หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย

โพสท์โดย ๏Nameless๏

นาฏศิลป์  เป็นศิลปะแห่งการละคร  ฟ้อนรำ  และดนตรี  อันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ  กำหนดว่า  ต้องประกอบไปด้วย  ศิลปะ  3  ประการ  คือ  การฟ้อนรำ  การดนตรี  และการขับร้อง  รวมเข้าด้วยกัน  ซึ่งทั้ง  3  สิ่งนี้เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์  นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดขึ้นจากสาเหตุตามแนวคิดต่าง ๆ เช่น  เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์  ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งความสุข  หรือความทุกข์แล้วสะท้อนออกมาเป็นท่าทาง  แบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนรำ  หรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์  เทพเจ้า  โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ  ขับร้อง  ฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ  เป็นต้น

               นอกจากนี้  นาฏศิลป์ไทย  ยังได้รับอิทธิพลแบบแผนตามแนวคิดจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานด้วย  เช่น  วัฒนธรรมอินเดียเกี่ยวกับวัฒนกรรมที่เป็นเรื่องของเทพเจ้า  และตำนานการฟ้อนรำ โดยผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ ผ่านชนชาติชวาและเขมร ก่อนที่จะนำมาปรับปรุงให้เป็นรูปแบบตามเอกลักษณ์ของไทย  เช่น  ตัวอย่างของเทวรูปศิวะปางนาฏราช  ที่สร้างเป็นท่าการร่ายรำของ พระอิศวร  ซึ่งมีทั้งหมด  108  ท่า  หรือ  108  กรณะ  โดยทรงฟ้อนรำครั้งแรกในโลก  ณ  ตำบลจิทรัมพรัม  เมืองมัทราส  อินเดียใต้  ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาดู  นับเป็นคัมภีร์สำหรับการฟ้อนรำ  แต่งโดยพระภรตมุนี  เรียกว่า  คัมภีร์ภรตนาฏยศาสตร์  ถือเป็นอิทธิพลสำคัญต่อแบบแผนการสืบสาน  และการถ่ายทอดนาฏศิลป์ของไทยจนเกิดขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่มีรูปแบบ  แบบแผนการเรียน  การฝึกหัด  จารีต  ขนบธรรมเนียม  มาจนถึงปัจจุบัน

        อย่างไรก็ตาม  บรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ไทยได้สันนิษฐานว่า อารยธรรมทางศิลปะด้านนาฎศิลป์ของอินเดียนี้ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไท จยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยาตามประวัติการสร้างเทวาลัยศิวะนาฎราชที่สร้าง ขึ้นในปี พ.ศ. 1800  ซึ่งเป็นระที่ไทยเริ่มก่อตั้งกรุงสุโขทัย  ดังนั้นที่รำไทยที่ดัดแปลงมาจากอินเดียในครั้งแรกจึงเป็นความคิดของนัก ปราชญ์ในสมัยกรุงศรีอยุทธยา และมีการแก้ไข  ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  จนนำมาสู่การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จนนำมาสู่การประดิษฐ์ ท่าทางร่ายรำและละครไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ประเภทของนาฎศิลป์ไทย
                นาฎศิลป์  คือ  การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม  โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
                นาฎศิลป์ของไทย  แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ   4  ประเภท  คือ

        1.  โขน  เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มี เอกลักษณ์  คือ  ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า  หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์  การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์  แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง  ๆ

        2.  ละคร  เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่อง ราว  มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน  ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ  เข้าบทร้อง  ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มีแบบแผนการเล่นที่เป็น ทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า  ละครโนราชาตรี  ละครนอก  ละครใน  เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ  พระสุธน  สังข์ทอง คาวี  อิเหนา  อุณรุท  นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด  การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์  เรียกว่า  การแต่งการแบยืนเครื่อง  นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

       3.   ระ  และ ระบำ  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว  ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน  ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป  ดังนี้  
               3.1  รำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง  ตั้งแต่  1-2  คน  เช่น  การรำเดี่ยว  การรำคู่  การรำอาวุธ  เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง  ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี  มีกระบวนท่ารำ  โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ  เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน  และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ  เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว  รำแม่บท  รำเมขลา –รามสูร  เป็นต้น
               3.2 ระบำ  หมายถึง  ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่  2 คนขึ้นไป  มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน  กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน  ไม่เล่นเป็นเรื่องราว  อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี  ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์  การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก  เช่น  ระบำสี่บท  ระบำกฤดาภินิหาร  ระบำฉิ่งเป็นต้น

     4.  การแสดงพื้นเมือง   เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่ มีทั้งรำ  ระบำ  หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค  ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4  ภาค  ดังนี้
               4.1  การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ  เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับ ร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง
               4.2  การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง  เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง  ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม  ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน  เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน  หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว  เช่น  การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว  เต้นกำรำเคียว  รำโทนหรือรำวง  รำเถิดเทอง  รำกลองยาว  เป็นต้น  มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น  และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน  เช่น  กลองยาว กลองโทน  ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ  และโหม่ง
               4.3  การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน  เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน  หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย  แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ  กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่  แคน  พิณ  ซอ  กลองยาว  อีสาน  ฉิ่ง  ฉาบ  ฆ้อง  และกรับ  ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว  รำอาไย  หรือรำตัด  หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึม  พิณ  ระนาด  เอกไม้  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน
               4.4  การแสดงพื้นเมืองภาคใต้  เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมไ  2  กลุ่มคือ  วัฒนธรรมไทยพุทธ  ได้แก่  การแสดงโนรา  หนังตะลุง  เพลงบอก  เพลงนา  และวัฒนธรรมไทยมุสลิม  ได้แก่  รองเง็ง  ซำแปง  มะโย่ง  (การแสดงละคร)  ลิเกฮูลู  (คล้ายลิเกภาคกลาง)  และซิละ  มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ  เช่น  กลองโนรา  กลองโพน  กลองปืด   โทน  ทับ  กรับพวง  โหม่ง  ปี่กาหลอ  ปี่ไหน  รำมะนา  ไวโอลิน  อัคคอร์เดียน  ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต  ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่  การีดยาง  ปาเตต๊ะ  เป็นต้น กลับด้านบน

โพสท์โดย: ๏Nameless๏
ที่มา: forward mail
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
๏Nameless๏'s profile


โพสท์โดย: ๏Nameless๏
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
240 VOTES (4.8/5 จาก 50 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เลขปฏิทินไทย งวด 2 พฤษภาคม 2567เขมรเคลมอีก! วง BLACKPINK มีต้นกำเนิดมาจากกัมพูชา อ้างหลักฐานจากภาพสลักโบราณ?AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
complex: ซับซ้อนแคสตรงปก เจมส์จิ(คุณชายพุฒิภัทร) และไมกี้(คุณฉัตรเกล้า)ใครเจอรับไปเลย ครึ่งแสน"เสรีพิศุทธ์" เปิดข้อเขียนปี 2521 ชี้ จะได้ครบถ้วนวิ่งเต้นเสียเงินเรื่องใช้เงินซื้อตำแหน่งไม่ใช่เพิ่งมี
ตั้งกระทู้ใหม่