หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

120 ปี รถรางไทย

โพสท์โดย mata

ประวัติรถราง

     ตอนนี้คนกรุงเทพฯ กำลังตื่นเต้นที่มีรถไฟฟ้าใชั หลังจากคอยกันมาหลายปี เพื่อเอามาแก้ปัญหาการจราจร และเห่อกันว่าเป็นของใหม่ทันสมัย แต่ขอโทษที รถไฟฟ้านี้ กรุงเทพฯ เรามีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 สมัยคุณปุ่โน่นแล้ว แต่ต้องเลิกไปหมดในปี พ.ศ. 2511  เพราะเป็นตัวการ ที่ทำให้การจราจรติดขัด เนื่องจากไม่ได้วิ่งลอยฟ้าอย่างทุกวันนี้ แต่วิ่งอยู่ข้างถนนบนผิวจราจรฯ บางแห่ง ก็วิ่งตรงกลางถนนซะเลย

รถรางเปิดเดินครั้งแรกในกรุงเทพฯ  ปี พ.ศ. 2435

     ตอนที่สร้างถนนเจริญกรุงหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า "นิวโรด (New Road)" เสร็จในปี พ.ศ. 2407 มีผู้นิยมใช้สัญจรไปมามาก ฝรั่งหัวใส 2 คน ชื่อ จอห์น  ลอฟตัส เป็นชาวอังกฤษ เข้ามารับราชการ เป็นช่างทำแผนที่ กับ อันเดรีย  ดูเปล  ริเตธิเชอเลียว  ชาวเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามารับราชการ เป็นกัปตันเรือพระที่นั่งเวสาตรี สังกัดกองทัพเรือ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น พระยาชลยุทธโยธี เห็นว่าถ้าเปิดเดินรถโดยสาร ในถนนสายนี้ ก็จะเป็นธุรกิจที่ดีไม่น้อย และเพื่อให้แน่ใจ จึงทำการสำรวจ หาตัวเลขกันก่อน

 วิธีการที่ฝรั่งทั้ง 2 ชาติ เอามาสำรวจนี้ นับว่าเก๋ไก๋ไม่เบา โดยเอาเม็ดมะขามใส่ชามใหญ่วางไว้ตรงกลาง แล้วเอาชามย่อมลงไปหน่อยมาอีก 2 ใบ วางไว้ข้างละใบ เมื่อคนเดินไปทางขวา ก็หยิบเม็ดมะขามใส่ลงไปในชามขวา เมื่อคนเดินไปทางซ้าย ก็หยิบเม็ดมะขามใส่ลงไปในชามซ้าย  ทำการสำรวจอยู่แบบนี้อยู่ถึง 3 วัน จึงได้ตัวเลขว่า มีคนขึ้นล่องในนิวโรด วันละเท่าไร ซึ่งคงจะเป็นตัวเลขที่น่าสนใจทีเดียว  เขาจึงร่วมกัน ยื่นขอสัปทานเดินรถรางหรือ "แตรมเวย์" (Tramway) คนไทยเรียกว่า "รถแตรม"  ในปี พ.ศ. 2430 โดยยื่นรวม 7 สายทั่วกรุง เพื่อกันคนอื่นตามด้วย รัฐบาลได้ให้สัมปทานเป็นเวลา 50 ปี โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องสร้างสายที่ 1 ให้เสร็จภายในเวลา 5 ปี ส่วนอีก 6 สาย ต้องสร้างให้เสร็จในเวลา 7 ปี

 

     รถรางสายแรกเปิดบริการในวันที่ 22 กันยายน  พ.ศ. 2431 โดยเริ่มต้นจากบางคอแหลม ถนนตก ซึ่งตอนนั้นยังเป็นสวนอยู่ มาตามถนนเจริญกรุง สุดปลายทางที่ศาลหลักเมือง ข้างศาลายุทธนาธิการ หรือกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน เป็นระยะทาง 6 ไมล์ (ประมาณ 10 - 12 กิโลเมตร) ใช้รถเล็ก 4 ล้อ เทียมด้วยม้า 2 คู่ และมีสถานีเปลี่ยนม้าเป็นระยะ แต่เมื่อคนเต็มคัน ม้าก็ต้องออกแรงลาก จนน้ำลายฟูมปาก ยิ่งตอนขึ้นสะพานบางทีม้าก็ลากไม่ไหว เป็นภาพที่น่าสงสารเป็นอันมาก

     ต่อ ๆ  มาคนก็ขึ้นรถรางน้อยลงทุกที อาจจะเป็นเพราะคนไทยเรา เป็นคนขี้สงสาร ไม่อยากจะทรมานทารุณม้าก็เป็นได้  อีกทั้งค่ารถราง ในตอนนั้นก็แพงไม่เบา เก็บ 6 อัฐต่อระยะ 3 ไมล์ ส่วนผู้ที่นั่ง 'ผู้ที่นั่งอย่างวิเศษ' หรือชั้นพิเศษ เก็บอีกเท่าตัว เป็น 12 อัฐ ซึ่ง 63 อัฐ เท่ากับ 1 บาท ก็ดูไม่แพง แต่สมัยนั้น ข้าวแกงจานละ 1 อัฐนะขอรับ คนเลยหายเห่อรถแตรมกัน... ก็คงทำนองเดียวกับรถไฟฟ้าสมัยนี้...

     เมื่อรถรางขาดทุน สองผู้บุกเบิก ก็ไปไม่ไหว ต้องขายกิจการ ให้บริษัท บางกอกแตรมเวย์ ซึ่งเป็นของคนอังกฤษดำเนินการต่อ โดยยังคงใช้ม้า ลากตามเดิม แล้วม้าก็ลากบริษัทรถรางไปไม่ไหวอีกราย ต้องขายต่อในปี พ.ศ. 2435

     ผู้ดำเนินกิจการรถรางรายใหม่ เป็นบริษัทของคนเดนมาร์ก ซึ่งได้พัฒนามาใช้ไฟฟ้ารแทนม้าลาก โดยขึงสายไฟเปลือย เหนือรางไปตลอด มีสาแหรกเป็นแท่งเหล็กยากติดบนหลังรถ ขึ้นไปรับกระแสไฟฟ้าจากมาเข้าเครื่อง เมื่อเปิดเดิน เครื่องจะไม่ไอ และแสงพุ่งแปลบออกมาที่หน้ารถ ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "รถไอ"              กิจการรถรางไฟฟ้าได้รับความนิยม ทำกำไรให้บริษัทมาก ในปี พ.ศ. 2448 เจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายคน จึงติดตั้งบริษัทรถรางแข่งกับฝรั่งบ้างในชื่อ บริษัท รถรางไทยทุน จำกัด ได้สัมใปทาน 2 สาย คือ สายรอบเมือง และสายดุสิต วิ่งจากยศเส สะพานดำ เสาชิงช้า บางลำภู จนถึงสวนดุสิต ใช้รถแบบเดียวกัน แต่ทาสีแดง เพื่อให้แตกต่างจากของบริษัทฝรั่ง ซึ่งทาสีเหลือง แต่ต่อมา ก็ต้องรวมกันเป็นบริษัทเดียว ทาสีเหลืองคาดแดง จนหมดสัมปทาน ตกมาเป็นของรัฐบาล ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2493

 ในสมัยรัชการที่ 5 ซึ่งเริ่มเปิดเดินรถรางนั้น ถนนหนทางในกรุงเทพฯ  ยังเป็นถนนที่เรียงด้วยอิฐแดง หน้าแล้ง มีฝุ่นคลุ้งกระจาย  รัฐบาลจึงมีเงื่อไขในสัญญสัมปทาน ให้บริษัท รถรางบรรทุกน้ำไปฉีดถนนให้ด้วย ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้กรุงเทพฯ บ่อยครั้ง และไหม้แต่ละครั้ง ก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะบ้านเรือนส่วนใหญ่ ยังเป็นไม้ไผ่ขัดแตะ มุงหลังคาด้วยจาก ผู้เดินรถราง จึงได้ตั้งหน่วยดับเพลิงขึ้น โดยดัดแปลงรถบรรทุกน้ำราดถนนเป็นรถดับเพลิงไปด้วย เพื่อช่วยทางราชการผจญไฟไหม้ในเส้นทางที่รถรางผ่าน

     แม้รถรางเปิดเดินมาหลายปี แต่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังไม่เคยเสด็จประพาสทางรถราง ฉะนั้นในตอนค่ำของวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2438 เวลาทุ่มเศษ จึงเสด็จพระราชดำเนินโดยรถพระที่นั่ง เป็นการส่วนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ และพระบรมวงศานุวงศ์ ไปยังมุมศาลายุทธนาธิการด้านศาลหลักเมือง

     ขณะนั้น รถรางกำลังจะออกจากต้นทางพอดี นายฮุย ซึ่งเป็นกระเป๋ารถ เห็นขบวนเจ้านายเสด็จตรงมา จึงบอกให้นายชมคนขับรถรอ และขอร้องให้ผู้โดยสาร 4 คน ที่อยู่บนรถลงไปรอคันหลัง  เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาถึง นายฮุย นายชม ก็ก้มลงกราบทูลเชิญให้เสด็จประทับบนรถ เมื่อรับสั่งว่า มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรเครื่องจักรไฟฟ้า ของรถ นายฮุย ซึ่งรู้เรื่องดีจึงเปิดที่เก็บเครื่องให้ทอดพระเนตร รับสั่งถามว่า เหตุใดจึงมีแสงสว่างส่องแปลบปลาบ ออกมาจากเครื่อง นายฮุย ก็กราบบังคมทูลว่า เมื่อเริ่มเดินเครื่อง ต้องเปิดไอหน้ารถอย่างแรก ไอนั้นจึงมีแสงสว่างพุ่งแปลบออกมา ทรงรับสั่งให้นายชมเดินหน้าถอยหลังให้ทอดพระเนตร จากนั้นก็ให้ขับไปตามเส้นทางจนถึงโรงไฟฟ้าของรถราง ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ ๆ  วัดมหาพฤฒาราม และพระราชทานรางวัลให้ นายชมและนายฮุยคนละ 4 บาท

     ทรงรับสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมติอมรพันธ์ เข้าไปติดต่อขอเข้าทอดพระเนตรในโรงไฟฟ้า มิสเตอร์แฮนเซ่น นายช่างใหญ่ ก็ถวายการต้อรับด้วยความยินดี ทรงปฏิสันถาร กับมิสเตอร์แฮนเซ่น เป็นภาษาอังกฤษว่า เหตุใดจึงใช้แกลบ เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ไม่ใช้ฟืน นายช่างใหญ่ก็กราบทูลว่า แำกลบนั้นถูกกว่าฟืนถึง 50 เท่า ทำให้ทุ่นค่าใช้จ่ายมาก

     ก่อนเสด็จกลับ ได้พระราชทานพระหัตถ์ให้มิสเตอร์แฮนเซ่น สัมผัส ซึ่งนายช่างใหญ่ได้กราบบังคมทูลของพระบรมราชานุญาต ขับรถรางมาส่งเสด็จจนถึงศาลหลักเมืองด้วยตนเอง

     พระพุทธเจ้าหลวงได้พระราชทานเหรียญทองคำให้มิสเตอร์ แฮนเซ่น เป็นที่ระลึก และพระราชทานเงินให้บริษัทรถราง 20 บาท เป็นค่าโดยสาร

     ต่อมาเมื่อกรุงเทพฯ เจริญขึ้น มีรถยนต์วิ่งกันขวักไขว่ รถราง ก็กลายเป็นเครื่องกีดขวางการจราจร ถูกยุบลงทีละสายสองสาย จนเลิกเด็ดขาดเมื่อวันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 คงเหลือแต่ที่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499  แต่ต่อมา ก็ต้องเลิกไปอีก ในปี 2506  หลังจากใช้อยู่ 8 ปี ด้วยสาเหตุเดียวกับในกรุงเทพฯ คือกีดขวางการจราจร รถรางไฟฟ้าจึงสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย ส่วนตัวรถปัจจุบัน ได้นำมาใช้ในการท่องเทีี่ยว โดยติดเครื่องยนต์ราก เช่น ในกรุงเทพฯ ก่อนจะเกิดใหม่มาเป็นเป็นรถไฟฟ้าลอยฟ้าในปัจจุบัน

รถราง
รถรางไทย พ.ศ. 2448

 

 คลิป รถรางให้บริการบริเวณ เวิ้งนาครเกษม และ ภาพ กรุงเทพฯ ในอดีต

 
น่าเสียดายที่เราไม่ได้สานต่อทั้งที่เป็นรถสาธารณะที่ปลอดมลพิษ  เป็นความทันสมัยในการสัญจรในกรุงเทพฯ เพราะท้ายที่สุดเราก็ใช้รถไฟฟ้าที่วิ่งบนรางอยู่ดี  เพียงแต่ลองฟ้าเท่านั้น  แต่ก็เนื่องด้วยการวางผังเมืองและเส้นทางการจราจรในสมัยเริ่มสร้างกรุงเทพไม่ได้ออกแบบมาเผื่อการขยายตัวของเมือง  จึงจำเป็นต้องให้รถรางไฟฟ้าในอดีตต้องสูญหายจากเราไป  เพื่อนๆ ชาวโพสท์จังคนไหนเคยขึ้นบ้างเอ่ย
ขอบคุณ  ข้อมูล : http://allknowledges.tripod.com
             คลิป   : http://wannapa304.blogspot.com

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
mata's profile


โพสท์โดย: mata
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
40 VOTES (4/5 จาก 10 คน)
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวคาซัคสถาน ทนไม่ไหว ทำสัญญาเลิกจากการเป็นทาสอย่างเด็ดขาด (โปรดดูหน้านายทาส รูปสุดท้าย ดูเต็มใจม๊ากมาก)เกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายรายสุนัขจิ้งจอกอาร์กติกสื่อนอกเผย "ไทยติดโควิด 1,004 ราย หลังสงกรานต์"อิตาลี่ออกกฏ "ห้ามขายพิซซ่า ไอศครีม" หลังเที่ยงคืนเขมรเตรียมฉาย หนังบางระจันเวอร์ชั่นเขมร อ้างหมู่บ้านบางระจันมีที่มาจากกัมพูชา!7 ที่มา คําว่ากระบี่ มีต้นเค้ามาจากคําไหน?โควิด-19 อีกแล้ว!!!"พริกป่น" อันตรายกว่าที่คิด
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เปิดเผย 2 กระบวนท่าลับ ใน 10,000 กระบวนท่าต่อสู้ ของท่านปรมาจารย์ ซานกิมซอน ฝ่าเท้าโต้เงาคลื่น และ อ้อมแขนถล่มขุนเขา"พิชิต" แกนนำ คปท. ฉะ "สว.วันชัย" กุข่าวปฏิวัติ สร้างเกราะป้องกัน ไม่ใช่การปฏิวัติแต่ "โทนี่-ยิ่งลักษณ์" ไม่เหมือนเดิมโควิด-19 อีกแล้ว!!!6 ผักใบเขียวสารอาหารช่วยเพิ่มความสูงให้ลูก
ตั้งกระทู้ใหม่