หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติสนามราชมังคลากีฬาสถาน

โพสท์โดย Ronalbook

ประวัติสนามราชมังคลากีฬาสถาน

   ราชมังคลากีฬาสถาน (อังกฤษ: Rajamangala National Stadium) เป็นสนามกีฬาขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย   โดยเป็นสนามหลัก (Main Stadium) ภายในสนามกีฬาหัวหมาก สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 5 ธันวาคม 2530 และ พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2541 เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ

   ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชมภายในอาคาร จำนวน 80,000 คน ความสามารถในการรองรับผู้เข้าชม (อัฒจันทร์) จำนวน 65,000 ที่นั่ง เป็นเก้าอี้นั่งทั้งหมด ภายในมีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน ลู่วิ่ง ลานกรีฑา และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

   ราชมังคลากีฬาสถาน เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติไทยในปัจจุบัน และใช้จัดแข่งขันฟุตบอลนัดสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ ยังใช้จัดคอนเสิร์ตกลางแจ้ง และการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น

ประวัติ

   ปี พ.ศ. 2512 องค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย (อสกท.) หรือ กกท.ในยุคปัจจุบัน ได้เสนอมติที่ผ่านความเห็นชอบ ต่อคณะรัฐมนตรีที่มี จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ให้จัดสร้างสนามกีฬาหัวหมาก ขนาดความจุ 1 แสนคน ภายใต้วงเงิน 40 ล้านบาท แต่ยังไม่มีการก่อสร้างเนื่องจากไม่มีงบประมาณ จนในปี พ.ศ. 2528 นายไพบูลย์ วัชรพรรณ ผู้ว่า กกท.คนแรก ได้ผลักดันให้รัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติงบประมาณ 500 ล้านบาท ให้ก่อสร้างสนามกีฬากลางภายในสนามกีฬาหัวหมาก ความจุ 80,000 คน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาระดับชาติแทนสนามศุภชลาศัย[2] โดยมอบหมายให้คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแบบ ได้ทำสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด วิวัฒน์ก่อสร้าง พร้อมทำสัญญาจ้างบริษัทสยามซีเท็ค จำกัด ทำการควบคุมการก่อสร้างเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2531 รวมเวลาในการก่อสร้างทั้งสิ้น 2,443 วัน แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2538 เป็นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 630 ล้านบาท

   ระยะที่ 2 กกท.ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานตกแต่งรายละเอียดในด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม และงานระบบเพิ่มเติม เช่น ระบบไฟส่องสนาม ระบบเสียง การติดตั้งเก้าอี้อัฒจรรย์มีหลังคา พร้อมราวกันตก มีค่าใช้จ่าย ประมาณ 550 ล้านบาท ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ผู้รับจ้างคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์

   ระยะที่ 2 โดย กกท.ได้รับความร่วมมือทางวิชาการจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในส่วนที่ 2 นี้ จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 550 ล้านบาท งานหลักๆ ก็คือ งานทางด้านสถาปัตยกรรม และตกแต่งภายใน ใช้วงเงินไปประมาณ 367 ล้านบาท ผู้รับจ้างคือ ห้างหุ้นส่วนจำกัดช้างม่อยเฟอร์นิเจอร์

   ระยะที่ 3 ก่อนการเปิดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ประมาณ 1 เดือน เป็นงาน การทำตราสัญลักษณ์ และป้ายชื่อสนาม โดยติดตั้งด้านนอกผนังคบเพลิง งานตกแต่งบริเวณหน้าที่ประทับและส่วนของที่นั่งประธาน รวมทั้งงานทาสีภายในบางส่วน และงานสถาปัตยกรรม ใช้เงิน 8 ล้านบาท รวมงบทั้ง 3 ระยะ เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 1,188 ล้านบาท

   ต่อมาภายหลัง กกท. ได้ปรับปรุงต่อเติมที่ทำการสมาคมกีฬา, ห้องประชุม, ที่ทำการฝ่ายต่างๆ ของ กกท.ไว้ที่ใต้ถุนอัฒจันทร์สนามราชมังคลากีฬาสถานโดยรอบ ทำให้ยอดงบประมาณณการก่อสร้างสนามกีฬาราชมังคลากีฬาสถานรวมทั้งสิ้น 1,255,569,337 บาท[3]

   ในปัจจุบันใช้ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศในนัดที่สำคัญ รวมถึงการแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน และนัดกระชับมิตรของสโมสรฟุตบอลไทยกับสโมสรในต่างประเทศเช่น สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด และสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา เป็นต้น

เหตุการณ์สำคัญ

กีฬา

6 และ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2541 - พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

6 และ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 - พิธีเปิดและปิด การแข่งขันฟุตบอลเยาวชนหญิงชิงแชมป์โลก ยู-19 ครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

8 ถึง 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 - พิธีเปิดการแข่งขัน และการแข่งขันรอบ 8 ทีมสุดท้าย เอเชียนคัพ ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

8 และ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 - พิธีเปิดและปิด การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

14-16 ธันวาคม 2555 - เรซ ออฟ แชมเปียนส์ 2012

คอนเสิร์ต

25 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 15 ปี เมด อิน ไทยแลนด์ ของคาราบาว

10 ธันวาคม พ.ศ. 2547 - บี-เดย์ ของเบเกอรีมิวสิก

7 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 - เทศกาลดนตรีกรุงเทพ (Bangkok Music Festival) โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 - ร่ำไรคอนเสิร์ต ของอัสนี-วสันต์

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - เอสเอ็มทาวน์ ไลฟว์’08 ของเอสเอ็มทาวน์

6 เมษายน พ.ศ. 2553 - โชว์ คิง เอ็ม

27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 - บอดีสแลม ไลฟว์ อิน คราม ของบอดีสแลม

12 มีนาคม พ.ศ. 2554 - โคเรียน มิวสิก เวฟ อิน แบงคอก

7 ถึง 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - เทศกาลฤดูร้อนกรุงเทพฯ (Bangkok Summer Festival)

7 เมษายน พ.ศ. 2555 - โคเรียน มิวสิก เวฟ อินแบงคอก 2012

25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - เดอะ บอร์น ดีส เวย์ บอลล์ ทัวร์ ของเลดีกากา

4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - วัน เอเชีย ทัวร์ 2012 เอ็ม เคานท์ดาวน์ สไมล์ ไทยแลนด์ (One Asia Tour 2012 M Countdown Smile Thailand)

2 มีนาคม พ.ศ. 2556 - คอนเสิร์ตเสียงจริง ตัวจริง The Voice Thailand โดยมี เจนนิเฟอร์ คิ้ม,โจอี้ บอย,สหรัถ สังคปรีชา,อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุขและลูกทีมอีก 59 คน โดย(โค้ก)

เครดิต วิกิพีเดีย (ผิดพลาด ขออภัย) 

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Ronalbook's profile


โพสท์โดย: Ronalbook
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
48 VOTES (4/5 จาก 12 คน)
VOTED: LEK.GBS
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า
ตั้งกระทู้ใหม่