เจ้าจอมก๊กออ
เจ้าจอมก๊กออในรัชกาลที่ ๕
เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าเจ้าจอมเอื้อน ตามลำดับ
เจ้าจอมก๊กออ เป็นชื่อที่ใช้เรียกพระสนมเอก ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 5 คน ที่เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) (บุตรของ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์กับหม่อมหรุ่น) เจ้าเมืองเพชรบุรี กับท่านผู้หญิงอู่ บุนนาค เจ้าจอมทั้ง 5 คน เกิดในสกุลบุนนาค เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน และมีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร อ. อ่าง คือ
- เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) ถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2429 ให้ประสูติพระราชธิดา 2 พระองค์ คือเจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2495) ถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2429
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ (7 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2476)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2432 - พ.ศ. 2506)
- เจ้าจอมเอิบ บุนนาค (22 เมษายน พ.ศ. 2422 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487) ถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2434
- เจ้าจอมอาบ บุนนาค (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) ถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2438
- เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค (พ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2470) ถวายตัวเมื่อ พ.ศ. 2447
เจ้าจอมมารดาอ่อน
เจ้าจอมมารดาอ่อน บุนนาค ปจ.(19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 - 29 มกราคม พ.ศ. 2512) เป็นเจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประสูติพระราชธิดา 2 พระองค์คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา และยังมีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ อีก 2 พระองค์
เจ้าจอมมารดาอ่อน เกิดในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ แรม 11 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2410 เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้รับราชการเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน ทั้งหมดเป็นที่รู้จักในนามว่า เจ้าจอมก๊กออ
เมื่อเจ้าจอมมารดาอ่อนอายุได้ 12 ปี ได้เข้าร่วมขบวนแห่โสกันต์ของ พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ สุนทรศักดิ์กัลยาวดี พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ)ผู้เป็นพระสนมเอกผู้ใหญ่ ทรงยกย่องเป็นหัวหน้าพระสนมทั้งปวง และได้รับการฝากฝังโดย สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วงบุนนาค) ผู้มีศักดิ์เป็นลุง ให้อยู่กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ มีหน้าที่ช่วยตั้งเครื่องเสวย และได้ถวายตัวเป็นพระสนม เมื่อ พ.ศ. 2427 เมื่ออายุ 17 ปี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมมารดาอ่อน และพระราชธิดา ได้ประทับอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่ตำหนักสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนราชสีมา สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ เรียกว่า "สวนนอก" ตำหนักนี้เรียกว่า วังสวนปาริจฉัตก์เจ้าจอมมารดาอ่อน พร้อมด้วยน้องๆ ทั้งสี่คน ในกลุ่มเจ้าจอมก๊กออ และพระราชธิดาทั้งสอง ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายงานใกล้ชิดพระองค์อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อครั้งประทับที่พระบรมมหาราชวัง หรือเมื่อเสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต พระที่นั่งวิมานเมฆ หรือเมื่อครั้งเสด็จแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447
ท่านเจ้าจอมมารดาอ่อน(พระสนมเอกในรัชกาลที่๕) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 ในรัชกาลปัจจุบัน สิริอายุ 102 ปี
เจ้าจอมเอี่ยม
เจ้าจอมเอี่ยม บุนนาค (12 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2495) เป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพี่น้องหนึ่งในห้าคนในเจ้าจอมก๊กออ มีพระเจ้าลูกเธอที่ตกพระโลหิต ยังไม่เป็นพระองค์ จำนวน 2 พระองค์
เจ้าจอมเอี่ยม เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา เบญจศก จ.ศ. 1235 ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2416 เป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ (สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบเจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เจ้าจอมเอี่ยมเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2429 เมื่ออายุได้ 13 ปี เป็นผุ้มีฝีมือในการทำอาหาร มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยทำเครื่องเสวย ของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ถวายงานนวดพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาเข้าที่พระบรรทม เป็นที่สบพระราชหฤทัย ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาหลายครั้ง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมเอี่ยมได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก"
ท่านเจ้าจอมเอี่ยม ถึงแกอสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2495 ด้วยโรคหัวใจโต สิริอายุ 79 ปี
เจ้าจอมเอิบ
เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 (สกุลเดิม บุนนาค) (22 เมษายน พ.ศ. 2422 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487) เป็นเจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออที่ทรงโปรดปรานเป็นพิเศษ
เจ้าจอมเอิบ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2422 เป็นบุตรคนที่ 11 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เจ้าจอมเอิบเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2434 เมื่ออายุได้ 12 ปี เนื่องจากเจ้าจอมเอิบนั้นเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงดงาม กล่าวกันว่าท่านเจ้าจอมเอิบนั้นมีคุณสมบัติตรงตามตำราหญิงงามอันเป็นที่นิยมแห่งยุคสมัยนั้นทีเดียว กล่าวคือที่หน้าตาที่อ่อนหวาน งดงามเยือกเย็น กล่าวกันอีกว่าท่อนแขนของท่านเจ้าจอมเอิบ นั้นงดงามกลมกลึง ราวกับลำเทียน เนื่องจากท่านเป้นคนที่มีรูปร่างไม่ผอมไป หรืออ้วนเกินไป หากแต่อวบและมีน้ำมีนวล กล่าวโดยสรุปคือ ท่านเจ้าจอมเอิบนั้น มีความงามแห่งรูปโฉม และกิริยาที่สอดคล้องกับความนิยมในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก) จึงเป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพิเศษ ได้ตามเสด็จไปแปรพระราชฐาน ประพาสหัวเมืองเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2444 หรือไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน เมื่อ พ.ศ. 2445 และเสด็จประพาสต้นเมื่อ พ.ศ. 2447 เป็นผู้ถวายงานอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งสิ้นรัชกาล เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอี่ยม ผู้เป็นพี่สาวแท้ๆ
เจ้าจอมเอิบ มีความสามารถในการใช้กล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายภาพ และล้างรูปได้ด้วยตัวเอง เป็นช่างภาพสมัครเล่นในราชสำนัก ซึ่งได้ถ่ายภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระฉายาลักษณ์ของเจ้านายหลายพระองค์
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมเอิบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน กับถนนสามเสน โดยท่านได้สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กออ(รวมทั้งตัวท่านด้วย ต่างได้รับพระราชทานกันคนละแปลง เป็นสัดส่วน เรียกว่า "สวนนอก"(แต่ละสวนจะมีชื่อเรียกต่างๆกันไป วังของเสด็จพระองค์หญิงทั้งสองพระองค์พระราชธิดาในท่านเจ้าจอมมารดาอ่อนนั้น มีชื่อเรียกอย่างเป้นทางการว่า วังสวนปาริจฉัตก์ หรือ สวนท่านอ่อน ส่วนที่เป็นของท่านเจ้าจอมน้องๆทั้งสี่ท่านที่เหลือ ก็เรียกว่า สวนท่านเอิบ สวนท่านอาบ สวนท่านเอื้อน และสวนท่านเอี่ยม ตามลำดับ
เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ ๕ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่บ้านราชบูรณะ สิริอายุ 65 ปี
เจ้าจอมอาบ
เจ้าจอมอาบ บุนนาค ทจ. (20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหนึ่งในเจ้าจอมก๊กออ
เจ้าจอมอาบ เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2424 เป็นบุตรคนที่ 12 ในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เมื่อเจ้าจอมอาบอายุได้ 10 ปี ได้เข้ากรุงเทพ เพื่อร่วมขบวนแห่โสกันต์ของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ เมื่อ พ.ศ. 2434 และเข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายในเมื่อ พ.ศ. 2438 เมื่ออายุได้ 14 ปี มีหน้าที่ถวายงานรับใช้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร่วมกับเจ้าจอมเอิบ และเจ้าจอมเอื้อน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ต ่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ริมถนนสุโขทัย ติดกับสวนของเจ้าจอมเอิบและสวนเจ้าจอมเอื้อน ปัจจุบันคือ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา ต่อมาภายหลัง ท่านเจ้าจอมอาบ ได้ย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา หรือเสด็จพระองค์อาทรฯ ซึ่งเป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ซึ่งทรงถูกพระอัธยาศัยกันกับท่านเจ้าจอม ท่านเจ้าจอมจึงย้ายไปพำนักอยู่ด้วยกันกับเสด็จพระองค์อาทรฯ ที่ตำหนักทิพย์ ส่วนเรือนของท่านเอง ที่สร้างในที่พระราชทานใกล้ๆกับเรือนของเจ้าจอมพี่น้องของท่านนั้น ท่านยกเป็นมรดกให้กับหลานที่ท่านเลี้ยงมาตั้งแต่เล็กไปเลยก่อนที่จะย้ายมาพำนักที่ตำหนักทิพย์เป็นการถาวร จนกระทั่งเสด็จพระองค์อาทรฯ สิ้นพระชนม์ในปี ๒๕๐๑ ท่านเจ้าจอมอาบเป็นผู้ดูแลเตรียมงานพระศพจนลุล่วงไปด้วยดี และท่านก็ยังคงพำนักอยู่ ณ ตำหนักทิพย์ต่อมา
ท่านเจ้าจอมอาบ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ด้วยอาการหัวใจวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุ 80 ปี
เจ้าจอมเอื้อน
เจ้าจอมเอื้อน บุนนาค (พ.ศ. 2430 - พ.ศ. 2470) เจ้าจอมพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเจ้าจอมคนสุดท้องในเจ้าจอมก๊กออ แห่งสกุลบุนนาค
เจ้าจอมเอื้อน เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันศุกร์ พ.ศ. 2430 เป็นธิดาคนสุดท้องในจำนวน 14 คน ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) ที่เกิดกับท่านผู้หญิงอู่(สกุลเดิม วงศาโรจน์) มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งสิ้น 62 คน โดยในจำนวนนี้ มี 5 คน ที่เกิดจากท่านผู้หญิงอู่ และได้เป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่ 5 คือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอี่ยม เจ้าจอมเอิบ เจ้าจอมอาบ และเจ้าจอมเอื้อน
เนื่องจากเจ้าจอมเอื้อนเป็นธิดาคนสุดท้อง เป็นที่รักใคร่ของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์และท่านผู้หญิงอู่ และตั้งใจเลี้ยงดู ไม่ถวายตัวเข้าวังเช่นเดียวกับพี่ๆ แต่แล้วเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ร.ศ. 123 (พ.ศ. 2447) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองเพชรบุรีทางชลมารค และเสด็จไปยังจวนของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ และทรงพบกับเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งขณะนั้นอายุได้ 17 ปี ทรงพอพระทัยในรูปโฉมที่งามพิลาส หลังจากนั้นเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ ท่านบิดา ได้นำตัวธิดาคนสุดท้อง ที่ตั้งใจจะให้อยู่ใกล้ชิด เข้าถวายตัวรับใช้ในราชการฝ่ายใน เป็นที่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เจ้าจอมเอื้อน เป็นผู้มีฝีมือในการถ่ายภาพ และมีความสามารถในการล้างรูป เช่นเดียวกับเจ้าจอมเอิบผู้พี่ อีกทั้งยังมีความสามารถในการเล่นไวโอลิน
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าจอมอาบได้พำนักอยู่ที่ตำหนักในวังสวนสุนันทา ปัจจุบันอาคารนี้มีชื่อว่า "ตึกเอื้อนอาชว์แถมถวัลย์" ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ต่อมาได้ย้ายไปมาอยู่ที่เรือนสร้างใหม่ริมคลองสามเสน สร้างบนที่ดินพระราชทานแก่เจ้าจอมก๊กกออ ที่เรียกว่า "สวนนอก" ระหว่างเรือนเจ้าจอมเอี่ยม กับเรือนเจ้าจอมอาบ เรือนหลังนี้เป็นไม้สักทั้งหลัง ที่หน้าจั่วมีลายฉลุไม้งดงามมาก แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันถูกรื้อแล้ว
ท่านเจ้าจอมเอื้อน(พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๕) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2470 ด้วยอาการลิ้นหัวใจรั่ว สิริอายุ 40 ปี
ตำหนักเจ้าจอมก๊กออในพระราชวังบางปะอิน ตำหนักก๊กออในพระบรมมหาราชวัง
ขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ^^