บรักษานมพร้อมดื่มแต่ละชนิดสั้นลงกว่าที่ควรเป็น 

การเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม
แนวทางในการเลือกซื้อนมพร้อมดื่ม มีดังนี้

1. ตัดสินใจว่าจะเลือกบริโภคนมพร้อมดื่มประเภทใด โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของการบริโภค เช่น ต้องการนมที่ให้คุณค่าทางโภชนาการคุ้มค่าที่สุด หรือต้องการนมที่ย่อยง่าย หรือต้องการนมที่ให้พลังงานและไขมันต่ำ หรือต้องการเพียงแค่รสชาติที่ถูกใจเท่านั้น 
2. หลีกเลี่ยงร้านค้าที่มีการจำหน่ายนมพร้อมดื่มอย่างไม่เหมาะสม อาทิ ตู้แช่ หรือสถานที่เก็บผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะสม เช่น นมพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งควรต้องเก็บในอุณหภูมิไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส แต่ผู้จำหน่ายกลับเก็บในตู้แช่ที่มีความเย็นไม่เพียงพอ หรือ ผู้จำหน่ายนำ นมสเตอริไลส์ หรือ นม ยู เอช ที ที่สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องได้มาเก็บในที่ซึ่งอุณหภูมิสูงเกินไป หรือถูกแสงแดดส่องตลอดเวลา รวมถึงการที่ผู้จำหน่ายนำนม ยู เอช ที มาซ้อนทับสูงเกินไป โดยนำนม ยู เอช ที ที่บรรจุในกล่องขนาด 200 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 10 ชั้น ขนาด 250 ซีซี วาง ซ้อนกันเกิน 8 ชั้น และขนาด 1,000 ซีซี วางซ้อนกันเกิน 5 ชั้น เพราะภาชนะบรรจุอาจเสียหาย ทำให้เชื้อจุลินทรีย์จากภายนอกเข้าไปปนเปื้อนในนม ส่งผลให้นมเสียได้ นอกจากนี้การเก็บนมใกล้วัตถุมีพิษก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
3. ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ โดยการอ่านข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มเปรียบเทียบหลาย ๆ ยี่ห้อ เพื่อเลือกนมพร้อมดื่มที่ตรงใจที่สุด
4. เลือกซื้อนมพร้อมดื่มที่แสดงข้อมูลบนฉลากครบถ้วน ฉลากผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มทุกประเภทต้องแสดง ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ( ประกอบด้วยตัวเลข 13 หลัก อยู่ใน  ในบางยี่ห้ออาจจะยังพบเครื่องหมาย อย. รูปแบบเก่าที่ประกอบด้วยตัวอักษรและตัวเลขอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปรากฏอยู่บนฉลาก อย่างไรก็ดีผู้ผลิตหรือผู้นำเข้านมพร้อมดื่มรายใหม่จะต้องแสดงเลขสารบบอาหารเท่านั้น) ชื่อและที่ตั้ง ผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณสุทธิ ส่วนประกอบที่สำคัญ เดือนปีที่ผลิตหรือวันเดือนปีที่หมดอายุ (ยกเว้นนมเปรี้ยว และนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ ต้องแสดงวันหมดอายเท่านั้น ) ในกรณีถ้ามีการเจือสี แต่งกลิ่นรส หรือมีคำแนะนำในการเก็บรักษา ต้องระบุไว้บนฉลากด้วย 
5. ตรวจสอบลักษณะของภาชนะบรรจุนม ต้องให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีการรั่วหรือซึม ภาชนะต้องไม่บวม หรือฉีกขาด ในกรณีของกล่องนมยู เอช ที หากมีร่องรอยการกดทับจนย่น ก็ไม่ควรซื้อมาบริโภค เพราะเชื้อจุลินทรีย์จากภายนอกอาจเข้าไปในกล่องนมได้ นอกจากนี้ในการบริโภคนมพร้อมดื่มก็ไม่ควรบริโภคนมเกินระยะเวลาวันหมดอายุ และก่อนบริโภคต้องดูวันหมดอายุ ที่แสดงบนฉลาก ซึ่งนมพร้อมดื่มส่วนใหญ่จะแสดงวันหมดอายุไว้บนฉลาก โดยมีข้อความว่า “ควรบริโภคก่อน” หรือ“หมดอายุ” กำกับไว้ให้ผู้บริโภคทราบ นอกเหนือจากข้อความดังกล่าวแล้ว ในบางครั้งผู้ผลิตจะระบุคำว่า “Best Before” หรือ “Exp.date” กำกับเพิ่มขึ้นมาบนฉลากด้วย รวมทั้งหากเปิดภาชนะบรรจุนมแล้ว บริโภคไม่หมดต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นนมพาสเจอร์ไรส์ สเตอริไลส์ หรือ นม ยู เอช ที และถ้านมถูกบรรจุอยู่ในภาชนะโลหะ นมอาจทำปฏิกริยากับภาชนะได้ จึงควรต้องถ่ายนมใส่ภาชนะที่สะอาดมี ฝาปิดมิดชิดก่อนนำเข้าตู้เย็น

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
I AM THOR's profile


โพสท์โดย: I AM THOR
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
72 VOTES (4/5 จาก 18 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นี่คือวงเวียนในเขมร ที่ใช้งบประมาณไปกว่า 70 ล้านบาทในการก่อสร้าง!ทำไมเขมรถึงชอบเคลมของประเทศไทย?ลิงเหิมเกริมหนัก แม้แต่พระยังโดนข้าวเหนียวมะม่วงของไทย คว้าอันดับ 2 ขนมหวานประเภทมีข้าวเป็นส่วนประกอบที่ดีที่สุดของโลกเลขเด็ดแมงปอ งวด 2 พฤษภาคม 2567ชาวมาเลย์ไม่พอใจ! หลังฝรั่งชมคนไทยยิ้มเก่งกว่า?นักมวย MMA อิหร่านเตะก้นสาวริงเกิร์ลบนเวที..โดยอ้างว่าเธอแต่งตัวไม่สุภาพภาพชุดความเป็นจริง ของพื้นที่ในสีหนุ วิลล์ของกัมพูชา ที่พอมีการนำเสนอภาพความจริง คนเขมรถึงกับรับไม่ได้กันเลยทีเดียวโรงงาน"มดลูกเทียม"แห่งแรกของโลก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ลาวเตรียมขึ้นค่าแรงให้ประชาชน เพื่อหวังดึงคนลาวกลับประเทศ มาทำงานที่ประเทศลาว?ม.ดังปฏิเสธหนุ่มหัวกระทิเข้าเรียน หลังเคยทๅรุณกรรมแมวมาก่อนนักมวย MMA อิหร่านเตะก้นสาวริงเกิร์ลบนเวที..โดยอ้างว่าเธอแต่งตัวไม่สุภาพguess: การเดา การคาดคะเน
ตั้งกระทู้ใหม่