ปลาชะโด จอมโหดแห่งลุ่มน้ำจืด
ปลาชะโด เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ตระกูลเดียวกันกับช่อน แต่มีขนาดใหญ่กว่าโดยมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร น้ำหนักถึง 20 กิโลกรัม มีรูปร่างลำตัวค่อนข้างกลมยาว พื้นลำตัวสีน้ำตาลอมเขียว มีลายประสีดำกระจายทั่วตัว ภายในปากมีฟันแหลมคม
เมื่อยังเป็นปลาขนาดเล็กจะมีสีลำตัวเป็นสีน้ำตาลและมีแถบสีดำ, ส้ม และเหลืองพาดตามความยาวลำตัว 2 แถบ บริเวณหางสีแดงสด เมื่อเริ่มโตขึ้นมาสีและลายจะเริ่มจางหายไปกลายเป็นสีเขียวอมน้ำตาลคล้ายสี ของเปลือกหอยแมลงภู่แทนโดยการที่สีของปลาเปลี่ยนไปตามวัยนี้ ชะโดจึงมีชื่อเรียกต่างออกไปตามวัย เมื่อยังเป็นลูกปลาจะถูกเรียกว่า “ชะโด” หรือ “อ้ายป๊อก” เมื่อโตเต็มที่แล้วจะถูกเรียกว่า “แมลงภู่” ตามสีของลำตัว นอกจากจะเป็นปลาที่ใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้แล้ว
ปลาชะโดมีนิสัยดุร้ายมาก หวงถิ่นเป็นที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูผสมพันธุ์ปลาตัวผู้ซึ่งเป็นผู้ดูแลไข่และลูกอ่อน จะกัดและทำร้ายสัตว์ทุกชนิดที่ผ่านเข้ามาใกล้รัง ไม่เว้นแม้กระทั่งมนุษย์ จึงมักมีผู้ถูกชะโดกัดทำร้ายบ่อย ๆ(กัดคนจนใส้แตกมาแล้วก็มี) ในช่วงนี้ ฤดูผสมพันธุ์ของปลาชะโดจะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคม-กันยายน รังมีการตีแปลงใกล้ชายฝั่ง เรียกว่า “ชะโดตีแปลง”
แม้ว่าปลาชะโดจะมีนิสัยดุร้ายแต่ นักตกปลาทั่วฟ้าเมืองไทย ไม่ว่าหญิงหรือชายต่างก็หวังว่าตัวเองจะตกปลาชะโดได้ซักครั้งหนึ่งในชีวิต ถืือเป็นความประทับครั้งใหญ่เลยทีเดียว
แหล่งตกปลาชะโด :
แหล่งน้ำธรรมชาติที่เป็นที่อาศัยของปลาชะโด ในประทเศไทยแล้ว แทบจะครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ทุกภาค ซึ่งสถานที่ๆ เป็นที่นิยมสำหรับ ตกปลาชะโดมากที่สุด คือ เขื่อนแก่งกระจาน และอื่นๆ ดังนี้
- เขื่อนแก่งกระจาน และบริเวณใกล้เคียง (อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี)
- เขื่อนศรีนครินทร์หรือเขื่อนเจ้าเณร (อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี)
- เขื่อนเขาแหลมหรือเขื่อนวชิราลงกรณ์ (อำเภอสังขละบุรีและอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี)